ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ มีความสำคัญต่อการศึกษาอย่างไร


ระบบเทคโนโลยี

บทบาทและความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อการบริหารจัดการศึกษา
            “ เทคโนโลยีสารสนเทศ ” (Information Technology) หรือเรียกกันย่อ ๆ  ว่า“ IT ” หมายถึงเทคโนโลยีที่นํามาใชในการจัดเก็บขอมูล (Data) และประมวลผลขอมูลใหเกิดผลลัพธเปนสารสนเทศ (Information) เพื่อนําไปใชประโยชน
           ข้อมูล (Data) หมายถึง    ข้อมูลดิบที่เก็บรวบรวมมาจากที่ต่าง ๆ ซึ่งยังนําไปใชงานไมได
เช่น  การสํารวจความคิดเห็น ความคิดเห็นที่ไดยังถือวาเปนขอมูลดิบ
              สารสนเทศ (Information) หมายถึง ผลลัพธจากการประมวลผลขอมูลดิบซึ่งสามารถนําไปใชประโยชน เพื่อประกอบการทํางาน หรือเพิ่มประกอบการตัดสินใจของผูบริหาร เชน นําข้อมูล ความคิดเห็นแตละขอมาหาความถี่ เป็นค่าร้อยละเพื่อเปรียบเทียบดูว่า ข้อคิดเห็นขอใดมีผูเลือกมากนอย     เป็นร้อยละเท่าไร ค่ารอยละดัง
กล่าว ก็จัดเป็นสารสนเทศ เป็นต้น
             การจัดเก็บข้อมูลและการจัดการข้อมูล ต้องการความถูกตองและรวดเร็วสูง จึงจําเปนตองนําเทคโนโลยีคอมพิวเตอรเขามาช่วย และ เมื่อตองการใหผูที่อยูหางไกลกันสามารถใชประโยชนจากสารสนเทศดังกลาว ก็จําเปนตองนําเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคมเขามาชวยอีกทางหนึ่งดวย
             ในวงการบริหารงานตางๆ  โดยเฉพาะในวงการบริหารงานธุรกิจ ซึ่งมีการแขงขันกันสูง ไดนําเอานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชในการบริหารกันเปนอันมากเพื่อใหการบริหารมีประสิทธิภาพสูง  ประหยัดสุดและไดประสิทธิผลสูงสุด
             ผู้บริหารยุคใหมทุกระดับจึงนํานวัตกรรมเทคโนโลยีมาใชกันอยางแพรหลาย เชน  ผู้บริหารระดับสูงในองค์การ จะนําสารสนเทศที่แสดงภาพรวมของการดําเนินงาน ความสัมพันธระหวางองคการและสิ่งแวดลอม สรุปปญหาและแนวทางแก้ไข มาใชเพื่อประกอบการแก้ปญหา และการตัดสินใจกําหนดกลยุทธขององคการ สวนผูบริหารระดับกลางจะนําสารสนเทศ  ที่ ประมวลงานประจําป มาใชจัดแผนงบประมาณ และกําหนดแผนการดําเนินงานของหนวยงาน สําหรับ ผู้บริหารงานระดับต้นจะใชเทคโนโลยีสารสนเทศช่วยในการควบคุมการปฏิบัติงาน เป็นต้น
                ปัจจุบันผูบริหารในการศึกษาไดนํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชและมีบทบาทความสำคัญในการบริหารจัดการศึกษากันมากขึ้น อาทิ เชน
                 1. การนํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการตัดสินใจ การตัดสินใจที่ดีจะต้องรวดเร็วและไมผิดพลาด และการตัดสินใจที่รวดเร็วและไมผิดพลาดนั้นจําเป็น ต้องมี ข้อมูลสารสนเทศที่ เป็นปัจจุบันไมล้าสมัย มีจํานวนมากเพียงพอ และสามารถนํามาใชไดง่ายและรวดเร็ว ซึ่งเทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยเรื่องนี้เป็นอย่างดี ระบบสารสนเทศที่ผูบริหารนํามาใชในการตัดสินใจมีดังนี้
                         1.1 ระบบสารสนเทศสําหรับผูบริหาร (Executive Systems) หรือ “EIS” ในบางครั้งอาจเรียกว่า “ระบบสนับสนุนผู้บริหาร” (Executive Support Systems) หรือ “ESS” ระบบ EISเป็นระบบที่ออกแบบและพัฒนาขึ้นมาเพื่อจัดเตรียมสารสนเทศที่เหมาะสมในการตัดสินใจของผูบริหารระดับสูงช่วยให้  ผู้บริหารสามารถทําความเข้าใจ ปัญหาอย่างชัดเจน และสามารถตัดสินใจเลือกแนวทางแกปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ
                          1.2 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support) หรือ DSS ระบบ DSS เป็นระบบที่ ออกแบบและพัฒนาขึ้นมาเพื่อใชสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารระดับกลาง ระบบDSS จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการตัดสินใจของผูบริหารแตจะไมทําการตัดสินใจแทนผู้บริหาร โดยประมวลผลและนําเสนอข้อมูล ที่สําคัญต่อการตัดสินใจ ตลอดจนประเมินทางเลือกที่เหมาะสมภายใตข้อจํากัดของแต่ละสถานการณ เพื่อใหผู้บริหารใช
สติปญญา เหตุผล ประสบการณ และความคิดสร้างสรรคของตนวิเคราะหและเปรียบเทียบทางเลือกใหสอดคล้องกับปัญหาหรือสถานการณนั้นๆ
               2. การนํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชในการบริหารงานทางไกล มีการนําสื่อหลายๆอย่าง เช่น โทรศัพทมือถือ โทรสาร วิทยุ โทรทัศน คอมพิวเตอร และเครื่องมือสื่อสารโทรคมนาคม มาใชในการติดต่อการสื่อสารและการบริหารงานทางไกลไดสะดวกรวดเร็ว ประหยัดเวลาและค่าใช้จายเป็น อันมาก ถึงแมจะอยูไกลกันก็สามารถทํางานร่วมกัน ประชุมร่วมกันไดโดยใช Teleconference เป็นต้น
                3. การนํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชในการบริหารสถานศึกษา   ปัจจุบันสถานศึกษาหลายแห่ง พัฒนาระบบสารสนเทศ เพื่อใชในการบริหารงานด้านต่างๆ ทั้งการบริหารงานวิชาการ การบริหารกิจการนักเรียน การบริหารงานบุคลากร การบริหารงานธุรการ การเงิน พัสดุ ครุภัณฑ การบริหารงานอาคารสถานที่และการการบริหารงานชุมชน

               4. การสร้างเครือข่ายข้อมูล (Network) ด้วยระบบสารสนเทศ เครือข่ายนี้จะช่วยพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทยเป็นอันมาก ปัจจุบันมี โครงการเครือข่ายคอมพิวเตอรโรงเรียนมัธยม (Schoolnet)   ซึ่งเป็นโครงการ
ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ หนึ่งในหลายโครงการที่เกิดขึ้นตามพระราชดําริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี โดยศูนยเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกสคอมพิวเตอรแห่งชาติ ไดนําแนวพระราชดําริมาดําเนินการร่วมกับหน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัดกรมสามัญศึกษา(เดิม)
             5. การนํานวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชในการจัดการศึกษา  ในปัจจุบันผูบริหาร หน่วยงานทางการศึกษานํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชในการจัดการศึกษา เป็นประโยชนต่อการเรียนรูหลายอย่าง อาทิเช่น
                  5.1 อินเตอร์เน็ต (Internet)  เพื่อใชในการศึกษาหาข้อมูล ข่าวสารทางวิชาการและอื่นๆ จากที่ต่าง ๆ เป็นการส่งเสริมการเรียนรูตลอดชีวิต
                   5.2 จดหมายอิเล็กทรอนิกส (Electronic Mail หรือ E-mail) เพื่อใชรับส่งข่าวสาร ข้อมูล รูปภาพ และส่งงานใหครูอาจารยตรวจ
                   5.3 การจัดทํา Website ของสถานศึกษา เพื่อการเผยแพรขาวสารของสถานศึกษา  เป็นการประชาสัมพันธระหว่างสถานศึกษากับ ผู้ที่เกี่ยวของ และบุคคลทั่วไป
                  5.4 การใชโปรแกรม SPSS เพื่อการวิเคราะหข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งเป็นประโยชนต่อการทําวิจัยในชั้นเรียนของครูอาจารย การทําวิจัยสถานบันของฝ่ายบริหาร และอื่น ๆ
                  5.5 การทํา PowerPoint    เพื่อใชในการเรียนการสอนของครูอาจารย และใชเสนอผลงานของ    ผู้บริหารสถานศึกษา
                  5.6 คอมพิวเตอรช่วยสอน (Computer Assisted Instruction หรือ CAI) เพื่อช่วยใหผู้เรียนเรียนรูด้วยตนเองจากบทเรียนสําเร็จรูปในคอมพิวเตอร
                   5.7 การเรียนรูผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส (Electronic Learning) หรือที่เรียกกันว่า
E-Learning    เป็นการเรียนทางไกลที่ผูเรียนสามารถโตตอบกับผู้สอนได  โดยอาศัยเครือข่าย อินเตอร์เน็ต จึงช่วยใหเรียนรู้ไดโดยไม่มีข้อจํากัดของเวลา ระยะทาง และสถานที่ โดยผูเรียนจะสามารถเรียนรูไดตลอดเวลาจึงตอบสนองศักยภาพการเรียนรูของผู้เรียนไดเป็นอย่างดี
                   5.8 ห้องเรียนอัจฉริยะ (Electronic Classroom หรือ E-Classroom) เป็นการจัดระบบบริหารจัดการห้องเรียน ที่ใชการเรียนการสอนแบบ on-line และ ปฏิสัมพันธ (interactive) สามารถควบคุมและและตรวจสอบกิจกรรมของนักเรียนไดโดยตรงจากเครื่องคอมพิวเตอรของครูแบบ real  time
                  5.9 หนังสืออิเล็กทรอนิกส (E-book) และ หองสมุดอิเล็กทรอนิกส (E-Library) เพื่อเสริม           การเรียนการสอน และใหบริการค้นคว้าหาความรูแกนักเรียน ครูอาจารย และประชาชน
                  5.10 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ “ICT”  (Information and Communication Technologies)  เพื่อพัฒนาการศึกษา ปัจจุบันประเทศไทยโดยกระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายสําคัญที่จะนําเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช เพื่อพัฒนาการสื่อสารในทุกด้าน โดยเฉพาะการช่วยพัฒนาครูอาจารย การช่วยใหเด็กและเยาวชนไดเข้าถึงแหล่งความรูและไดเรียนอย่างทัดเทียมกัน ตลอดจนการพัฒนาระบบบริหารจัดการให้ ฉับไว มีประสิทธิภาพสูงสุด
            ดังนั้น นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ  ก็เข้ามามีบทบาทมากขึ้น โนเฉพาะอย่างยิ่ง ในยุคของการปฎิรูปการศึกษา ผู้บริหารการศึกษายุคใหมต่างก็นํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชประโยชนใน             การบริหารจัดการศึกษา เพื่อใหประสบผลสําเร็จในการพัฒนาคุณภาพผูเรียนไดอย่างมีประสิทธิภาพสูง

 

คำสำคัญ (Tags): #นวัตกรรม
หมายเลขบันทึก: 428578เขียนเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2011 19:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 14:24 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท