สรีรวิทยายางพารา


-การดูดน้ำ -ยางพาราเป็นพืชใบเลี้ยงคู่ มีรากเป็นระบบรากแก้ว ซึ่งจะเจริญเติบโตได้เต็มที่เมื่ออายุประมาณ 3 ปี โดย รากแก้วเจริญเติบโตในทางลึกได้ประมาณ 1.5 เมตร และทางกว้างได้ประมาณ 6 เมตร ส่วนรากแขนงจะลงไปในทางลึกประมาณ 80 ซม. แต่รากที่ทำหน้าที่ดูดน้ำและแร่ธาตุอาหาร จะเป็นรากขนอ่อนที่มีขนาดกว้างประมาณ 1 มม.ซึ่งอยู่ในระดับลึกประมาณ 30 ซม.

-การลำเลียงอาหาร -ยางพาราลำเลียงน้ำและแร่ธาตุอาหารเข้าสู่ลำต้นด้วยท่อน้ำ(xylem) และลำเลียงสารอาหารที่ปรุงแล้วจากใบ ไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของลำต้นด้วยท่ออาหาร(phloem)

-การให้น้ำยาง -น้ำยางของยางพาราจะอยู่ในท่ออาหารของเปลือกลำต้นด้านใน มีลักษณะเวียนจากขวาลงมาซ้าย

-การออกดอก -ดอกจะออกตามปลายกิ่งหลังจากที่ต้นยางผลัดใบ    โดยออกพร้อมๆ กับใบยางที่แตกใหม่หรือหลังจากที่ยางแตกใบสมบูรณ์เต็มที่แล้ว 
    ยางพาราออกดอกเป็นช่อ ซึ่งมีดอกตัวผู้ และดอกตัวเมียแยกกันอยู่คนละดอก แต่อยู่ในช่อดอกเดียวกัน
    ปกติยางพาราจะออกดอกปีละ  2  ครั้ง โดยจะออกดอกราวเดือน กุมภาพันธ์- มิถุนายน ครั้งหนึ่ง  และจะออกเดือนสิงหาคม-ตุลาคม   อีกครั้งหนึ่ง   การออกดอกครั้งแรกเป็นการออกดอกตามฤดูกาล   ซึ่งให้ผลและเมล็ดมากกว่าการออกดอกครั้งที่สอง

-การผสมเกสร -ยางพาราจะผสมเกสรข้ามดอก อาจจะเกิดในช่อดอกเดียวกัน หรือคนละช่อดอก หรือคนละต้นก็ได้

-การติดเมล็ด -ดอกที่ผสมติดแล้ว รังไข่จะขยายตัวออกช้า  ๆ  และจะโตเร็วขึ้นภายในระยะ  2  เดือน เมื่อผลมีอายุ  2.5- 3  เดือน จะโตเต็มที่  -เมล็ดจะใช้เวลาถึง 5 เดือน นับจากวันผสมเกสร จึงจะพัฒนาเป็นเมล็ดแก่
    -เมล็ดยางพาราจะมีเปอร์เซนต์ความงอกน้อยลงทุกวันๆ  ละ   4-5  เปอร์เซ็นต์ หลังจากที่ร่วงหล่นลงมา นั่นคือ เมล็ดยาง จะรักษาความงอกไว้ได้ประมาณ  20  วันเท่านั้น 

(ชยพร  แอคะรัจน์ -เรียบเรียง)

...
... 

คำสำคัญ (Tags): #ชยพร
หมายเลขบันทึก: 426417เขียนเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2011 10:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 สิงหาคม 2015 11:28 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท