nobita
นาย ชัยพร รัตนดิลก ณ ภูเก็ต

บังคับบัญชาตนเอง


หากผมมีโอกาสก้าวไปสู่การเป็นผู้บังคับบัญชาใคร ผมคงจะต้องกลับมาอ่านบันทึกนี้อีกครั้งว่า ตัวเองได้สอนตัวเองไว้ว่าอย่างไรบ้าง...

    ในการสอบแข่งขันเพื่อคัดเลือกบุคคลให้ดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่วิเคราะห์งานบุคคล 6 ที่ผ่านมา  ผมเป็นหนึ่งในจำนวน 9  คนที่เข้าสอบแข่งขั้นครั้งนี้ 

     การสอบภาคเช้า เป็นการสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถทั่วไป มีอยู่ข้อหนึ่งถามว่า

     "ในฐานะที่ท่านกำลังจะเป็นผู้บังคับบัญชา หากพบว่า ผู้ใต้บังคับบัญชาของท่านทำงานผิดพลาด ท่านจะมีวิธีการแก้ไขปัญหานี้อย่างไร" (อาจจะไม่เหมือนกับข้อสอบจริง ๆ ทุกคำพูดแต่ความหมายเดียวกัน)

     แนวทางการตอบข้อนี้ของผม

     เริ่มต้นด้วยการตอบตัวเองก่อนว่า การทำงานที่ผ่านมาของตัวเองมีข้อบกพร่องและผิดพลาดอย่างไรบ้าง  ซึ่งก็จะได้คำตอบตรงนี้ว่า ที่ตัวเราเองทำงานผิดเพราะ

  • ไม่รู้กฎหมาย ระเบียบ วิธีการ ขั้นตอน หรือกระบวนการทำงานที่ถูกต้อง
  • ขาดทักษะบางอย่างในการปฏิบัติงาน หรือมีทักษะแต่ไม่เพียงพอที่จะทำงานให้สำเร็จหรือถูกต้องได้
  • ขาดประสบการณ์ในการทำงาน หรือการตัดสินใจในการทำงานต่าง ๆ 
  • ขาดความรู้ในหน้าที่งานที่ต้องรับผิดชอบ
  • ขาดความละเอียดรอบคอบในการปฏิบัติ
  • ขาดการคิดพิจารณา ไตร่ตรองที่ดี
  • หรือบางครั้งขาดการเอาใจใส่ หรือความตั้งใจในการทำงาน 
  • และอีกหลาย ๆ อย่างที่คนทำงานธรรมดาพึงจะมีกันได้...

     นี่แหละคือพื้นฐานของการเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาที่ตัวเองกำลังเป็นอยู่ และคิดเสมอว่า ถ้าเราได้รับการใส่ใจและดูแล ได้รับการสั่งสอน แนะนำ หรือการสอนทั้งความรู้ และเทคนิคการทำงานที่ถูกต้อง วันหนึ่งเราก็จะทำงานได้ถูกต้องและดียิ่ง ๆ ขึ้นไป  จึงนำไปสู่คำตอบที่ว่า "ถ้าได้เป็นผู้บังคับบัญชา" แล้วพบว่า "ผู้ใต้บังคับบัญชา" ทำงานผิดพลาด ไม่ถูกต้องนั้น  เราต้องถามตัวเองว่า เราได้สอนงานเขาเป็นอย่างดีแล้วหรือไม่  เราได้ให้คำแนะนำที่ถูกต้องเพียงใจ  เราใส่ใจดูแลเขาอย่างเพียงพอหรือไม่  ฯ   และหากคำตอบที่ได้คือ ไม่  เราก็ต้องแก้ไขที่ตัวเราเองก่อน นั่นคือ ต้องทำตัวเป็นผู้บังคับบัญชาที่ดี สอนงานลูกน้อง  ให้ความรัก ความยุติธรรม ดูแล เอาใจใส่   แต่ถ้าตัวเราทำดีแล้ว เหมาะสมแล้ว จึงพิจารณาว่า  ผู้ใต้บังคับบัญชาที่ทำผิดนั้นทำผิดด้วยสาเหตุอะไร ก็แก้ตามสาเหตุนั้น เช่น ไม่มีองค์ความรู้ในการทำงาน ไม่รู้หลักกฎหมาย กฎ ระเบียบ หลักเกณฑ์  ก็ส่งไปอบรมให้มีความรู้   ถ้าเขาขาดทักษะด้านใดก็ฝึกหรือเสริมด้านนั้น  ถ้าเขาไม่ละเอียดรอบคอบ ก็ต้องตรวจตราและชี้แนะ  ถ้าเขาขาดความเอาใจใส่ในงาน ก็ต้องว่ากล่าวตักเตือน หรือมีการให้คุณให้โทษตามหน้าที่ที่เหมาะสมของการเป็นผู้บังคับบัญชา....

     และนี่คือ แนวการตอบข้อสอบของผม  อาจจะไม่เหมือนกับการตอบจริงในตอนสอบ แต่ผมก็มีกรอบแนวคิดแบบนี้ และจำได้ดีว่าตนเองตอบไปในแนวทางใด

     วันหนึ่ง หากผมมีโอกาสก้าวไปสู่การเป็นผู้บังคับบัญชาใคร ผมคงจะต้องกลับมาอ่านบันทึกนี้อีกครั้งว่า ตัวเองได้สอนตัวเองไว้ว่าอย่างไรบ้าง... 

หมายเลขบันทึก: 429057เขียนเมื่อ 1 มีนาคม 2011 18:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤษภาคม 2012 15:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

นี่แหละครับ  เขาคัดคนคุณภาพมาทำงาน  การทำงานต้องตั้งใจทำงานเพื่อสะสมประสบการณ์ไว้มากๆ ผมเป็นคนหนึ่งที่อายุราชการ 15  ปีแต่ก่อนก็ไม่คิดอะไรมากทำงานมุ่งมั่นตั้งใจจนบัดนี้ถึงรู้ว่า อ้อสิ่งที่เราทำมามันส่งผลให้เราแก้ปัญหางานเราได้เป็นที่ปรึกษาของข้าราชการรุ่นน้องได้  ได้รับความเชื่อถือ  ตั้งใจทำงานนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท