การปลูกมะพร้าว(5) " โรคและแมลงที่สำคัญ" ศัตรูมะพร้าว


สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร

โรคที่สำคัญ 

 

 โรคยอดเน่า(Heart leaf rot) เกิดจากเชื้อรา pythium sp. และมักเกิดกับมะพร้าว พันธุ์ที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ เช่น พันธุ์มลายูสีเหลืองต้นเตี๊ย โรคนี้มักพบในระยะต้นกล้า ในสภาพที่มีฝนตกชุก และอากาสมีความชื้นสูง

 

การป้องกันกำจัด  ในการย้ายต้นกล้าพยายยามอย่าให้หน่อช้ำ เพราะโรคอาจจะเข้าทำลายได้ง่าย หากพบอาการของโรคในระยะแรกให้ตัดส่วนที่เป็นโรคออก แล้วฉีดพ่นด้วยสารฆ่าเชื้อรา  ที่มีสารประกอบทองแดง ซึ่งส่วนต้นกล้าหรือส่วนที่โรคทำลายให้เผาทำลายให้หมด  เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดต่อไป 

 

โรคใบจุด (Helminthossporium leaf rot) เกิดจาเชื้อราHeiminthosporium sp. ทำความเสียหายให้แก่มะพร้าวในระยะต้นกล้ามากและคุกคามอย่างรวดเร็ว

 

การป้องกันกำจัด ฉีดพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช เช่น thirem อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 2 ลิตร ผมยาลงไป 15 ซีซี ฉีดพ่นทุก 10-14 วัน นอกจากนี้ยังมีโรคอื่นๆเช่นโรคตาเน่า ( Bud rot) โรคโคนผุ ( Stem bleeding) โรคใบจุดสีเทา (Frond break) โรครากเน่า (Root rot) โรคเรื้อนดิน  เป็นต้น โรคดังกล่าวนี้แม้ว่าจะพบในแหล่งปลูกมะพร้าวแต่ไม่ทำความเสียหายให้กับมะพร้าวมากนัก

 

                   

 

 

โรคผลร่วง(Immature nut full) เกิดเชื้อรา Phytopthora palmivora และมะพร้าวจะล่วงก่อนกำหนด  อายุของมะพร้าวที่ล่วงตั้งแต่  3 ถึง 9 เดือน อายุของผลที่ล่วงมากคือ 8 เดือนผลมะพร้าวที่เก็บเกี่ยวได้อายุ 12 เดือนดังนั้นผลมะพร้าวที่ร่วง จึงอ่อนกว่าที่จะนำมาใช้ประโยชน์ เป็นมากกับมะพร้าวพันธุ์มลายูสีเหลืองต้นเตี๊ย 

 

การป้องกันกำจัด   สภาพที่จะเกิดโรคผลร่วงระบาด คือมะพร้าวมีผลดกมาก และฝนตกชุกติดต่อกันเป็นเวลาหลายวัน ให้หมั่นตรวจเช็คผลมะพร้าว โดยวิธีการสุ่มขึ้นไปบนต้น ถ้าพบมะพร้าวที่เป็นโรคให้ตัดออก และนำผลไปเผาทิ้งนอกแปลงมะพร้าวทันที 

 

 

โรคเอือนกิน เป็นโรคที่เกิดกับผลมะพร้าว ซึ่งยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอน ลักษณะของผลภายนอกปรกติ แต่เนื้อมะพร้าวจะมีลักษณะฟ่ามหนาประมาณ 2 ซม.ยุบง่ายเนื้อมะพร้าวหนาไม่เท่ากัน บางแห่งไม่มีเนื้อมีแต่กะลา ผิวของเนื้อขรุขระ สันนิษฐานว่า อาจเกิดจากสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม ในขณะที่มะพร้าวเริ่มสร้างเนื้อ เช่น กระทบแล้ง เนื่องจากยังไม่ทราบสาเหตที่แน่นอน จึงไม่มีวิธีจะป้องกันกำจัดที่ได้ผล 

 

 

                 แมลงศัตรูพืชที่สำคัญ

 

  ด้วงแรด(Rhioceros beetle) ชื่อวิทยาศาสตร์ Oryctes rhinoceros Linnaeusเป็นสัตรูที่สำคัญ ร้ายแรง สำหรับมะพร้าวมาก ด้วงแรด มี 2 ชนิด คือ ชนิดเล็กและชนิดใหญ่

 

               

 

                           

              

 

การป้องกันกำจัด

 

1. ทำความสะอาด บริเวณสวนมะพร้าวกำจัดแหล่งขยายพันธุ์ เช่น กองปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก กองขยะ กองขี้เลื่อย แกลบ ควรกำจัดออกจากบริเวณสวน หรือต้องคอยหมั่นกลับเพื่อตรวจดูหนอนหนอนที่ด้วงวางไข่ไว้ ตรวจพบให้จับทำลายหรือเผากองขยะนั้นเสีย

 

2. ใช้เชื้อราเขียว(Metarrhizium anisopliae) ใส่ไว้ตามกองขยะ กองปุ๋ยคอกหรือ ท่อนมะพร้าวที่หนอนด้วงแรดอาศัยอยู่ เชื้อราจะแพร่กระจายและสามารถทำลายด้วงแรดได้

 

 3. ใช้ลูกเหม็น ใส่บริเวณคอมะพร้าวที่ดคนทางใบรอบๆ ยอดอ่อนต้นละ 6-8 ลูก กลิ่นลูกเหม็นจะไล่ไม่ให้ด้วงแรดเข้าทำลายมะพร้าว ส่วนใหญ่ทำในมะพร้าวอายุ 3-5 ปี วึ่งมีลำต้นไม่สูงนัก

 

              

                 ด้วงงวงมะพร้าว 

 

 ด้วงงวงมะพร้าว  มี 2 ชนิด คือ ชนิดเล็กและชนิดใหญ่ดวงงวงชนิดเล็กพบแพร่ระบาดอยู่ทั่วไปทุกภาคของประเทศ ส่วนชนิดใหญ่พบในแหล่งปลูกมะพร้าวทางภาคใต้ วงจรชิวิตจากไข่จนเป็นตัวเต็มวัยใช้เวลา 2- 4 เดือน

 

                          ด้วงงวงมะพร้าว

 

การป้องกันกำจัด  

 

1. หมั่นตรวจดูในแปลงมะพร้าว หากเริ่มมีการเข้าทำลายของตัวดวงงวงเป็นจุดแรก และต้นมะพร้าวอยู่ในลักษณะทรุดโทรม มาก ตรวจดูและทำลายให้หมดสิ้นไปจากสวนมะพร้าว ก่อนที่จะมีการแพร่ลูกหลานต่อไป

 

2.  การเกิดบากแผลกับต้นมะพร้าว จะเป็นสิ่งชักจูงให้ด้วงงวงเข้ามาทำลายต้นมะพร้าว ซึ่งบาดแผลต่างๆอาจเกิดจากการเข้าทำลายของด้วงแรด หรือเกิดจากรอยแผลที่ทำขึ้นดดยไม่ตั้งใจ ซึ่งจะเป็นที่อาศัยและขยายพันธุ์ของด้วงงวงต่อไป

 

3.  เมื่อพบว่ามีการระบาดและต้นมะพร้าว  ถูกทำลายมากควรใช้สารฆาแมลงประเภทดูดซึม เช่น คลอร์ไพรีฟอส ฉีดเข้าลำต้นมะพร้าวโดยใช้สว่านเจาะเป็นรูบริเวณโคนต้นให้ลึกประมาณ10-15 เซนติเมตร แล้วจึงใช้เข็มฉีดยาที่มีสารฆ่าแมลงเข้มข้นปริมาณ 10-20 ซีซี ฉีดสารฆาแมลงเข้าไปในลำต้น หลังจากนั้น ใช้ไม้อุกรูที่เจาะนั้นเพื่อป้องกันกาเข้าทำลายของด้วงงวงและแมลงชนิดอื่นหลังจากหมดฤทธิ์ ของสารฆ่าแมลงแล้ว (ปรับปริมาณการใช้สารฆ่าแมลงจะมาน้อยอตกต่างกันตามขนาดของต้นมะพร้าว แต่ไม่ควรเกิน 30 ซีซี

 

               ด้วงงวงมะพร้าว

 

 

ขอบคุณข้อมูล โรคและด้วงศัตรู มะพร้าว จากหนังสือ มะพร้าวและผลิตภัณฑ์ มะพร้าว สถาบันวิจัยพืขสวน กรมวิชาการเกษตร  เผยแพร่โดย กานดา แสนมณี

 

หมายเหตุ บันทึกที่ 6 เป็นเรื่อง "แมลงดำหนามมะพร้าวและหนอนร่านต่างๆ"

 

            http://gotoknow.org/blog/kanda01/428434

   

             

 

         

                    

หมายเลขบันทึก: 428355เขียนเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2011 13:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

-สวัสดีครับพี่กานดา..

-สบายดี..นะครับ..

-วันนี้ไปเดินเที่ยวงานนพพระ...

-เชื่อรึเปล่าครับว่า..ผมเจอ "รักแรกพบ"5555

-เก็บภาพมาฝากครับ...

สวัสดีค่ะ คุณเพชรน้ำหนึ่ง

    น้องมดตะนอยเป็นอย่างไรบ้าง แล้วซื้อต้นรักแรกพบมาปลูกหรือเปล่า มี 4 สีนะ สวยน่ารักดี  พี่ดาว่าดอกคล้ายดอกชมพู่มาก  ขอบคุณนะคะนำภาพสวยๆมาฝาก บอกน้องมดตะนอยด้วยพี่ดาคิดถึงค่ะ

 

ผมพบปัญหามะพร้าวออกลุกประมาณลูกมะนาว จากนั้นก็ร่วงไม่รู้เพราะสาเหตุใด

ช่วยตอบหน่อยนะครับ ปลูกได้ประมาณ 4-5 ปีแล้ว ลงทุนไปเยอะเหมือนกัน

ว่าจะได้นำผลไปขายเอาทุนคืนบ้างแต่มาเจอปัญหาผลร่วง ช่วยชี้ทางให้ทีครับ

ต้องใช้ยาอะไร รอคำตอบจากผู้รู้ครับ

สวัสดีค่ะ คุณเกษตรคนใหม่

       ปัญหานี้สวนที่บ้านสุพรรณก็เป็นค่ะน้องชายฝากถามเหมือนกันแต่ยังได้ถาม พอดีเลยค่ะคุณถามมาก็จะรีบถามให้น้องด้วย เราต้องโทร.ไปถามผู้ที่ชำนาญการเรื่องมะพร้าว เช่น ที่สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร จ.ชุมพร ค่ะ

 เริ่มต้น ที่คุณ วิไลวรรณ ทวิชศรี ก่อนนะคะ นักวิชาการเกษตร ชำนาญการ  ผู้รู้เกี่ยวกับการปลูกมะพร้าวต่างๆอยู่ที่นี้ค่ะเพราะเวลาเผยแพร่ วิชาการ การปลูกและพันธุ์ มะพร้าวก็จะติดซื้อและสอบถามได้

โทร. 077-556073 ศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร   คุณวิไลวรรณ โทร.  08-94700080

[email protected] 

ติดต่อปรึกษาดูนะคะ  ให้กำลังใจมากๆนะคะในการแก้ปัญหา ช่วงนี้มะพร้าวแพงด้วย บ่นกับน้องชายเหมือนกันค่ะว่าทำไมไม่มีมะพร้าวขายพอดีที่สวนพอมีลูกที่จะขายเป็นมะพร้าวน้ำหอมได้บ้าง

 

ลอง ใช้ พวก ซิงค์ (ซิงคฺีเลท75%)(สังกะสี)

ไวตาไลท์เซอร์ ซึ่งมี สังกะสี ซิลิกา โบรอน วิตามินอี

ไป สิ ครับ จะ ทำ ให้ ขั้วผลเหนียวขึ้น

น่าจะช่วยได้

หรือ ถ้า ให้ ดี ใช้ พูมิช-ซัลเฟอร์ โรย รอบ โคนต้น จะทำให้ ต้น ใบ ขั้ว ดอก แข็งแรง ทนโรคและแมลง ฮะ

มาดูการปลูกมะพร้าว อยากปลูกมั้งครับ

สวัสดีค่ะคุณundermans   

 

 ขอบคุณมากนะคะ แนะนำเพิ่ม ผู้ที่ปลุกมะพร้าวจะได้นำไปใช้ได้นะคะ

 

 

 

สวัสดีค่ะ อ.โสภณ

เริ่มปลูกไว้ดื่มน้ำน้ำมะพร้าวอ่อนก็ได้นะคะ น้ำมะพร้าวมีประโยชนืกับร่างกายมากค่ะ

 

 

ทำไมไม่ใช้แร่ภูเขาไฟที่มีกรดซิลิคอนล่ะครับ

นักวิจัยทางการเกษตรค้นพบว่า การนำปุ๋ยกรดซิลิคอนมาใช้กับต้นไม้ มีประโยชน์หลายทาง เช่น จะช่วยยับยั้งโรคพืช โดยกรดซิลิคอนจะซึมอยู่บนผิวของพืช ซึ่งผิวทางกายภาพนี้ จะช่วยลดการแทรกซึมของสาเหตุโรคอื่นๆ เช่น เชื้อรา เป็นต้น ดังนั้นความรุนแรงของโรคจะลดลงมากพอที่จะป้องกันการสูญเสียในไร่นาได้ กรดซิลิคอนยังช่วยไปเพิ่มการใช้ฟอสฟอรัส ซึ่งรู้จักกันดีในหมู่พืชกินได้ว่า จะช่วยป้องกันโรคผิวของพืชที่สะสมกรดซิลิคอนไว้ จะช่วยในการหักเหของแสงอาทิตว์และช่วยเพิ่มการสังเคราะห์แสงของพืช ซึ่งเป็นผลดีต่อพืช ซึ่งหากพืชได้รับแสงอาทิตย์มากพอ แม้เมื่ออยู่ในร่มหรือในช่วงปีที่ชั่วโมงที่พระอาทิตย์ทอแสงลดลง

กรดซิลิคอนยังลดการดึงเอาโซเดียมมาใช้กว่า 50% และยังประกอบด้วยธาตุหนักที่จะไปรวมกันไม่ให้พืชสามารถนำเอาไปใช้ได้อันจะเป็ฯการช่วยในการกระจายสารอาหารให้หล่อเลี้ยงไปทั้งลำต้นของพืช นอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นว่า ได้ช่วยป้องกันต้นไม้ในการต่อต้านแมลงกรดซิลิคอนจะเคลื่อนไหวอย่างอิสระในต้นพืช และจะซึมผ่านมายังผนังเซลล์ด้านนอก หลังจากกรดซิลิคอนแห้งก็จะเป็นเกล็ดอยู่บนผิวของใบ ซึ่งเกล็ดอันนี้จะระคายเคืองปาก ส่วนที่ใช้เคี้ยวของแมลง ซึ่งจะช่วยให้ต้นไม้นั้นไม่เป็นที่สนใจของเหล่าแมลง

สนใจติดต่อ 08-97957635

มะพร้าวมันแตกแล้วร่วงทำไงดี

มะพร้าวน้ำหอม ค่ะ ปลูกได้ประมาน 4-6เดือน แล้วหลังฝนตก มาสังเกตุดูใบเป็นจุด

สีเหลือง บางใบเป็นสีน้ำตาล ควรทำไงดีค่ะ

0825307850 คุนนก

เรียนถามครับ

1สาเหตุที่จั่นมะพร้าวมีแต่เกษรตัวผู้อย่างเดียวและจะแก้ไขอย่างไร

2 ผลเล็กจะร่วงเหลือติดจั่นเพียงลูกสองลูก สาเหตและการแก้ไข

3 ผลแตกร่วงก่อนที่จะมีเนื้อมะพร้าว จะแก้ไขอย่างไร

ขอบคุณครับ

สวนผมเจอโรคโคนผุ เป็นโรคแต่มะพร้าวกับกระบองเพชร และ ต้นไม้ประดับบางชนิด

ต้นมะพร้าวมีผลแห้งติดโรคตั้งแต่อยู่ที่จั่น ดูน่าเกลียดมาก ทราบวิธีแก้ไขแล้วครับ วันหลังจะลองดู บางท่านว่าโรคนี้รดน้ำบ่อยๆ ก็พอ คงใช้น้ำประปารดน้ำ มั้งครับรักษาโรคได้ แม้ระยะยาวไม่ดีเท่ารดน้ำด้วยน้ำบาดาลที่มีแร่ธาตุเยอะกว่า


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท