อาหารสำหรับโรคเบาหวาน ความดัน


ดูแลสุขภาพกายใจ

แนวทางการรับประทานอาหารของผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน

                1. ข้าว  อาหารประเภทข้าวสวยรับประทาน 3 ทัพพี ใน 1 มื้อ

                2. เนื้อสัตว์ : เลือกรับประทานอาหารเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ในอาหาร 1  มื้อ รับประทานได้ 2 ช้อนโต๊ะ ในการประกอบอาหารควรใช้วิธีต้ม นึ่ง หรือย่าง

                3. ไข่ ไข่ไก่ ไข่เป็ด รับประทานได้อาทิตย์ละ 2 – 3 ฟอง ถ้าโคเลสเตอรอลสูง ให้งดไข่แดง  แต่ไข่ขาว  รับประทานได้ทุกวัน

                4. นม เลือกดื่มแต่นมสดรสจืดพร่องมันเนย

                5. น้ำมัน ถ้าจำเป็นต้องผัด ให้ใช้น้ำมันพืชได้ไม่ควรเกิน 3 ช้อนชาต่อเนื้อ งดน้ำมันจากสัตว์ น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม หลีกเลี่ยงอาหารประเภททอด กะทิ

                6. ผลไม้  หลีกเลี่ยงผลไม้ที่มีรสหวานจัด ผลไม้ที่มีรสหวานไม่มากทานได้ตามส่วน และหลีกเลี่ยงผลไม้ดอง ตากแห้ง เชื่อม แช่อิ่ม ผลไม้กระป๋อง  รับประทานในปริมาณที่สม่ำเสมอและคงที่ ไม่ควรรับประทานมากเกินไป หรือน้อยเกินไปในบางมื้อจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดควบคุมได้ยาก

                7. ผู้มีความดันสูงหรือมีโรคไต่ร่วมด้วยควรงดอาหารรสเค็ม

                8. ผู้ป่วยที่ฉีดอินซูลินที่ออกฤทธิ์ยาวในตอนเช้า ฤทธิ์ยาจะอยู่ได้นาน 24 ชั่วโมงและออกฤทธิ์สูงสุดในตอนเย็นหรือกลางคืน อาจต้องจัดแบ่งอาหารออกเป็น 4 – 6 มื้อ โดยเพิ่มอาหารว่างตอนบ่ายและมื้อกลางคืน และควรจัดแบ่งปริมาณให้เหมาะสม ไม่ให้บางมื้อมากเกินไป

                9. ถึงแม้ระดับน้ำตาลในเลือดปกติดีแล้ว ผู้ป่วยก็ต้องควบคุมอาหารตลอดไป

 

 

 

                             อาหารเบาหวานไม่ใช่อาหารที่พิเศษอะไร ผู้ป่วยเบาหวานก็  รับประทานอาหาร  เหมือนคนธรรมดาทั่วไป เพียงแต่เพิ่มความระมัดระวังมากขึ้น ในชนิดและปริมาณอาหารเท่านั้น      

 

 

 

ประโยชน์ของการควบคุมอาหาร

                1. ช่วยรักษาระดับน้ำตาลและไขมันในเลือดให้ใกล้เคียงระดับปกติ

                2. ทำให้น้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม

                3.ช่วยป้องกันโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ

                4. ทำให้สุขภาพแข็งแรงและอายุยืน

อาหารที่ผู้ป่วยเบาหวานทานได้ตามสบาย เช่น ผัก ผักใบเขียวทุกชนิด รับประทานได้ไม่จำกัดจำนวน เช่น ผักกาด ผักตำลึง ขิงอ่อน บวบ ผักกวางตุ้ง สายบัว ผักชี กระหล่ำดอก มะเขือเทศต่าง ๆ ฟักเขียว ใบคื่นฉ่าย ต้นหอม น้ำเต้า แตงกวา แตงโมอ่อน ผักแว่น ใบกระเพราะ ใบสาระแหน่ ใบโหรพา ยกเว้น ( ผักประเภทหัวและผักที่มีแป้งมาก ) เช่น ฟักทอง หัวปลี ถั่วฝักยาว เมล็ดถั่วลันเตา ข้าวโพดอ่อน พริกหยวก ถั่วพู หอมหัวใหญ่ ดอกแค หัวผักกาดแดง หัวผักกาดเหลือง มะรุม มะละกอดิบ ใบและดอกกุ๊ยช่าย สะตอ สะเดา ถั่วงอก แครอท มันแถว แห้ว ใบขี้เหล็ก ใบยอ รากบัว ยอดมะพร้าวอ่อน พริกหยวก หน่อไม้

 

           -กระเทียม ช่วยลดไขมันในเลือด

                -ฟ้าทะลายโจร : ลดเบาหวาน ความดันโลหิตสูง

             -มะระขี้นก ลดอาการเบาหวาน กระตุ้นกากรหลั่งอินซูลิน

                -ใบหม่อน ลดความดัน

                -หญ้าปักกิ่ง ลดอาการเบาหวาน

                - หญ้าหวาน แทนน้ำตาลในคนที่เป็นเบาหวาน

                - แฮ้ม รักษาเบาหวานและความดัน

                -ช้าพลู ลดความดัน

                -หญ้าแห้วหมู ลดความดัน

ข้อควรระวัง  

การอดนอนบ่อย ๆ ระวังเป็นเบาหวาน ร่างกายที่ไม่ได้รับการนอนหลับพักผ่อนอย่างเต็มอิ่ม จะใช้อินซูลินน้อยลง คนอดนอนบ่อย ๆ จึงอาการเป็นโรคเบาสูงกว่าปกติ

ดังนั้นถ้าเราอยากมีสุขภาพแข็งแรงไม่อยากเป็นโรคเบาหวาน หรือความดันโลหิตสูง เราควรเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค โดยเฉพาะอาหารที่ไม่มีประโยชน์ตามค่านิยมการรับประทานอาหารขยะ  ควรหันมาบริโภคอาหารที่ปรุงรสโดยใช้พืชสมุนไพรไทย เช่น เครื่องเทศต่าง ๆ และควรปลูกผักรับประทานเอง เหมือนบรรพบุรุษ ที่อยากรับประทานอะไรก็ปลูกสิ่งนั้น นอกจากอาหารแล้วสิ่งที่สำคัญที่สุดในการเกิดมาเป็นมนุษย์ที่นอกจากจะมีร่างกายที่แข็งแรงแล้วต้องมีสุขภาพจิตที่ดี สุขภาพจิตจะดีได้ต้องมาจากการฝึกดูจิตตัวเองอย่างตลอดเวลาและต่อเนื่อง พักกายพักใจเจริญสมาธิปัญญา หากทุกคนทำได้โลกเราคงมีแสงสว่างหรือดวงอาทิตย์ที่เกิดขึ้นหลายดวง เราชาวโลกคงอยู่กันอย่างสงบสุข ทั้งโลกนี้และโลกหน้า

 

คำสำคัญ (Tags): #บุรีรัมย์7
หมายเลขบันทึก: 425200เขียนเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2011 10:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 10:49 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท