โรจน์
นาย โรจนศักดิ์ ทองคำเจริญ

หนังสือ "๑๐๐ ปี ร้อยจดหมาย พุทธทาส-สัญญา" ตอนที่ 2 ชีวิตคืออะไรอันหนึ่งซึ่งหมุนกลิ้งไป กลิ้งอย่างไรให้ดี ไม่มีทุกข์


อีกประการที่เด่นมากคือ การเขียนจดหมาย ของสองท่านหากจะตอบกัน ท่านออกตัวเสมอว่า ต้องใช้เวลาคิดไตร่ตรองจนแยบคายก่อนจึงค่อยเขียน ต่างจาก e-mail ปัจุจบันที่ถึงเร็วตอบเร็ว ไม่ได้คิด ไม่ได้เรียนรู้เท่าที่ควร

หนังสือ "๑๐๐ ปี ร้อยจดหมาย พุทธทาส-สัญญา" ความเดิมผมได้ link clip เสียงท่าน ว.วัชรเมธี ไว้สืบเนื่องจากท่านวิจารณืหนังสือเล่มนี้ไว้อย่างดีมาก ฟังแล้วสนุก ผมเลยอ่านหนังสือนี้ตามอย่างได้รสชาติอย่างยิ่ง

หนังสือนี้แบ่งเป็น ๔ ตอนหลัก คือ

๑. ชีวิตคืออะไรอันหนึ่งซึ่งหมุนกลิ้งไป กลิ้งอย่างไรให้ดี ไม่มีทุกข์

๒. กำลังอ่านหนังสือเล่มใหญ่ออกแล้ว

๓. สบายหย่างนักเลงที่เล่นกับชีวิตที่ลุกเปนไฟหยู่เสมอ

๔. เรื่องสร้าง "เรือนว่าง"

ผมเพิ่งอ่านจบตอนที่ ๑ ก็เลยขอสรุปสาระสำคัญที่ผมเรียนรู้พอสังเขปครับ

หมายเหตุ เครื่องหมายไข่ปลา หมายถึงคำที่ละไว้เนื่องจากมีเนื้อหายาวและอาจสื่อไปทำนองเดียวกับประโยคหลักๆ ครับ

ตอนแรกกล่าวถึง ท่านพุทธทาสตอบคำถามท่านสัญญา เกี่ยวกับเรื่องงานการ โดยส่วนใหญ่ท่านสัญญาจะเล่าอุปสรรคเรื่องงาน ผมจำได้จดหมาย ๒ ฉบับได้ถูกใจ

ท่านสัญญา "...ผมปกติดีโดยส่วนรวม แต่มีงานมากเกินไปต้องพะวงหลายหมกมุ่นเปนห่วง จนถึงเส้นประสาทออกจะแปลกเสียแล้ว........คิดอะไรไม่ออก......อีกทั้งมีอะไรผิดใจหน่อยก็ฉุนกึกและโกรธนานๆ ซึ่งแต่ก่อนไม่เคยเปนเช่นนี้.......ท่านอาจารย์มีอะไรแนะนำบ้างจะเปนพระคุณ"

ท่านพุทธทาสอธิบายถึงปฏิกริยาของร่างกายมีผลต่อความเครียดพบมากเมื่อต้องใช้ความคิดเป็นเวลานาน และมีใจความตอนหนึ่งกล่าวถึงงานการเป็นดังแบบเรียนชีวิต ท่านพุทธทาสเคยอ่านหนังสือมากจนไม่ปลอดโปร่ง

"ส่วนในด้านของ เมตา-ฟิซิคสฺ นั้น การมีงานมากหรือปฏิกริยา อย่างใดอย่างหนึ่งที่ ซึ่งเกิดจากงานมาก เช่นนี้มันเปน เทสตฺ หรือ สอบไล่ของธรรมชาติ"

ท่านพุทธทาสอธิบายต่อถึงจิตที่จะผ่านพ้นงานไปได้ มิได้ฝ่าไปแบบตรงๆ แต่ต้องใช้ปัญญารู้เท่าทันแลอยู่บนทางสายกลาง ท่านแนะนำ มัตตัญุตา คือ ความประมาณขนาดที่พอเหมาะพอดีแก่สิ่งทั้งปวง ท่านยังแนะนำให้ "ยิ้มเสมอ"

"ธรรมะสร้างคุณมาในแบบโพธิสัตว์ เมื่อบทเรียนของคุณแปลก ......การที่สร้างคุณมาแบบนี้ แปลว่ามันให้อำนาจและเครื่องมือมาครั้งหนึ่งแล้ว อย่าทิ้งมันให้เปนหมันเสีย ......มันเปนฝักฝ่ายมาร (ความหมายคือ ความอ่อนล้าที่เกิดจากงาน)...ยิ้มและผ่อนหนังผ่อนเบาจนเข้าสายกลาง ....และต้องไม่ลืมว่าตนเปนที่พึ่งแห่งตน ตนเปนประทีปประภาคารของตน"

จะเห็นได้ว่า ท่านพุทธทาสยกย่องอาจารย์สัญญาว่า เป็นว่าใช้ชีวิตแบบพระโพธิสัตว์ นัยว่า ท่านไม่เหลือเรื่องที่จะทำให้ตัวเอง หากแต่ทำเพื่อผู้อื่น ยิ่งเหลือทำให้ตนเองน้อยเพียงใด ประโยชน์แก่ผู้อื่นยิ่งมาก การฝ่าอุปสรรคนั้นเป็นเรื่องของการเดนทางสายกลางด้วยบากบั่งและเบิกบาน

อีกตอนที่ผมชอบมากคือ ตอนที่อาจารย์สัญญา บ่นว่าไม่ชอบไปงานสังคมพวกลีลาส เพราะรู้สึกว่าไม่สนุก ท่านพุทธทาส ตอบได้อย่างคมคายว่า

"....วงการสมาคมกับผู้ใหญ่ส่วนมากซึ่ง ชอบวัฒนธรรมของตวันตกหรือสมัยใหม่ ถ้ากล่าวอย่างผู้ถึงพุทธธรรมแล้ว .......รู้เรื่องของตัวเอง และ ไม่มีความยึดติด......การเข้าสมาคมนับเปนงานอย่างหนึ่ง.....มิใช่ทุจริตแต่ประการใด.......ส่วนข้อที่ไม่ยึดติดนั้น....อยู่เหนือความดีความชั่ว"

บทเรียนที่ได้จากตอนแรกโดยสรุป

จะเห็นได้ว่าท่านพุทธทาสและอาจารย์สัญญากันมากมายในเรื่องการพัฒนาเพื่อผลแห่งงานทั้งฝั่งโลกและทางธรรม โดยเน้นการพัฒนาตนเองเป็นอันดับแรก การมีกัลยาณมิตรเชนอาจารย์สัญญา และอาจารย์พุทธทาสเป็นกัลยาณมิตรซึ่งกันและกันเป็นเหตุแห่งความเจริญ อาจารย์สัญญาช่วยเหลือท่านพุทธทาสเผยแผ่ธรรมและยังส่งหนังสือภาษาอังกฤษ เช่น Subconscious mind และหนังสือของ Krisanamurati (ปราชญ์ชาวอินเดีย ผู้นำความคิดท่านหนึ่ง ว่างๆ ผมจะเอาหนังสือท่านมาเรียนรู้บ้าง) เห็นถึงความใฝ่รู้อย่างมากของทั้งสองท่าน attitude ต่อโลกของสองท่านเต็มไปด้วยการเรียนรู้อย่างยิ่ง

อีกประการที่เด่นมากคือ การเขียนจดหมาย ของสองท่านหากจะตอบกัน ท่านออกตัวเสมอว่า ต้องใช้เวลาคิดไตร่ตรองจนแยบคายก่อนจึงค่อยเขียน ต่างจาก e-mail ปัจุจบันที่ถึงเร็วตอบเร็ว ไม่ได้คิด ไม่ได้เรียนรู้เท่าที่ควร

ถึงตอนนี้ขอจบเพียงแค่นี้ครับ หากอ่านตอนที่สองต่อผมจะมาเล่าให้ฟังครับ

หมายเลขบันทึก: 436809เขียนเมื่อ 24 เมษายน 2011 16:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 03:51 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท