เรื่องแปลกๆ: ทางสายกลาง ก็ยังมีการนำไปใช้ใน อบายมุข และอวิชชา


บางคนกล่าวว่า การขับรถคร่อมเลน หรือกลางถนน ก็คือทางสายกลาง ที่เป็นอันตรายมาก

ผมได้มีโอกาสสนทนาแบบโลกแกมธรรม

ที่มีทั้งอวิชชา ความสับสน และอบายมุข

ที่พบว่ามีการใช้คำว่า “ทางสายกลาง” อย่างหน้าตาเฉย

และยังพบคำใหม่ที่เกิดมาจากการพูดคุยว่า “ทางสายที่เป็นกลาง”

ทำให้ดูยิ่งสับสนเข้าไปอีก

เช่นเขากล่าวว่า การดื่มเหล้าผสมน้ำ ก็เป็นทางสายกลาง

บางคนกล่าวว่า การขับรถคร่อมเลน หรือกลางถนน ก็คือทางสายกลาง ที่เป็นอันตรายมาก

บางคนบอกว่า การเข้าข้างใดข้างหนึ่ง จะเป็นอันตรายต่อตนเอง ควรทำตัวเป็นกลาง

บางคนก็ว่าเน้นทำทานมากก็ทุกข์ เน้นการเก็บสะสมมากก็ทุกข์ ควรเก็บบ้างให้บ้าง แบบกลางๆ

นักวิชาการบอกว่า เป็นกรดก็แรง เป็นด่างก็แรง เป็นกลางดีที่สุด อยู่กับใครก็ได้ เช่นน้ำเป็นต้น

คนที่เข้าวัดบ่อยๆ บางคนก็จะมองว่าคนไม่เข้าวัดเป็น "คนไม่มีศีลธรรม" แต่คนที่ไม่ค่อยเข้าวัดก็จะมองคนที่เข้าวัดเป็นประจำว่า “คนบ้าวัด”

ต้องทำตัวกลางๆ เข้าวัดบ้างไม่เข้าบ้าง

ที่ผมเข้าใจว่าเป็นการใช้คำของพระพุทธเจ้า แบบไม่เข้าใจ ตามอำเภอใจ ไม่พยายามจะเข้าใจที่มาและความจริงของคำนี้ ที่ “ไม่ตึงและไม่หย่อนจนเกินไป” แบบธรรมดาๆ เป็นแบบธรรมชาติ

แต่พอมามองในมิตินี้ ก็มีคนพยายามมองว่าทางสายกลาง คือ ครึ่งๆกลางๆ

ไม่จริงจัง และไม่ไร้สาระ หลุดไปโน่น

ที่น่าสงสารและน่าเห็นใจคนที่มีอวิชชา และอบายมุขอยู่ในอารมณ์และระบบคิด

นี่คือ “แปลกแต่จริง” ในสังคมไทยครับ

 

 

หมายเลขบันทึก: 429320เขียนเมื่อ 3 มีนาคม 2011 12:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • ภูมิใจที่เรามีคำสอนในพุทธศาสนาที่ดีเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต
  • แต่เสียดายคนที่ไม่ได้เข้ามาศึกษาอย่างลึกซึ้งแล้วนำไปตีความกันแบบผิดๆ พูดกันเล่นๆ  ทั้งๆที่ทางสายกลางนั้น ถ้าเรารู้จักประยุกต์ใช้แล้วเราจะสามารถมีชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท