วิจัยในคลินิกพิเศษเบาหวานโดยใช้กิจกรรมกลุ่ม


วิจัยในคลินิกพิเศษเบาหวาน

ผลของการให้ความรู้ โดยใช้กิจกรรมกลุ่ม ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเอง ระดับน้ำตาลในเลือด (FBS)และน้ำตาลเฉลี่ยสะสม (HbA1c)  ในผู้ป่วยคลินิกพิเศษเบาหวาน   โรงพยาบาลลำปาง 

                                                                                   

บทคัดย่อ 

         การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษากึ่งทดลอง (Quasi-experimental study) แบบ one group pre and post test design ศึกษาพฤติกรรมการดูแลตนเอง ระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหาร (FBS) และน้ำตาลเฉลี่ยสะสม (HbA1c) หลังได้รับความรู้โดยใช้กิจกรรมกลุ่ม  ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการที่ คลินิกพิเศษเบาหวาน โรงพยาบาลลำปาง ตั้งแต่เดือนเมษายน 2550 – ตุลาคม 2550 จำนวน 201 ราย โดยศึกษาเปรียบเทียบ ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน พฤติกรรมในการดูแลตนเอง ระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหาร (FBS) และน้ำตาลเฉลี่ยสะสม (HbA1c) หลังทำกิจกรรมกลุ่ม 2 ครั้ง  เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย  แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล  แบบประเมินพฤติกรรมการดูแลตนเอง  พัฒนามาจากแบบประเมินการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานของ เยาวเรศ  ประภาษานนท์ และคณะ ประกอบด้วยพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน 5 ด้าน  ได้แก่ การรับประทานอาหาร 6 ข้อ  การรับประทานยา 4 ข้อ การออกกำลังกาย 4 ข้อ การดูแลเท้า 5 ข้อ สุขอนามัยส่วนบุคคล 5 ข้อ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น = 0.87  แบบบันทึกผลการตรวจ FBS  และ HbA1c  โปรแกรมการให้ความรู้เรื่องโรค พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน  ซึ่งผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ  วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติร้อยละ  ข้อมูลพฤติกรรมการดูแลตนเอง วิเคราะห์ด้วยสถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบพฤติกรรมการดูแลตนเองและผล FBS และ HbA1c  ก่อนและหลังร่วมกิจกรรมกลุ่ม  โดยใช้สถิติ t-test      

              ผลของการศึกษาพบว่า พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน หลังใช้กิจกรรมกลุ่มดีกว่า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.001)  ระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหาร (FBS)และระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสม (HbA1c)  ของผู้ป่วยเบาหวานหลังได้รับความรู้โดยใช้กิจกรรมกลุ่มกลุ่มลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.038) (p=0.001)ตามลำดับ    ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการให้ความรู้โดยใช้กิจกรรมกลุ่มมีผลทำให้ผู้ป่วยเบาหวานมีพฤติกรรมในการดูแลตนเองดีขึ้น ระดับน้ำตาลในเลือดและน้ำตาลเฉลี่ยสะสมลดลง  เพื่อช่วยชะลอและลดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ จึงควรสนับสนุนให้มีการให้ความรู้โดยใช้กิจกรรมกลุ่มสำหรับผู้ป่วยเบาหวานต่อไป และเป็นแนวทางในการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเรื้อรังอื่นๆ เช่น โรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เป็นต้น

คำสำคัญ : กิจกรรมกลุ่ม, พฤติกรรมการดูแลตนเอง, ระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหาร, และน้ำตาลเฉลี่ยสะสม

 

........................

 

The effect of group activity participation in self care behavior, Fasting blood sugar and Hemoglobin A1c in diabetes patient,         DM  clinic, Lampang Hospital.     

Abstract

                                                                                          

              A Quasi experiment, one group pre and post test design was conducted to evaluate the effect of group activity participation in self care behavior, Fasting blood sugar (FBS) and Hemoglobin A1c(HbA1c) in diabetes patient, at DM Clinic Lampang Hospital since April to October 2007. This study compared  knowledge of disease, self care, FBS and  HbA1c before and after two times participating in the group activities which were sharing knowledge regarding DM disease and its complication, self caring in diet control, medicine, exercise, foot care and general hygiene care. The measurement using  in this study consisted of  three parts including the personal data recording form, the self care behavior pre-posttest questionnaire  which was developed from the Yauvaras  Prapasanon self care DM evaluation, and laboratory data form. The personal data was analyzed using descriptive statistic. The self care behavior data  was analyzed using Mean ,Standard Deviation, comparative pre-post test self care data, FBS and HbA1c data  analyzed using t-test.

                    There were 201 patients participating in this study and the result of the study revealed that self care behavior of diabetes patients after group activity participation was better than before. The average score of knowledge and self care behavior of sample group were higher significantly (p= 0.001). The average of  FBS and  HbA1c  level  were  decrease  significantly (p =0.038) p =0.001), respectively.  This study was concluded that group activity participation in diabetes patients had  provided  better behavior that could  delay and decrease DM complication. Thus group activity participation should  be considered to other chronic disease such as hypertension and hyperlipidemia.

 

Keyword: group activity participation,self care behavior, Fasting blood sugar(FBS),Hemoglobin A1c(HbA1c)

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 424325เขียนเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2011 23:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ดีจังค่ะ "พี่เปีย"

กิจกรรมกลุ่มมีผลดีกับผู้ป่วยจริงๆ

  • สวัสดีค่ะ
  • สุขสันต์วันวาเลนไทน์ค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

                        

good idea ,piarin you are excellent in your work,wall paper are you?

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท