โรคเลือดจางธาลัสซีเมีย (Thalassaemia) ตอนที่1


โรคเลือดจางธาลัสซีเมีย (Thalassaemia

 

                      

 

พวกเราเคยสังเกตุบ้างไหมค๊ะว่าในระยะนี้มีคนบ่นกันมากว่าเป็นโรคเลือดจางตัวซีด  อ่อนเพลีย  บางคนบอกว่าเล่นเกมมากๆก็ตัวซีด   นอนดึกก็ซีด  กินผักน้อยก็ซีดหรือเป็นความตั้งใจอยากซีดตามเทรนเกาหลี?????

เรามาดูกันดีกว่าว่ามันอะไรกันแน่

  

สถิติของผู้ป่วยธาลัสซีเมียในประเทศไทย พบว่า   
      -  ผู้ป่วยโรคเลือดจางธาลัสซีเมียประมาณร้อยละ 1 ของประชากร
         ซึ่งขณะนี้มี 63 ล้านคน มีผู้ป่วยธาลัสซีเมียประมาณ 630,000 คน
      -  ผู้ที่เป็นพาหะของโรค ร้อยละ 30-40 ของประชากร ประมาณ
         18-24 ล้านคน
      -  การตั้งครรภ์ 5 ใน 100 ของหญิงมีครรภ์ ที่เสี่ยงต่อการมีบุตร
         เป็นโรคธาลัสซีเมีย 
 
โรคเลือดจางธาลัสซีเมีย (Thalassaemia)
เป็นโรคเลือดจางที่มีสาเหตุเกิดจากความผิดปกติของยีน(พันธุกรรม)  ทำให้การสร้างฮีโมโกลบินลดลง (สารสีแดงในเม็ดเลือด) และฮีโมโกลบินเป็นโปรตีนสำคัญอยู่ในเม็ดเลือดแดง มีหน้าที่ในการนำพาออกซิเจนไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย  จึงทำให้เม็ดเลือดแดงมีอายุสั้นกว่าปกติ  แตกง่าย ถูกทำลายง่าย  โดยจะถูกทำลายตั้งแต่อยู่ในไขกระดูก  หรือถูกจับกินเร็วขึ้นในกระแสเลือด  เกิดภาวะซีดเรื้อรังและภาวะแทรกซ้อนอื่นตามมา
 
สถิติหญิงมีครรภ์ที่มาเจาะเลือด  ต่อ10,000คน  พบว่าทารกในครรภ์เป็น
โรคเลือดจางธาลัสซีเมีย (Thalassaemia) ดังนี้
 
  ภาคกลาง            197          :   10,000 คน
  ภาคอีสาน            161.04     :   10,000 คน
  ภาคเหนือ            239          :   10,000 คน
  ภาคใต้                  41          :   10,000 คน
 
 ชนิดและอาการ
 
1. ผู้ที่มียีนแฝงอยู่หรือเป็นพาหะ
        คือ ผู้ที่มียีนหรือสารพันธุกรรมผิดปกติ ที่ทำให้เป็นโรคธาลัสซีเมียแฝงอยู่ บุคคลเหล่านี้จะมีสุขภาพปกติเหมือนคนทั่วไป ไม่ถือว่าเป็นโรค  จะมีชีวิตยืนยาวเหมือนบุคคลอื่น ๆ  แต่สามารถถ่ายทอดยีน ธาลัสซีเมียต่อไปให้ลูกได้
  
2.  เด็กที่ป่วยด้วยโรคธาลัสซีเมีย  จะมีอาการดังนี้
-หน้าซีด โหนกแก้มสูง ผิวคล้ำ 
-หน้าผากกว้าง  ตาเหลือง ดั้งจมูกแฟบ
-ตับ  ม้ามโต
-ตัวเล็กผิดปกติ   อาจไม่มีความเจริญทางเพศ  
-อาจมีแผลเรื้อรังที่ขา
                  
โรคเลือดจางธาลัสซีเมีย แบ่งออกเป็น 3 ชนิด
 
 
1. ชนิดรุนแรงที่สุด คือ ทำให้ทารกตายตั้งแต่อยู่ในครรภ์หรือหลังคลอด
2. ชนิดรุนแรง คือ  แรกเกิดจะไม่มีอาการ จะสังเกตอาการเห็นได้ชัดเมื่ออายุประมาณ 3-6 เดือน คือ ซีด  อ่อนเพลีย  ท้องป่อง  ตับม้ามโต  มักซีดมาก  จนต้องได้รับเลือดเป็นประจำ
3. ชนิดปานกลางและรุนแรงน้อย จะซีดมากขึ้นเมื่อมีไข้
                                             
 
หมายเลขบันทึก: 435225เขียนเมื่อ 13 เมษายน 2011 02:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2013 09:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มาจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท