สัมมนาวิธีสอนภาษาญี่ปุ่นสู่ความเป็นเลิศ ปี ๒๕๕๔ ตอนที่ ๑ การสร้างบรรยากาศในการสอน และเทคนิคการสอน


บรรยากาศในห้องเรียนมีความสำคัญมาก ครูจะต้องสร้างบรรยากาศที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเรียนรู้ ด้วยความใส่ใจ อย่างน้อย ๔ ส่วน

สำนักวิชาการและมาตฐานการศึกษา (สวก.) ร่วมกับโรงเรียนภาษาและวัฒนธรรม  สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น(สสท.) สมาคมครูภาษาและวัฒนธรรมญี่ปุ่นแห่งประเทศไทย (JTAT) สถาบันเอเชียตะวันออก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมูลนิธิญี่ปุ่น(JF) จัดอบรมภาษาญี่ปุ่นและการสอนภาษาญี่ปุ่นให้กับครูสอนภาษาญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ ๑๘-๒๒ มีนาคม ๒๕๕๔ ณ โรงแรมรอยัลปาร์ควิว กรุงเทพฯ


                              
                                               
                                                              ลงทะเบียน 3 รอบ/ วัน  เคร่งครัดตามเวลาที่กำหนด

 
        
หลังพิธีกล่าวต้อนรับ เริ่มกิจกรรมแรกของการสัมมนา  ด้วยเรื่อง การสร้างบรรยากาศในการสอน  โดย Ted  Mayer อาจารย์ประจำ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต  ศูนย์หัวหิน  สรุปได้ว่า

            
  
                                                      
                                                                          Ted  Mayer    
 

บรรยากาศในห้องเรียนมีความสำคัญมาก ครูจะต้องสร้างบรรยากาศที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเรียนรู้  ด้วยความใส่ใจ  อย่างน้อย ๔ ส่วน คือ  
        ๑ สภาพจิตใจของครูผู้สอน พลัง  ความพร้อม ความสดชื่น และ ทัศนคติที่ดี
             ครูต้องมีความพร้อม  โดยหมั่นดูแลตนเองทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต จะมีความคิดที่แหลมคมและสร้างสรรค์ และมีความมั่นใจในตนเองสามารถใส่ใจนักเรียนได้ดียิ่งขึ้น     
        ๒ ทัศนคติของครูต่อนักเรียนและความสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียนหรือระหว่างนักเรียนด้วยกัน
          ครูควรมีความเชื่อมั่นในความสามารถของผู้เรียน จะส่งผลให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้เร็ว และสนุกต่อการเรียนรู้ ข้อผิดพลาดเป็นองค์ประกอบ สำคัญในกระบวนการเรียนรู้   ผู้เรียนสามารถเรียนรู้จากประสบการณ์เหล่านั้น           
        ๓ เรื่องทางกายภาพในห้องเรียน
           ครูควรสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้  การดูแลห้องให้สะอาด จัดห้องให้น่าเรียนรู้ สวยงาม มีสีสัน  จะส่งผลให้ผู้เรียนรู้สึกผ่อนคลาย  ตั้งใจเรียนรู้         
        ๔ เทคนิคและหลักการทีใช้ในการสอน
        มีเทคนิคหลายอย่าง ที่ช่วยให้การเรียนการสอนภาษาต่างประเทศประสบผลสำเร็จ เช่น
       ๔.๑   การให้คำสั่ง   เป็นการสร้างบรรยากาศความเป็นต่างประเทศในห้องเรียน  ช่วยให้นักเรียนได้ฟังภาษาอยู่บ่อยๆซ้ำๆ   ผู้เรียนจะเข้าใจภาษาอย่างเป็นธรรมชาติ     
       ๔.๒  การโยนบอลหรือตุ๊กตา   ทำให้การเรียนรู้เป็นเหมือนการละเล่น จะทำให้ผู้เรียนกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้ เพราะมีสัญชาติญาณของการแข่งขันเสริมเข้าไป ในขณะเดียวกันจะรู้สึกไม่เกร็งและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี  กล้าที่จะพูด-คุย ทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ได้ผล  
       ๔.๓  การจับคู่คุยกัน  เป็นกิจกรรมของการทบทวนหรือฝึกสิ่งที่เคยเรียนมา  อาจเป็นการตั้งคำถามและให้อีกฝ่ายตอบ 
       ๔.๔  การใช้ภาพ      ภาพเป็นสื่อการสอนที่จัดว่าน่าสนใจและเป็นประโยชน์อย่างมาก อาจเป็นภาพบุคคล ภาพกิจกรรม ที่เชื่อมโยงไปได้เกือบทุกเรื่อง    การวาดภาพตามคำบอก เป็นต้น 
       ๔.๕  การเปิดเพลง    ช่วยให้บรรยากาศผ่อนคลาย อาจจะเปิดก่อนการนำเข้าสู่บทเรียนก็ได้   บางบทเพลงมีสาระความรู้ที่ช่วยทบทวนความรู้เก่าเสริมความรู้ใหม่           
       ๔.๖  การสัมภาษณ์เจ้าของภาษา
         การเตรียมการก่อนที่จะดำเนินกิจกรรมนี้  นอกจากผู้เรียนจะต้องฝึกฝนประโยค-สำนวน ภาษานั้นๆ แล้ว ผู้เรียนจะต้องมีการวางแผนการดำเนินกิจกรรม และศึกษาข้อมูล ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ที่ดี  
      ๔.๗  การเล่นเกมส์    เกมต่างๆ ช่วยให้การเรียนรู้เป็นไปอย่างสนุกสนาน และเป็นธรรมชาติ เช่น  
              * เกมวิ่งแตะ  แบ่งผู้เรียนออกเป็น ๒ ทีม ต่างแถวห่างจากกระดานเล็กน้อย   พอครูผู้คำศัพท์ หรือตัวเลข ผู้เรียนจะวิ่งไปแตะ หรือวงคำเหล่านั้ ฝ่ายที่แตะก่อน ก่อนจะได้คะแนน
              * ลมเพลมพัด จัดเก้าอี้เป็นวงจำนวนเท่ากับผู้เรียน ครูจะยืนสั่งตรงกลาง แล้วพูดประโยคเกี่ยวกับผู้เรียน  ใส่นาฬิกาสีดำ   ผมหยิก  ฯลฯ ตรงกับบุคคลใด  บุคคลนั้นจะต้องวิ่งเปลี่ยนที่นั่ง ครูต้องแย่งที่นั่งด้วย  คนที่ไม่มีที่นั่งจะเป็นคนพูดประโยคต่อไป อาจมีการปรับคำ/ประโยค ตามระดับความรู้ของผู้เรียน
              * หาลายเซ็น  แผ่นกระดาษคำถาม ผู้เรียนต้องไปถามเพื่อนตามคำถาม  หากเพื่อนตอบว่า ใช่ ก็ให้เพื่อนเซ็นชื่อ  ใครมีรายเซ็นครบ ทุกช่องเป็นคนแรก  ชนะ
              *  ช่วยกันแต่งเรื่อง  นั่งเป็นวงกลม  คนแรกจะพูดประโยคของตน  เพื่อนจะแต่งประโยคต่อจากเพื่อน  ไปเรื่อยๆจนครบทุกคน  อาจได้เรื่องสนุกๆ หลังจากนั้นทบทวนคำศัพท์ หรือคำพูดใหม่ๆ หากผิดครูอาจพูดซ้ำประโยคเดิมโดยแก้ไขให้ถูกต้อง  นักเรียนจะได้เรียนรู้

             *  ๒๐ คำถาม ส่วนใหญ่เป็นคำถามเกี่ยวข้องกับอาชีพ  เพศ  สถานภาพทางสังคมและสัญชาติ โดยจะทำการฝึกทบทวนความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์หรือรูปแบบของประโยค  คำถามต้องตอบว่า ใช่หรือไม่ใช่  ใครทายได้ถูกก่อนจะเป็นฝ่ายชนะ

          
  
   
                  
                  ดร.อุษณีย์  วัฒนสัมพันธ์ รองผู้อำนวยการ สวก.  แสดงความคิดเห็นกับวิธีการนำเสนอของ Ted  Mayer    

หลักการที่สำคัญ
     ๑ ผู้เรียนต้องมีโอกาสที่จะเรียนรู้ผ่านประสบการณ์จริง ทั้ง ๔ ทักษะ
     ๒ การนำเสนอหรือจัดกิจกรรมต้องเป็นไปตามลำดับขั้นโดยมีความสมดุลระหว่างความรู้เก่าและความรู้ใหม่

 
                  

                                                     กล่องรับบริจาค..... เพื่อช่วยเหลือชาวญี่ปุ่น ฯ  

   

หมายเลขบันทึก: 432509เขียนเมื่อ 23 มีนาคม 2011 22:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มิถุนายน 2012 10:28 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท