โรจน์
นาย โรจนศักดิ์ ทองคำเจริญ

ความประทับใจในงาน 1 ทศวรรษรามา 9-11 มีนาคม 2554 ตอนที่ 2 "ความเห็นของพี่เชค.."


"กลัวมากก็ไม่ได้ทำอะไรพอดี..จะทำอะไรต้อง" ใช้ปัญญาอย่างเต็มที่ รอบคอบรอบด้านก่อนนำเสนออะไร เมื่อมันเกิดผลทางลบ เรามักคิดว่าเป็นความผิดใหญ่หลวง แต่จริงๆแล้ว เมื่อมันเกิดขึ้น ตั้งอยู่แล้วก็จะดับไป

เป็นงานครั้งแรกที่รามาธิบดีจัดงานนี้ขึ้นมา เพื่อทบทวนองค์ความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้นในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา  ผลงานของแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวที่ผ่านมา

มีอยู่ session หนึ่งของวันแรก คุณสุทธิพงษ์ ธรรมาวุธมาร่วมเสวนาในเรื่อง "how to deal with public media" จะทำงานกันสื่ออย่างไร

ประเด็นคำถามที่อาจารย์สายพิณ ถามจากวิทยากร ทั้งคุณกรรณิการ์และพี่เชค หลักๆ คือ เราควรประชาสัมพันธ์งาน FM ต่อสารธารณะดีหรือไม่-ผลกระทบทางลบ เช่น อาจสร้างความคาดหวังในขณะที่เรายังไม่พร้อมหรือเปล่า-ถ้าจะต้องประชาสัมพันธ์ควรทำอย่างไรจึงเหมาะสม?

ผมประทับใจหลายวาทะของพี่เชคเป็นอย่างมาก จึงประมวลมาเพื่อเป็นแง่คิดดีๆ ให้แก่พวกเราชาว FM

หมายเหตุ: ผมมิได้ประมวลคำพูดตามลำดับเวลาแต่เป็นการจับประเด็นสำคัญและนำ wording เท่าที่ผมจำได้มา fill ลงไป

  1. เราควรประชาสัมพันธ์งาน FM ต่อสาธารณะดีหรือไม่?

"ผมยุให้ออกสื่อเลย..ต้องสู้ ไอ้คนที่ไม่ควรได้พื้นที่กลับออกกันทุกวัน ในขณะที่คนดีหมดพื้นที่ แล้วก็มานั่ง upset ว่าทำดีไม่มีใครเห็น"

"สิง่ที่ควรถามก่อนเลยคือ จะประชาสัมพันธ์ เพื่ออะไร ถามเจตนาก่อนเลย หากเจตนาเป็นสัมมาทิธิ คือ สื่อสารเพื่อให้สารธารณะได้รับทราบว่าเป็นประโยชน์แก่ประชาชนก็ควรทำ" พี่เชคเล่าเรื่องที่แกเคยไปช่วยงานชาวบ้านที่ทำข้าวอินทรีย์ แต่แกทุกข์มาก เพราะไปคิดแนวการตลาด แต่พอคิดใหม่ว่าที่จะช่วยเขาเพราะอะไร ทำไม่ช่วยเขาแล้วเราทุกข์ พบว่า...ความสำเร็จอยู่ที่กระบวนการ มิใช่ผลลัพธ์ ปัญญาเกิดระหว่างกระบวนการอยู่แล้ว เกิดระหว่างเราทำงาน

สรุปว่า ก่อนจะสื่ออะไรกับสารธารณะต้องถามว่า เราทำเพื่อใคร เพื่ออะไร เป็นสัมมาทิธิหรือไม่

2. ผลกระทบทางลบ เช่น อาจสร้างความคาดหวังในขณะที่เรายังไม่พร้อมหรือเปล่า?

"กลัวมากก็ไม่ได้ทำอะไรพอดี..จะทำอะไรต้อง" ใช้ปัญญาอย่างเต็มที่ รอบคอบรอบด้านก่อนนำเสนออะไร เมื่อมันเกิดผลทางลบ เรามักคิดว่าเป็นความผิดใหญ่หลวง แต่จริงๆแล้ว เมื่อมันเกิดขึ้น ตั้งอยู่แล้วก็จะดับไป

 

3. ถ้าจะต้องประชาสัมพันธ์ควรทำอย่างไรจึงเหมาะสม?

 

การสื่อสารไม่จำเป็นต้องออกหนังสือพิมพ์หรือ TV อย่างเดียว ยังสามารถมี social media อื่น ๆอีก (เช่น Facebook นี่ไง)สื่อได้อย่างต่อเนื่อง

 

ถึงตอนนี้พวกเราก็ถึงบางอ้อและสิ่งที่โดนใจมากๆ ก็คงจะเป็นเรื่อง เราควรประชาสัมพันธ์เพื่อนำสิ่งดีๆ เพื่อสังคม มากกว่าการคงอยู่หรือความมีหน้ามีตาของเรา

ขอบคุณครับพี่เชค

หมายเลขบันทึก: 430870เขียนเมื่อ 12 มีนาคม 2011 17:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 พฤษภาคม 2012 17:26 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ตอนนี้ผมเองก็เริ่มรณรงค์แล้วครับว่า...ถึงเวลาที่คนไทยทุกคนต้องมีหมอประจำตัว (ไม่ต้องกลัวว่าจะหาหมอไม่ได้) ถ้าทุกคนต้องการ ผู้บริหารประเทศต้องจัดหามา.....ช่วยกันกดดันหน่อย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท