แนวทางการพัฒนาสถานศึกษาตามแนวคิดการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA)หมวดที่ 1 การนำองค์กร


           การนำองค์กร เป็นการตรวจประเมินว่าผู้บริหารของส่วนราชการดำเนินการอย่างไรในเรื่องวิสัยทัศน์ เป้าประสงค์ระยะสั้นและระยะยาว ค่านิยม และความคาดหวังในผลการดำเนินการ รวมถึงการให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหลาย การกระจายอำนาจการตัดสินใจ การสร้างนวัตกรรมและการเรียนรู้ในส่วนราชการ รวมทั้งตรวจประเมินว่าส่วนราชการมีการกำกับดูแลตนเองที่ดี และดำเนินการเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคมและชุมชนอย่างไร

            สำหรับในสถานศึกษานั้นก็เป็นการดำเนินการและตรวจสอบว่าวิสัยทัศน์  พันธกิจ  วัตถุประสงค์และเป้าหมายทางการศึกษาของโรงเรียนได้ดำเนินการอย่างไร ตลอดจนการให้ความสำคัญกับนักเรียน ผู้ปกครองและชุมชน ซี่งเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากการดำเนินงานของโรงเรียนนั่นเอง

            ในการดำเนินงานตามแนวคิดการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) หมวดที่ 1 การนำองค์กร นั้นอาจมีแนวทางและกิจกรรมในการดำเนินการดังนี้

1. ผู้บริหารต้องมีการกำหนดทิศทางการทำงานที่ชัดเจน ครอบคลุมในเรื่องพันธกิจ  วัตถุประสงค์และเป้าหมายทางการศึกษาของโรงเรียน โดยมุ่งเน้นผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งก็คือนักเรียน  ผู้ปกครอง และชุมชน รวมทั้งมีการสื่อสารเพื่อถ่ายทอดทิศทางดังกล่าวสู่ครู บุคลากรในโรงเรียน เพื่อให้เกิดการรับรู้ ความเข้าใจ และการนำไปปฏิบัติ  อันจะส่งผลให้การดำเนินการบรรลุผลตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยอาจจัดให้มีกิจกรรมต่างๆ ดังนี้

- จัดประชุมเพื่อทบทวนโดยนำวิสัยทัศน์  พันธกิจ  วัตถุประสงค์และเป้าหมายทางการศึกษาของโรงเรียนและความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมา ประกอบการทบทวน

- เสนอฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

- วางแผนการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ให้เข้าใจตรงกันในโรงเรียน

- กำหนดวิธีการ รูปแบบในการสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ในโรงเรียน

- ดำเนินการสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การประชุม  วารสาร Intranet

- การติดตามผลการดำเนินงานการประชาสัมพันธ์ การสื่อสารเพื่อให้เกิดความเข้าใจ

2. ผู้บริหารมีการเพิ่มอำนาจในการตัดสินใจ(Empowerment)  ให้แก่บุคลากรภายในโรงเรียน โดยมีการมอบหน้า  อำนาจและการตัดสินใจให้กับแต่ละฝ่ายงาน  อาจมีกิจกรรมต่างๆ เช่น

- กำหนดให้มีผู้รับผิดชอบ/คณะทำงานเพื่อศึกษา   วิเคราะห์ ทบทวน ความเหมาะสมของการมอบอำนาจ

- ต้องดำเนินการภายใต้กฎ ระเบียบการบริหารราชการอย่างมีขั้นตอนและเป็นระบบ

-วิเคราะห์และสรุปผลการมอบอำนาจดังกล่าวเพื่อกำหนดแนวทางการมอบอำนาจต่อไป

 3. ผู้บริหารมีการส่งเสริมให้มีกระบวนการและกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อให้เกิดการบูรณาการและสร้างความผูกพัน ร่วมมือภายในองค์กร รวมถึงการสร้างแรงจูงใจเพื่อให้บุคลากรสามารถปฏิบัติงานได้ตามเป้าหมายโดยดำเนินการดังนี้

-กำหนดให้มีผู้รับผิดชอบในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ภายในองค์กร

-กำหนดแนวทาง/วิธีการส่งเสริมกิจกรมการเรียนรู้

-จัดกิจกรรมการเรียนรู้ภายในองค์กร (ควรเป็นกิจกรรมที่สร้างความผูกพัน และความร่วมมือ)

-ติดตามและทบทวนแนวทาง/วิธีการ ในการจัด กิจกรรมการเรียนรู้

4. ผู้บริหารต้องกำหนดตัวชี้วัดที่สำคัญ และกำหนดให้มีระบบการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน สำหรับใช้ในการทบทวนผลการปฏิบัติงานและนำผลการทบทวนดังกล่าวมาจัดลำดับความสำคัญ เพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุงการดำเนินงานของส่วนราชการให้ดีขึ้น โดยอาจดำเนินการดังนี้

-กำหนดตัวชี้วัดที่สำคัญที่จะใช้ในการติดตามงาน

-กำหนดแผนในทบทวนผลการดำเนินงาน ซึ่งอย่างน้อย

- ต้องประกอบด้วย ระยะเวลาและผู้รับผิดชอบในการติดตาม

-รายงานผลการดำเนินการเสนอฝ่ายต่างๆ กำหนดเวลาที่กำหนด

-กำหนดหลักเกณฑ์การจัดลำดับความสำคัญ รวมทั้งจัดลำดับความสำคัญเพื่อปรับปรุงงาน

-รายงานสรุปภาพรวมการทบทวนและจัดลำดับความสำคัญในการดำเนินการที่ผ่านมาให้มีความเหมาะสม และเสนอแนะแนวทางในการดำเนินการปีต่อไป

5.ผู้บริหารต้องมีการกำหนดนโยบายในการกำกับดูแลองค์กรที่ดี (Organizational Governance) เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานของโรงเรียน  และเพื่อให้การดำเนินการบรรลุผล ส่วนราชการต้องจัดทำแนวทางปฏิบัติ มาตรการ/โครงการรองรับนโยบายการกำกับดูแลตนเองที่ดีดังกล่าว โดย

-แต่งตั้งคณะทำงาน/ผู้รับผิดชอบ

-กำหนด/ทบทวนนโยบายการกำกับดูแลตนเองที่ดี

-กำหนดช่องทางในการสื่อสารนโยบายในการกำกับดูแลองค์การ

-ดำเนินการตามแผนงานโครงการที่กำหนด

-ติดตามประเมินผลการดำเนินการ

6. ต้องจัดให้มีระบบการควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยงที่ดีตามแนวทางของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน รวมถึง พัฒนาระบบตรวจสอบภายในให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

การควบคุมภายใน

- กำหนดผู้รับผิดชอบ 

-จัดวางระบบการควบคุมภายใน (ตามระเบียบ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินว่าด้วยการกําหนด มาตรฐานการควบคุมภายใน พ.ศ. 2544 ข้อ 5)

-รายงานความคืบหน้าในการจัดวางระบบการควบคุมภายในตามข้อ 2 ต่อผู้บังคับบัญชา

-รายงานผลการปรับปรุงแนวทางในการควบคุมภายใน

7. ผู้บริหารต้องกำหนดให้มีวิธีการหรือมาตรการในการจัดการผลกระทบทางลบที่เกิดขึ้นต่อชุมชน สังคม อันเป็นผลมาจากการดำเนินการของโรงเรียน รวมทั้งต้องนำวิธีการหรือมาตรการที่กำหนดไว้ไปปฏิบัติ

-กำหนดผู้รับผิดชอบ

-กำหนดมาตรการ/วิธีการในการจัดการผลกระทบทางลบ

-ดำเนินการตามมาตรการ/แนวทางที่กำหนด

-รายงานผลการจัดการผลกระทบทางลบที่เกิดขึ้นกับชุมชน สังคม

-ทบทวนวิธีการในการจัดการผลกระทบลบ

              การนำแนวทางดังกล่าวข้างต้นไปใช้เพื่อการนำองค์กรหรือการนำสถานศึกษาสู่ความสำเร็จและความเป็นเลิศเป็นความจำเป็นที่ผู้บริหารสถานศึกษาต่างๆ ต้องเร่งดำเนินการบนความร่วมมือของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

หมายเลขบันทึก: 426879เขียนเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2011 10:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 20:11 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

มาเยี่ยมชม คนบ้านใกล้เรือนเคียงบ้าง ครับแวะมาหาความรู้ เป็นกำลังใจครับ

ขอบคุณค่ะ แล้วอย่าลืมร่วมสร้างระบบราชการไทยให้ดีกว่าที่เป็นอยู่นะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท