มองมุมใคร: คุณ ฉัน หรือเรา (emic and etic view)


ช่องว่างระหว่าง emic กับ etic view จะมากหรือน้อย ขึ้นกับภูมิหลัง/ประสบการณ์/ความรอบรู้/อัตตาของผู้วิจัย

มองมุมใคร: คุณ ฉัน หรือเรา (emic and etic view)

Emic view เป็นมุมมองในการตีความหรือให้ความหมาย (meaning) ของผู้ให้ข้อมูลหรือชุมชน ที่สะท้อนวิธีคิดที่มีต่อสถานการณ์ในจริงหรือสมมติภายใต้บริบทหนึ่งๆ โดยนักวิจัยไม่ตัดสิน “ถูก/ผิด”    แต่ไม่ได้หมายความว่าเชื่อถือข้อมูลได้เลยเพราะผู้ให้ข้อมูลอาจมีฐานความคิด/การเรียนรู้/ประสบการณ์ต่างกัน   จึงอาจให้ข้อมูลที่แตกต่างกันแม้จะอยู่ในสถานการณ์และบริบทเดียวกัน   กรณีที่ข้อมูลพาดพิงในลักษณะขัดแย้งกัน  ถ้าเป็นข้อมูลความเห็นก็เป็นเรื่องธรรมดา  แต่ถ้าเป็นการอ้างอิงข้อมูลที่มีการบันทึกก็ควรสอบทานข้อมูลกับหลักฐาน/เอกสารที่มี หากเป็นข้อมูลที่ไม่มีการบันทึกไว้ก็ควรสอบถามบุคคลที่เกี่ยวข้อง/ผู้ถูกพาดพิง เพิ่มเติม จากนั้นจึงวิเคราะห์เนื้อหาจากข้อมูลที่ได้มาซึ่งอาจมีนัยยะแฝง

Etic view เป็นการตีความหรือให้ความหมายของข้อมูลที่ได้มาในมุมมองของผู้วิจัยหรือผู้สังเกตการณ์เอง   การวิจัยเชิงปริมาณมักเป็นแบบนี้เพราะมีข้อจำกัดในการเก็บข้อมูลที่มักไม่สามารถอธิบายเหตุผลที่มา ไม่ว่าจะเป็นทัศนคติความเชื่อหรือพฤติกรรม  

ความแตกต่างหรือช่องว่าง (gap) ระหว่าง emic กับ etic view จะมากหรือน้อย ขึ้นกับภูมิหลัง/ประสบการณ์/ความรอบรู้/อัตตาของผู้วิจัยหรือผู้สังเกตการณ์                         การด่วนสรุปจากความคิดของนักวิจัยโดยลำพังจึงมีโอกาสแปลความหมายผิดพลาดได้

 

หมายเลขบันทึก: 426421เขียนเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2011 10:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 23:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท