QUALITATIVE RESEARCH IV


สืบเนื่องมาจากตัวอย่างครั้งที่ผ่านมา   สมมุติว่า  เราไม่รู้ว่าชาวนครฯเลือกประชาธิปัตย์เท่าไร (เราไม่รู้ Parameter mean ของ จ.นครฯ)  แต่เราอยากรู้    ความอยากรู้นี้เป็น  ปัญหาการวิจัยในขั้นต้น   เราจึงเลือกตัวอย่างชาวนครฯมาโดยวิธีใดๆ หนึ่งกลุ่ม สมมุติว่า n = 1000 คน  แล้วสัมภาษณ์  หรือใช้แบบสอบถาม  พบว่าเลือกประชาธิปัตย์  = 40% นอกนั้นเลือกพรรคอื่นๆ จากนั้น  เราก็ใช้วิชาสถิติ ประมาณค่า Parameter mean ของประชากรทั้งจังหวัดนครฯจาก Sample 40%  และพบว่า  99% Confidence,  Sample mean = 40% นี้เป็น Parameter mean ของ Population ชาวนครฯที่เลือกพรรคประชาธิปัตย์

ดังนี้  เรียกว่า  เป็นการลงความเห็นแบบ  จากส่วนย่อยไปหาส่วนใหญ่  หรือแบบ อุปนัย (Induction)

และเราพูดว่า  ชาวนครฯเลือกประชาธิปัตย์ 40% (พรรคอื่นๆ  20%, 15%, ...  ลดหลั่นกันลงไป)  ข้อความที่เป็นสีนี้ก็ยังเป็น ข้อเท็จจริง หรือ Fact

ความรู้ที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้  ก็จัดเป็น  องค์ความรู้ประเภท Fact  แม้ว่าการวิจัยนี้จะใช้ตัวเลขและการคำนวณร่วมด้วย  ก็หาเป็นความรู้ประเภท Empirical Laws  หรือ Natural Law ไม่

ถ้าใครทำวิจัยเช่นนี้เพื่อของยื่นเสนอเป็นวิทยานิพนธ์ขอรับปริญญาโท หรือ เอก  ท่านจะยอมไหม?  เพราะเหตุใด?

 

คำสำคัญ (Tags): #population#Sample Induction
หมายเลขบันทึก: 426913เขียนเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2011 12:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:36 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท