รพ.หนองม่วง
รพ.หนองม่วง รพ.หนองม่วง รพ.หนองม่วง รพ.หนองม่วง

ก้าวใหม่ของพยาบาลในการให้การรักษาโรคเบื้องต้นด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์


ก้าวใหม่ของพยาบาลในการให้การรักษาโรคเบื้องต้นด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์

สรุปเนื้อหาจากการอบรม

                เนื้อหาสำคัญในการอบรมวิชาการ เรื่อง ก้าวใหม่ของพยาบาลในการให้การรักษาโรคเบื้องต้นด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์  เมื่อวันที่7 – 10 มีนาคม 2554  ผู้เข้าร่วมอบรม  นางอารตี คำสัตย์ น.ส. วรรณวิภาพร ชูก้าน  น.ส น้ำอ้อย พ่วงกระสินธุ์ ตำแหน่ง  พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการ สถานที่ปฏิบัติงาน หอประชุมรำไพรรณี มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี

......................................................................................................................................................................

                การอบรมฟื้นฟูวิชาการ เรื่อง หัวใจความเป็นมนุษย์กับการรักษาพยาบาลขั้นต้นระดับปฐมภูมิ มีเนื้อหาสำคัญประกอบหลักสูตรทั้งหมด   5 หัวข้อ  ได้แก่

  1. แนวคิดและหลักการให้การดูแลผู้ป่วยด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ 
       ผู้บรรยาย    รศ. ดร.รัชนี สรรเสริญ  อาจารย์นิตยา จินดากุล ดร.สาลิการ เมธนาวิน

2.หัวใจความเป็นมนุษย์สู่ปฏิบัติการรักษาโรคเบื้องต้นในระดับปฐมภูมิ

      ผู้บรรยาย   รศ.นพ.สุรเกียรติ  อาชานานุภาพ                            

3.กลุ่มอาการต่างๆกับการวินิจฉัยแยกโรค,หลักการประเมินภาวะสุขภาพการวินิจฉัยโรคและแนวทาง การรักษาโรคเบื้องต้นในระบบต่างๆที่สำคัญและพบบ่อย, แนวคิดและหลักการให้การดูแลรักษาโรคเรื้อรังในระดับปฐมภูมิ  

ผู้บรรยาย/อภิปรายกลุ่ม  รศ.นพ.สุรเกียรติ  อาชานานุภาพ  รศ. ดร.รัชนี สรรเสริญ 

4.ยาที่ใช้บ่อยและข้อควรระวังในการใช้ยา  :

ผู้บรรยาย/อภิปรายกลุ่ม  รศ.นพ.สุรเกียรติ  อาชานานุภาพ

5.     เทคนิคการสร้างเสริมมสุขภาพแบบประหยัด

       ผู้บรรยาย  อาจารย์ศัลยา คงสมบูรณ์เวช รศ.ดร.นัยพินิต ดชภักดี

1.  แนวคิดและหลักการให้การดูแลผู้ป่วยด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์  สาระสำคัญ  ดังนี้  เนื่องจากปัจจุบันระบบบริการสุขภาพมีบางสิ่งที่ขาดหายไปจากอดีต นั่นคือ ขาดความรู้สึกผูกพันอย่างจริงใจ เพราะการวัดผลสัมฤทธิ์ปัจจุบันมุ่งเน้นที่การวัดเชิงปริมาณ เจ้าหน้าที่จึงมักใช้เวลาไปกับการทำงานให้แล้วเสร็จโดยเร็ว จึงเสมือนเป็นเครื่องจักรมาก หรือเป็นคนแต่ไม่มีหัวใจ เพื่อตอบสนองและรายงานตัวชี้วัด มากกว่าวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของการบริการสุขภาพ  ทำให้เกิดปัญหาสัมพันธภาพของทุกฝ่ายทั้งผู้ให้บริการและผู้รับบริการ หรือ ผู้ให้บริการด้วยกัน ส่งผลให้เกิดความเบื่อหน่าย ไม่มีความสุขในการทำงาน  ขาดความกระตือรือร้น ที่จะสร้างสรรค์งานใหม่ๆ  ดังนั้น การดูแลผู้ป่วยด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์  จึงไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นคำที่บัญญัติใหม่เพื่อให้กระตุ้นเร้าให้ผู้ให้บริการสุขภาพหันมาทบทวน และปรับกระบวนการคิด และการทำงานใหม่ ว่านอกจากต้องให้บริการด้วยความรู้เรื่องโรคที่ถูกต้องแล้ว ต้องรู้และเข้าใจความทุกข์ยากหรือปัญหาต้องการในทุกด้านที่เกี่ยวข้องกัน ไม่เฉพาะแต่ความทุกข์กายเท่านั้น  สิ่งที่จะช่วยให้รู้และเข้าใจผู้รับบริการให้มาก คือ การพูดจาทักทาย ไต่ถาม สัมผัส และฟังด้วยความใส่ใจ รู้จักเอาใจขามาใส่ใจเรา   แล้วยอมรับและเข้าใจผู้รับบริการในสิ่งที่เขาเป็น   ไม่ใช่ให้เขาเป็นในสิ่งที่เราอยากให้เป็น 

 

2.หัวใจความเป็นมนุษย์สู่ปฏิบัติการรักษาโรคเบื้องต้นในระดับปฐมภูมิ : สามารถทำได้โดย

2.1     ผู้นำสูงสุด เห็นความสำคัญ และปฏิบัติตนเป็นตัวแบบที่ดี อย่างชัดเจน ด้วยการฟัง สัมผัส ดูแลเอาใส่ใจผู้ป่วยอย่างจริงใจ และมอบนโยบายการปฏิบัติงานแก่เจ้าหน้าที่อย่างชัดเจน

2.2     ปรับเปลี่ยนการมองผู้ป่วยให้เพิ่มขึ้น จากโรคที่เป็น อีก 3 อย่างคือ 1. ความทุกข์ยากของผู้ป่วย 2. ความเป็นองค์รวมทุกมิติ 3 ความเป็นมนุษย์ที่มีความต้องการ และสามารถยืดหยุ่นได้ ซึ่งวิธีการที่ใช้ คือ จัดทำเวทีเรื่องเล่า, การจัดกลุ่มดูแลผู้ป่วยด้วยสหวิชาชีพ, การให้ความรู้ที่จำเป็นโดยผ่านกระบวนการบรรยาย  การประชุมระดมสมอง, การประชุมแลกเปลี่ยนความรู้ เป็นต้น

2.3     ปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงาน โดยประยุกต์ตามแนวคิดการดูแลที่มีหัวใจของมนุษย์ผ่านเรื่องเล่า, แนวคิดการแพทย์ทางเลือก, และแนวคิดทฤษฏีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น

2.4     ให้การดูแลผู้ป่วยด้วยเทคนิค ( LLSL = LOVE - รัก,  LISTEN- รับฟังด้วยใจ ,  SUPPORT PERCIVE  &  LEARN -สนับสนุนให้เกิดการรับรู้และเรียนรู้ร่วมกัน)

   3.       กลุ่มอาการต่างๆกับการวินิจฉัยแยกโรค,หลักการประเมินภาวะสุขภาพการวินิจฉัยโรคและแนวทาง การรักษาโรคเบื้องต้นในระบบต่างๆที่สำคัญและพบบ่อย, แนวทางการดูแลรักษาโรคเรื้อรังในระดับปฐมภูมิ

การเจ็บป่วย (Illness) มีองค์ประกอบหลัก 2 ประการ คือ โรค (Disease) และความทุกข์ (Suffering) ของผู้ป่วย   และการเจ็บป่วย มี 3 ประเภท คือ

  1. ฉุกเฉิน(Emergency) เช่นไส้ติ่งอักเสบ เลือดออกในสมอง กล้ามเนื้อหัวใจตาย ชัก เป็นต้น
  2. ไม่ฉุกเฉินมีวิธีการรักษาจำเพาะ เช่น ไส้เลื่อน นิ่ว ต้อกระจก โรคติดเชื้อแบคทีเรีย เป็นต้น
  3. ไม่ฉุกเฉินไม่มีวิธีการรักษาจำเพาะ (รักษาตามอาการ) มี 3 ลักษณะ คือ 3.1 หายเองได้ ( Self  Limited) เช่น กลุ่มโรคไวรัส (เช่น หวัด หัด คางทูม ไข้หวัดใหญ่ที่ไม่ใช่กลุ่มเสี่ยง ) และอาการเจ็บป่วยเล็กน้อยทั่วไป ( เช่น ปวดเมื่อย อาหารไม่ย่อย ท้องเดินเล็กน้อย ) 3.2 เรื้อรัง(Chronic) เช่น ตับแข็ง ไตวาย  ถุงลมโป่งพอง ข้อเสื่อม อัมพาตเรื้อรัง เป็นต้น 3.3 รักษาไม่ได้ (Uncurable) เช่น พิษสุนัขบ้า  เอดส์ระยะสุดท้าย  มะเร็งระยะสุดท้าย  เป็นต้น

แนวทางการวินิจฉัยและรักษา จำแนกเป็น 3 แนวทางโดยการประเมินจากประเภทของการเจ็บป่วยซึ่งได้จากการซักประวัติและตรวจร่างกาย  ได้แก่

  1. ฉุกเฉิน ให้ส่งต่อทันที พร้อมทั้งการรักษาขั้นต้น
  2. ไม่ฉุกเฉิน หากมั่นใจให้การรักษา ให้รักษาขั้นต้น (ใช้ยาบรรเทาอาการ,ยาจำเพาะถ้าจำเป็นแล้วติดตามผลภายในระยะเวลาที่เหมาะสมกับการเจ็บป่วย  ถ้าดีขึ้นให้รักษาจนครบกำหนด แต่ถ้าไม่ดีขึ้น ให้ปรึกษาแพทย์ภายใน 3-7 วัน หรือ 1-2 สัปดาห์ หรือ เมื่อมีโอกาส)    
  3. ไม่ฉุกเฉิน แต่ไม่มั่นใจให้การรักษา ให้ปรึกษาแพทย์ภายใน 3-7 วัน หรือ 1-2 สัปดาห์ หรือ เมื่อมีโอกาส และรักษาขั้นต้นระหว่างรอ

ดังนั้นการจะจำแนกประเภท และรักษาความเจ็บป่วยขั้นต้น โดยเฉพาะในระดับปฐมภูมิได้มีคุณภาพและประสิทธิภาพนั้น  ผู้ให้บริการปฐมภูมิจำเป็นต้องมีความรู้ ความเข้าใจการเจ็บป่วยที่ถูกต้อง ทันสมัยและเหมาะสม ซึ่งไม่จำเป็นต้องรู้ทุกโรค แต่โรคที่สำคัญ และโรคที่พบบ่อยของพื้นที่จำเป็นต้องรู้ เพื่อพัฒนาทักษะในการซักประวัติ ตรวจร่างกาย วินิจฉัยและให้การรักษาเบื้องต้นที่ถูกต้องหรือเหมาะสมต่อไป วิธีการที่จะช่วยให้เรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ คือ การเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน ( Context  Based  Learning : CBL )

แนวทาง การรักษาโรคเบื้องต้นในระบบต่างๆที่สำคัญและพบบ่อยมีสาระสำคัญของโรค อาการ อาการแสดง การรักษาที่สำคัญของแต่ละระบบ ทั้งหมด 38 โรค ในเอกสารประกอบการอบรมซึ่งเก็บไว้ที่ห้องสมุดหน่วยงาน

แนวทางการดูแลรักษาโรคเรื้อรังในระดับปฐมภูมิ : โรคเรื้อรังที่พบบ่อยและเป็นปัญหาสำคัญในปัจจุบันและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และภาวะไขมันในเลือดสูง ซึ่งแนวทางในการดูแลรักษาโรคเหล่านี้ให้มีประสิทธิภาพ ต้องมีความรู้เข้าใจธรรมชาติของโรคทั้งด้านสาเหตุ ระดับอาการ ความเรื้อรัง ภาวะแทรกซ้อน ผลลัพธ์ของการรักษา  แนวทางในการประเมิน การตรวจคัดกรอง การวินิจฉัย การรักษาโรค การให้สุขศึกษาแนวใหม่(ปรับพฤติกรรม) ระบบข้อมูลและทะเบียนเพื่อการดูแลที่ครอบคลุมแบบองค์รวมทั้งในระดับบุคคล ครอบครัวและชุมชน  (มีสาระสำคัญในเอกสารประกอบการอบรมซึ่งเก็บไว้ที่ห้องสมุดหน่วยงาน)

4.  ยาที่ใช้บ่อยและข้อควรระวังในการใช้ยา: เพื่อให้ผู้ป่วยที่รักษาด้วยยา มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ผู้ให้บริการ ต้องรู้ และเข้าใจกลไกการออกฤทธิ์  ข้อบ่งใช้ ขนาด วิธีการให้ อาการข้างเคียง ข้อควรระวัง ข้อห้ามใช้ ของยาที่ใช้ โดยเฉพาะยาที่ใช้บ่อยที่วิทยากรบรรยาย ได้แก่ Hyoscine-n-butyl bromide, Norfloxacin, Ciprofloxacin, Antacid, NSAIDs ( ทั้งกลุ่ม Non selective COX inhibitor เช่น Diclofenac Ibuprofen Aspirin , กลุ่ม Selective COX-2 inhibitor เช่น Meloxicam ฯ และ กลุ่ม Specific COX-2 inhibitor เช่น Celecoxib ), Omeprazole, Tramal, Sulfasalazine, Methotrexate, Amitryptyline, Antihistamine ทั้งกลุ่ม Classical และ Nonsedative, Bronchodilators,กลุ่มAntibiotics, กลุ่ม Beta blockers, กลุ่ม Diuretics, กลุ่ม Alpha blockers, กลุ่ม Antichlinergic , Drugs used in Hypertension and Drugs used in DM

5.  เทคนิคการสร้างเสริมสุขภาพแบบประหยัด:ปัจจุบันสิ่งต่างๆในสังคมเปลี่ยนไปทำให้เกิดโรคใหม่ๆมากขึ้นกว่าเดิม หรือเป็นโรคที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลง เช่น อาหารทำให้เกิดโรคอ้วน มีการคมนาคมที่ก้าวไกลทำให้โรคแพร่จากทวีปหนึ่งสู่ทวีปหนึ่ง ความเครียดมีมากขี้นทำให้มีอาการฆ่าตัวตายสูงขึ้น เป็นต้น ดังนั้นจึงเทคนิคการสร้างเสิรมสุขภาพแบบประหยัดจึงพอที่จะจำแนกออกดังนี้

5.1 อาหารผู้สูงวัย  

  ปัญหาโภชนาการเมื่อสูงวัย ได้แก่ ความต้องการอาหารลดลง รับประทานได้น้อยลง ความรู้สึกต้องการน้ำลดลง การรับรสและได้กลิ่นลดลง ปัญหาฟันและช่องปาก ท้องผูก ภูมิต้านทานลดลง

ข้อแนะนำโภชนาการสำหรับผู้สูงวัย

-พลังงานต้องการน้อยลง กล้ามเนื้อลดลง ทำให้ basal metabolism ลดลง

-โปรตีน ไม่ลด แนะนำ 1 ก./กก/วัน เพื่อชดเชยกับที่กล้ามเนื้อลดลง โปรตีนที่ได้รับมาได้จากทั้งพืชและสัตว์ แต่เนื่องจากวัยนี้มักมีปัญหาเรื่องการเคี้ยว จึงอาจทำให้บริโภคเน้อสัตว์ได้น้อยลง แหล่งของโปรตีนที่เหมาะสำหรับผู้สูงอายุได้แก่ ปลา ไข่ เต้าหู้ ถั่วเหลือง ถั่วเมล็ดแห้ง นมและเนื้อสัตว์ใหญ่ที่ต้มหรือตุ๋นให้เปื่อยแล้ว

        -กากใย วันละ 25-35 ก. ผักผลไม้ 5ส่วน/วัน

        -วิตามิน D ,B6, B12 ต้องการมากกว่าคนหนุ่มสาว

       - น้ำต้องการมากขึ้น 1500-2000 มล./วัน

5.2 อาหารเสริม

    อาหารเสริมเป็นอาหารที่เริ่มมีบทบาทในการดูแลสุขภาพสำหรับยุคปัจจุบันมากขึ้นเนื่องจากสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไป วิถีชีวิตของคนที่เปลี่ยนแปลง

 -สารอาหารต้านอนุมูลอิสระ ตัวอย่างเช่น กลูตะไธโอน ไลโคนฟีน ลูทีน แคโรทน วิตามีน C เป็นต้น

หมายเลขบันทึก: 431447เขียนเมื่อ 16 มีนาคม 2011 20:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 23:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท