การให้ออกซิเจนที่บ้าน โดยใช้แทงก์ออกซิเจน


ออกซิเจนแทงก์
การให้ออกซิเจนที่บ้าน โดยใช้ แท็งก์ออกซิเจน

ด้วยความปรารถนาดีจาก
โครงการส่งเสริมและฟื้นฟูสมรรถภาพปอดเด็ก 
ศูนย์การแพทย์สิริกิติ์ คณะแพทยศาสตร์ 
โรงพยาบาลรามาธิบดี โทร. 201-1727

เรียบเรียงโดย
คุณธิติดา ชัยศุภมงคลลาภ
รศ.พญ.อรุณวรรณ พฤทธิพันธุ์

วาดรูปประกอบโดย
มล.สิริณา จิตตาลาน

 

ตัวแท็งก์โดยมากมีสีเขียว มี 4 ขนาด เรียงลำดับจากขนาดเล็กไปใหญ่ ดังนี้ คือ ขนาดจิ๋ว (พกใส่กระเป๋า 
หิ้วหรือสะพายได้), ขนาดเล็ก (D), ขนาดกลาง (E), 
และขนาดใหญ่ (G)

วิธีใช้ 
1.  ปิดวาวล์ให้แน่นสนิทก่อน 
2.  ต่อหัวเกจ์ (หรือเรกูเลเตอร์) เข้ากับท่อออกซิเจนใต้ 
หัววาวล์  โดยใช้กุญแจเลื่อนหมุนจนแน่น ดังรูป      

3.  ถ้าใช้ออกซิเจนมากกว่า 2 ลิตรต่อนาที ควรต่อ 
กระป๋องน้ำทำความชื้นเข้ากับโฟลมิเตอร์ ดังรูป 

.  ต่อสายนำแก๊สออกซิเจนเข้ากับโฟลมิเตอร์ หรือ 
กระป๋องน้ำทำความชื้น 
5.  เปิดวาวล์และหมุนปุ่มโฟลมิเตอร์เพื่อเปิดอัตราไหล 
ของแก๊สตามที่เด็กต้องการ แล้วต่อสายนำแก๊ส  ออกซิเจนเข้ากับตัวเด็ก

6.  เมื่อไม่ต้องการให้ออกซิเจน ปิดวาวล์ และ ปิดโฟล - 
มิเตอร์  ถอดสายนำแก๊สออกจากตัวเด็ก

การดูแลแท็งก์ออกซิเจนที่บ้าน 
? ไม่ควรรอให้ใช้แก๊สออกซิเจนจนหมดแท็งก์ 
ควรสังเกตจากตัวเลขที่หน้าปัดของเกจ์ (หรือเรกูเลเตอร์) ว่าแก๊สลดลงถึงระดับใดแล้ว ถ้าเกจ์ลดลงถึงระดับ 100 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว ควรนำไปเติมได้ 
?  แท็งก์เล็กที่วางบนรถเข็นและแท็งก์ขนาดจิ๋ว 
ที่ใส่กระเป๋าหิ้วสะพายได้ เหมาะสำหรับใช้ขณะเดินทาง 
? การนำแท็งก์ติดไปในรถยนต์ ควรวางบนที่ 
นั่ง และคาดเข็มขัดนิรภัยไว้เพื่อป้องกันการระเบิดของ 
แท็งก์ ห้ามวางแท็งก์ในที่ร้อน

? ถ้าหากแท็งก์ชำรุด ควรรีบเปลี่ยนหรือติดต่อบริษัทที่ขายแท็งก์ออกซิเจนควรติดชื่อบริษัทที่ขายออกซิเจนแขวนไว้กับแท็งก์ออกซิเจน 

.................................................................... 
ชื่อบริษัท........................................................... 
โทรศัพท์ ..........................ที่อยู่.......................... 
....................................................................  
         
? ถ้าต่อกระป๋องน้ำทำความชื้น ควรถอดล้างกระป๋องทุกวันแล้วเช็ดให้แห้งก่อน  เติมน้ำต้มสุกที่กรองแล้วให้ถึงขีดที่กำหนด แล้วจึงต่อเข้ากับโฟลมิเตอร์   

ออกซิเจนกับความปลอดภัย    
          ออกซิเจนเป็นแก๊สไวไฟ อาจติดไฟหรือระเบิดได้ ถ้าถูกกับเปลวไฟหรือความร้อน ดังนั้นจึงควรมีมาตรการการดูแลดังนี้ 
1.  ห้ามสูบบุหรี่ในห้องที่มีแท็งก์ออกซิเจน ติด     ป้าย “ห้ามสูบบุหรี่” ในห้องที่ผู้ป่วยอยู่ 
2.  ไม่ควรตั้งแท็งก์ใกล้เตาไฟ ขณะให้ออกซิเจน     ตัวเด็กควรอยู่ห่างเตาไฟในระยะรัศมี 6-8 ฟุตขึ้นไป 
3.  ไม่ควรใช้แอลกอฮอล์, วาสลีน หรือกระป๋อง 
สเปรย์ กับเด็กในขณะที่กำลังให้ออกซิเจนอยู่ 
4.  แท็งก์ออกซิเจนควรตั้งในที่ที่ปลอดภัยมีการระบายอากาศดีและตั้งอยู่ในท่ายืน  ต้องระมัดระวังไม่ให้ 
ล้ม ถ้าแท็งก์ล้มและได้ยินเสียงลมรั่วให้รีบปิดวาวล์แก๊ส 
โดยทันที ถ้าหัวเกจ์ (หรือเรกูเลเตอร์) แตก หรือท่านไม่สามารถปิดหัววาวล์ของแท็งก์ได้อย่างปลอดภัย  ให้รีบดึงสายนำแก๊สออกซิเจนออกจากตัวเด็กและรีบนำเด็กออก

จากห้อง แล้วโทรติดต่อบริษัทผู้จำหน่าย หรือสถานี

ดับเพลิงใกล้บ้านทันที

.  เขียนป้ายเตือนความจำว่า “ออกซิเจน 
เปิดไว้.....ลิตร ต่อนาทีและจะหมดใน.....ชั่วโมง 
(ประมาณวันที่......)

แท็งก์ที่เปิดใช้ จะให้ออกซิเจนได้นานเท่าใด ? 
ถ้าอัดออกซิเจนเต็มถัง 2000 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว 
จำนวนชั่วโมงที่ใช้ขึ้นกับ ขนาดของแท็งก์ และ อัตราไหล ของออกซิเจน ดังนี้

ที่มา http://www.thaipedlung.org/mustknow_2007Feb_11.php

คำสำคัญ (Tags): #ออกซิเจนแทงก็
หมายเลขบันทึก: 431620เขียนเมื่อ 17 มีนาคม 2011 22:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 15:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท