12th.HA National Forum : Beauty in Diversity (5) >>> Wisdom & Freedom – Beauty in Management


Wisdom from Zen : ต้องเข้าใจว่า KPI นั้นเปรียบได้กับ นิ้วมือที่ใช้ชี้ไปที่ดวงจันทร์

เรื่องของ Wisdom: ความฉลาด ความรอบรู้ เชาว์ปัญญา กับ Freedom: อิสรภาพ เสรีภาพ ที่เป็นอีกหนึ่งของมุมมองความงามในการจัดการความรู้สู่การพัฒนาคุณภาพ ซึ่งบรรยายโดย ดร.ประพนธ์ ผาสุขยืด ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.)

อาจารย์เริ่มด้วยการสะท้อนภาพความวุ่นวายที่เกิดจากการบริหารจัดการที่ไม่ดี นำมาซึ่งปัญหาที่ต้องแก้ไขอยู่เสมอ ทำให้เสียเวลาไปอย่างมากกับ “การแก้ปัญหา”

และเมื่อมีงานคุณภาพเกิดขึ้น มีเครื่องมือใหม่ๆที่ต้องเรียนรู้และนำไปใช้เพิ่มขึ้นตามมาด้วย หากไม่ สามารถใช้เครื่องมือได้ถูกต้องและเหมาะสมก็จะกลับกลายเป็นภาระที่เพิ่มขึ้นและหนักอึ้งตามมา

 “Wisdom from Zen : ต้องเข้าใจว่า KPI นั้นเปรียบได้กับ นิ้วมือที่ใช้ชี้ไปที่ดวงจันทร์

สิ่งที่สำคัญ สิ่งที่เราสนใจคือดวงจันทร์ ไม่ใช่นิ้วมือที่ชี้นั้น”

ผู้เขียนชอบประโยคนี้ เพราะรู้สึกและสัมผัสอยู่เรื่อยๆว่าความใส่ใจของการทำงานคุณภาพนั้นบ่อยครั้งที่ใส่ใจในกระบวนการมากไปจนกว่าจะได้ผลลัพธ์นั้นยาก...เพราะเสียเวลากับ process

เครื่องมือทางคุณภาพใหม่ๆถูกนำมาฝึกๆๆๆ...

ถามว่า “แล้วทำให้คุณภาพของเราดีขึ้นจริงหรือไม่?”...

ถามต่อว่า “แล้วทำให้คุณภาพของโรงพยาบาลเราดีขึ้นจริงหรือไม่?”

ถามต่อว่า “แล้วทำให้ตอบสนองความต้องการหลักของผู้รับบริการหรือผู้ป่วยจริงหรือไม่? หรือตอบสนองความต้องการของเราที่คิดไปเองว่าผู้ป่วยต้องการ หรือตอบสนองเพียงความต้องการรองแต่ความต้องการหลักถูกมองข้ามไป”

อาจารย์นำภาพหมีมาเป็นตัวอย่างให้วาดตามในเวลาที่กำหนดแล้วให้เพื่อนที่นั่งข้างๆ ให้คะแนน เป็นการเรียนรู้การวางแผนจัดการงานในเวลาที่กำหนดกับผลของงานซึ่งมีความงามที่ปรากฏต่างกัน

เมื่อมีเกณฑ์การให้คะแนนถูกกำหนดขึ้น ภาพความงามของหมีลดน้อยลงไปเพราะให้เวลากับการทำตามเกณฑ์มากขึ้น

ในประเด็นหลังนี้ ผู้เขียนเองเป็นเช่นนั้น เพราะพอเห็นภาพหมีจากสไลด์ผู้เขียนก็เริ่มมองความสำคัญในรายละเอียดแล้วนับจำนวนหมี จำนวนผีเสื้อ จำนวนผึ้ง จำนวนดอกไม้เป็นรูปหัวใจแล้วขีดๆๆ....ให้ทัน งานที่ได้จึงมิใช่ศิลปะ ดังนั้นการให้คะแนนตามเกณฑ์ของผู้เขียนจึงกลับมากขึ้นกว่าคะแนนในตอนแรกแต่ภาพหมีไม่สวยเลย ผิดกับเพื่อนบางคนที่คะแนนตอนแรกมากกว่าแต่ภาพหมีสวยงามมากกว่า

นี่เป็นการเรียนรู้เรื่องอิสรภาพกับการใช้ความรู้ ความสามารถ สู่เกณฑ์และผลงานที่ได้รับ

สิ่งที่เป็นประเด็นเรียนรู้และอาจารย์มีการบรรยายเพิ่มเติมพอสรุป

ได้ดังนี้

  • เพราะเราสนใจเกณฑ์มากไปหรือเปล่า
  • KPI จำเป็น แต่เราใช้ผิดหรือเปล่า
  • Action กระทำเพื่อมุ่งไปสู่ Vision ซึ่งควรเป็น Shared Vision โดยผ่านการ Planning และมี Passion เป็นพลังขับเคลื่อน อัลเบิร์ต ไอสไตน์กล่าวว่า “เราใช้ความคิดมากไป เราใช้ความรู้สึกน้อยไป...ความรู้ทำให้เราเป็นคนเห็นแก่ตัว...”
  • เราเอาความรู้มาแชร์กัน...เราฟังกัน แล้วเราก็ลองนำไปใช้เพื่อให้เกิดความรู้ใหม่ (“ความรู้ใหม่ที่ว่าก็คือ ผลของการนำความรู้ที่ได้จากการแชร์ไปใช้ของเราเอง...ดีหรือไม่ดี เหมาะ หรือไม่เหมาะในงานเรา ก็นั่นแหละ”...ประโยคนี้ของผู้เขียนเอง) จากนั้นอาจนำมาสู่ นวัตกรรม/Innovation
  • KM อย่าเรื่องมาก อาจใช้ Story telling, Dialogue หรือ AAR(After Action Review) เป็นเครื่องมือช่วย...เลือกใช้ให้เหมาะสม
  • Tacit Knowledge เป็นเรื่องที่ดึงออกมายาก ถามคำถามแบบธรรมดาอาจไม่ได้ความรู้นั้น อาจต้องใช้โอกาสที่เหมาะสมพูดคุยกัน ซึ่งสัมพันธภาพมีความสำคัญก่อให้เกิดการวางใจและถ่ายทอดความรู้ในตัวตนออกมา อาจใช้เครื่องมือดังกล่าวข้างต้นเป็นตัวช่วย

โดยสรุปแล้ว KM เป็นเรื่องของ ความรู้, ความรู้สึก และความรู้สึกตัว การฟังมากๆทำให้เกิดการเห็นผ่านความคิดความรู้สึก

ดังนั้นหัวใจของ KM คือการฝึกฟัง ฟังมากๆทำให้รู้คิด ทำให้มีสติ และเห็นปัจจุบัน

           

ขอขอบพระคุณ อ.ดร.ประพนธ์ ผาสุขยืด ที่นำสิ่งที่ดีๆมาเล่าสู่กันฟังเสมอ

(...รอบนี้ผู้เขียนจึงทำตามคำบอกที่อาจารย์เคยว่าไว้ปีที่แล้วว่า “พบกันคราวหน้าจะไม่มีของฝากนะ...” ... อิอิ...)

หมายเลขบันทึก: 432856เขียนเมื่อ 26 มีนาคม 2011 07:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีครับอาจารย์

จำได้ว่าเมื่อปี 51 โชคดีมีโอกาสได้ขึ้นเวที ร่วมกับอาจารย์ ประพนธ์ ที่ ม.ทักษิณ สงขลา

 ไปคุยถึง ตัวชี้วัดบ้านบ้าน ใน นามของ ศวพถ. พัทลุง ครั้งนั้น พูดถึงพูดชี้วัด ว่า ถ้าเราหลงติดกับดักเครื่องในตัวชี้วัด ในที่ก็จะนำไปสู่ "ตัวชี้เมรุ" เพราะการทำ KM คนที่ทำต้องมีความสุข  หากรู้สึกไม่สุข ต้องหยุดทบทวน .......นำตัวชี้วัดชาวบ้านมาแลกเปลี่ยน

 

http://gotoknow.org/blog/thaophattalung/369871  ด้วยความขอบที่เปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนทำให้เกิดปัญญา

เรียน ท่านวอญ่า

ท่าน อ.ประพนธ์เป็นตัวแทนความชัดเจนของตัวชี้วัด... ที่หลายๆคนไม่ค่อยเข้าใจค่ะ

เหตุเพราะเราไม่สามารถทำงานคนเดียวจนสำเร็จได้จึงเป็นเหตุให้ตัวชี้วัดที่ดูเหมือนง่ายมีความหมายอย่างมากในตัวของมันค่ะเพราะสะท้อนผลลัพธ์ของการทำงานเป็นทีมในทุกเรื่อง

ขอบคุณท่านค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท