เครียดลงกระเพาะ


เครียดสาเหตุหนึ่งของการทำให้เกิดโรค

     ความเครียดจะกดดันให้ร่างกายตอบสนองโดยการสร้างฮอร์โมนความเครียด (Adrenaline) ส่งผลเสียต่อร่างกายหลายอย่าง อาทิ ทำให้ความดันโลหิตสูง ใจสั่น เต้นแรงเร็ว หรืออาจเต้นผิดปรกติ แน่นหน้าอก ปวดศรีษะ

 

      คนที่เครียดติดต่อกันหลายวันอาจเกิดอาการหลอดเลือดสมองอุดตันได้ เพราะเลือดมีความหนืดจากการที่ระดับไขมันสูงขึ้น บางคนอาจมีอาการท้องไส้ปรวนแปร หรือที่เรียกว่า เครียดลงกระเพาะ จะมีอาการดังนี้ เช่น ปวดมวนท้อง หลังถ่ายอุจจาระเสร็จใหม่ๆ ท้องอืด เบื่ออาหาร แต่บางคนกลับกินเก่ง ถ่ายเหลวสลับกับท้องผูก

 

   ในช่วง 2-3 เดือนหากมีอาการเช่นนี้ต่อเนื่อง หรือเป็นๆหายๆ อาจเข้าข่ายความเครียดลงกระเพาะ ซึ่งแพทย์ไม่สามารถรักษาให้หายได้ด้วยยา หากเจ้าตัวไม่จัดการแก้ไขที่ต้นเหตุ ในคอลัมม์ "สร้างเสริมสุขภาพ" จุลสาร" MED IS CU" ของโรงพยาบาลจุฬาฯ โดย ประภัทธิ์ โสตถิโสภา ให้คำแนะนำในการขจัดความเครียดดังนี้         

 

 

1. ทำสมาธิ  ด้วยการหายใจเข้าลึกๆ  และหายใจออกอย่างช้าๆนาทีละ 6-8 ครั้งนาน 20- 30 นาที  จะช่วยให้หายใจสะดวก ลดอาการแน่นหน้าอก และความดันโลหิต

 

2.  เล่นกีฬา หรืออกกำลังกายนอกบ้าน ร่วมกับคนอื่น จัดสรรเวลาให้ได้วันละ 20 -30 นาที หรือเล่นซี่กง โยคะ จะช่วยยึดเส้นคลายกล้ามเนื้อ ทำให้มีสมาธิและจิตใจแจ่มใส เพราะร่างกายได้หลั่งสาร เอนโดฟีน  ช่วยให้สดชื่นนอนหลับสนิท

 

3. ระบายเรื่องเครียดๆหรือปัญหากับคนที่ไว้ใจ บางครั้งอาจให้คำปรึกษา หรือเห็นมุมมองดีๆ จะทำให้รู้สึกดีขึ้น คลายเครียดได้เร็ว

 

4.  ดึงความเครียดและจิตใจให้อยู่กับปัจจุบัน ลืมเรื่องในอดีตหรือยอมรับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต  ปัญหาบางอย่างแก้ไขไม่ได้ควรปล่อยไปตามกาลเวลา  บางปัญหาจะดีขึ้น

 

5. มองโลกในแง่ดี รู้จักปล่อยวาง คิดเป็นระบบ ไม่เข้าข้างตัวเอง หรือโทษคนอื่น อาจแก้ไขต้นเหตุเรื่องเครียดๆได้

 

6. ฟังเพลง หรืออ่านหนังสือที่ชอบ  จะช่วยให้ผ่อนคลาย และจิตใจสงบ

 

7. ท่องเที่ยวสัมผัสธรรมชาติ สูดอากาศบริสุทธิ์ รู้จักคบเพื่อนใหม่ มองสิ่งรอบตัวในแง่บวก จะช่วยให้เที่ยวอย่างมีความสุขมากขึ้น

 

8.  ทำสิ่งดีๆให้กับสังคม  จะทำให้รู้สึกภูมิใจ จิตใจปิติสุขที่ได้ทำความดี และช่วยให้สังคม ไม่ตึงเครียด

 

9.  นวดกดจุดที่เท้า  เหมาะสำหรับผู้ที่ท้องไส้แปรปรวน ช่วยให้ผ่อนคลายควมเครียดเลี่ยงไม่ได้ก็จริง แต่ควบคุมมันได้  

 

ขอบคุณ "เครียดลงกระเพาะ"

เขียนโดย ชนา ชลาสัย หนังสือพิมพ์ข่าวสด

 

                 ด้วยความปรารถนาดี....... กานดา แสนมณี

 

                 

หมายเลขบันทึก: 436177เขียนเมื่อ 21 เมษายน 2011 10:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

สวัสดีค่ะพี่ดา

  • เห็นหัวเรื่องรีบเข้ามาเลยค่ะ
  • ลูกชายคนเล็ก เค้าเป็นอยู่ค่ะ เครียดลงกระเพาะ
  • อาการเดียวกับที่พี่บอกนี่แหละค่ะ
  • คือที่โรงเรียนมีครูชาวต่างชาติ มาสอนภาษาอังกฤษ เป็นชาวฟิลิปปินส์
  • ลูกตามไม่ทัน ครูสั่งงานอะไรลูกไม่เข้าใจ ทำให้ลูกส่งงานไม่ครบ จึงติด ร วิชาภาษาอังกฤษเสริม  ลูกคงเครียดมาก พอถึงเวลาที่รถโรงเรียนมารับ ลูกจะต้องเข้าห้องน้ำถ่ายท้อง  เดินเข้าเดินออก จนรถโรงเรียนผ่านไป
  • ตอนนั้นคุณแม่ก็เครียดมากค่ะ สอบถามตะล่อมถาม ลูกจึงหลุดคำหยาบออกมาว่า
  • "แม่....ครูฟิลิปปินส์คนนั้น มันเป็น  กา...เทย  เวลาลูกไปถาม ไปส่งงาน ก็สะบัดหน้าใส่ลูก แล้วไม่พูดอะไร
  • เลยได้ ฮา...........แซวน้องต้นกล้าว่า  สงสัย  กา.....เทย เขาชอบลูกมั้ง  ลูกออกจะหล่อ แมน  ซะขนาดนี้ อิ..อิ..อิ...
  • ตอนนี้พอแก้ปัญหาเรื่องนี้ได้  ลูกก็หายอาการท้องมวนแล้วค่ะ  ขอบพระคุณพี่ดามากนะคะ ที่แบ่งปันเรื่องโดนใจครูอิง มีความสุขเสมอ ๆ นะคะ

สวัสดีค่ะ  Ico48

น้องตาล  ค่ะพอดีโดนใจเลยนะคะ  แต่ละข้อใช้ได้ดีทีเดียวค่ะ เราทราบกันเวลาเห็นใครเครียดเราก็หาทางช่วยกันได้นะคะ ในข้อมูลนี้ไม่ได้กล่าวถึงโรคที่เกิดจากความเครียด ตอนนี้ความเครียดทำให้ผู้ไม่สบายอยู่แล้วยิ่งเป็นมากขึ้นได้หรือมีโรคแทรกซ้อน เป็นความน่ากลัวของโรคทีเดียว แต่ละคนความคิด วิตกกังวล ฯให้เครียดต่างกัน และลดความเครียดได้ไม่เหมือนกันอีก ข้อ 3  สำคัญไม่น้อย ช่วยได้เร็ว ฯ แต่คนที่อยู่คนเดียวบางคนไม่ออกไปไหน ไม่ได้คุยกับใคร ก็มีมากนะคะ ที่คลายความเครียดของตัวเองไม่ได้เร็ว กลายเป็นโรคซึมเศร้าไปอีกก็มี 

  ลูกนกเขา และ ลูกนกนางแอ่นดง

2 เกลอ ตกมาจากรัง โชคดีมึคนเก็บมาให้อีกคนช่วยเลี้ยงจนมันบินแข็งแรงแล้วก็ไปอยู่กับธรรมชาติ 2 ตัวอยู่ด้วยกันได้ ลูกนกนางแอ่นบ่นเสียงดัง และอิจฉา ได้ทั้งวันไม่หยุด  นกเขา ไม่บ่นเลยแต่กินเก่งมาก ก็อยู่ด้วยกันอย่างน่ารักค่ะ คนเลี้ยงหรือผู้พบเก็นก็ยิ้ม เพลินไปด้วย

ขอบคุณค่ะ..ช่วยกันเตือนๆ..เพื่อกาย-ใจที่เป็นสุขค่ะ..

*..ว่างๆพี่ใหญ่ชวนไปงานนี้นะคะ..น้องๆจิตอาสาเพื่อสังคมไปชุมนุมกันมากมาย

                   

  • อ่านจบก็หายเครียดเลยค่ะ...เรื่องใกล้ตัวที่เรามองข้ามจะกลายเป็นเครียดสะสมและมีผลต่อร่างกายอย่างไม่รู้ตัวค่ะ
  • ช่วงนี้สังเกตตัวเองแล้วพยายามทำเกือบทุกข้อที่พี่กานดาแนะนำ ยกเว้นเรื่องออกกำลังกาย เว้นวรรคมาได้สองเดือนแล้วค่ะ กำลังเร่งงานบางอย่างให้เสร็จผลัดไปผลัดมา รู้สึกว่ากล้ามเนื้อชักจะเกร็งและปวดเมื่อยแล้วล่ะค่ะ
  • คงต้องใส่ใจกายเราเองให้มากกว่านี้ค่ะ
  • ขอบคุณมากค่ะ

สวัสดีค่ะพี่ดาที่คิดถึง

  • สวัสดีค่ะ
  • ได้เก็บวิธีคลายเครียดไว้แล้วนะคะ
  • ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณกานดา

            เพิ่งมาอ่านบันทึกนี้ค่ะ วันก่อนๆระบบคงมีปัญหาเข้าไปทักทายใครไม่ได้เลย

 เมื่อคืนได้ดื่มน้ำมันมะพร้าวไปหนึ่งช้อน คืนนี้นอนหลับสบายไม่ปวดท้องเลยค่ะ

 วันก่อนปวดที่ฝ่าเท้ามากได้ทำธรรมชาติบำบัดคือเหยียบบนก้อนหินแม่น้ำ จน

รู้สึกผ่อนคลายโดยไม่กินยาแก้ปวดค่ะ

ความเครียดมีผลต่อร่างกายทั้งระบบจริงๆนะคะ

                                        

                  ขอบคุณเรื่องดีๆที่แบ่งปันค่ะ

สวัสดีค่ะ    Ico48    Ico48     Ico48    Ico48    Ico48  

             ขอบคุณมากนะคะ ดอกไม้และกำลังใจที่มอบให้   Ico48 

ไม่ได้ทักทายกันนาน......คิดถึงนะคะ

สวัสดีค่ะ   Ico48   Ico48  Ico48  Ico48  Ico48   Ico48 

 

น้องตาล

พี่ดานำรูปนกให้ชม เป็นอย่างหนึ่งหากบ้านไหนเลี้ยงสัตว์ คลายความเครียดได้อย่างหนึ่งนะคะ  ค่ะอาจารย์ที่สอนเด็กนักเรียน นักศึกษา ฯที่มีใจเป็นหญิงนั้น  บางคนใจจะลำเอียงค่ะ แต่ส่วนตัวพี่ดาว่ากลุ่มคนนี้ บางคนน่ารักมาก

คุณพี่ใหญ่  

ดาไปชมแล้วขอบคุณมากนะคะ และ กิจกรรมต่างๆของธนาคารไทยพาณิชย์ เยี่ยมๆทั้งนั้นเลยนะคะ ดาชื่นชมมากค่ะ

น้องน้อย  

บานไม่รู้โรยงามๆมาฝากพี่ดา ขอบคุณมากค่ะ คิดถึงเสมอนะคะ

คุณลำดวน

     ยินดีค่ะเก็บไว้ ฝากบอกต่อด้วยนะคะ ขอบคุณมากค่ะ

คุณ KRUDALA

ค่ะธรรมชาติบำบัด ทำอย่างถูกต้องก็จะมีผลดีต่อร่างกายมาก น้ำมันมะพร้าวช่วยเรื่องลำไส้ และกระเพาะ ดีมากค่ะ  ดอกเสารรสหรือปล่าค่ะน่ารักดีค่ะ ขอบคุณมากนะคะ

 

                

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท