KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ : ๖๑๒. วิสัยทัศน์ความรู้ (Knowledge Vision)


          ทักษะการสร้างวิสัยทัศน์ความรู้ คือสุดยอดของทักษะแห่งผู้นำ (อย่าลืมว่าทุกคน ทุกตำแหน่ง เป็นผู้นำได้)   เป็นการสร้างภาพอนาคตที่ใฝ่ฝัน มุ่งหวัง ร่วมกัน   เป็นภาพอนาคตที่มีลักษณะที่ ศ. โนนากะเรียกว่า transcending คือเหนือปัจจุบัน หรือเลยจากปัจจุบัน   เป็นภาพใหม่โดยสิ้นเชิงที่ไม่ใช่ภาพที่ได้จากการตกแต่งปัจจุบัน

          องค์กรเรียนรู้คือองค์กรที่มีความสามารถตั้งเป้าอนาคตไว้ในภาพที่แตกต่างจากภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบันโดยสิ้นเชิง

          ผู้นำ คือบุคคลที่มีความสามารถรวมตัวผู้คนช่วยกันฝันภาพอนาคตของหน่วยงาน หรือองค์กร ที่แตกต่างจากภาพปัจจุบันโดยสิ้นเชิง

          ฝันให้ต่าง (จากความจริงในปัจจุบัน)  ทำให้ตรง (กับความจริงในปัจจุบัน)

          เป็นความฝันที่เจือ ความจริง ความดี และความงาม

          ไม่ใช่ถ้อยคำเพ้อฝันล่องลอย แต่เป็นรูปธรรมที่นำสู่การปฏิบัติร่วมกันได้  เพื่อไปสู่การบรรลุภาพอนาคตนั้น 

          เน้นที่คุณค่าต่อสังคม

          ผู้นำเชิงความคิด เชิงคุณค่า ที่มีคุณค่าต่อสังคม   เมื่อสื่อสารผ่านกระบวนการหรือการกระทำ นำไปสู่ความมุ่งมั่นสร้างสรรค์   ที่ทั้งเกิดคุณค่าต่อสังคม ต่อองค์กร และต่อตนเอง   ที่เมื่อมีกระบวนการ KM ร่วมกันแล้ว เกิดพลังจากความเชื่อ ความดี ความงาม และปัญญา

          ผมมีความเชื่อว่า “ผู้นำ” ต้องสื่อสาร “วิสัยทัศน์ความรู้” ทุกวัน วันละหลายๆ ครั้ง   ชวนผู้คนสื่อสารวิสัยทัศน์เชิงคุณค่าระหว่างกัน จนเกิดเป็น “ความรู้” แบบ “ตื่นรู้”  เกิดเป็น “ปัญญาปฏิบัติ”  ชนิด “ปัญญาเพื่อการบรรลุความสำเร็จ” คือ อิทธิบาท ๔ ได้แก่ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา

          เป็น วิสัยทัศน์ความรู้ ที่เจือปัญญา   ทั้งปัญญาปฏิบัติ และปัญญาคุณค่า

 

 

วิจารณ์ พานิช
๑๘ ม.ค. ๕๔

        
                 

หมายเลขบันทึก: 424655เขียนเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2011 08:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:36 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท