การนำสมรรถนะไปใช้ในระบบการบริหารทรัพยากรบุคคล ในด้านการสรรหาและการคัดเลือก


การนำสมรรถนะไปใช้ในระบบการบริหารทรัพยากรบุคคล ในด้านการสรรหาและการคัดเลือก

"การนำสมรรถนะไปใช้ในระบบการบริหารทรัพยากรบุคคล

ในด้านการสรรหาและการคัดเลือก"

การนำแนวคิดเรื่องสมรรถนะไปใช้ในการบริหารงานทรัพยากรบุคคล เชื่อว่า จะทำให้การบริหารทรัพยากรบุคคลมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งส่งผลให้องค์การสามารถบรรลุถึงวิสัยทัศน์ ภารกิจ กลยุทธ์ที่กำหนดไว้ได้เร็วและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องการคัดเลือก การพัฒนา การประเมินและการบริหารผลงาน ดังนี้...

1. การสรรหาและการคัดเลือก

2. การพัฒนาทรัพยากรบุคคล

3. การประเมินผลงาน

4. การบริหารผลตอบแทน

5. การบริหารผลงาน

1. การสรรหาและการคัดเลือก ในกระบวนการสรรหาและคัดเลือกบุคลากรเข้ามาทำงานในสายงานหรือตำแหน่งต่าง ๆ นั้น สมรรถนะ (Competency) ถือเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยพิจารณาได้ว่าบุคคลที่จะเข้ามาทำงานในตำแหน่งต่าง ๆ ควรมีความรู้ ทักษะ ความสามารถ คุณลักษณะอย่างไร ระดับไหนถึงจะเหมาะสมกับตำแหน่งนั้น ๆ ทั้งนี้ อาจกล่าวได้ว่าระบบการคัดเลือก เน้นที่ความรู้ ทักษะ ความสามารถและคุณลักษณะอื่น ๆ เช่น ประสบการณ์ สำหรับสมรรถนะ (คุณลักษณะเชิงพฤติกรรม) เป็นส่วนเสริมเข้ามาเพื่อช่วยให้เลือกจ้างบุคคลที่มีความเหมาะสมกับตำแหน่งมากยิ่งขึ้น

สมรรถนะเป็นสิ่งที่ใช้ทำนายผลการปฏิบัติงานหรือเป็นส่วนหนึ่งของผลการปฏิบัติงาน

เมื่อมองจากแนวคิดของโมเดลการคัดเลือกบุคลากร สมรรถนะสามารถใช้เป็นสิ่งที่วัดเพื่อทำนายผลการปฏิบัติงาน หรือเป็นส่วนหนึ่งของผลการปฏิบัติก็ได้ โมเดลการคัดเลือกบุคลากรอย่างง่าย ได้แก่...

การวัดเพื่อทำนายผลการปฏิบัติงาน เช่น การวัดความรู้ความสามารถทั่วไป เพื่อมุ่งไปสู่ผลการปฏิบัติงาน (งานที่มอบหมาย + พฤติกรรม)

จะเห็นได้ว่า การวัดความรู้ ทักษะ ความสามารถและคุณลักษณะอื่น ๆ ที่สำคัญต่อการทำงานนั้นเป็นส่วนที่เน้นในกระบวนการคัดเลือก และกระบวนการฝึกอบรมพัฒนา นอกจากนี้แล้วยังมีการนำคุณลักษณะเชิงพฤติกรรมมาใช้ประโยชน์ในการคัดเลือกอีกด้วย ด้วยการใช้หลักว่า "พฤติกรรมในอดีตใช้ทำนายพฤติกรรมในอนาคตได้ดีที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ที่คล้ายกันและในเวลาที่ไม่ห่างกันจนเกินไปนัก" ประโยชน์ที่นำมาใช้ เช่น การสัมภาษณ์เพื่อค้นหาว่าผู้สมัครมีพฤติกรรมในอดีตคล้ายกับพฤติกรรมที่ตำแหน่งงานต้องการหรือไม่ คือ ถ้าต้องการค้นหาว่าผู้สมัครเป็นผู้ที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ในการทำงานหรือไม่ ก็สัมภาษณ์ประวัติเพื่อดูว่าผู้สมัครมีลักษณะของความขยันขันแข็ง รับผิดชอบ เอาใจใส่ (ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นพฤติกรรมของการมุ่งผลสัมฤทธิ์) มาในอดีตหรือไม่ เป็นต้น

โดยสรุป สมรรถนะสามารถใช้เป็นสิ่งที่ทำนายผลการปฏิบัติงานหรือเป็นส่วนหนึ่งของผลการปฏิบัติงานก็ได้ แต่จะใช้ในเรื่องใดต้องมีความเข้าใจ เพราะวิธีการประเมินและจุดประสงค์ของการใช้สมรรถนะจะแตกต่างกันไป

ประโยชน์ของการนำสมรรถนะ (Competency) มาใช้ในการสรรหาและคัดเลือก...

ช่วยให้การคัดเลือกบุคคลเข้าทำงานถูกต้องมากขึ้น เพราะคนบางคนเก่ง มีความรู้ความสามารถสูง ประสบการณ์ดี แต่อาจจะไม่เหมาะสมกับลักษณะการทำงานในตำแหน่งนั้น ๆ หรือไม่เหมาะสมกับลักษณะของวัฒนธรรมองค์การก็ได้

นำไปใช้ในการออกแบบคำถามหรือแบบทดสอบ เช่น การสัมภาษณ์

ลดการสูญเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการทดลองงาน

ช่วยลดการสูญเสียเวลาและทรัพยากรในการพัฒนาฝึกอบรมบุคลากรใหม่ที่มีความสามารถไม่สอดคล้องกับความต้องการของตำแหน่งงาน

ป้องกันความผิดพลาดในการคัดเลือก เพราะหลายครั้งที่ผู้ทำหน้าที่คัดเลือกมีประสบการณ์น้อย ตามผู้สมัครไม่ทัน

ศึกษาเรื่อง การนำสมรรถนะไปใช้ในระบบการบริหารทรัพยากรบุคคล

ในด้านการสรรหาและการคัดเลือก ได้จากไฟล์ด้านล่างนี้...

http://gotoknow.org/blog/bussayamas/434666

หมายเลขบันทึก: 434662เขียนเมื่อ 8 เมษายน 2011 23:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 เมษายน 2016 15:06 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เหนื่อยมากไหมครับอาจารย์......มาให้กำลังใจครับ

สวัสดีค่ะ...ครูจตุรงค์...

  • บางครั้ง การที่เราทำแล้ว เรามีความสุขใจ ที่เราได้ให้ ยิ่งเป็นความรู้ที่เรามีอยู่ แล้วเราได้ให้ผู้อื่น ผู้ซึ่งไม่รู้ หรือรู้แล้วแต่ยังไม่กระจ่าง และให้โดยไม่หวังสิ่งใดตอบแทน... พี่ว่าเป็นการทำบุญทางใจอย่างมหันต์เลยนะค่ะ...ไม่เหนือยหรอกค่ะ เพราะเราทำด้วยใจไงค่ะ
  • ขอบคุณสำหรับกำลังใจค่ะ...
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท