โรคเลือดจางธาลัสซีเมีย (Thalassaemia) ตอนที่2


เบื่อโรค.....โรคเลือดจางธาลัสซีเมีย (Thalassaemia)

 

 

เป็นไงค๊ะ   ได้รู้จักกับโรคน่าเบื่อมาแล้วใน

"โรคเลือดจางธาลัสซีเมีย (Thalassaemia) ตอนที่1"

มาติดตามตอนที่2 กันดูน๊ะ      ด้วยความลุ้นระทึก!!!!!!!!!!!

                  เด็กไทยเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า   และเป็นอนาคตของชาติ  ควรได้รับการดูแลให้มีคุณภาพ  มีการพัฒนาที่สมดุลทั้งทางร่างกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ สังคม แต่ขณะนี้ พบว่าในแต่ละปี จะมีเด็กเกิดใหม่ป่วยด้วยโรคธาลัสซีเมียประมาณ ปีละ 12,125 ราย  ซึ่งปัญหาดังกล่าวจะส่งผลให้เด็กไทยมีพัฒนาการไม่สมวัย และเป็นภาระของครอบครัวที่จะต้องดูแล และให้การรักษาตลอดอายุขัย  โดยพบว่า เด็กป่วยด้วยโรคธาลัสซีเมียรุนแรงจะเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลตลอดอายุขัย  ประมาณ 1,260,000-6,600,000 บาท โดยเฉลี่ยที่คนละ 10,500 บาท/คน/ เดือน

   ส่วนค่าใช้จ่ายในการป้องกันและควบคุมโรค เฉพาะค่าใช้จ่ายในการตรวจวินิจฉัยจะพบเพียงคู่สมรสคู่ละ 48.28 บาท / คู่  ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายในการรักษาจะแตกต่างกันมาก

 

โอกาสเสี่ยงของการมีลูกเป็นโรคธาลัสซีเมีย 

กรณีที่ 1 ถ้าคุณและคู่ของคุณเป็นพาหะหรือมียีนแฝงทั้ง 2 คนในการตั้งครรภ์แต่ ละครั้ง ลูกของคุณมีโอกาส

1. เป็นโรคเลือดจางธาลัสซีเมีย ร้อยละ 25

2. มียีนแฝงร้อยละ 50

3. ปกติ ร้อยละ 25  

กรณีที่ 2   ถ้าคุณและคู่ของคุณมียีนแฝง   คนใดคนหนึ่ง ในการตั้งครรภ์แต่ละครั้ง ลูกของคุณมีโอกาส

1. มียีนแฝง ร้อยละ 50

2. ปกติ ร้อยละ 50

กรณีที่ 3 ถ้าคุณหรือคู่ของคุณ     เป็นโรคเลือดจางธาลัสซีเมียคนใด คนหนึ่ง อีกคนปกติ ในการตั้งครรภ์ทุกครั้ง ลูกของคุณทุกคน

กรณีที่ 4   ถ้าคุณหรือคู่ของคุณเป็นโรคเลือดจางธาลัสซีเมีย

คนใดคนหนึ่งและอีกคนมียีนแฝง ในการตั้งครรภ์แต่ละครั้ง

1. ลูกคุณมีโอกาสเป็นโรคเลือด จางธาลัสซีเมีย      ร้อยละ 50

2.  มียีนแฝง   ร้อยละ 50

3.จะมียีนแฝง หรือเท่ากับ ร้อยละ 100

   

 การดูแลสุขภาพ

    -  ออกกำลังกายไม่ให้เหนื่อยเกินไป เนื่องจากมีกระดูกที่เปราะง่าย จึงควร

       หลีกเลี่ยงการออกำลังกายผาดโผน

    -  ไม่สูบบุหรี่ เพราะมีอาการซีดอยู่แล้ว จะทำให้ร่างกายขาดออกซิเจนมากขึ้น

    -  ไม่ดื่มสุรา เพราะมีผลเสียต่อตับ ซึ่งมีธาตุเหล็กไปสะสม

    -  กินอาหารที่มีประโยชน์ มีโปรตีนสูง เช่น ไข่ นม เป็นต้น

    -  ดื่มน้ำชาหลังอาหารเพื่อลดการดูดซึมของธาตุเหล็ก

    -  ตรวจฟันทุก 6 เดือน เนื่องจากฟันผุ

 

การให้เลือด    มี  2  แบบ คือ

    1.  แบบประคับประคอง  เพิ่มระดับฮีโมโกลบินขึ้นสูงกว่า 6-7 กรัม /

        เดซิลิตร  (ไม่ให้ซีดลงไปมากกว่านี้)

    2.  ให้เลือดจนหายซีด  คือ เพิ่มระดับฮีโมโกลบินให้ใกล้เคียงกับคน

        ปกติอยู่ในเกณฑ์ 10 กรัม / เดซิลิตร

       (ข้อเสียของวิธีนี้ คือ ต้องรับเลือดสม่ำเสมอ อาจมีปัญหาแทรกซ้อน

       ในการให้เลือด เช่น  เกิดการติดเชื้อ แพ้เลือด , ภาวะความดันสูง ,

       ภาวะเหล็กเกิน )

 

การให้ยาขับเหล็ก

 โดยวิธีฉีดนั้น คือ ฉีดเช้าใต้ผิวหนังให้ยาช้า ใช้เวลาครั้งละ 10-12 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 5-6 วัน นิยมฉีดก่อนนอน และถอดเข็มออกเมื่อตื่นนอนตอนเช้า เหล็กจะถูกขับถ่ายออกจากร่างกายทางปัสสาวะและอุจาระจะสังเกตได้จากสีปัสสาวะที่เข้มขึ้นมากขณะขับธาตุเหล็ก

การตัดม้าม 

      ผู้ป่วยจะมีอาการม้ามโต  ระยะแรกม้ามจะช่วยในการสร้างเม็ดเลือด

แต่ม้ามมีหน้าที่ทำลายเม็ดเลือดที่หมดอายุ  ม้ามต้องทำงานหนัก ม้ามจึงโตขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ท้องป่องและอึดอัด

      ผลดี  หลังการตัดม้ามทำให้หายอึดอัด และอัตราการให้เลือดจะลดลงมาก การดูดซึมธาตุเหล็กเพิ่มขึ้น และเหล็กซึ่งเดิมเคยสะสมที่ม้าม จะไปสะสมในอวัยวะต่าง ๆ เช่น ตับ  ตับอ่อน

      ผลเสีย คือ อาจมีภาวะติดเชื้อได้ง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กอายุน้อยกว่า 4 ปี

การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือด 

 ปัจจุบันเป็นวิธีเดียวที่สามารถรักษาโรคธาลัสซีเมียให้หายขาดได้  ส่วนใหญ่แพทย์จะเลือกทำการรักษาโดยวิธีนี้ในผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมียรายรุนแรง และไม่มีภาวะแทรกซ้อนของโรคธาลัสซีเมีย ชัดเจน เช่น ไม่มีตับแข็งหรือเป็นเบาหวาน ได้แก่ ธาลัสซีเมียในเด็กนั่นเอง และมีพี่น้องที่ไม่เป็นโรค รวมทั้งมีลักษณะทางพันธุกรรมของเลือดที่เรียกว่า HLA เหมือนกับผู้ป่วย โดยเสียค่าใช้จ่ายในการปลูกถ่ายไขกระดูกและการปลูกถ่ายเลือดสายสะดือใกล้เคียงกัน ประมาณ 300,000-600,000 บาท/คน  ปัจจุบันสามารถปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดจากผู้บริจาคอื่นที่ไม่ใช่ญาติ ที่มี HLA ตรงกับผู้ป่วยได้แล้ว แต่จะมีค่าใช้จ่ายสูงขึ้นมากกว่าเดิมมาก

  สถิติการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือด

  โรงพยาบาลศิริราช (มิถุนายน 2546) ได้ทำการรักษาผู้ป่วยธาลัสซีเมียด้วยวิธีนี้ในเด็กไปแล้ว รวม 74 ราย หายจากโรค 53 ราย  กลับเป็นโรคอีก 13 ราย และถึงแก่กรรม 8 ราย และรักษาโดยใช้เลือดสายสะดือของน้อง ทำไปรวม 16 ราย พบว่า ผู้ป่วยหายจากโรค 9 ราย กลับเป็นโรคอีก 4 ราย และถึงแก่กรรม 3 ราย

 

คำแนะนำสำหรับผู้เป็นพาหะธาลัสซีเมีย

ผู้เป็นพาหะสามารถถ่ายทอดโรคนี้ไปสู่ลูกได้  จึงควรวางแผนก่อนมีลูก  เพื่อหลีกเลี่ยงการมีลูกเป็นโรคเลือดจางธาลัสซีเมีย ควรพาคู่สมรสไปตรวจเลือดก่อนมีลูก และผู้เป็นพาหะควรแนะนำให้ญาติ พี่ น้อง ไปตรวจเลือดด้วย  

 

เบื่อโรคไหมค๊ะ….....เบื่อโรคเลือดจางสุดๆๆๆๆๆ


 

หมายเลขบันทึก: 435226เขียนเมื่อ 13 เมษายน 2011 04:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2013 10:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท