รัชดาวัลย์ วงษ์ชื่น(อิงจันทร์)
รัชดาวัลย์ วงษ์ชื่น(อิงจันทร์) ครูตาล วงษ์ชื่น

เก็บความมาเล่าให้ฟัง : ที่มาของทุกข์


 

 

           มนุษย์ทุกคนไม่ว่าจะยากดีมีจน จะต้องพบกับความทุกข์ทั้งกายและใจ ไม่มีใครหนีพ้น และถ้ายิ่งไปก่อกรรมทำเข็ญเข้าไปอีก ก็ต้องรับผลกรรมคือทุกข์อันนั้น ตามความหนักเบาที่ได้กระทำขึ้น ความทุกข์นี่แหละที่จะนำไปสู่ความเครียด ความวิตกกังวลใจ สิ่งเหล่านี้เป็นมารร้ายที่บั่นทอนสุขภาพกายและสุขภาพจิตของตนเองอย่างที่สุด 

เป็นความจริงที่ว่าไม่มีใครหนีทุกข์พ้น

แต่ก็เป็นความจริงอีกเช่นกันที่ว่า ถ้าเรารู้วิธี

เราก็สามารถหลีกทุกข์

หรือเพลาความทุกข์ได้เช่นกัน

        ที่มาของทุกข์นี้ส่วนใหญ่จะมาจากคนใกล้ ๆ ตัวของเรานั่นเอง ซึ่งได้แก่ครอบครัวของเรา ตัวสำคัญก็คือ สามี ภรรยา  บุตรธิด และบิดามารดาของทั้งสองฝ่าย รวมทั้งญาติพี่น้องพวกหนึ่ง  และอีกพวกหนึ่งก็ได้แก่ผู้ที่อยู่ในวงการงาน ได้แก่ ผู้บังคับบัญชา  ผู้ใต้บังคับบัญชา ผู้ร่วมงานหรือหุ้นส่วนกิจการ นอกจากนั้น "ตัวทุกข์" นี้ยังขึนอยู่กับมารร้ายอีก 3 ตัว ในตัวของเราเองด้วย อันได้แก่กิเลสตัณหาทั้ง 3 คือ โลภ โกรธ และหลง ที่ตัวเรายึดมั่นถือมั่นนั่นเอง สิ่งเหล่านี้แหละที่เป็นตัวสร้างปัญหาคือ  นำ "ทุกข์"มาให้แก่เราทั้งสิ้น

         เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว เราก็ต้องสร้างไมตรีจิต สร้างความอบอุ่น และความรัก อย่างชนิดที่มีขอบเขตในระหว่างครอบครัว หน่วยงานและรวมทั้งผู้ร่วมกิจการเพื่อเป็นเกราะป้องกันมิให้เกิดปัญหา "ความทุกข์" ขึ้นกับตัวของเราหรือถ้าแม้นว่าจะหลีกหนีไม่พ้นก็ควรจะรับทุกข์ไว้ให้น้อยที่สุด

          ในพระไตรปิฏก ได้บรรยายวิธีปฏิบัติซึ่งกันและกันไว้อย่างละเอียด อย่างเป็นระบบและเป็นขั้นตอนคือ เมื่อมีความทุกข์ ก็ให้รู้จัก วิเคราะห์ปัญหา  หาสาเหตุ แล้วให้แก้ที่เหตุ นั่นคือแก่นคำสอนของพระพุทธศาสนาในเรื่องของ "อริยสัจ 4" ซึ่งได้นำเสนอไปแล้วในบันทึกก่อน ๆ สำหรับบันทึกนี้ขอเก็บความจากการอ่านและการที่ตนเองได้ปฏิบัติมา และเกิดผลดี ทำให้ไม่ค่อยมีความทุกข์ หรือความทุกข์ลดลง เมือความทุกข์ลดลง ก็เกิดความสุข ความทุกข์ลดลงมากเท่าไหร่ ความสุขก็มีเพิ่มขึ้นเป็นทวี ซึ่งขอนำมาเล่าสู่กันฟังในเรื่อง

           วิธีคลายทุกข์ตามแนวพระพุทธศาสนามีดังนี้

            1. ให้เราคิดเสียว่าทุกอย่างในโลกไม่มีอะไรเที่ยงแท้ ย่อมมีเกิดมีดับอยู่ทุกขณะ หรือกล่าวว่า เมื่อมีสุข ความสุขก็ต้องหมดไป  หรือเมื่อเกิดทุกข์ ความทุกข์นั้นก็จะหมดไปเช่นกัน ไม่มีอะไรจีรังยั่งยืนตลอดไป  ฉะนั้นเมื่อสุขก็อย่าหลงระเริง หรือเมื่อมีความทุกข์ก็ต้องคิดว่าไม่ช้าก็จะหายไป อย่าเอามาเป็นอารมณ์จนเสียสุขภาพจิตและกายเป็นอันขาด

            2. อย่ายึดมั่นว่า "ตัวกู ของกู" อันที่จริงแล้วไม่มีอะไรเป็นของเรา ทุกอย่างล้วนแต่สมมติขึ้นทั้งนั้น จงฝึกหัด "ปล่อยวาง"เสียบ้าง อย่าเอามาเป็นอารมณ์เสียทุกเรื่องไป ให้คิดเสียว่าตัวเราแบกของอยู่บนบ่ามันหนักมาก ก็เอาทิ้งเสียบ้างก็จะเบาขึ้น

             3. ให้ใช้หลักมัชฌิมปฏิปทา หรือเดินสายกลาง  ใช้หลักพอดี ๆ  ไม่มากไม่น้อยในทุกเรื่อง

             4. ให้ประพฤติธรรม รักษาศีล มีใจเป็นทาน ปฏิบัติสมาธิหรืออบรมปัญญาให้มีสติ (ระลึกได้และสัมปชัญญะ (รู้ตัว) อยู่ทุกขณะ)

              ในทางพระพุทธศาสนานั้นกล่าวว่ากุศลผลบุญอันสูงส่งนั้นได้แก่การเจริญสมาธิวิปัสสนากรรมฐาน เพื่อให้เรารู้และเข้าใจในทุกข์และเข้าใจตัวเราเองได้ดีขึ้น

  เก็บความจากหนังสือ ทำอย่างไรชีวิตจะยืนยาวและมีความสุข ของ เฉก  ธนะสิริ

หมายเลขบันทึก: 431781เขียนเมื่อ 18 มีนาคม 2011 22:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

ขอบพระคุณดอกไม้กำลังใจจาก พี่คิม Ico24

พระคุณเจ้าIco24

และน้องคุณยายIco24ค่ะ

สวัสดีค่ะ...

  • ถูกต้องเลยค่ะ คนที่จะนำทุกข์มาให้ก็คือคนที่อยู่รอบ ๆ ตัวเรานี่เอง...
  • ต้องละซึ่ง ความโลภ กิเลส แล้วหันมาเดินทางสายความพอดี ๆ ค่ะ
  • คนเราก็อย่ายึดติดมากนัก เพราะสักวันเราก็หมดลมหายใจแล้วค่ะ
  • ขอบคุณสำหรับบันทึกที่ทำให้ได้ข้อคิดดี ๆ ในการดำเนินชีวิตค่ะ...

สวัสดีค่ะคุณIco48

  • ขอบพระคุณที่แวะมาเยี่ยมเยือน
  • มีความสุขเสมอ ๆ นะคะ
  • ความทุกข์คือเพื่อนคู่ชีวิตเรา
  • ความสุขมาแป๊บเดียวก็จางหาย
  • ความทุกข์ซิอยู่กับเราทุกวัน
  • ไม่อยากโทษสิ่งไม่มีตัวตนที่มาทำให้เกิดทุกข์
  • มีวิธีเดียวที่ทำให้ชีวิตดำเนินต่อไปได้
  • คือหาความสุขจากความทุกข์ที่มี 

           

                นำความโชคดีมาฝาก "โชคเก้าชั้น"

 

สวัสดีค่ะท่าน ผอ ประสิทธิ์Ico48

  • ขอบพระคุณค่ะที่แวะมาเยี่ยมมาชม
  • ขอให้มีความสุขเสมอ ๆ นะคะ

สาธุ

ขออนุโมทนาบุญที่ได้อ่านบันทึกแห่งการคลายทุกข์

สวัสดีค่ะพี่สอนIco48

หาความสุขจากความทุกข์ที่มี   ทำให้ความทุกข์ลดลง  ความสุขก็จะเพิ่มขึ้นค่ะ

เหมือนกับจริง ๆ แล้ว ความเย็นไม่มี แต่เมื่อความร้อนคลายเลย ก็จะเกิดความเย็นค่ะ

ขอบพระคุณพี่สอนมากค่ะที่แวะมาเยี่ยมเยียน

ทุกข์ คือ รูป-นามตามขันธ์ห้า             สรรพสิ่งนั้นหนา...ใช่ตัวเราหรือเขาไหน

ล้วนรูป-นาม...ความไม่จริงทุกสิ่งไป    คิดเป็นเรา-เขาเมื่อใดได้ทุกข์ตรม

ที่เขาว่านั้นเป็นนามความว่างเปล่า      ว่าเป็นเราก็เป็นนาม...กลับขื่นขม

ไม่ใช่เราไม่ใช่เขา...เอ้าชวนชม         จิตนิยมรู้รูป-นามเห็นความจริง        

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท