ยาที่ห้ามใช้ในหญิงมีครรภ์


1. ยาที่ทำให้ทารกในครรภ์พิการแน่นอน

ชื่อยา ผลเสียต่อเด็ก 

แอลกอฮอล์ หรือแม่ที่เป็นโรคพิษสุราเรี้อรัง

 

 

 

 

ยากันชักพวก ฮัยแดนโตอิน (Hydantoin) เช่น ไดแลนติน (Dilantin) และฟีนัยโดอิน  (Phenytoin)

 

เอสโตรเจน (Estrogen) เช่น ไดเอธิล สติลเบสตรอล (Diethylstillbestrol)

 

 

ปรอท (อาจเกิดจากการสะสมของสารปรอทที่มีในอาหาร)

ทำให้เกิดการแท้งได้มากและเด็กมีโอกาสตายระหว่างคลอดเพิ่มขึ้น เด็กในครรภ์จะมีความพิการของศีรษะ หน้า แขน ขาและหัวใจ การเจริญเติบโตในครรภ์ช้าผิดปกติอาจเป็นเด็กปัญญาอ่อนและเมื่อคลอดออกมาเด็กอาจมีอาการขาดเหล้า

 

จะทำให้การเจริญเติบโตของทั้งร่างกายและจิตใจช้ากว่าปกติมีความผิดปกติของศีรษะ และหน้า รวมทั้งแขน ขา โดยเฉพาะเล็บและปลายนิ้วฝ่อ ซึ่ง 30% ของแม่ที่กินยาเหล่านี้ จะเป็นลูกที่มีอาการดังกล่าว

 

แม่ที่ได้รับยานี้เพื่อป้องกันการแท้งในระยะตั้งครรภ์ 3 เดือนแรก  ลูกที่เป็นผู้หญิงเมื่อโตจนอายุ  13-24 ปี จะเกิดเนื้องอกและมะเร็งปากมดลูกและช่องคลอดเพิ่มมากขึ้น

 

ทำให้เกิดการแท้ง ลูกชายในท้องหรือตายหลังคลอดเพิ่มมากขึ้น หรือลูกเกิดมามีความพิการทางสมองหรือโรคทางสมองอื่น ๆ

 

2. ยาที่อาจทำให้เด็กในครรภ์พิการ

ชื่อยา

ผลเสียต่อเด็ก 

แอนตี้ฮีสตามินหรีอยาแก้แพ้ กลุ่มปีเปอราซีน (Piperazine) และกลุ่มซัยคลิซีน (Cyclizine) บุหรี่

 

 

วัคซีนพวกที่ป้องกันฝีดาษ คางทูม หัด และหัดเยอรมัน

 

 

แอมเฟตามีน (Amphetamine)

 

 

ยารักษาโรคเบาหวาน เช่น อินซูลิน หรือ พวกซัลโฟนิลยูเรีย  (Sulfonylurea)

 

ยาต้านการแข็งตัวของเลือด (Anticoagulants) เช่น เฟนินไดโอน(Phenindione)อินดานิดิโอน (Indanidione)  และคูมาริน (Coumarin)

 

 

สเตียรอยต์ (Steroid) เช่น เพร็ดนิโซโลน

 

 

ฟูโรซีไมด์ (Furosemide) เป็น ลาซิกซ์  (Lasix) ยาขับปัสสาวะลิเธี่ยมคาร์โบเนท (Lithium carbonate)

 

วิตามิน เอ  และบี

 

 

วิตามิน    ซี

 

 

 

วิตามิน    ดี

 

 

วิตามิน เค โดยเฉพาะวิตามิน เค 3 เช่น

มานาดีน  (Manadine)

 

ยาคุมกำเนิดชนิดกิน

 

ทำให้เกิดความพิการแต่กำเนิดในหนู ในคนยังไม่มีรายงาน แต่ก็ไม่ควรใช้ยากลุ่มดังกล่าวในหญิงมีครรภ์ แม่ที่สูบบุหรี่มาก จะทำให้แท้ง และคลอดก่อนกำหนด ลูกที่ออกมาตัวเล็ก บางครั้งอาจทำให้เกิดความพิการที่รุนแรงได้

 

แม้จะพบว่ามีอันตรายต่อเด็กน้อย แต่ถ้าหญิงแต่งงานที่ยังไม่ตั้งครรภ์ จะต้องคุมกำเนิด 3 เดีอน หลังจากได้วัคซีนเหล่านี้ โดยเฉพาะวัคซีนป้องกันหัดเยอรมันและวัคซีน บางอย่างอาจทำให้มีโอกาสแท้งสูงขึ้น

 

ทำให้เด็กในครรภ์มีโอกาสพิการตั้งแต่กำเนิด โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับระบบหลอดเลือดและหัวใจทางเดินน้ำดี

 

ถ้าแม่ใช้ในจำนวนที่มากเกินไป จนเกิดอาการช็อคหรือน้ำตาลในเลือดต่ำมาก    จะทำให้เกิดพิการแต่กำเนิดได้

 

ในระยะ 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ ไม่ควรใช้ยาพวกนี้ เพราะอาจทำให้เกิดความพิการ เช่น การเจริญของจมูกน้อยลงแต่ยังไม่มีข้อยืนยันแน่นอน นอกจากนี้ยาบางกลุ่มอาจไปทำให้เด็กในครรภ์  หรือเด็กแรกคลอดมีเลือดออก

 

ทำให้โอกาสแท้งเพิ่มมากขึ้น หรือเด็กในครรภ์มีความพิการแต่กำเนิด เช่น เพดานโหว่

 

ในสัตว์ทดลองทำให้เกิดความพิการแต่กำเนิด โดยเฉพาะเส้นเลือดและหัวใจ ยาพวกนี้ห้ามใช้ในคนตั้งครรภ์ 3 เดือนแรก

 

 

ถ้าใช้ปริมาณมากจะเกิดความพิการของไต และระบบขับถ่ายปัสสาวะ ระบบประสาทแต่กำเนิด ไม่ควรให้มากกว่าจำนวนที่แพทย์สั่ง

 

ถ้าให้มากเกินไป จะทำให้เด็กในครรภ์คลอดออกมาแล้วเป็นโรคเลือดออกตามไรฟัน หรือที่เรียกว่า โรคลักปิดลักเปิด ในบางรายอาจทำให้เด็กในครรภ์มีโอกาสพิการตั้งแต่เกิด

 

ถ้าไม่ได้รับมากเกินไป จะทำให้เกิดความผิดปกติในระบบหลอดเลือดของทารก และอาจปัญญาอ่อนได้

 

ถ้าให้ก่อนคลอดจะเกิดเลือดออกในเด็กแรกคลอด ทำให้เกิดอาการซีด และเหลืองมาก

 

อาจพบความพิการของหลอดเลือดใหญ่และแขนขากุดในทารกได้มากกว่าปกติเล็กน้อย

 

 

3.    ยาที่มีพิษต่อเด็กในครรภ์ 

ชื่อยา

ผลเสียต่อเด็ก 

แอสไพริน (Aspirin)   และซาลิซัยเลท

(Salicylate)

 

 

 

พาราเซตามอล

 

คลอแรมเฟนิคอล (Chloramphenicol)

 

 

เตตราซัยคลีน (Tetracycline)

 

 

 

 

อะมิโนกลัยโคไยด์ (Aminoglycoside) เช่น สเตร็ปโตมัยซิน, กานามัยซิน และเจนตามัยซิน, ซัลโฟนาไมด์  (Sulfonamides)

 

 

เมโปรบาเมท (Meprobamate)

ยาเสพติด ได้แก่ เฮโรอีน มอร์ฟิน

 

 

 

ฟิโนบาร์บิตอล (Phenobarbital),

บาร์บิตูเรท (Barbiturate)

 

 

ไดอะซีแพม (Diazepam)

 

 

ยารักษาเบาหวานชนิดคลอร์โปรปาไมด์ (Chlorpropamide)

 

ไอโอดีน (Radioactive I131)

 

 

 

ไอโอไดด์ (Iodides) ซึ่งมักผสมอยู่ในพวกยาแก้ไอขับเสมหะ

 

ยาชาเฉพาะที่ (Local anesthetics)

 

 

 

แอมโมเนีย  คลอไรด์

 

 

ควินิน (Quinine)

 

ยาขับปัสสาวะพวกไธอาไซด์ (Thiazide diuretic)

 

รีเซอร์ปิน (Reserpine)

 

 

ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ เช่น นาโปรเซน

 

บรอมเฟนิรามีน (Brompheniramine)

 

อะมิโนฟิลลิน (Aminophylline)  และ ทีโอฟิลลิน (Theophylline)

 

ยาลดกรด (Antacids)

ถ้าแม่กินยาเมื่อใกล้คลอด อาจไปยับยั้งการทำงานของเกล็ดเลือดของเด็กในครรภ์ ทำให้เลือดออกและเลือดแข็งตัวช้าลง ถ้าแม่กินยานี้หรือยาที่มีสารประกอบเป็นตัวยานี้อยู่ตั้งแต่ระยะ 3  เดือนแรก จะทำให้คลอดเกินกำหนด  เพิ่มอัตราการตายในท้องและอาจมีความผิดปกติ ตั้งแต่กำเกิดได้หลายอย่าง

ถ้าแม่กินยานี้ขนาดสูงในระยะใกล้คลอด จะมีพิษต่อตับของเด็กในครรภ์

 

ไม่พบว่าทำให้เกิดความพิการแต่กำเนิด ถ้าให้ยานี้แก่แม่ขณะคลอด อาจทำให้เด็กในครรภ์เกิดอาการเกรย์ ซินโดรม

 

ถ้าใช้ในหญิงมีครรภ์ที่อยู่ในระหว่าง 6-8 เดือน หลังการตั้งครรภ์ยานี้จะไปจับกับแคลเซียมที่กระดูกและฟันของเด็กในครรภ์ ทำให้ฟันของด็กมีสีเหลือง สีน้ำตาลไปตลอดชีวิต และยังทำให้การเจริญของกระดูกและสมองของเด็กเหล่านี้ผิดปกติไปด้วย

 

ทำให้ประสาทเกี่ยวกับการได้ยินเสียไปบางส่วน หรืออาจรุนแรงถึงขนาดทำให้เด็กแรกเกิดหูหนวกได้ ถ้าหญิงมีครรภ์ได้รับในระยะใกล้คลอด เด็กแรกเกิดมีโอกาสที่จะมีอาการตัวเหลือง เพราะปริมาณบิลิรูบินในเลือดสูง และซึมผ่านเข้าไปในสมองบางส่วนทำให้สมองเสื่อม  ชัก

 

การเจริญเติบโตของเด็กช้าลง ถ้าให้ในระยะใกล้คลอดจะกดการหายใจของเด็กแรกเกิด แม่ที่ติดยาเสพติด จะมีโอกาสแท้งง่ายหรืองออกมาตัวเล็กและอาจมีอาการขาดยา คือกระวนกระวาย อาเจียน มือเท้าสั่น ร้องเสียงแหลม ชัก

 

ถ้าแม่กินยานี้ในขนาดสูงในระยะใกล้คลอดมักทำให้เด็กในครรภ์หายใจไม่สะดวก เนื่องจากยานี้มีผลไปกดศูนย์การหายใจ และยามีผลต่อการแข็งตัวของเลือด  อาจทำให้มีเลือดออกในเด็กแรกเกิด

 

ถ้าใช้ในระยะใกล้คลอด เด็กแรกเกิดจะมีกล้ามเนื้ออ่อนแรง  ตัวเย็น ละอาจแสดงอาการขาดยา หลังคลอด

 

ทำให้เด็กแรกเกิดมีน้ำตาลในเลือดต่ำ

 

 

ถ้าให้ไอโอดีนกัมมันตภาพ I131 ในหญิงมีครรภ์เกิน 14 อาทิตย์จะทำให้สารนี้ไปสะสมอยู่ในต่อมธัยรอยด์ของลูกได้   ทำให้เกิดภาวะขาดสารธัยรอยด์

 

ถ้าให้หลังตั้งครรภ์  14 อาทิตย์  อาจเกิดคอพอก มีการเจริญเติบของสมองช้า และบางครั้งคอพอกอาจใหญ่มากจนกดหลอดลมหรือหลอดอาหาร

 

ถ้าใช้ยานี้มากเกินไป  พบว่า 25%  ของเด็กแรกคลอด จะมีหัวใจเต้นช้าลง และอาจมีผลทำให้เด็กในครรภ์เกิดหัวใจเต้นช้า หรือเด็กแรกคลอดหยุดหายใจ หรือชัก

 

ถ้าแม่ใช้ในปริมาณมาก และในระยะใกล้คลอดเด็กแรกเกิดภาวะในร่างกาย จะเป็นกรด

 

เกิดแท้งได้ มีพิษต่อหู  และหูอาจหนวกในเด็กแรกคลอด

 

ปริมาตรของพลาสมา และเลือดที่ไปยังรก  อาจทำให้เด็กแรกเกิดมีเกล็ดเลือดน้อยลง

 

ถ้าใช้ในระยะใกล้คลอด จะทำให้เด็กแรกเกิดมีอาการคัดจมูก ตัวเย็น หัวใจเต้นช้า ตัวอ่อนปวกเปียก

 

จะทำให้เกิดการยับยั้งการทำงานของเกล็ดเลือดเหมือนแอสไพรินจึงไม่ควรให้ในหญิงมีครรภ์

 

ถ้าแม่กินยานี้ในระยะ 3  เดือนแรกอาจทำให้เด็กในครรภ์พิการ

 

อาจทำให้เด็กแรกเกิดมีภาะหัวใจเต้นเร็ว  ร้องกวน ตัวสั่น  หรืออาเจียน อาการมักปรากฏในช่วง 6-48  ชั่วโมง  ภายหลังคลอด

 

ถ้าแม่กินยานี้ขนาดสูง ๆ ติดต่อกันเป็นประจำ  อาจทำให้เด็กแรกเกิด มีปริมาณแคลเซียม  และแมกนีเซียมในเลือดสูงจนเกิดอาการชักกระตุกได้

 

4. ยาที่ทำให้เกิดอันตรายต่อแม่

ชื่อยา

ผลเสียต่อเด็ก 

แอสไพรินและยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์  เตตร้าซัยคลิน

 

ไนโตรฟูแรนโตอิน (Nitrofurantoin)

 

ยาแก้ปวดที่เป็นยาเสพติด

จะทำให้คลอดเกินกำหนดและคลอดยาก  ถ้าให้ในปริมาณที่สูงมาก  จะเกิดการทำลายตับอย่างรุนแรง

 

ทำให้ตับอักเสบ ซีด

 

จะทำให้เกิดอาการท้องอืด และเพิ่มโอกาสที่จะเกิดอันตรายในระยะคลอดบุตร

 

จัดทำโดย  คณะทำงานพัฒนาระบบบริการเภสัชกรรม

               โครงการพัฒนาระบบยาในหน่วยบริการปฐมภูมิและ

                ความปลอดภัยด้านยาในชุมชน  จ.ขอนแก่น

หมายเลขบันทึก: 428117เขียนเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2011 09:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 22:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท