อาเซี่ยนศึกษา (Asian Studies)


การจัดการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้

             

               มีโอกาสให้สัมภาษณ์และเสนอแนวคิด เรื่อง อาเซี่ยนศึกษา ในรายการตะวันยิ้ม ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 11  ทำให้อดนึกถึง อาเซี่ยนในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต เพราะอาเซี่ยนก่อตั้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2510 มาถึงวันนี้ โตเท่ากับคนอายุ 44  เลยวัยกลางคนไปแล้ว แต่ดูแล้วเหมือนกับว่ายังไม่บรรลุนิติภาวะเท่าใดนัด

               อาเซี่ยน ประกอบด้วย 10 ประเทศ อยู่ไม่ไกลกัน ด้วยภูมิภาคที่มีอะไรคล้ายๆกัน ทำให้กลุ่มนี้ค่อยข้างจะยืนอยู่ในเวทีโลกลำดับไหล่ไม่ต่างกันนัก และการขัดแย้งระหว่างประเทศค่อยข้างมีน้อย ฟังแล้วดูเหมือนว่า "เขาพระวิหาร"น่าจะเป็นเรื่องฮิตที่สุดของอาเซี่ยนในแง่ความมั่นคงและโต๊ะเจรจา

               แต่ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ สังคม การค้า การลงทุน และการศึกษา ยังดำเนินการอยู่อย่างมีเอกภาพ โดยความร่วมมือระหว่างประเทศที่มีข้อตกลงร่วมกันหรือแลกเปลี่ยนร่วมกัน

               ด้านการศึกษา สพฐ.เตรียมความพร้อมสู่การเป็นประชาคมอาเซี่ยนการศึกษา โดยจับความรู้อาเซี่ยนบูรณาการ 8 กลุ่มสาระ เล็งผุดโรงเรียนนำร่อง 54 แห่ง จับคู่โรงเรียนในเครืออาเซี่ยน สัดส่วน 6:1 ทั้งระดับประถม-มัธยม เรียนรู้ภาษา วัฒนธรรม คาดดำเนินการปีการศึกษานี้
       
              ซึ่งในปี 2558 นี้ ข้อตกลงประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ที่ 10 ประเทศรวมกันเป็น 1 ประชาคม ก็จะมีการเปิดเสรีตลาดการค้า การลงทุน และการศึกษา ซึ่งตามข้อตกลงปฏิญญาด้านการศึกษาจะมีการร่วมมือกัน 3 ด้านคือ ด้านความมั่นคง ด้านสังคมและวัฒนธรรม และด้านเศรษฐกิจ โดยจะต้องมีการเตรียมความพร้อมของประชากรอย่างเป็นระบบและยั่งยืน เพื่อเพิ่มศักยภาพของประชาชนในการรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอีก 5 ปีข้างหน้า
       
             ซึ่งในส่วนของไทยนั้น ประชากรต้องมีความพร้อมที่จะแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยมีทั้งความรู้ความเข้าใจ และสามารถใช้ประโยชน์จากความร่วมมือนี้ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) จะมีการเตรียมความพร้อมให้แก่เด็ก โดยทำใน 2 ส่วน คือ

             1.โรงเรียนทั่วไปในเชิงเนื้อหาวิชาการ จะมีการบูรณาการความรู้เกี่ยวกับอาเซียนใน ทั้ง 8 กลุ่มสาระตามบทบาทของแต่ละวิชา โดยเตรียมหลักสูตร การสอน และแนวการจัดประสบการณ์ เพื่อให้เด็กมีความพร้อม และ

             2.ดำเนินโครงการโรงเรียนพี่โรงเรียนน้องกับประเทศในอาเซียน
       
             สำหรับโรงเรียนนำร่องจะมี 2 ลักษณะ คือ กลุ่มโรงเรียนที่อยู่ตามแนวชายแดนที่ติดกับประเทศเพื่อนบ้าน และโรงเรียนที่ไม่ได้อยู่ตามแนวชายแดนที่ติดกับประเทศเพื่อนบ้านแต่มีความพร้อม รวมทั้งสิ้น 54 โรง ซึ่งโรงเรียนในกลุ่มนี้จะจับคู่กับประเทศในเครืออาเซียน 9 ประเทศ โดย 1 ประเทศจะมีโรงเรียนไทยประกบอยู่ 6 โรงเรียน ทั้งระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา โดยโรงเรียนกลุ่มนี้เด็กจะต้องได้เรียนรู้ทั้งภาษาและวัฒนธรรมของประเทศเพื่อนบ้านอย่างลึกซึ้ง

              ถ้าถามว่า ทำไมเด็กรุ่นใหม่จึงต้องรู้เรื่องอาเซี่ยน  ก็เพราะการอยู่ร่วมกันในอนาคต คงไม่มีพรมแดน ไม่มีการกีดกัน และแสวงหาความร่วมมือต่อกัน เงินตรา หนังสือเดินทาง แรงงาน อาชีพ ฯลฯ คงเปลี่ยนไป เราฝากความหวังไว้กับครูอีก...ครับ ที่จะนำอาเซี่ยนศึกษาเข้าไปบูรณาการในทุกกลุ่มสาระอย่างแนบเนียนที่สุด

 

คำสำคัญ (Tags): #อาเซี่ยนศึกษา
หมายเลขบันทึก: 429675เขียนเมื่อ 5 มีนาคม 2011 20:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • อ่านแล้วเข้าใจดี
    ขอบพระคุณค่ะ

สวัสดีค่ะท่านผอ. ขอบคุณที่ไปให้กำลังใจกันนะคะ อยากบันทึกเรื่องกิจกรรมการเรียนรู้บ้างแต่ก็ภาระงานช่วงนี้เยอะมากค่ะ เป็นกำลังใจให้คนเก่งทางใต้ด้วยนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท