ผู้เข้าร่วมประชุม
1. นพ. บรรพต พินิจจันทร์
Facilitator
2. รพ สต 6 แห่ง
คุณกิจ
3. ตัวแทน IPD
คุณกิจ
4. ตัวแทนOPD
คุณกิจ
5. ตัวแทนฝ่ายเวชปฏิบัติ
คุณกิจ
7. นางอภัยวรรณ กันสุข
บันทึก
ผู้เข้าร่วมสังเกตการณ์
1. สสอ. มโนรมย์
2. เจ้าหน้าที่ รพ สต. ทุกตำบล ในอำเภอมโนรมย์
3. เจ้าหน้าที่ OPD IPD ER เวชปฏิบัติครอบครัว
ร.พ.มโนรมย์
กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ :
1. Facilitator ให้ความรู้และความคิดรวบยอด เรื่องบทบาทและการทำงานใน Primary care และชี้แจง วัตถุประสงค์การทำ Knowledge Sharing (KS) เพื่อให้สมาชิกเอาประสบการณ์ พฤติกรรมที่ดีๆในประเด็นหัวข้อมาเล่าสู่กันฟังเพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้และเป็นแบบอย่าง และทำข้อตกลงในการดำเนินการโดย แจ้งกติกาในการทำKS
2. บรรยากาศกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
เป็นกันเอง มีเสียงหัวเราะเป็นช่วงๆ ทุกคนได้เล่าประสบการณ์การณ์เยี่ยมบ้านของตนเองในรูปแบบการพูด และการนำเสนอเป็น Power Point มีการสรุปประเด็นที่สำคัญเป็นช่วงๆจาก Facilitatorและ มีการทำ AAR : After Action Review เพื่อกระตุ้นให้สมาชิกเกิดความรู้สึกอยากพูด อยากเปิดใจจำนวน 3 คำถาม คือ ส่วนใดที่ได้ตามวัตถุประสงค์ ส่วนที่คิดว่าได้คืออะไร ส่วนใดที่ได้เกินความคาดหวัง สุดท้ายสมาชิกบอกว่า ยังขาดประเด็น ตอบคำถามที่สงสัย และการถอดบทเรียนร่วมกัน
คลังความรู้ (Knowledge Asset) จับประเด็นเฉพาะส่วนที่เป็นองค์ความรู้จากการปฏิบัติของกลุ่ม เล่าเรื่องสามารถแบ่งเนื้อหาในกระบวนการที่เกิดขึ้นจากการ KS ได้เป็น 4 ส่วน ดังนี้
1. ขั้นตอนการเยี่ยมบ้าน ประกอบด้วย 3 ระยะ คือ ระยะก่อนเยี่ยมบ้าน ขณะเยี่ยม หลังการเยี่ยมบ้าน
1.1 ระยะก่อนยี่ยม บ้าน
ได้มีการกำหนด กลุ่มเป้าหมาย เกณฑ์ในการเยี่ยม ความถี่ สถานที่ อุปกรณ์ ผู้รับผิดชอบในการเยี่ยม และกำหนดวัตถุประสงค์ที่จะเยี่ยมในแต่ละราย หลังจากนั้นมีการมอบหมายหน้าที่แก่ทีมที่รับผิดชอบ เช่น หมอครอบครัว เจ้าหน้าที่ คนงาน อบต
1.2. ขณะเยี่ยม
1.2.1 กลุ่มเป้าหมายที่เยี่ยม ได้แก่
1) ผู้ป่วยจิตเวชอาการกำเริบ ขาดยา
ถูกทอดทิ้ง ผู้ป่วย/ญาติที่ไม่ร่วมมือในการรักษา
2) ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน
ความดันโลหิตสูง ฯลฯ
3) ผู้พิการ
4) ผู้ป่วยRe-admit
ผู้ป่วยหลังจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล
5) กลุ่มเป้าหมาย ตามนโยบาย ของ องค์กร
อำเภอ จังหวัด และของประเทศ เช่นแม่และเด็กหลังคลอด
ผู้ด้อยโอกาส
กลุ่มเป้าหมายตามสำรวจ ผู้ที่ต้องการให้ลงไปเยี่ยม
1.2 2.
วัตถุประสงค์ การเยี่ยม
1)
เพื่อให้ผู้ป่วยและญาติร่วมมือในการรักษา
ลดอาการกำเริบของโรค
2) เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถดูแล จัดการ
ช่วยเหลือตนเองได้
3) เพื่อป้องกันการ Re-admit
4) เพื่อสนองนโยบาย
5)
เพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยในชุมชน
6) เพื่อการประเมิน
คัดกรองผู้ป่วยในชุมชน
7) เพื่อให้กำลังใจ สร้างความศรัทรา
และความไว้วางใจ แก่คนในชุมชน
8)
เพื่อสนองความต้องการของผู้ป่วยและญาติ
1.2.3
เทคนิค/ทักษะการเยี่ยม
1)
การสร้างทัศนคติที่ดีต่อการเยี่ยมบ้าน
2) การสร้างสัมพันธภาพ
เพื่อให้เกิดความไว้วางใจ
3) การพูดคุยที่เป็นกันเอง
4) การรู้วิถีชีวิตและเข้าใจ
คนในชุมชน
5)
การมีความรู้ในงานบริการด้านสุขภาพ
การประเมินและค้นหาปัญหาขณะเยี่ยมบ้าน
หากพบปัญหาจะแจ้งผู้ป่วยและญาติเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทันที
โดยให้ผู้ป่วย/ญาติได้เห็นข้อควรแก้ไข ไม่ตำหนิ
ไม่วิพากษ์วิจารณ์
แต่จะให้ผู้ป่วยและญาติตัดสินใจเปลี่ยนแปลงด้วยตนเอง
การแนะนำ ให้ผู้ป่วย
และญาติปฏิบัติได้ ถูกต้องโดยการทำ
หรือสาธิตให้ดูก่อนและให้ลงมือปฏิบัติเอง ให้เห็น
1.2.4 รูปแบบการเยี่ยม
1) เยี่ยมเป็นทีม
ตามสภาพปัญหาของผู้ป่วย
2) เยี่ยมคนเดียว หากพบปัญหา
จะประสานและปรึกษาทางโทรศัพท์ กับผู้ที่เกี่ยวข้อง
โดยตรง
3)
เจ้าหน้าที่ลงเยี่ยมบ้านคนเดียว แต่ประสานกับทีมในชุมชน
ร่วมออกเยี่ยมบ้านด้วยกัน
4)
เจ้าหน้าที่ลงเยี่ยมบ้านคนเดียว
แต่ค้นหาผู้ช่วยดูแลผู้ป่วย
ต่อเนื่องที่บ้าน
1.2.5 เป้าหมายความสำเร็จ
1)ระดับความรุนแรงของโรคเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น
สามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้
2)อาการดีขึ้น
สามารถดูแลตนเองได้
3)สามารถ
ส่งต่อให้ชุมชนดูแลต่อเนื่องได้
1.3 หลังการเยี่ยมบ้าน
1.3.1 สรุปผลการเยี่ยมบ้านและบันทึกข้อมูล
1.3.2 วางแผนการเยี่ยมบ้านครั้งต่อไป
2. สิ่งที่ได้เรียนรู้/ความภาคภูมิใจจากการเยี่ยมบ้าน
2.1
เกิดความร่วมมือระหว่างชุมชน อสม ญาติ
และหมอครอบครัว
2.2
สุขใจที่ได้ช่วยเหลือคนอื่น ทำประโยชน์ให้คนอื่น
โดยเฉพาะคนที่เดือดร้อนและคนในชุมชน
2.3
ได้แบ่งเบาความทุกข์ของคนอื่น
2.4 ได้ความร่วมมือ ความคุ้นเคย ความเป็นกันเอง
และความไว้วางใจจากชุมชน
2.5
ได้ผลประโยชน์โดยไม่คาดคิด
3. After Action Review จากประเด็นคำถามดังนี้
ส่วนใดที่ได้ตามวัตถุประสงค์
ได้เรียนรู้งานของคนอื่น แล้วมาทบทวนการทำงานของตนเอง ทำให้สามารถนำไปปรับงานเยี่ยมบ้านให้ดียิ่งขึ้น
ได้ประเมินคุณภาพการเยี่ยมบ้านของตนเอง
ได้รู้ว่า สถานีอนามัยเยี่ยมบ้านได้มากกว่าโรงพยาบาล
ได้เรียนรู้ว่าการเยี่ยมบ้าน เขาเยี่ยมใคร ทำอย่างไร เพราะไม่เคยเยี่ยมบ้าน
ส่วนใดที่ได้เกินความคาดหวัง
คำพูดที่ไม่เคยได้ยินก็ได้ยิน เช่น ใครฉีดยาให้
จะจับมัน......
การ เยี่ยมบ้านมีทั้งเยี่ยมหลอกๆ
และเยี่ยมบ้านจริง
ได้ทบทวนการทำงานของตนเอง
ได้เพิ่มประสบการณ์
การเยี่ยมบ้านให้ตนเอง
ประเมินตนเอง
แล้วว่า สถานีอนามัยทำงานมาก ทำให้เราต้องspeed
ตนเองให้มากขึ้น
การเยี่ยมบ้านมีหลายรูปแบบ
4..บทสรุปจากผู้เชี่ยวชาญ
4.1
การเยี่ยมบ้านไม่ใช่งานฝากหรืองานเพิ่มเติมแต่เป็นภาระหน้าที่และงานประจำที่ต้องทำเหมือนงานอื่นๆ
ในโรงพยาบาล
4.2
กลุ่มที่ต้องเยี่ยมบ้านคือกลุ่มที่ไม่สามารถทำหรือบริการได้เสร็จสิ้นที่โรงพยาบาลแต่ต้องต่อเนื่องที่ชุมชน
หรือกลุ่มที่ไม่สามารถทำในโรงพยาบาลได้ ต้องลงไปกระทำที่ชุมชน
เช่นการคัดกรองหรือสำรวจ จะเห็นว่า การเยี่ยมบ้านไม่ใช่แค่
การดูแลผู้ป่วยที่บ้านอย่างเดียว แต่ รวมถึงการ จ่ายยา ฉีดยา
คัดกรองและสำรวจปัญหาชุมชนด้วย
4.3 การมีส่วนร่วมของชุมชน
ทำให้ผลของการเยี่ยมบ้านประสบผลสำเร็จ
4.4 เจ้าหน้าที่ที่ออกเยี่ยมบ้าน หากมีปัญหา
หรือต้องการความช่วยเหลือ สามารถติดต่อโดยตรง
ถึงผู้รับผิดชอบงานได้เลย
จนกว่าจะมีการเปลี่ยนในระบบการเยี่ยมบ้านต่อไป
4.5 การเยี่ยมบ้านจะส่งเสริมให้เราใช้ความรู้ครบถ้วนทั้ง
bio-Psycho-Social(Family) สำหรับ สอ. ด้าน
Psycho-Social ทำได้ดีแล้ว ทาง รพ. จะช่วยเสริมทางด้าน bio
ให้เข้มแข็งขึ้น โดยผ่านทางกระบวนการ CBL
4.6 สิ่งที่ควรตระหนักอีกอย่างคือ
การเยี่ยมมีปริมาณมากพอที่จะครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายหรือไม่ซึ่งต้องให้ช่วยกันพิจารณา
4.7 สิ่งที่วางแผนจะดำเนินการต่อไปคือ
1)การจัดระบบการเยี่ยมบ้านใหม่
ให้มีศูนย์เยี่ยมบ้านที่เป็นเอกเทศ
เนื่องจาก ปัจจุบันต่างคนต่างทำตามหน้าที่
2)
จัดกลุ่มและลำดับความสำคัญของการเยี่ยมบ้านใหม่
เพื่อให้การเยี่ยมบ้านเห็น ผลลัพธ์ ชัดเจน เช่น ผู้พิการ
ผู้ป่วยระยะสุดท้าย ฯลฯ
3)
สนับสนุนและผลักดันงานเยี่ยมบ้านให้ชัดเจนมากขึ้น
ปัจจุบันยังถือว่าเป็นงาน Routine
ไม่เด่นอาจสัมพันธ์กับค่าตอบแทนหรือไม่
**********************************************
ยินดีค่ะ ที่มโนรมย์ มีผู้มีจิตอาสาสมัครเป็นหมอครอบครัว (ผู้ที่เคยเป็นพยาบาล ผู้ช่วยพยาบาล และผู้ช่วยเหลือผู้ป่วย) ไปเยี่ยมบ้านค่ะ