นิคมการเกษตรพืชอาหารและพืชพลังงานทดแทน (ข้าวหอมมะลิ) ระยะที่ 2 ตำบลนาหนองไผ่ อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ ปีงบประมาณ 2555


มุ่งเน้นการบริหารจัดการสินค้าเกษตรครบวงจร ให้เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีอาหารบริโภคที่เพียงพอและปลอดภัย การผลิตทางการเกษตรเป็นฐานในการสร้างรายได้ของเกษตรกร

       ตามกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  ฉบับที่ 11  ยุทธศาสตร์สร้างความสมดุลและมั่นคงของอาหารและพลังงาน  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างฐานราก ภาคการเกษตรให้เข้มแข็ง สามารถผลิตอาหารที่มีคุณภาพและปริมาณเพียงพอสำหรับผู้บริโภคทุกคนภายในประเทศ มีราคาที่เหมาะสมและสนับสนุนความเข้มแข็งของชุมชนในชนบท เพื่อให้ภาคเกษตรเป็นฐานการผลิตที่ทำให้เกิดความมั่นคงในอาชีพและรายได้ให้กับเกษตรกร เพื่อสร้างความสมดุลและมั่นคงของการใช้ผลผลิตการเกษตร เพื่อเป็นอาหารและพลังงาน และเพื่อจัดหาพลังงานให้มีความมั่นคงเพียงพอกับความต้องการใช้ในประเทศ สอดคล้องยุทธศาสตร์สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ประเด็นยุทธศาสตร์ที่  2   

        การส่งเสริมพัฒนาเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน  สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.)  ได้จัดตั้งนิคมการเกษตรพืชอาหารและพืชพลังงานทดแทน  (อ้อย ,มันสำปะหลัง ,ข้าว ,ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และปาล์มน้ำมัน) โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินงานเพื่อรองรับนโยบายของรัฐบาล  ซึ่งมุ่งเน้นการบริหารจัดการสินค้าเกษตรครบวงจร  ให้เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดี  มีอาหารบริโภคที่เพียงพอและปลอดภัย  การผลิตทางการเกษตรเป็นฐานในการสร้างรายได้ของเกษตรกร  ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดสุรินทร์  ประเด็นที่  1  ด้านการพัฒนาเกษตรอินทรีย์     เพิ่มพื้นที่ด้านเกษตรกรรมที่ได้รับการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์และเพิ่มศักยภาพเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรด้านเกษตรอินทรีย์  เพื่อเป็นแหล่งผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่สำคัญของประเทศและมีตลาดรองรับภายใต้การบริหารจัดการที่ดี

           สำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดสุรินทร์ (ส.ป.ก.สุรินทร์)ได้จัดตั้งโครงการนิคมการเกษตรพืชอาหารและพืชพลังงานทดแทน(ข้าวหอมมะลิ) ตำบลนาหนองไผ่ อำเภอชุมพลบุรี  จังหวัดสุรินทร์  พื้นที่โครงการ  30,000  ไร่  เกษตรกร  2,883 ราย  (ดำเนินการ  6 ระยะ)  ในปีงบประมาณ  2552  ดำเนินการในระยะที่  1  พื้นที่  5,000  ไร่  เกษตรกร  502  ราย  พื้นที่ส่วนใหญ่ตำบลนาหนองไผ่  อำเภอชุมพลบุรี  ปลูกข้าวหอมมะลิเป็นพืชหลัก 100% ของพื้นที่  แต่ยังประสบปัญหาผลผลิตต่อไร่ต่ำ  ต้นทุนการผลิตสูง  เกษตรกรใช้สารเคมีมาก  และแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรตื้นเขิน จากการประเด็นปัญหาในพื้นที่จึงมีความจำเป็นต้องขยายการพัฒนาในพื้นที่ระยะที่ 2 พื้นที่ 5,000 ไร่ เกษตรกร  325  ราย ในปีงบประมาณ  2555 เพื่อพัฒนาศักยภาพการผลิตข้าวหอมมะลิ  พร้อมทั้งพัฒนาต่อเนื่องโครงการฯ  ในพื้นที่ระยะที่ 1 ให้มีเป้าหมายการพัฒนาการผลิตข้าวหอมมะลิตามระบบ GAP สู่เกษตรอินทรีย์

 ผู้เสนอโครงการ : สำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดสุรินทร์

หมายเลขบันทึก: 434097เขียนเมื่อ 4 เมษายน 2011 16:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤษภาคม 2012 22:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท