โครงการนิคมเศรษฐกิจพอเพียงตำบลดอยหล่อ อำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่


จะเห็นว่าเป็นการเริ่มที่จะใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่ให้เกิดประสิทธิภาพ ประโยชน์สูงเกิดการเกื้อกูลกันของวัสดุในท้องถิ่น และเป็นการพึ่งพาตนเองของชุมชน

ตามทิศทางของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่  11 ยุทธศาสตร์การสร้างความสมดุลและมั่นคงของอาหารและพลังงาน เชื่อมโยงกับการดำเนินงานของ ส.ป.ก. (พ.ศ. 2555-2559) ตามยุทธศาสตร์ดังกล่าวมีแนวทางการพัฒนาโดยส่งเสริมและพัฒนาโครงสร้างขั้นพื้นฐานในพื้นที่ให้เป็นเครื่องมือในการสร้างความเข็มแข็งด้านอาหารและพลังงานให้กับชุมชนอย่างเป็นระบบ

                สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.)  ได้ดำเนินงานโครงการนิคมเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่จังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ  เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน สำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดเชียงใหม่ (ส.ป.ก.เชียงใหม่)  ได้ขอรับการสนับสนุนงบประมาณเพื่อการดำเนินการในพื้นที่นิคมเศรษฐกิจพอเพียงนิคมดอยหล่อ   อำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่   ซึ่งในปีงบประมาณ 2553 (พ.ศ.2553-2554) ได้รับการสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานเรื่องการขุดลอกอ่างเก็บน้ำหนองหลวงและซ่อมแซมคลองส่งน้ำดาดคอนกรีต   ตลอดจนการถ่ายทอดองค์ความรู้ การอบรมดูงานหลายหลักสูตร เช่น  การแปรรูปลำไย  การทำปุ๋ยหมัก  ปุ๋ยชีวภาพ และการผลิตลำไยนอกฤดู

                จากการลงพื้นที่สำรวจความต้องการของเกษตรกรในพื้นที่ดังกล่าว  พบว่าเกษตรกรมีความต้องการองค์ความรู้ที่หลากหลาย    การดำเนินการเฉพาะปีงบประมาณ  2553  เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ส.ป.ก. เชียงใหม่ จึงพิจารณาคัดเลือกพื้นที่เดิม คือ ต.ดอยหล่อ อ.ดอยหล่อ เป็นพื้นที่พัฒนาต่อยอดนิคมเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งในพื้นที่ดังกล่าวนอกจากการปลูกลำไยแล้ว มะม่วงยังเป็นพืชอีกชนิดที่เกษตรกรปลูกและมีแนวโน้มขยายพื้นที่การปลูก เนื่องจากมีความทนทานต่อความแล้งได้ดีและเป็นที่ต้องการของตลาด    เกษตรกรกลุ่มผู้ปลูกมะม่วงจึงมีแนวคิดเพิ่มมูลค่ามะม่วงด้วยการแปรรูป เป็นการถนอมอาหารและทำให้มีระยะเวลาการขายได้ยาวนานขึ้น      

                 ในปัจจุบันกระแสการผลิตและการบริโภคอาหารปลอดภัยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เกษตรกรจึงมีแนวคิดผลิตอาหารโปรตีนจากไก่ และไข่ไก่เพื่อบริโภคในครัวเรือน   เป็นอาหารปลอดภัย และประหยัดรายจ่ายในครัวเรือน ไข่ที่เหลือจากการบริโภคสามารถขายภายในชุมชนและชุมชนใกล้เคียง ในส่วนผลผลิตมะม่วงจากเดิมขายผลสดที่มีพ่อค้ารับซื้อในพื้นที่จะได้ราคาไม่แน่นอนขึ้นกับปริมาณผลผลิตที่ออกสู่ตลาด กลุ่มผู้ปลูกมะม่วงจึงมีแนวความคิดในการที่จะเรียนรู้วิธีการแปรรูปมะม่วงให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มและเป็นอาชีพที่ทำรายได้สู่ครอบครัวอีกทางหนึ่ง และอีกประเด็นคือการตัดแต่งกิ่งลำไยและมะม่วงจะมีเศษกิ่งไม้จำนวนมาก จึงควรนำมาผลิตน้ำส้มควันไม้เพื่อใช้ในการป้องกันแมลงศัตรูพืชในสวน  ลดการใช้สารเคมี  จึงเป็นการลดต้นทุนการผลิตและเป็นการริเริ่มที่จะกลับมาเป็นเกษตรปลอดภัย  นอกจากนี้ยังได้ถ่านไว้ใช้และจำหน่าย จะเห็นว่าเป็นการเริ่มที่จะใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่ให้เกิดประสิทธิภาพ  ประโยชน์สูงเกิดการเกื้อกูลกันของวัสดุในท้องถิ่น และเป็นการพึ่งพาตนเองของชุมชน  จึงเห็นควรสนับสนุนแนวความคิดและส่งเสริมการเรียนรู้อย่างเป็นรูปธรรม ด้วยการจัดอบรมดูงานหลักสูตรต่างๆ  แก่เกษตรกรในพื้นที่ดังกล่าว

      วัตถุประสงค์ของโครงการนี้ก็เพื่อ

             1. เพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิตมะม่วงโดยการแปรรูปเพื่อจำหน่าย

             2. เพื่อผลิตอาหารโปรตีนปลอดภัยไว้บริโภคด้วยการเลี้ยงไก่สามสายเลือด

             3. ลดต้นทุนการเกษตรโดยการผลิตและใช้น้ำส้มควันไม้

ผู้เสนอโครงการ  นางสาวจุฑาทิพย์  เทพบุญ  นักวิชาการปฏิรูปที่ดินชำนาญการ  ส.ป.ก.เชียงใหม่

หมายเลขบันทึก: 430991เขียนเมื่อ 13 มีนาคม 2011 15:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 23:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ดีมากครับ ที่ช่วยกันขับเคลื่อนให้เป็นรูปธรรม พี่น้องเกษตรกรจะได้หายจน แต่ไม่รวยล้นฟ้า

ขอเพียงมีอยู่มีกิน มีปัจจัยพื้นฐาน(ปัััจจัย 4 )ในการดำรงชีวิตที่เพียงพอ ก็สุดยอดแล้วครับ เพราะที่ผ่านมา เกษตรกรไทยน่าสงสารมากกับความเป็นอยู่และหนี้สิน หลังจากที่มีการเปลี่ยนแปลงจากสังคมเกษตร ใช้เศรษฐกิจแบบเอื้ออาทร มีการแลกเปลี่ยนที่ไม่เอาเปรียบกัน มาเป็น สังคมพาณิชย์อุตสาหกรรม มีการแข่งขันทางการตลาดอย่างเสรีเอาเป็นเอาตายที่ใช้เศรษฐกิจเงินตรา  และที่ดินส่วนที่เป็นปัจจัยการผลิตก็ตกอยู่กับผู้ที่มีอันจะกิน และยังคงทิ้งเกษตรกรให้ล้าหลัง และเป็นเบี้ยล่้างตลอดมา

ดีมากครับ ที่ช่วยกันขับเคลื่อนให้เป็นรูปธรรม พี่น้องเกษตรกรจะได้หายจน แต่ไม่รวยล้นฟ้า

ขอเพียงมีอยู่มีกิน มีปัจจัยพื้นฐาน(ปัััจจัย 4 )ในการดำรงชีวิตที่เพียงพอ ก็สุดยอดแล้วครับ เพราะที่ผ่านมา เกษตรกรไทยน่าสงสารมากกับความเป็นอยู่และหนี้สิน หลังจากที่มีการเปลี่ยนแปลงจากสังคมเกษตร ใช้เศรษฐกิจแบบเอื้ออาทร มีการแลกเปลี่ยนที่ไม่เอาเปรียบกัน มาเป็น สังคมพาณิชย์อุตสาหกรรม มีการแข่งขันทางการตลาดอย่างเสรีเอาเป็นเอาตายที่ใช้เศรษฐกิจเงินตรา  และที่ดินส่วนที่เป็นปัจจัยการผลิตก็ตกอยู่กับผู้ที่มีอันจะกิน และยังคงทิ้งเกษตรกรให้ล้าหลัง และเป็นเบี้ยล่้างตลอดมา

ขอบคุณ..คุณกัลกี เภรีโฆษ มากครับที่ร่วมแสดงความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท