๔.อาวุโส : ระบอบการปกครองสงฆ์ สามารถดำรงสถานภาพได้อย่างไร?


การเมืองการปกครองของไทยที่มีปัญหาในปัจจุบัน ก็เป็นผลมาจากกระบวนคิดของคนไทยที่ไม่เป็นธรรมาธิปไตย ไม่เฉพาะแต่ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยที่เป็นแบบทางโลก หรือระบอบอำมาตยาธิปไตยแบบพระสงฆ์ไทย ล้วนแล้วแต่คลาดเคลื่อนจากต้นฉบับเดิมของพระพุทธเจ้าโดยสิ้นเชิง

     การเมืองการปกครองของไทยที่มีปัญหาในปัจจุบัน ก็เพราะเป็นผลมาจากกระบวนคิดของคนไทยที่ไม่เป็นธรรมาธิปไตยนั้นเอง ไม่เฉพาะแต่ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยแบบทางโลก ๆ หรือแม้แต่ระบอบอำมาตยาธิปไตยแบบพระสงฆ์ไทยล้วนแล้วแต่คลาดเคลื่อนจากต้นฉบับเดิมของพระพุทธเจ้าโดยสิ้นเชิง

 

     ทำไมผู้เขียนถึงได้กล่าวเช่นนั้น?

 

     ก็เนื่องมาจากระบบการเมืองการปกครองที่พระพุทธเจ้าทรงใช้กับคณะสงฆ์อินเดียในอดีตนั้นต่างกันเป็นอย่างมาก  กล่าวคือผู้นำในอดีตเป็นทั้งพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ และผู้อาวุโส (ไม่ใช่อาวุโสกว่าด้านอายุ แต่อาวุโสเพราะบวชก่อนซึ่งแก่กว่าด้านพรรษา) พูดง่าย ๆ ก็คือการมีภาวะผู้นำที่เพียบพร้อมมากยิ่งกว่า

 

     จุดเด่นของคณะสงฆ์โบราณคือ การเสียสละ และเพื่อส่วนรวม โดยถือว่าตนเองเป็นเพียงตัวแทนสงฆ์ ไม่ใช่เจ้าของสงฆ์ ดังนั้นหลักคิดนี้จึงต่างกัน เช่น การได้มาซึ่งลาภสักการะ โดยอาการที่ชาวบ้านถวายวัสดุอุปกรณ์อันเป็นทั้งของที่เป็นอุปโภคและบริโภคมาไม่เจาะจงภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ศัพท์ทางพุทธศาสนาเรียกว่า สังฆทาน คือถวายทานให้แก่สงฆ์ ซึ่งก็คือเอาไว้เป็นกองกลางเพื่อส่วนรวม ภิกษุที่เป็นตัวแทนจะอ้างสิทธิว่าเขาถวายให้ตัว-ไม่ใช่ เมื่อรับแล้วต้องมีคลังเก็บไว้เป็นกองกลาง ใครมีความจำเป็นก็แจ้งสงฆ์ ๆ เองก็จะแต่งตั้งผู้จัดการสิ่งของเหล่านั้นให้

 

    ระบบอาวุโส ก็เป็นระบบที่ใช้ได้ในยุคพุทธกาล เพราะผู้อาวุโสในยุคนั้นย่อมประกอบไปด้วยความรู้ความสามารถประกอบด้วยความประพฤติด้วย เรียกว่าถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ

 

     ดังนั้น ระบบนี้จึงได้รับการยอมรับสูง แต่ปัจจุบันระบบดังกล่าวคำว่าอาวุโส คุณสมบัติไม่ครบตามที่กล่าวมา จึงอาจมองดูเป็นเรื่องล้าสมัยไป

 

     แม้แต่เป้าหมายในการเข้ามาสู่ระบบก็ผ่านกระบวนคิดที่แตกต่างกันมาก เช่น พระพุทธเจ้าทรงสละราชสมบัติแล้วทรงออกผนวช พระยสกุลบุตรเบื่อหน่ายต่อโลกธรรมก็เข้ามาสู่ระบบ พระสารีบุตรต้องการแสวงหาอิสรภาพทางจิตก็เข้าสู่ระบบ เป็นต้น

 

    ดังนั้นคำถามจึงมีอยู่ว่าแล้วระบอบ หรือระบบที่ว่านี้เป็นตัวปัญหาหรือไม่? และ

 

    ระบบอาวุโส จะสามารถดำรงอยู่ได้นานแค่ไหน? ในสังคมยุคโลกาภิวัตน์นี้

 

หมายเลขบันทึก: 436666เขียนเมื่อ 23 เมษายน 2011 17:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

นมัสการเจ้าค่ะ

  • การเคารพผู้อาวุโสกว่า เป็นเรื่องดีที่พึงปฏิบัติ
  • แต่สังคมปัจจุบัน การเคารพผู้อาวุโสลดน้อยลง
  • ด้วยเหตุผลตามที่พระคุณเจ้าบรรยาย คือ  ผู้อาวุโสขาดคุณสมบัติที่พึงเคารพ
  • แต่ในสังคมบ้านนอก การเคารพผู้อาวุโส ยังยึดถือปฏิบัติกันอยู่มากเจ้าค่ะ

ตามมาเยี่ยมและอ่านงานอาจารย์ เขียนได้ดีแล้วครับ มาเขียนบ่อยๆๆนะครับ

ขอบคุณทุกความคิดเห็น คุณโยมอิงจันทร์ บ้านกลอนไฉไล ที่ติดตามมาตลอด และท่านอาจารย์ขจิต ฝอยทอง ที่ได้แนะนำการเข้าสู่ระบบและเป็นสมาชิกของgotoknow

ตาม ดร.ขจิตมาติดๆ ครับท่าน ขอแสดงความชื่นชมครับ พวกเรารออ่านงานอื่นๆ อยู่นะครับ ให้กำลังใจครับ

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมและให้กำลังใจ เพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ให้สังคมอุดมปัญญาครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท