การพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้


องค์การที่ทุกคนเรียนรู้ตลอดเวลาแบ่งปันความรู้กันอย่างต่อเนื่อง

การสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษาให้มีประสิทธผลทำอย่างไร

                                                                       ประชุม โพธิกุล

 

 

องค์การแห่งการเรียนรู้: คือองค์กรที่มุ่งสู่ความเป็นเลิศด้วยการพัฒนาความสามารถและศักยภาพของคนในองค์การทั้งในด้านความรู้ ทักษะ และเจตคติอย่างต่อเนื่องและบริหารจัดการความสามารถและศักยภาพนั้นให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์การ

      ด้านความเป็นมาองค์การแห่งการเรียนรู้ Peter M.Senge ศาสตราจารย์แห่งสถาบัน MIT  จบการศึกษา วิศวกรรมศาสตร์จาก Standford M.A.social studies Ph.D. management.เป็นคนแรกที่ใช้คำว่า learning organization.เขียนหนังสือ The Fifth Discipline 1990.ขึ้นชื่อว่าเป็นบิดาแห่งองค์การแห่งการเรียนรู้

       องค์ประกอบองค์การแห่งการเรียนรู้ 5 ประการ

            1.การคิดเชิงระบบ(Systems Thinking)

            2.ความเป็นเลิศส่วนบุคคล( Personal Mastery)

            3.รูปแบบความคิด ( Mental Models)

            4.วิสัยทัศน์ร่วม (Shared Vision)

            5.การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม (Team Learning)

 

     1.การคิดเชิงระบบ(Systems Thinking)การคิดเชิงระบบให้้แนวทางใหม่ทั้งหมดในการมองที่ช่วยให้เราเข้าใจโครงสร้างที่ซับซ้อนของเหตุและผลในโลกของเรา เป็นแนวทางที่ทำให้คิดได้ว่าสิ่งต่างๆผู้คน และเหตุการณ์ต่างๆเชื่อมโยงต่อกันและกันอย่างไร

        ระบบคือกลุ่มของส่วนประกอบที่มีปฏิสัมพันธ์กัน มีความสัมพันธ์ระหว่างกัน และพึ่งพาระหว่างกัน ซึ่งสร้างความเป็นหนึ่งซึ่งประกอบรวมทุกส่วนเข้าเป็นหนึ่งอย่างซับซ้อน โดยมีเป้าหมายเฉพาะเจาะจง (ส่วนประกอบเหล่านี้ต่างมีปฏิสัมพันธ์กัน)

         ประเด็นพื้นฐานบางประการของระบบ

         1.ระบบมีจุดประสงค์

         2.ส่วนต่างๆมารวมกัน  โดยมีวิธีการเฉพาะอย่างหนึ่งเพื่อให้ระบบดำเนินต่อไปตามจุดประสงค์ที่กำหนด

         3.ระบบตอบสนองตามจุดประสงค์เฉพาะภายใต้ระบบที่ใหญ่กว่า

         4.ระบบแสวงหาความมีเสถียรภาพ

         5.ระบบมีการป้อนกลับ

 

    2.ความเป็นเลิศส่วนบุคคล( Personal Mastery)บุคคลและสมาชิกองค์กรเป็นรากฐานขององค์การแห่งการเรียนรู้ คนที่มีความเป็นเลิศส่วนบุคคลจะขยายความสามารถในการสร้างสรรค์ผลงานที่เขาต้องการได้อย่างต่อเนื่องจากกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง คนที่มีทักษะในการสร้างสรรค์เชิงรุกมี

            องค์ประกอบพื้นฐาน

            1.วิสัยทัศน์ส่วนบุคคล

            2.การจัดการความตึงเครียดอย่างสร้างสรรค์

            3.การเรียนรู้ด้วยจิตใต้สำนึก

การเรียนรู้ด้วยจิตใต้สำนึกคือความมุ่งมั่นที่จะเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยตนเองและขยายความสามารถในการสร้างสรรค์ผลงานที่เขาต้องการได้อย่างต่อเนื่อง

 

     3.รูปแบบความคิด ( Mental Models)คือความเชื่อ ภาพลักษณ์และข้อสมมติฐานที่พวกเรายึดมั่นอย่างลึกซึ้ง เกี่ยวกับตัวพวกเราเอง โลกของเราและองค์การของเราและสิ่งที่เราปรับตัวอย่างเหมาะสมกับสิ่งเหล่านี้

     7 หลักการเกี่ยวกับรูปแบบความคิด

       1.ทุกคนมีรูปแบบความคิด

       2.รูปแบบความคิดกำหนดสิ่งที่เราเห็นและวิถีที่เราเห็น

       3.รูปแบบความคิดนำทางถึงวิถีทางที่เราคิดและปฏิบัติ

       4.รูปแบบความคิดทำให้พวกเรายึดถือการอนุมานของเราเป็นข้อเท็จจริง

        5.รูปแบบความคิดจะไม่สมบูรณ์เสมอ

        6.รูปแบบความคิดมีอิทธิพลต่อผลลัพธ์ที่เราได้รับและส่งผล

กลับในการเสริมแรงให้กับความคิดเอง

        7.รูปแบบความคิดมักจะดำรงอยู่อย่างยาวนานกว่าประโยชน์ของมัน

        เราสร้างรูปแบบความคิดโดย

      1.พวกเราเลือกข้อมูล จากกลุ่มข้อมูลที่สังเกตได้

      2.พวกเราเพิ่มความหมายของข้อมูลที่เราได้เลือกไว้

      3.เราสร้างสมมติฐานจากความหมายที่ได้

      4.พวกเราสร้างข้อสรุปจากสมมติฐานเหล่านั้น

      5.พวกเรารับเอาความเชื่อไปใช้

      6.เราลงมือปฏิบัติ

      7.แล้วเราก็ได้ผลลัพธ์

 

   4.วิสัยทัศน์ร่วม (Shared Vision)การสร้างความมุ่งมั่นเพื่อดลใจให้ไปถึงวิสัยทัศน์

       การสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกันมีองค์ประกอบพื้นฐานคือ

      1.กระตุ้นให้แต่ละคนมีวิสัยทัศน์

      2.พัฒนาวิสัยทัศน์ส่วนบุคคลให้เป็นวิสัยทัศน์ร่วมกันขององค์การ

      3.สร้างทัศนคติต่อวิสัยทัศน์ในระดับผูกพัน

      4.ทำให้วิสัยทัศน์ส่วนรวมเป็นทิศทางสู่จุดมุ่งหมาย

 

   5.การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม (Team Learning)มี3 มิติ

          การสนทนาและการอภิปราย

          การเรียนรู้สภาพความเป็นจริงในปัจจุบัน

          การเรียนรู้วิธีปฏิบัติ

ขั้นตอนการพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้

1.การสร้างวิสัยทัศน์ร่วมให้เกิดในหน่วยงาน

2.การสร้างความเป็นเลิศส่วนบุคคลในหน่วยงาน

3.การพัฒนาโลกทัศน์ของบุคลากรให้เป็นโลกทัศน์ที่เหมาะสม

4.การสร้างบรรยากาศการเรียนรู้เป็นทีม

5.การพัฒนาการคิดอย่างเป็นระบบ

ผู้นำในองค์กรเป็นบุคคลที่มีบทบาทสำคัญยิ่งที่ต้องสร้างบรรยากาศและส่งเสริมการเรียนรู้ของบุคลากรในองค์กร ทำตนเป็นแบบอย่างใฝ่รู้ใฝ่เรียน ชักจูงดลใจให้เพื่อนร่วมงานพัฒนาตนเอง ปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ให้เหมาะสม เรียนรู้ร่วมกันคิดให้เป็นระบบ   ผู้นำในองค์การ    3 ระดับคือ

   _ผู้นำในระดับจัดการ

   _ ผู้นำระดับหัวหน้า

   _ผู้นำสร้างเครือข่าย

ผู้นำองค์การแห่งการเรียนรู้ต้องมีบทบาท 3สภาวะ

    1.บทบาทนักออกแบบ(designer)  กำหนดนโยบาย วางแผนกลยุทธ์ วางโครงสร้างองค์การตามรูปแบบกลยุทธ์

    2.บทบาทของครูผู้สอน (teacher)สอนให้เข้าใจระบบ สอนงาน

    3.บทบาทผู้ช่วยเหลือสนับสนุน (steward)สนับสนุนส่งเสริมสิ่งอำนวยความสะดวก สร้างสิ่งแวดล้อม

 

 การสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้

1.ยึดอนาคตเป็นหมุดหลัก

2.คนในองค์การแลกเปลี่ยนข่าวสารกัน

3.มีการติดต่อระหว่างองค์การ

4.มีการพัฒนาบุคลากร

5.มีการให้รางวัลการเรียนรู้

6.ให้คุณค่าแก่คน กระตุ้นให้คนมีความคิดเห็น

7.มีบรรยากาศเปิดเผยและไว้วางใจซึ่งกันและกัน

 

   กระบวนการบริหารในองค์การแห่งการเรียนรู้

1.วางฉากอนาคตและยุทธศาสตร์

2.วิเคราะห์คู่แข่ง

3.วางแผนขีดความสามารถ

4.พัฒนาทีมและพัฒนาองค์การ

5.จัดระบบรางวัลที่ท้าทายและคำชมเชย

 

เครื่องมือและเทคนิคที่ใช้ในองค์การแห่งการเรียนรู้

_การสัมภาษณ์ พูดคุย แสวงหาข้อมูล

_ความคิดสร้างสรรค์ ระดมสมอง นำความคิดมาเชื่อมต่อ

_รู้สึกถึงสถานการณ์ จัดระเบียบข่าวสาร ข้อมูล ความคิด

_ทำการเลือก ตัดสินการปฏิบัติการ

_สังเกตผลลัพธ์ บันทึก สังเกตการณ์

_วางกรอบความรู้ใหม่ ฝังความรู้ใหม่ เข้าใจรูปแบบจิตใจ ความทรงจำ

องค์การแห่งการเรียนรู้จำเป็นต้อง

1.รู้วิธีการกระจายอำนาจให้เป็นระเบียบ การมอบสิทธิอำนาจ

2.การเข้าใจอย่างเป็นระบบ

3.ใช้สุนทรียสนทนา

4.ใช้การนำ มิใช่การสั่งการ

         สิ่งท้าทายขององค์การแห่งการเรียนรู้

1.ไฟลนก้น ไฟไหม้ฟาง

2.เน้นเรื่องระบบ กระบวนการมากเกินไป เพิกเฉยองค์ประกอบอื่น

3.ลังเลที่จะอบรม

4.ต่างคนต่างนึกถึงแต่ประโยชน์ส่วนตน

5.มีการสั่งการ และตรวจตรามากเกินไป ขาดการมอบสิทธิอำนาจ

 

  การสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้มิใช่เพียงใช้เวลาเพียงข้ามคืนค่อยทำค่อยไปไม่มีตัวอย่างให้เห็น เป็นองค์การในอุดมคติสำคัญที่ผู้นำ บุคลากรทุกคนต้องรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตนเอง ต้องสร้างบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมแห่งการเรียนรู้ เพื่อการปรับปรุงการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง เพิ่มคุณภาพผลผลิต

      ผู้นำทางการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาจึงมีหน้าที่ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในการมองออกไปข้างนอก เพื่อการพัฒนาภายใน เพื่อการพัฒนาองค์การของตนให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ องค์กรที่คนเรียนรู้ตลอดเวลาแบ่งปันความรู้ซึ่งกันและกันอย่างต่อเนื่ององค์กรที่ยกระดับขีดความสามารถของผู้ปฏิบัติให้บรรลุประสิทธิผลของตนเองดึงศักยภาพออกมาจากครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อสัมฤทธิ์ผลของผู้เรียน

 

 

 

 

 

     

       

   

          

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 435275เขียนเมื่อ 13 เมษายน 2011 15:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่าน


ความเห็น

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท