เอกภาพ และ ความแตกต่าง กรณีผ้าคลุมผมมุสลิม


สำหรับนักวิชาการต่าง ๆ ที่ไปลอกแนวคิดฝรั่งเมกามา
สิ่งที่เขาไม่ลอกเลียนแบบมา ก็คืออิสรภาพในเครื่องแบบ
ฝรั่งเขาถือว่า เสื้อผ้าไม่ได้ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ดีขึ้นหรือไม่ดี
มันอยู่ที่สมอง ทำให้ใส่อะไรไปโรงเรียนก็ได้ แม้ว่าจะมีความ
แตกต่างที่เครื่องแบบ แต่ประเทศเขาก็มีเอกภาพเป็นอย่างสูง
ลองล้อมทำเนียบขาวแล้วคุณก็เจอปืนแน่ ๆ

จริง ๆ แล้ว socialization ไม่จำเป็นใช้รูปแบบการแต่งเครื่องแบบเท่านั้น
การสร้างอิทธิพลของสื่อมวลชนต่าง ๆ ก็สร้างความเป็นเอกภาพ
ในสมองของคนได้ สังเกตได้จากพวกฝรั่งที่ไม่เน้นรูปแบบเน้นเนื้อหา
ในการ Discuss เรื่องต่าง ๆ ทางวิชาการนั้นกลับมีการถกเถียงและ
่ใช้เสรีภาพทางวิชาการอย่างเต็มที่ เพราะเขาถือว่าเขามีเสรีภาพและ
เท่าเทียมกันในการแสดงความคิดเห็น แต่สิ่งเหล่านี้ก็ไม่ลอกเลียนมา

เข้าใจว่า นักวิชาการที่มีอิทธิพลเหล่านี้ก็ไม่ได้ลอกความคิดของฝรั่ง
มาเสียทั้งหมด แต่ได้เลือกในสิ่งที่ด้อยแต่ได้ผลประโยชน์เข้ามาให้
สอดคล้องกับวัฒนธรรมแบบไทย ๆ ที่เ้น้นรูปแบบ เน้นเปลือกเข้าไว้
ส่วนเนื้อหาจริง ๆ ที่เป็นการใช้สมอง เสรีภาพในการคิด กลับปกปิดไว้
ไม่ให้คนฉลาดขึ้น เพราะตราบใดที่คนฉลาดขึ้นก็จะมีการเปลี่ยนแปลง
ทางสังคมและผลประโยชน์ต่าง ๆ ที่เคยได้รับอันเป็นทรัพยากรทางสังคม
ที่จำกัดของสังคม ก็จะเปลี่ยนแปรไป ดังนั้นการออกแบบรูปแบบเฉพาะ
ให้กับสิ่งต่าง ๆ โดยเฉพาะเครื่องแบบ เพื่อแสดงถึงจิตสำนึกและฐานะ
ทางสังคม อันจะเปลี่ยนแปลงไม่ได้ 

กรณีผ้าคลุมหัวของมุสลิมหญิง ที่เป็นประเด็นวิวาทะ ที่เกิดขึ้นในขณะนี้
เป็นมุมมองมุมคิดระหว่าง เอกภาพ และ ความแตกต่าง ซึ่งนักวิชาการ
ต่าง ๆ ที่เป็นเสาหลักทางการศึกษาในขณะนี้ยอมรับความแตกต่างไม่ได้
คิดว่าความแตกต่างในรูปแบบที่เห็นได้จะต้องมีเอกภาพ จริง ๆ แล้ว
ทุกอย่างอยู่ที่สมองกับการเรียนรู้มากกว่า ความเป็นเอกภาพต้องเกิด
จากความคิดที่หลากหลาย หลอมรวมกัน

ถามความเห็นของผมเรื่องรูปแบบเอกภาพนี้ ผมเห็นว่าไม่ใช่เรื่องสำคัญ
เรื่องสำคัญของการเรียนรู้ อยู่ที่กระบวนการคิด ที่อยู่ภายใน เป็นสาระ
สำคัญ ให้เสรีภาพกับ ผ้าคลุมหัว เสียเถอะครับ ก่อนที่จะเสียเอกภาพ
อย่างแท้จริงภายใต้การทำงานของสมองและวัฒนธรรม 

คำสำคัญ (Tags): #ผ้าคลุมผม
หมายเลขบันทึก: 437354เขียนเมื่อ 28 เมษายน 2011 08:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท