โสภณ เปียสนิท
นาย โสภณ เปียสนิท ตึ๋ง เปียสนิท

เก็บมาฝากจากงานสัมมนา


งานวิจัและงานในลักษณะอื่นๆ เพื่อเสนอขอกำหนดตำแหน่งทางวิชการ

เก็บมาฝากจากงานสัมมนา

โสภณ เปียสนิท

.................................................

(ภาพถ่ายยามเช้าผ่านกระจก จาก รร. โรยัลซิตี้ ปิ่นเกล้า)

ระหว่างวันที่ 31 มีนาคม-2 เมษายน 2554 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ศาลายา นครปฐม จัดให้มีการสัมมนา เรื่อง “งานวิจัยและงานในลักษณะอื่นๆ เพื่อเสนอขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ” แก่บุคลากรสายการสอน และสายอื่นๆ กว่า 300 ชีวิต ณ ห้องคชาธาร


หัวข้อการสัมมนาในวันที่ 31 มีนาคม น่าสนใจไม่น้อย “ข้อควรระวังในการเสนอขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ” โดย

ศ. กิตติคุณปรีชา ช้างขวัญยืน

ศ.ดร. วัลลภ สุรกำพลธร

ศ.ดร.สมชาย วงศ์วิเศษ

ศ.ดร.สุทัศน์ ยกส้าน และ

ศ. เกียรติคุณประหยัด พงศ์ดำ โดยมี ผศ.ดร.เจนศักดิ์ เอกบูรณะวัฒน์ เป็นพิธีกร ดำเนินการซักถามและเปิดประเด็นอภิปราย พร้อมเปิดรับคำถามจากวงเสวนา

หัวข้อที่กำหนด คือ ตำแหน่งวิชาการ ผลงานวิชาการและ เผยแพร่ในวงวิชาการ

หนังสือตำรา และสิ่งประดิษฐ์

มักจะคิดว่าเขียนหนังสือไม่เก่ง

ประหยัด พงศ์ดำ อธิบายการวาดภาพว่า วาดอย่างเดียวไม่เพียงพอ ต้องอธิบายให้เห็นเป็นขั้นเป็นตอนประกอบไปด้วย อย่านึกว่าวาดเจดีย์ใหญ่โตสวยงามแล้วก็หยุดอยู่เพียงแค่นั้น

ศ.ปรีชา ช้างขวัญยืน กล่าวว่ามนุษยศาสตร์เป็นสาขากว้างมองได้หลายด้านหลายแง่หลายมุม มองผ่านความคิด ประวัติศาสตร์ ปรัชญา ภาษา ศิลปะ ถึงที่สุดคือการประเมินค่า เช่น ปลาตัวหนึ่ง วิทยาศาสตร์มองโครงสร้างของปลา วิธีเลี้ยงปลา นักสังคมศาสตร์ มองปลาในเชิงเศรษฐศาสตร์ ว่าปลาขายได้ ส่วนนักมนุษย์ศาสตร์มองว่าปลาสวยงาม มองแล้วสุขใจ

ด้านมนุษยศาสตร์หลุดพ้นเลยประสาทสัมผัสไปแล้ว เชื่อมโยงความคิดเข้าเป็นระบบ งานหลายชิ้นมีปัญหา เพราะมองเข้าไปไม่ถึงการประเมินค่า  เป็นวิชาที่ต้องสะสมตลอดเวลายาวนาน

ทำสำคัญต้องทำงานให้เป็นที่ยอมรับ อย่าถามว่ามีเรืองอะไรให้วิจัยบ้าง การขอทุนวิจัยแล้วไม่ได้ ก็อย่าท้อ ให้คิดขยายงานต่อไป วิจัยเรื่องสมุนไพรรักษาช้าง เมื่อไม่ได้ก็ต้องขยายด้านกว้าง เช่นช้างไทย ช้างลาว ช้างอินเดีย ช้างศรีลังกา มีการรักษากันอย่างไร

กำหนดปัญหาใหญ่เกินไปก็ไม่ได้เงินวิจัย เช่น การใช้อริยะสัจแก้ปัญหาในที่ทำงาน หัวข้อนี้ใหญ่เกินไป ไม่ชัดเจน ทุกข์คือสภาวะที่ขัดแย้งกัน มันใหญ่เกินไป

บางคนเสนอหัวข้องานวิจัยด้านภาษาอังกฤษ ต้องระวังให้ดี การสื่อสารกับภาษาอังกฤษ เพราะการสื่อสารก็เป็นส่วนหนึ่ง เช่น การใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร หน้าตา ท่าที ก็เป็นการสื่อ ภาษาอังกฤษก็เป็นส่วนหนึ่ง เช่นศึกษาด้านคำศัพท์ ประโยค วลี ไวยากรณ์ ต้องกำหนดได้ดีว่าเราจะทำงานด้านการสื่อสาร หรือทำวิจัยด้านภาษาอังกฤษ

ความรู้ทางทฤษฏีอย่างเดียวไม่พอ เป็นการรับรู้ทางประสาทสัมผัส (perception) ต้องใช้ญาณหยั่งรู้ประกอบด้วย (intuition) ระบบความคิดต้องเชื่อมโยงกับความรู้เดิม และต้องอ้างอิง ต้องพิสูจน์ความเชื่อ สร้างทฤษฏีใหม่ ต้องประเมินความเป็นไปได้ ต้องประเมินคุณค่า

คำถามจากด้านล่างว่า “ผลงานเผยแพร่แล้ว แต่ปรับแก้ ต้องเผยแพร่อีกหรือไม่ ตอบ ต้องทำใหม่ เขียนใหม่ ต้องบ่งชี้ชัดเจนว่าเคยตีพิมพ์ ต้องรู้ว่า เผยแพร่ที่ไหน นานเกินไปก็ต้องทำใหม่

คำถามว่า “เมื่อรับอาจารย์ด้านการสอนภาษาอังกฤษ จะให้อาจารย์ท่านนั้นทำงานการสอน หรือทำงานด้านภาษาอังกฤษ คำตอบ ต้องระวังว่าจะเน้นไปทางด้านไหน ให้ตรงกับวิชาที่จบ ที่สอนอยู่ในขณะนั้น

คำถามว่า “เอกสารประกอบการสอน และเอกสารคำสอน ต่างกันอย่างไร” ต่างกันที่ระดับความละเอียด เอกสารประกอบการสอนเป็นเบื้องต้น ส่วนเอกสารคำสอนนั้น เหมือนตำราที่เราใช้สอน

 

(ในภาพ รศ. ดร. ณัฐชยา เฉลยทรัพย์ อ. ประจำกลุ่มภาษาอังกฤษจากนิด้า) ให้คำแนะนำอย่างเป็นกันเอง 

 

ส่วนภาคบ่าย รศ. จันทนี เพชรานนท์ และ ผศ. วราพร เหลือสินทรัพย์ บรรยายหัวข้อ “คุณลักษณะเฉพาะของงานวิจัยและงานลักษณะอื่นๆ เพื่อใช้เสนอขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ” แนะนำว่า การคัดเลือกคนตรวจประเมินผลงานก็สำคัญ เลือกได้ถูกต้องถูกทางก็จะดีมาก บทความวิชาการ บทความวิจัย เสนอแล้วไม่อาจปรับปรุงได้อีก

งานวิจัยต้องทันสมัยและได้องค์ความรู้ใหม่ (Body of Knowledge)

 

วันที่ 1 เมษายน 2554 เป็นภาคปฏิบัติเรื่อง “งานวิจัยเพื่อเสนอขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ” รศ. จันทนี เพชรานนท์ และทีมงานรับผิดชอบทั้งภาคเช้าและบ่าย

วันเสาร์ที่2 เมษายน 2554 เรื่องการประเมินผลงานทางวิชาการสาขาวิชาต่างๆ โดย แยกเป็นกลุ่มตามสาขาวิชา มอบให้คณาจารย์แต่ละคนรับหน้าที่ให้คำแนะนำตามถนัด ตามลำดับดังนี้

โดยภาษาอังกฤษมอบ รศ. ดร. ณัฐชยา เฉลยทรัพย์

สาขาวิชาสถาปัตย์ มอบ รศ.ดร. นภดล สหชัยเสรี

สาขาวิชาบัญชี มอบรศ.ดลพร บุญพารอด

สาขาวิชาการตลาด-การจัดการ มอบ รศ.ดร. กิ่งพร ทองใบ

สาขาวิชาโรงแรม-ท่องเที่ยว มอบ รศ.ดร. วิศินา จันทรศิริ

สาขาวิชาสังคมศาสตร์ มอบ ศ.ดร.ศรีเรือน แก้วกังวาน

สาขาวิชาคณิตศาสตร์ มอบศ.ดร. กฤษณะ เนียมมณี

สาขาวิชาระบบสารสนเทศ มอบ รศ.ดร.ชุลีรัตน์ จรัสกุลชัย

สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา มอบ รศ.ดร.สุวิมล สัจจวาณิชย์ และผศ.ดรงเจนศักดิ์ เอกบูรณะวัฒนา

 

หมายเลขบันทึก: 434209เขียนเมื่อ 5 เมษายน 2011 14:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:40 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)
  • สวัสดีค่ะ
  • อ่านไป ดูภาพ พักสายตาไป
  • ได้ความรู้ จะนำไปปรับใช้ค่ะ
  • ขอบคุณมาก

Ico48เรียนคุณลำดวนครับ

ภาคเช้าวันเปิดงาน ฝ่ายจัดเขานำ ศ. 5 คนมารวมไว้บนเวทีเวลาเดียวกัน

เวลาอภิปรายก็แค่ 2-3 ชม. ไม่เพียงพอสำหรับผู้ทรงความรู้ หลายคนแนะว่า ควรแยกไว้เช้าละ 2 คน อาจทำให้ได้ความรู้มากยิ่งขึ้น 

ท่านอาจารย์เก็บสาระสำคัญมานำเสนอได้อย่างเห็นภาพจริงๆ

ขอบคุณองค์ความรู้ดีๆนี้ด้วยนะครับ

ขอบคุณที่นำสาระประโยชน์จากงานสัมมนาครั้งนี้ มามอบให้ผู้อ่านค่ะท่านอาจารย์โสภณ

อ่านแล้ว..ย้อนไปถึงช่วงทำงานเป็นอ.ประจำ ๒ สถาบันจริงๆค่ะ

งานสัมมนา การแต่งตำรา อย่างที่อาจารย์ถาม..ว่าไปสัมมนาที่ไหนบ้าง

ตอนนี้กลายเป็นอดีตตั้งแต่ลาออกมาเป็นอ.พิเศษ เพราะสอนอย่างเดียว

อ้อ..แต่ที่ราชมงคล ก็ให้เกียรติเชิญเข้าประชุมเรื่องหลักสูตรใหม่

แถมเชิญคุณนิรุตต์ ศิริจรรยา มาให้ความเห็นในมุมมองของนักธุรกิจ

เพราะเตรียมหลักสูตรภาษาอังกฤษธุรกิจกันน่ะค่ะ..นั่นคืองานสุดท้ายที่เข้าร่วม

..

ตอนนี้..มีแต่หน้าลูกกับม้า(อาชาบำบัด)ส่วนใหญ่ค่ะ..อิอิ

สวัสดีค่ะ

มีครั้งหนึ่งเคยเลี้ยงปลาสวยงาม  ได้ความสุขใจ สบายตาจริงๆค่ะ

ขอบคุณเรื่องราวพร้อมภาพที่นำมาฝากมากนะคะ

 

Ico48เรียนคุณธนากรณ์ครับ

ขอบคุณที่แวะมานะครับ 

ว่างก็มาเยือนกัน

มีความรู้ใด ได้รับสิ่งใดก็นำมาแบ่งปันกัน

Ico48เรียนคุณกุลมาตาครับ

ชีวิตต่างมีทางเป็นของตัว

การเดินทางด้วยความระมัดระวัง

ที่สำคัญต้องมีความสุขด้วย

ท่ามกลางความทุกข์นั่นเอง

จริงนะครับ

  • ขอบคุณค่ะสำหรับความรู้ที่นำมาเผยแพร่ต่อ

Ico48เรียนคุณกานดาครับ

ตรงตามหลักการของมนุษย์นะครับที่มองว่า "ปลาเป็นสิ่งสวยงาม มองแล้วมีความสุข" ตรงตามนักจิตวิทยากล่าวไว้แล้ว จริงด้วย

Ico48เรียนคุณอัมพรครับ

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยม

กันอีกครั้ง ช่วงหนีสัมมนากันมาก

ข้าราชการกำลังจะปิดงบหรือเปล่าหนอ


  • สวัสดีค่ะ
  • เมื่อไม่ได้ไปสัมมนากะเขาเราก็มาอ่าน
  • ครูภาทิพคงจะได้เปลี่ยนคำนำหน้า ท่าน ผศ.โสภณ ในเร็ว ๆ นี้
  • ขอบคุณสำหรับสิ่งดี ๆ ที่มอบมาค่ะ

Ico48เรียนคุณครูภาทิพครับ

เรียกผศ.นั้นไปอีกนานครับ

เพราะเข้าประชุมแล้วจึงรู้ว่า

งานที่เราอยากทำ ไม่ตรงกับเกณฑ์ที่เขาตั้งไว้

  1. เอกสารคำสอน ทำได้แล้ว
  2. หนังสือหรือตำรา ทำได้แล้วครับ
  3. เหลืองานวิจัย หรืองานอื่น อันนี้แหละครับ ไม่ค่อยสนใจเลย 

ส่งงานครูนะคะ  กลุ่มร้อยรสบทกวี

2. 'ความงามของภาษา:คุณค่าของบทกวี'   

  •   บทกวีที่สะท้อนปัญหาสังคม และ บทกวีที่ปลุกจิตสำนึก  โดย ✿อุ้มบุญ✿

กลุ่มร้อยรสบทกวี : 'ความงามของภาษา:คุณค่าของบทกวี' : บทกวีที่สะท้อนปัญหาสังคม และ บทกวีที่ที่ปลุกจิตสำนึก

 

  • บทกวีที่ให้กำลังใจ

กลุ่มร้อยรสบทกวี : 'ความงามของภาษา:คุณค่าของบทกวี' ; บทกวีที่ให้กำลังใจ

         ช่วยเพิ่มเติม เสริมแต่งได้นะคะ ............

Ico48เรียนคุณอุ้มบุญครับ

ขอบคุณที่ช่วยส่งเสริมและประสานงาน

จนเดินหน้ากันเป็นขบวนเชียว

คาดว่าจะสำเร็จตามประสงค์ของกลุ่มครับ


กลับมาแวะชม

การเข้าร่วมสัมมนาแบบนี้อีกครั้ง

เพื่อนำข้อมูลไปรายงานการไปสัมมนา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท