การปลูกมะพร้าว (6) "แมลงดำหนามมะพร้าว ฯ


สถาบันวิจันพืชสวน กรมวิชาการเกษตร

แมลงดำหนามมะพร้าว

 

เป็นด้วงชนิดหนึ่งที่ลำตัวเป็นสีดำ มี 2 ชนิดคือ

Pesispa Reichei Chapuis พบในแปลงเพาะชำ และ

Hrontispa Longissma Gastro ทำลายมะพร้าวในแปลงปลูก

ซึ่งกำลังระบาดอย่างรุนแรงในขณะนี้ พบทั่วไปในแหล่งปลูกมะพร้าว โดยเฉพาะทางภาคกลาง ภาคใต้ ของประเทศ แมลงชนิดนี้ไม่ชอบแสงแดด และมักจะหลบซ่อนตัว เมื่อมีสิ่งมารบกวน หลบอยู่ตามกาบใบมะพร้าว ที่ยังไม่คลี่ หรือใบมะพร้าวที่ยังอ่อนอยู่ ซึ่งเป็นแหล่งอาศัย และแหล่งอาหารของแมลงชนิดนี้  ตลอดเวลาตั้งแต่ระยะไข่ จนกระทั่งเป็นตัวเต็มวัย

 

             

 

การป้องกันกำจัด

 

1. ในช่วงฤดูแล้งให้สังเกตุอาการใบไหม้ ของใบมะพร้าวที่เพิ่งคลี่ออก ให้สันนิษฐานก่อนว่า เกิดจากการทำลายของแมลงชนิดนี้ ถ้าไม่รุนแรงมากนักให้ทำการจับแมลงชนิดนี้ทำลายเสีย ซึ่งแมลงชนิดนี้ จะอาศัยอยู่ตามกาบและซอกใบอ่อน

2. เมื่อมีการระบาดรุนแรงโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในแปลงเพราะกล้าใบมะพร้าวมีอาการใบไหม้ เกือบทุกใบ ให้ทำการพ่นด้วยสารฆ่าแมลง พวกคอไพรีฟอส พ่นตามบริเวณยอดอ่อน  

 3. การกำจัดแมลงดำหนาม (Brotispa)ที่ทำลายต้นมะพร้าวในแปลงปลูก ต้องใช้แตนเบียน จึงจะได้ผลดี ถ้าพบให้แจ้งกับเกษตรอำเภอ หรือเกษตรจังหวัดเพื่อนำแตนเบียนไปปล่อย

 

                         

 

หนอนจั่นมะพร้าว

 

มี 2 ชนิด คือ

 ชนิดที่ 1 ขนาดเล็ก เข้าทำลายเฉพาะดอกตัวผู้ 

ชนิดที่ 2 ขนาดโต เข้าทำลายดอกตัวเมีย 

              ดอกตัวผู้และผลมะพร้าวที่ยังอ่อนอยู่ 

 

 การป้องกันกำจัด 

 

1. หนอนจั่นมะพร้าวที่มักมีปัญหากับมะพร้าวน้ำหอม มะพร้าวเหลืองเตี๊ย หรือเขียวเตี๊ย หรือส่วนใหญ่จะเป็นมะพร้าวพันธุ์เบาตกลูกเร็ว ผลมีขนาดปานกลาง ถ้าต้นมะพร้าวไม่สูงมากนัก ควรจับทำลายเสีย และทำความสะอาดบริเวณซอกระหว่างกาบใบและจั่นอย่าให้เป็นที่หลบซ่อนและเป็นแหล่งเพาะขยายพันธุ์ของหนอนต่อไป

2. เมื่อมีการระบาดรุนแรง จำเป็นต้องพ่นด้วยสารฆ่าแมลง  ชนิดไตรคลอร์ฟอน ให้ทั่วทั้งจั่นที่บานและยังไม่บาน 

 

หนอนร่านกินใบมะพร้าว 

 

 เป็นหนอนผีเสื้อกินใบมะพร้าวหนอนพวกนี้ส่วนใหญ่มีลักษณะพิเศษ  คือมีกลุ่มขนทั่วลำตัว กลุ่มขนดังกล่าว มีพิษซึ่งผลิตออกมาจากต่อมใต้ขน เมื่อถูกรบกวนกลุ่มขนจะขยาย หรือพองออกมาเพื่อป้องกันศัตรู

หนอนร่านที่สำคัญมีดังต่อไปนี้ 

หนอนร่านมะพร้าว พาราซ่า

การระบาดในตอนแรกจะเกิดกับต้นมะพร้าว 1-2 ต้น เมื่อหนอนเจริญจนกลายเป็นผีเสื้อ ซึ่งใช้เวลา 1-2 เดือน แล้วจึงจะบินไปวางไข่ยังต้นมะพร้าว  ข้างเคียงบริเวณโดยรอบ ในเวลาต่อมา ซึ่งทำให้การระบาด แผ่อาณาเขตกว้างขึ้นถ้าหากสภาพอากาศอำนวยโดยฝนยังไม่ตกก็จะช่วยให้เกิดการระบาดรุนแรงขึ้นอีกภายในเวลา 3- 5 เดือน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงแรก ระหว่างเดือนพฤศจิกายน - พฤาภาคม 

 

การป้องกันกำจัด

 

 1. เมื่อพบว่ามีการระบาดเล็กน้อย ให้จับหนอนทำลายเสีย และหากพบว่ามีดักแด้ บริเวณก้านใบ ก็ควรเก็บใบฝั่งดินหรือเผาดักแด้ ทำลายเช่นกัน 

2. หากพบว่ามีการระบาดรุนแรง ให้พ่นด้วยสารฆ่าแมลง พวก ไดอะซีโนน หรือคาร์บาริล ผงละลายน้ำ พ่นให้ทั่วใต้ใบมะพร้าว

 

หนอนหน้าแมว

การระบาด หนอนหน้าแมว ในระยะแรก เกืดขึ้นเมื่อเป็นจุด 1-2 ต้นก่อน แล้วจึงแพร่กระจายเป็นพื้นที่กว้างออกไป  พบว่ามีศัตรูธรรมชาติทีมีประสิทธิภาพได้แก่ แตนเบียน หนอน แมลงวันก้นขน มวนเพชฌฆาต เป็นต้น 

                       

การป้องกันกำจัด

 

 1. การเดินสำรวจพบจุดเริ่มต้น ที่เกิดจากการระบาด ของหนอนชนิดนี้ แล้วทำลายเสีย จะช่วยลดการแพร่กระจาย ของหนอนได้เป็นอย่างดี 

2. เมื่อพบว่ามีการระบาดมากให้พ่นด้วยสารฆ่าแมลง เช่น คาร์บาริล ,ไตรคลอร์ฟอน และ คลอร์ไพรีฟอส เป็นต้น

 3. สามารถพบดักแด้ ที่บริเวณกาบมะพร้าว ให้เก็บทำลายโดยการเผา  หนอนร่านเซ็ทโทร่า  หนอนชนิดนี้ พบว่าอยู่เป็นประจำในสวนมะพร้าว แต่ยังไม่เคยมีการระบาด รุนแรง ทั้งนี้ เนื่องจากหนอนร่าน ชนิดนี้มีศัตรูธรรมชาติ ที่มีประสิทธิภาพ คอยควบคุมอยู่แล้วหลายชนิด หนอนชอบทำลายมะพร้าวระดับล่างๆ และอาศัยอยู่บริเวณใต้ใบจะกัดกินเนื้อใบจนเหลือแต่ก้านใบ เช่นเดียวกับหนอนร่านพาราซ่า

 

การป้องกันกำจัด

 

1. หนอนร่านแซ็ทโทร่า มีศัตรูธรรมชาติ ที่มีประสิทธิภาพคอยควบคุมไม่ให้เกิดการระบาดขึ้น ได้แก่ แตนเบียน หนอน แมลงวันก้นขน มวนเพชเฆาตทำลายหนอน และแตนเบียนทำลายไข่

2. หากหนอนมีการระบาดมาก ควรใช้สารฆ่าหนอนเช่นเดียวกับหนอนร่านพาราซ่า

          

ขอบคุณข้อมูล

" แมลงหนามดำ - หนอนร่าน  ฯ "จากหนังสือ มะพร้าวและผลิตภัณฑ์ มะพร้าว สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร  เผยแพร่โดย กานดา  แสนมณี ผู้แทนชมรมอนุรักษ์และพัฒนาน้ำมันมะพร้าวแห่งประเทศไทยจังหวัดเชียงใหม่

 

              เรื่อง  การปลูกมะพร้าว มีรวม ทั้งหมด 6 บันทึก

   ถ้ามาบันทึกนี้ก่อนและ  จะเริ่มบันทึกแรก  คลิกไปอ่านชมได้นะคะ

  ที่.......   http://gotoknow.org/blog/kanda01/428218 

          และคลิกอ่านต่อ แต่ละบันทึก จนถึงบันทึกนี้ได้เช่นกัน

 

   และถ้ายังสงสัยไม่เข้าใจ ปรึกษา ขอคำแนะนำ  สอบถามเพิ่มเติมรายละเอียดได้ที่ ................

      สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร จ.ชุมพร

                        โทร. 077- 556073  ได้นะคะ

 

      

           

หมายเลขบันทึก: 428434เขียนเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2011 19:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • ที่บ้านไร่โดนกินไปต้นหนึ่งลูกดกมาก
  • เสียดายสังเกตไม่ทัน
  • ต้นเขาสูงมาก
  • แล้วจะเอาภาพมาให้ดูนะครับ

สวัสดีค่ะพี่ดา  ไม่ค่อยได้มาทักทาย  แต่คิดถึงเสมอนะคะ

ภารกิจช่วงนี้เยอะ  ลงพื้นที่แทบทุกวัน  เดินตากแดดอีกต่างหาก

เพื่อนพี่ดา  ดิฉันรู้จักค่ะ  พี่สาโรจน์  รู้จักเมื่อสิบปีมาแล้ว  พี่เขามาเป็นวิทยากรสอนการเขียนข่าว การประชาสัมพันธ์  แล้วได้ข่าวว่าย้ายไปสิงห์บุรี อ่างทอง  ดิฉันเพิ่งเจอพี่เค้าเมื่อเดือนมกราค่ะโดยบังเอิญ ตกใจเลยค่ะ  ยังถามว่า อ้าว...พี่มาทำอะไรที่นี่  พี่เค้าบอกว่าเพิ่งย้ายมาเป็นประชาสัมพันธ์จังหวัด นว.  เพื่ือนพี่ดาคนนี้ใจดีค่ะ  มีอารมขัน   

อีกรอบค่ะ...ลืมคุยเรื่องปลูกมะพร้าว  กำลังปลูกค่ะ  อายุสัก3-4 เดือน

อ่านแล้วกลัวจะมีด้วง   แต่ปลูกอยู่กลางแดดค่ะ

      สวัสดีค่ะ

 

Ico48    พี่ดาจะรอชมภาพ ต้นมะพร้าวสูงมากๆนะคะ อ.ขจิตขึ้นต้นมะพร้าวเป็นหรือเปล่าค่ะ พี่ดานะ ขึ้นต้นไม้เก่งเหมือนกัน มีต้นมะพร้าวกับต้นตาล ที่ขึ้นไม่เป็น ต้องมีบันได้ช่วย  ตอนเด็กๆชอบขึ้นต้นไม้มากๆค่ะ

 

Ico48    น้องnana ค่ะน้องงานมาก ไม่เป็นไรนะคะ คิดถึงพี่ดาก็ดีใจแล้วค่ะ ตอนนี้อากาศร้อนมากแล้ว ออกตรวจงานคงเหนื่อยเพิ่มขึ้นอีกจากความร้อนนะคะ แล้วผิวหน้าดีขึ้นหรือยังค่ะ    แพะ น่ะ ใจดี  และ เก่งเสมอ เสียงเขาดีมากค่ะ ตอนเด็กๆเขียนหนังสือสวย เรียนเก่ง ฯ

 

Ico48  น้องน้อย กล้วยไม้สวยเหมือนคนนำมาฝากเลยนะคะ ขอบคุณมากค่ะ คิดถึงและมีความสุขมากๆเช่นกันนะคะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท