ความหมายของคำเกี่ยวกับเพศศึกษา


เพศศึกษา

ความหมายของคำ

เพศภาวะ (อังกฤษ: gender) คือสิ่งที่แสดงลักษณะความแตกต่างระหว่างเพศชายและเพศหญิง โดยองค์การอนามัยโลก ให้ความหมายไว้ว่า "คุณลักษณะของผู้หญิงและผู้ชายในบทบาทประกอบสร้างทางสังคม พฤติกรรม กิจกรรมและคุณลักษณะที่ให้สังคมพิจารณาว่าเป็นผู้ชายหรือผู้หญิงในขณะที่คำว่า เพศ (Sex) มีความหมายในลักษณะทางชีววิทยาของบุคคล ที่แบ่งเป็นเพศหญิง และเพศชาย 

เครดิต http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%A8%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B0

 

เพศภาวะ (Gender)

     เพศภาวะเป็นสิ่งที่สังคมสร้างขึ้นในส่วนของเพศสรีระเป็นสิ่งที่ติดมาทางกาย ความเป็นผู้หญิง ความเป็นผู้ชาย เป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นมา วิทยากรให้ผู้เข้าร่วมเขียนว่าความเป็นชายคืออะไร? และความเป็นหญิงคืออะไร? พบว่าส่วนใหญ่เขียนตามสิ่งที่สังคมบอกว่าผู้ชายควรต้องเข้มแข็งไม่ร้องไห้ ส่วนผู้หญิงต้องอ่อนแอ นุ่มนวล และเรียบร้อย สิ่งเหล่านี้สอดแทรกไปในการศึกษาของไทยด้วย

 เครดิต http://www.teenpath.net/data/event/40004/SexWay01/content-004.html

บทบาทหญิงชายหรือบทบาทเพศ (Gender Roles) นอกจากจะเปลี่ยนแปรขึ้นกับสังคมและวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมอันได้แก่ สถานะของบุคคลในสังคม การศึกษา วัฒนธรรมท้องถิ่น เป็นต้น ยังผันแปรไปตามช่วงชีวิตหรือตามวัยของแต่ละบุคคลด้วย ดังนั้น หากเข้าใจลักษณะความผันแปรดังกล่าว ก็จะเห็นภาพที่แท้จริงของบทบาทความเป็นหญิงชายได้ชัดเจน 

เครดิต http://guru.sanook.com/answer/question/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%96%E0%B8%B6%E0%B8%87/

บทบาททางเพศ หมายถึง บทบาทที่สังคมหนึ่งๆ คาดหวังให้บุคคลเพศชายหรือเพศหญิงแสดงออกว่าเป็นชายหรือหญิง ซึ่งการกำหนดบทบาททางเพศมี 2 ปัจจัยเข้ามาเกี่ยวข้อง คือ ปัจจัยทางด้านชีวภาพระหว่างชายและหญิง ส่วนปัจจัยทางด้านสภาพแวดล้อม โดยปัจจัยทางชีวภาพจะเป็นตัวกำหนดความแตกต่างทางกายภาพระหว่างชายและหญิง ส่วนปัจจัยทางด้านสภาพแวดล้อมจะมีอิทธิพลในการหล่อหลอมลักษณะความเป็นชายหรือความเป็นหญิงให้เกิดแก่มวลสมาชิกตามที่สังคมนั้นๆ คาดหวัง แนวคิดการอธิบายความแตกต่างระหว่างบทบาททางเพศในช่วงแรกแบ่งบทบาททางเพศเป็น 2 แบบ คือ 1) บทบาททางเพศแบบความเป็นชาย 2) บทบาททางเพศแบบความเป็นหญิง แต่แนวคิดในปัจจุบันนำโดย Sandra Lipitz Bem แบ่งบทบาททางเพศเป็น 4 แบบคือ 1) บทบาททางเพศแบบความเป็นชาย 2) บทบาทางเพศแบบความเป็นหญิง 3) บทบาททางเพศแบบความเป็นชายและหญิงสูงทั้งคู่ 4) บทบาททางเพศแบบความเป็นชายและหญิงต่ำทั้งคู่ หรือแบบไม่ชัดเจน จากการวิจัยพบว่าบทบาททางเพศที่เหมาะสมกับสภาพสังคมปัจจุบันมากที่สุด คือ บทบาททางเพศแบบความเป็นชายสูงทั้งคู่ รองลงมา คือ บทบาททางเพศแบบความเป็นชาย และบทบาททางเพศแบบความเป็นหญิงตามลำดับ ส่วนบทบาททางเพศที่ด้อยที่สุด คือ บทบาททางเพศแบบไม่ชัดเจน

 เครดิต http://guru.sanook.com/answer/question/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%96%E0%B8%B6%E0%B8%87/

มิติหญิงชาย  (Gender)      

 “มิติหญิงชาย” หมายถึง ความเป็นหญิงความเป็นชายที่ถูกกำหนดขึ้นโดยสังคมและวัฒนธรรม เช่น ชายเป็นผู้นำ หญิงเป็นผู้ตาม ไม่ใช่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติมาตั้งแต่กำเนิดเหมือนกับธรรมชาติทางร่างกายของชายที่มีอัณฑะ หญิงมีรังไข่ ซึ่งไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้   การกำหนดโดยสังคมและวัฒนธรรมนื้ทำให้มีผลต่อชีวิตของหญิงชายมากกว่าการกำหนดโดยธรรมชาติ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเจริญพันธุ์

 ในอดีตบทบาทของหญิงชายกำหนดขึ้นโดยอาศัยความแตกต่างโดยธรรมชาติของสรีระคือชายซึ่งมีสรีระที่แข็งแรงกว่าหญิงจึงต้องรับผิดชอบงานหนักนอกบ้าน เช่น ออกป่า ล่าสัตว์  หญิงอยู่บ้านทำงานบ้านและเลี้ยงลูกโดยเฉพาะลูกเล็ก ๆ ที่ต้องดื่มนมจากเต้านมของแม่ หญิงจึงได้รับการปกป้องคุ้มครองจากชาย จากบทบาทในอดีตที่ชายต้องรับผิดชอบงานหนัก ทำให้สังคมให้ความสำคัญกับชายมากกว่าหญิงและความคิด ความเชื่อนี้ยังคงอยู่ในสังคมเรื่อยมา ทำให้เกิดการปฏิบัติต่อชายหญิงที่แตกต่างกัน เช่น   ชายได้เรียนหนังสือมากกว่าหญิง ชายไม่ต้องทำงานบ้านแต่หญิงต้องทำงานบ้าน ชายมีโอกาสหาประสบการณ์ต่าง ๆ นอกบ้านได้แต่หญิงไม่มีโอกาส

 ในเรื่องอนามัยเจริญพันธุ์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศของวัยรุ่นจะเห็นตัวอย่างได้ชัดเจน เช่น หญิงไม่กล้าเรียนรู้เรื่องเพศ   เนื่องจากสังคมกำหนดว่าหญิงที่ดีจะต้องไร้เดียงสาในเรื่องเพศ จึงทำให้ขาดความรู้  ความเข้าใจที่จะป้องกันตัวเองให้ปลอดภัยจากปัญหาเรื่องเพศ แต่ชายหาความรู้ได้อย่างอิสระ ผิดบ้าง ถูกบ้าง    ประกอบกับในสังคมไทยมีค่านิยมแต่เดิมว่าถ้าชายสามารถมีเพศสัมพันธ์กับหญิงได้หลายคนถือว่าเป็นคนมี  ฝีมือ  เมื่อพลาดพลั้งมีเพศสัมพันธ์กัน ทำให้เกิดปัญหาตามมามากมายโดยเฉพาะฝ่ายหญิง เช่น การตั้งครรภ์ในขณะที่ไม่พร้อม  ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาการทำแท้งอันตราย การติดโรคทางเพศสัมพันธ์ และโรคเอดส์ เป็นต้น  ฝ่ายชายเองก็ได้รับผลกระทบ  แต่มักจะน้อยกว่าหญิง  เช่น ถูกสังคมตำหนิ  ต้องรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้นในกรณีที่ฝ่ายหญิงเรียกร้อง 

  ปัจจุบันบทบาทของหญิงชายเปลี่ยนแปลงไป หญิงชายมีโอกาสศึกษาเล่าเรียนและทำงานหารายได้ทั้งสองฝ่าย  แต่สังคมก็ยังคาดหวังให้หญิงรักษาบทบาทเดิมอยู่ เช่น การทำงานบ้าน เลี้ยงลูก   ทำให้หญิงต้องรับภาระหนักยิ่งขึ้นกว่าหญิงในสังคมยุคเก่า  การทำกิจกรรมนอกบ้านจึงถูกจำกัดไปโดยปริยาย  จึงมีผลทำให้โอกาสที่จะได้รับบทบาทในสังคมที่สูงขึ้นก็ถูกจำกัดไปด้วย เช่น การเป็นผู้บริหารหน่วยงาน  การเป็นผู้นำในระดับชุมชน เป็นต้น

ภาระหนักที่เพิ่มขึ้นอย่างมากทั้งในบ้านและนอกบ้านของหญิงส่งผลกระทบต่อสุขภาพทั้งด้านร่างกาย และจิตใจ และส่งผลกระทบต่อครอบครัว เช่น มีปัญหาทะเลาะเบาะแว้งกับสามี การระบายอารมณ์กับลูก

 เมื่อได้มองภาพบทบาทหญิงชายในปัจจุบันจะเห็นความจำเป็นที่จะต้องทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ในด้านความคิด และยอมรับความเท่าเทียมกันทางด้านความคิด  ศักดิ์ศรี ความรับผิดชอบและบทบาทของหญิงและชาย ปัญหาที่เกิดจากความไม่เท่าเทียมกันของหญิงและชายก็จะลดลงได้

 

ปัญหาครอบครัวที่เกิดจากความไม่เท่าเทียมกันของหญิงชาย

 การที่สังคมกำหนดให้เพศชายเป็นผู้นำและมีความสำคัญมากกว่าหญิง  ทำให้หญิงได้รับการปฏิบัติที่ไม่เท่าเทียมกับชาย  และเมื่อแต่งงานอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวจะเกิดปัญหามากมาย 

 หญิงต้องรับภาระมากกว่าชาย   เช่น  ต้องทำงานหาเลี้ยงชีพ  และต้องกลับมาทำงานบ้านเลี้ยงลูก  ทำให้เกิดความเครียด  และมีพฤติกรรมที่ถูกมองว่าน่ารำคาญ เป็นสาเหตุให้ผู้ชายเบื่อบ้านจึงหาโอกาสไปหาความสุขนอกบ้าน  เช่น  ไปดื่มเหล้าและมีเพศสัมพันธ์นอกสมรส

 การไปมีเพศสัมพันธ์นอกสมรสของชาย  แม้ภรรยาจะรับไม่ได้ แต่สังคมยอมรับได้  ซึ่งนำความเดือดร้อนมาสู่ครอบครัวมาก  รวมทั้งเรื่องการนำโรคมาให้ภรรยา เช่น โรคเอดส์ทำให้ครอบครัวล่มสลาย

 หญิงต้องรับภาระเรื่องการคุมกำเนิดเพราะชายมักจะคิดว่าเป็นหน้าที่ของหญิง ชายไม่เกี่ยว แท้จริงแล้วหญิงเป็นฝ่ายตั้งครรภ์ซึ่งมีผลต่อสุขภาพอยู่แล้ว ชายจึงควรแบ่งเบาภาระเรื่องการคุมกำเนิดแทน

 ภรรยาที่เรียนน้อย ไม่ได้ประกอบอาชีพ มักอยู่ใต้อำนาจของสามีที่เรียนสูงกว่า และเป็นฝ่ายหารายได้  เนื่องจากต้องพึงพิงเรื่องการเงินจากสามี

 ผู้ชายมักใช้ความรุนแรงทั้งร่างกายและจิตใจกับผู้หญิงซึ่งเป็นภรรยา  เพราะเคยชินกับการมีอำนาจเหนือกว่า

สิทธิทางเพศเป็นสิทธิมูลฐานและเป็นรากฐานของสิทธิมนุษยชน ซึ่งสมาคมเพศศาสตร์ศึกษานานาชาติได้แถลง ณ การประชุมครั้งที่ ๑๓ ที่กรุงวาเลนเซีย ประเทศสเปน ว่า เพศเป็นมิติหนึ่งของมนุษย์ที่มีการปรับตัวและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เพศเกิดจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างภายในของสังคมเอง และของแต่ละบุคคลในเวลาเดียวกัน โดยปรากฏให้เห็นทางวงจรชีวิตของบุคคลที่ประสานความเป็นตัวของตัวเอง และสร้างเสริมความผูกพันซึ่งกันและกันให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

เครดิต http://www.oknation.net/blog/print.php?id=409012

สิทธิทางเพศได้แก่สิทธิดังต่อไปนี้

  • สิทธิที่จะมีเสรีภาพทางเพศ ต้องขจัดการบังคับข่มขู่ทางเพศ การแสวงหาผลประโยชน์ และการล่วงเกินทางเพศทุกรูปแบบ
     
  • สิทธิที่จะมีความเป็นอิสระ ความเป็นตัวของตัวเอง และความปลอดภัยในร่างกาย รวมถึงการควบคุมและการหาความสุขจากร่างกายของตนเอง โดยปราศจากการทารุณกรรมและความรุนแรงในทุกรูปแบบ
     
  • สิทธิเท่าเทียมกันทางเพศ รวมทั้งความเคารพในความหลากหลายทางเพศ ไม่ว่าจะเป็นชายหรือหญิง และไม่ว่าจะมีอายุ เชื้อชาติ ศาสนา ชนชั้น หรือมีรสนิยมทางเพศแบบใด
     
  • สิทธิที่จะมีสุขอนามัยทางเพศที่ดี รวมทั้งได้รับการรักษาพยาบาล โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อย่างถูกต้องและเหมาะสม
     
  • สิทธิที่จะได้รับความรู้เรื่องเพศที่กว้างขวางและเป็นข้อเท็จจริงที่ไม่เบี่ยงเบน ซึ่งครอบคลุมความรู้ด้านเพศศึกษาตั้งแต่เกิดจนตลอดชีวิต
     
  • สิทธิที่จะดำเนินชีวิตร่วมอย่างอิสระ จะแต่งงานหรือไม่ก็ได้ รวมทั้งสิทธิในการใช้ชีวิตร่วมทางเพศแบบอื่นๆ ที่ตนประสงค์
     
  • สิทธิที่จะตัดสินใจโดยเสรีและรับผิดชอบในการเจริญพันธุ์ สามารถเลือกการวางแผนครอบครัวที่เหมาะสม
     
  • สิทธิในความเป็นส่วนตัว สามารถตัดสินใจในการดำเนินชีวิตทางเพศโดยอิสระ ภายใต้จริยธรรมทางสังคมและบุคคล
     ความหมายการวางแผนครอบครัว
    การวางแผนครอบครัว คือ การที่สามีภรรยาวางแผนล่วงหน้าว่าจะมีลูกเมื่อใด มีกี่คน โดยวิธีคุมกำเนิดแบบชั่วคราวไว้ในระยะต้องการเว้นระยะลูกให้ห่างและใช้วิธีคุมกำเนิดแบบถาวร การทำหมันเป็นสิ่งแรกที่เราจะต้องคิดและตกลง กับสามี ภรรยา คิดร่วมกันไม่ใช่คนหนึ่งคนใดคิด หากเราไม่วางแผน เมื่อมีลูกแล้ว เราอาจจะไม่ได้ดูแลเขาอย่างเต็มที่ ชีวิตครอบครัวจะมีปัญหา ถ้าเราวางแผนครอบครัวไม่ดี เราอาจจะมีลูกมากเกินไป เราดูแลไม่เต็มที่

เครดิต http://www.doctor.or.th/node/2145

 

การวางแผนครอบครัว หมายถึง การตั้งเป้าหมายเพื่อให้ครอบครัวมีความพร้อมในด้านต่าง ๆ ตั้งแต่การเลือกคู่ครอง ความพร้อมด้านที่อยู่อาศัยและอาชีพ การแต่งงาน การวางแผนที่จะมีบุตร การเว้นช่วงระยะห่างของการมีบุตรที่เหมาะสม การเป็นพ่อแม่ที่ดีเพื่อเลี้ยงดูบุตรให้เป็นคนดี มีคุณภาพและมีความสุข มีผลเพื่อให้เกิดความสุข ความเหมาะสมทางสังคม เศรษฐกิจ แก่ตนเอง ครอบครัว สังคมและประเทศชาติ


        ความสำคัญของการวางแผนครอบครัว การวางแผนครอบครัว เป็นเครื่องมือสำคัญในการ นำพาครอบครัวให้มีความสุขและเป็นแหล่งสร้างคนที่มีคุณภาพของสังคมและประเทศชาติ เปิดโอกาสให้สามี–ภรรยาได้พัฒนาตนเองอย่างเท่าเทียมกัน โดยการจัดสรรเวลาที่เหมาะสมในการทำงานและการแสวงหาความรู้ได้ทั้งสองฝ่าย

 

องค์ประกอบของการวางแผนครอบครัว มี 5 องค์ประกอบใหญ่ ๆ ดังนี้

 

  • การเลือกคู่ครอง เป็นการเลือกคนที่จะมาร่วมสร้างครอบครัว ร่วมรับผิดชอบภาระต่าง ๆ และร่วมทุกข์ร่วมสุขตลอดชีวิต|
  • การเตรียมความพร้อมด้านที่อยู่อาศัยและอาชีพ ที่อยู่อาศัยเป็นเรื่องที่มีความสำคัญจะต้องตกลงกันตั้งแต่ก่อนแต่งงาน เช่น แยกมาอยู่ด้วยกันตามลำพัง หรืออยู่กับครอบครัวของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเหตุผลและความจำเป็นของทั้งสองฝ่าย สำหรับอาชีพควรมีอาชีพที่มั่นคง มีรายได้แน่นอนและเพียงพอที่จะดูแลครอบครัว
  • การแต่งงาน มีความหมายและมีคุณค่าต่อชีวิตครอบครัวคนเรา ทั้งด้านจิตใจที่หมายถึงความสุขสมหวังที่ได้อยู่ร่วมกับคนที่เรารัก และเหมาะสมซึ่งกันและกัน เป็นประเพณีที่แสดงถึงการประกาศให้สังคมรับรู้ถึงการตกลงใจในการใช้ชีวิตร่วมกันของชายหญิง มีธรรมเนียมปฏิบัติแตกต่างกันในแต่ละท้องถิ่น และการจดทะเบียนสมรสเพื่อสิทธิตามกฎหมายของทั้งสองฝ่าย พิธีแต่งงานควรเป็นไปตามฐานะไม่ก่อให้เกิดปัญหาตามมาภายหลัง
  • การปรับตัว ระยะเริ่มต้นของการใช้ชีวิตคู่ร่วมกัน ต้องปรับตัวเข้าหากัน ตกลงบทบาทและภาระหน้าที่ในครอบครัวซึ่งเป็นที่ยอมรับกันทั้งสองฝ่าย และสามารถสลับบทบาทกันได้ในยามจำเป็น มีการวางแผนในการจัดสรรค่าใช้จ่ายในครอบครัว ค่าใช้จ่ายในยามฉุกเฉิน และเก็บออมเอาไว้ในอนาคต
  • การวางแผนมีบุตรและการเว้นช่วงการมีบุตร เป็นการวางแผนว่าทั้งคู่พร้อมจะมีบุตรเมื่อไร ต้องการบุตรกี่คน และเว้นระยะห่างกันนานแค่ไหน เลือกวิธีอะไรจึงจะมีประสิทธิภาพและปลอดภัย เตรียมความพร้อมในเรื่องฐานะการเงิน และวิธีการที่จะทำให้เขาเติบโตมาเป็นคนที่มีคุณภาพ เว้นช่วงการมีบุตร เพื่อให้แม่ได้พื้นฟูสุขภาพของตนเองก่อนการตั้งครรภ์ครั้งต่อไป และให้การเลี้ยงดูลูกคนก่อนอย่างเต็มที่ด้วยความรักและเอาใจใส่ ไม่ควรมีบุตรเร็วเกินไป ช้าเกินไป หรือถี่เกินไป
  • การเตรียมตัวเป็นพ่อแม่ที่ดี เพื่อให้บุตรเติบโตมาเป็นคนดี มีคุณภาพ และมีความสุข สามีและภรรยาจะต้องยินยอมพร้อมใจที่จะมีบุตรด้วยกัน และให้บุตรของตนเกิดมาพร้อมกับความรักของคนทั้งสอง เป็นการเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ ด้านจิตใจ สามีและภรรยาต้องมีวุฒิภาวะทางอารมณ์ที่พร้อมจะเป็นพ่อ-แม่ มีความรู้ในการอบรมเลี้ยงดูบุตร ต้องศึกษาหาความรู้เรื่องการวางแผนครอบครัว การเว้นช่วงการมีบุตร รวมถึงทักษะในการอบรมเลี้ยงดูบุตรของตน รวมถึงหาที่ปรึกษาหรือดูแบบอย่างครอบครัวหรือที่ประสบความสำเร็จในการเลี้ยงดูลูกให้เป็นคนดี มีเวลาเพียงพอที่จะให้ความใกล้ชิดและเป็นแบบอย่างที่ดีกับบุตร โดยเฉพาะในเรื่องความเสมอภาคทางเพศ

เครดิต http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%A7

 

 

อนามัยการเจริญพันธุ์ (Reproductive Health) หมายถึง สภาวะที่ระบบอวัยวะสืบพันธุ์สามารถทำหน้าที่ด้านเพศและด้านเจริญพันธุ์ หรือการมีบุตรได้ครบถ้วนสมบูรณ์อย่างปลอดภัยและนำความผาสุกมาสู่ชีวิต และช่วยเพิ่มพูนความสัมพันธ์ระหว่างหญิงชายทั้งในส่วนตัวและสังคม ความหมายของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ให้ไว้ว่า อนามัยการเจริญพันธุ์ (Reproductive Health) หมายถึง "ภาวะความแข็งแรงสมบูรณ์ของร่างกายและจิตใจ ที่เป็นผลสัมฤทธิ์อันเกิดจากกระบวนการและหน้าที่ของการเจริญพันธุ์ที่สมบูรณ์ทั้งชายและหญิงทุกช่วงอายุของชีวิต ซึ่งทำให้เขาเหล่านั้นมีชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข"

นอกจากนั้น อนามัยการเจริญพันธุ์ยังครอบคลุมถึงสิทธิของชายและหญิงทุกช่วงอายุในการตัดสินใจ สิทธิที่จะได้รับการเรียนรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับอนามัยการเจริญพันธุ์ ตลอดจนสามารถที่เข้าถึงบริการด้านนี้

เรื่องของอนามัยการเจริญพันธุ์ยังเกี่ยวข้องกับ "สิทธิอนามัยการเจริญพันธุ์" (Reproductive Right) เป็นสิทธิของบุคคลทั้งหญิงและชาย และเป็นสิทธิที่อยู่บนพื้นฐานของสิทธิมนุษยชนในเรื่องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ (Human Dignity) ความเป็นอิสระ (Freedom) และความเท่าเทียมกัน (Equality) ซึ่งอนามัยการเจริญพันธุ์ (Reproductive Health) หมายถึง สภาวะที่ระบบอวัยวะสืบพันธุ์สามารถทำหน้าที่ด้านเพศและด้านเจริญพันธุ์ หรือการมีบุตรได้ครบถ้วนสมบูรณ์อย่างปลอดภัยและนำความผาสุกมาสู่ชีวิต และช่วยเพิ่มพูนความสัมพันธ์ระหว่างหญิงชายทั้งในส่วนตัวและสังคม
ขอบเขตของการอนามัยการเจริญพันธุ์ในประเทศไทย ที่มีผลต่อสิทธิอนามัยการเจริญพันธุ์ที่ควรส่งเสริม มีดังนี้

1. การวางแผนครอบครัว เพื่อสนับสนุนให้คนไทยมีขนาดครอบครัวที่เหมาะสมตามความต้องการหรือศักยภาพของแต่ละครอบครัว

2. การอนามัยแม่และเด็ก เพื่อดูแลสุขภาพของหญิงทั้งก่อน ระหว่างและหลังตั้งครรภ์ ให้มีการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย พร้อมทั้งมีลูกที่สมบูรณ์แข็งแรงและได้รับการเลี้ยงดูอย่างมีคุณภาพ

3. โรคเอดส์ ให้ความรู้ให้คำปรึกษาแก่ผู้มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค ตลอดจนควบคุมป้องกันและให้การรักษาแก่ผู้เป็นโรค

4. มะเร็งระบบสืบพันธุ์ เฝ้าระวังผู้มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค ให้ความรู้และให้บริการตรวจวินิจฉัยอย่างรวดเร็วและถูกต้อง

5. โรคติดเชื้อในระบบสืบพันธุ์ ควบคุม ป้องกันและรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และโรคติดเชื้ออื่นๆ ของระบบสืบพันธุ์

6. การแท้งและภาวะแทรกซ้อน ป้องกันการแท้งให้มีอัตราลดลง และรักษาภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการแท้งได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งมีการแท้งที่ปลอดภัย

7. ภาวะการมีบุตรยาก ให้คำปรึกษา แนะนำ และให้บริการแก่ผู้ที่มีบุตรยาก

8. เพศศึกษา ให้คำปรึกษาและเผยแพร่ความรู้เรื่องเพศศึกษาแก่ประชากรทุกกลุ่มอายุอย่างถูกต้องเหมาะสม

9. อนามัยวัยรุ่น ให้ความรู้และคำปรึกษาในเรื่องเพศศึกษา การมีเพศสัมพันธ์อย่างรับผิดชอบและปลอดภัย เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์อันไม่พึงประสงค์และป้องกันการติดโรคทางเพศสัมพันธ์และโรคเอดส์

10. ภาวะหลังวัยเจริญพันธุ์และผู้สูงอายุซึ่งต้องมีการให้ความรู้ คำแนะนำในการปฏิบัติเพื่อให้ประชากรกลุ่มนี้มีสุขภาพดีและสร้างประโยชน์ต่อสังคมและครอบครัวและประเทศชาติต่อไป

เครดิต http://webboard.yenta4.com/topic/116168

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #เพศ
หมายเลขบันทึก: 426436เขียนเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2011 11:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 17:12 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท