โพชฌงค์เป็นธรรมที่เป็นปราชญ์


เพราะฉนั้น จึงเรียกได้ว่า โพชฌงค์ เป็นธรรมที่เป็นปราชญ์

  โพชฌงค์ทั้ง ๗ เป็นธรรมที่เป็นปราชญ์

หัวใจนักปราชญ์คือ สุ จิ ปุ ลิ  ซึ่งก็คือ 

  • สุ - สุตตะ คือ การสดับ รับฟัง  ซึ่งก็หมายถึงการรับเข้ามาสู่การเรียนรู้ซึ่งในปัจจุบันนี้มีหลายรูปแบบ เช่น การเรียนรู้ทางสื่ออินเตอร์เนต ทางนวัตกรรมใหม่เช่น วีดีโอคอนเฟอเรนซ์
  • จิ - จิตตะ คือ เอาใจฝักใฝ่ติตาม ตรวจตราพิจารณาไตรตรอง
  • ปุ - ปุจฉา คือ การคิดตั้งคำถามภายในใจเพื่อติดตามค้นคว้าในสิ่งที่ต้นข้องใจสงสัย
  • ลิ - ลิขิต  คือ การบันทึกเพื่อเตือนความจำ และเห็นผลของการเรียนรู้ เห็นพัฒนาการของสติปัญญาเรา

เราจะเห็นได้ว่าโพชฌงค์ คือ องค์ธรรมเพื่อการรู้แจ้งในธรรม หรือ องค์ธรรมเพื่อการตรัสรู้ นั้น มีสติกำกับ  มี ธัมมวิจย มีความเพียรพยายาม มี ปัสสัทธิ ความสงบกายอารมณ์ มีปิติ คือความอิ่มใจ มีสมาธิ และอุเบกขา ซึ่ง ธัมมวิจย นั้น ก็คือ การสอกส่องธรรม การวิเคราะห์ วิจัยธรรม หรือ องค์ความรู้ซึ่งต้องใช้หลักของ สุ จิ ป ลิ เพื่อเข้าถึงความรู้นั้นๆ เพราะฉนั้น จึงเรียกได้ว่า โพชฌงค์ เป็นธรรมที่เป็นปราชญ์

หมายเลขบันทึก: 425001เขียนเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2011 07:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 19:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

หลัก สุ จิ ปุ ลิ ถ้านำไปใช้ในการดำเนินการจัดการความรู้ก็จะเห็นผลสำเร็จเร็วขึ้นด้วย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท