beeman 吴联乐
นาย สมลักษณ์ (ลักษณวงศ์) วงศ์สมาโนดน์

เรื่องเล่า "วิชาชีวิต"<๑๒> สอนให้นิสิตมีความสุขจากการคิดบวก


เมื่อเรามีประสบการณ์จากการคิดบวก จะทำให้เรามี EQ ที่สูงขึ้น และชีวิตจะมีความสุขมากกว่าแต่ก่อน

 หัวข้อ "การคิดบวก" หรือ "Positive thinking" มีสอนอยู่ทั่วไปในมหาวิทยาลัย อย่าง "วิชาศึกษาทั่วไป" หรือ "GE=General Education" ที่ผมร่วมสอนอยู่ในรายวิชา Living management หรือการจัดการดำเนินชีวิต ก็มีการสอนหัวข้อนี้

    เท่าที่เคยเห็น ผู้สอนส่วนมากมักกล่าวอ้างทฤษฎีต่างๆ เอามาสอน เป็นเอาความคิดของผู้อื่นมาสอน และมักสอนโดยยกตัวอย่างของคนอื่นๆ แสดงว่า ผู้สอนไม่ได้มีประสบการณ์ของการคิดบวกมากนัก

   สมัยก่อนนี้ ผมไม่ค่อยมีความทุกข์อะไร เพราะคิดบวกอยู่แล้ว แต่เมื่อได้ไปอ่านข้อคิด เรื่อง "ชีวิตคิดบวก" ของคุณบุญเกียรติ โชควัฒนา [อ่านบันทึก ความรู้มือสอง <๘> ชีวิตคิดบวก] ทำให้ผมต้องมาทบทวนวิธีคิดของผมใหม่ โดยให้พยายามฝึกคิดบวกกับทุกๆ เรื่องที่เข้ามาในชีวิต..เราจึงมีความสุขเพิ่มขึ้นจากการเรียนรู้วิธีคิดบวกของเราเอง

   เมื่อเราคิดบวกแล้วต้อง Share ประสบการณ์ให้คนอื่นๆ ได้รับรู้ด้วย

   ผมโชคดีที่มีวิชาสอน ที่ผมเป็นเจ้าของรายวิชา คือ "วิชาการเลี้ยงผึ้ง" ซึ่งวิชานี้ผมได้สอดแทรก "วิชาชีวิต" หรือ "วิชาการใช้ชีวิต" เข้าไปด้วย เป็นวิชาที่ช่วยให้นิสิตมีภูมิต้านทานมากขึ้น

   ผมมักสอน "วิชาชีวิต" โดยนำเอาประสบการณ์มาเล่าให้นิสิตฟัง เป็นการสอนวิธีคิด อย่างเรื่อง "การคิดบวก" นี้ผมก็นำประสบการณ์ที่เกิดขึ้นกับตัวเอง มาเล่าให้นิสิตฟัง

   ตัวอย่างเรื่อง "การคิดบวก" ของผม

  1. เรื่อง "กระเป๋าหาย" (อ่านเรื่องเดิมที่นี่ "กระเป๋าหาย")  พอเราเล่าเรื่องที่เป็นมูลเหตุของการที่กระเป๋าเดินทางของเราหาย แล้วเราก็เล่าเรื่อง "การคิดบวก" ต่อ คือ สอนวิธีคิดของเราว่า "ในจำนวนผู้ลงเรือ 40 คน ไม่มีกระเป๋าใครหาย มีของเราคนเดียว ต้องถือว่าโชคดี เพราะเราจะได้มีโอกาสเรียนรู้พฤติกรรมตนเองจากวิธีคิดของเรา" เมื่อกระเป๋าเราหายไปแล้ว "ให้คิดก่อน อย่างเพิ่งไปโทษใคร สำรวจดูตัวเองก่อนว่า เรามีส่วนบกพร่องอย่างไร กระเป่าถึงได้หายไป" ต่อไปคิดว่า "กระเป๋าเราได้มาฟรี คิดแบบอิทัปปัจจยตา ก็คือ กระเป๋ามันไม่มีตั้งแต่ต้นแล้ว ดังนั้นเราก็จะไม่ทุกข์ที่กระเป๋าหาย"
  2. เรื่อง "คนที่บ้านหายไป" เรื่องนี้เกิดกับคนที่บ้าน เขาโกรธเราด้วยเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แล้วเขาก็หนีออกจากบ้านไปในตอนค่ำคืน เราก็เป็นห่วงเขาเกรงว่าจะเกิดอันตราย ลองโทรศัพท์ติดต่อ เขาก็ปิดมือถือ..ถ้าเราคิดเป็นห่วงเขา เราก็จะนอนไม่หลับ จึงต้องคิดบวกก่อนว่า "เขาไม่เป็นอะไร เดี๋ยวเขาหายโกรธ ก็กลับมาเอง" แล้วเราก็นอนหลับไป

       พอตอนเช้า ก็ลองติดต่อโทรศัพท์ไปใหม่ เขาก็ไม่เปิดโทรศัพท์ แต่เราลองติดต่อไปบ่อยๆ เขาเปิดโทรศัพท์ พูดคุยกับเรา แต่ไม่บอกว่าอยู่ที่ไหน แต่เราสังเกตจากเสียงของสิ่งแวดล้อมรอบข้าง (เสียงไก่ขัน) ทำให้เราเดาได้ว่าเขาอยู่ที่ไหน แล้วเราก็จะไม่ทุกข์เพราะความเป็นห่วงเขา...จากนั้นไม่เกิน 24 ชั่วโมงเขาก็กลับมา

    นี่ถ้าเราไม่คิดบวก คิดเป็นห่วงเขา ไปเที่ยวตามหาเขาก็จะไม่พบ และเป็นทุกข์ไปเปล่าๆ

   และทุกครั้งที่เกิดเรื่องทุกข์แก่เรา ต้องคิดว่า นี่คือบททดสอบจิตใจของเรา จากผู้ที่อยู่เหนือเรา (เบื้องบน..อิอิ)

   เมื่อเรานำเรื่อง "การคิดบวก" มาเล่าให้นิสิตฟังบ่อยๆ เขาก็จะรู้สึก "อิน" ไปกับเรา แล้วเขาก็เริ่มคิดบวกตาม (เพราะเราคิดบวกก่อน) เมื่อเริ่มคิดบวก ชีวิตเขาก็ไม่ค่อยทุกข์แล้ว..

   แล้วเอาไว้ผมลงเรื่อง "วิธีคิด" ของนิสิต หลังจากได้ฟังประสบการณ์ การคิดบวก จากผู้สอน แล้วเขาจะสะท้อนภาพออกมาอย่างไรบ้าง..โปรดติดตาม

  

หมายเลขบันทึก: 434629เขียนเมื่อ 8 เมษายน 2011 17:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2013 23:37 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
  • สวัสดีค่ะ
  • การได้ฟังบ่อยๆทำให้อินไปกับเรื่องนั้นได้จริงค่ะ
  • การชักจูงคนให้โน้มเอียง จึงต้องอาศัยการพูดชักจูงบ่อยๆ
  • ขอบคุณค่ะ

ได้ตัวอย่างดีดีอีกแล้วค่ะ ขอไปใช้กับลูกน้องนะคะ

เรียน ท่านศึกษานิเทศก์

  • ผมได้เรียนรู้กลับมาครับว่า "การชักจูงคน ต้องพูดให้ฟังบ่อยๆ"
  • ต้องขอขอบคุณครับ

 

เรียน ท่านแก้วอุบล

  • ยินดีเป็นอย่างยิ่งครับ

อ้อ กำลังจะเดินทางค้นหาครูเพื่อศิษย์ที่ จ.พิษณุโลก วันพุธ 12 ก.ค. นี้ จะแวะไปหา อ. beeman ได้ไหมคะ

  • ยินดีครับ ผมว่างหลัง 10.00 น.ครับ
  • ติดต่อเบอร์ 087-7319200 DTAC ครับ
  • ดีนะครับที่ผมเปิดเมล์

อาจารย์ชีวิตคิดบวกมีความสุขกับคนรอบข้างด้วยคะ ขอบคุณค่ะ

ช่วยชีวิตเพราะคิดบวกจริงๆคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท