อุดมการณ์ของคนเล็กๆ (๗)


 

ยุทธศาสตร์ที่พึงมี  

 

ยุทธศาสตร์เพื่อการมุ่งสู่ผลสัมฤทธิ์ของวิสัยทัศน์อย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดมความคิดกันออกมาได้แก่

  • พัฒนาหลักสูตรในส่วนกระบวนการเรียนการสอนที่หลากหลายเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายที่ ตั้งไว้
  • พัฒนาหลักสูตรแม่บทที่ลงตัว ต่อเนื่อง วัดผล และสื่อสารได้ชัดเจน
  • มีการพัฒนาครูขั้นพื้นฐานที่ชัดเจน  มีหลักสูตรการพัฒนาครูที่ชัดเจน มีการพัฒนาครูที่ต่อเนื่องไปบนหน้างานจริง  มีกระบวนที่หลากหลาย และสร้างระบบกลไกให้ครูมีส่วนร่วมในการพัฒนาตน และพัฒนางานไปตามทิศทางของโรงเรียน
  • ความเป็น partnership ระหว่างโรงเรียน ผู้ปกครอง นักเรียน นำไปสู่ความเชื่อมั่น ไว้ใจ และสนับสนุน
  • พัฒนาระบบประกันคุณภาพที่จริงจัง และมีสัมฤทธิผล บนฐานการจัดการความรู้
  • สื่อสาร brand เชิงรุกบนฐานความรู้ของโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง จัดทำเวทีเพลินพัฒนา  และทำการสื่อสารผ่านสื่อ ที่จะก่อให้เกิดการประมวลความรู้ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้กับครูนอกโรงเรียน และคนในสังคมได้เรียนรู้เป็นบริการทางวิชาการ โรงเรียนได้ความแม่นยำของครู ได้ภาพลักษณ์ของการเป็นผู้นำทางการศึกษา
  • สร้างบรรยากาศในการทำงานให้คนกล้าคิดกล้าทำ  มีการ shared vision และการให้กำลังใจกันกันอยู่เสมอ  และมีการสื่อสารภายในที่ราบรื่นชัดเจน ทั่วถึง
  • คืนเวลาให้ครูได้มีเวลาไปพัฒนาผู้เรียน พัฒนางาน และมีเวลาในการมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเพิ่มมากขึ้น
  • จัดระบบการช่วยเหลือ และพัฒนาศักยภาพเด็กที่ต้องการการช่วยเหลือเป็นพิเศษ

จากยุทธศาสตร์ดังกล่าว สมาชิกที่สนใจในแต่ละยุทธศาสตร์ที่ประกอบไปด้วยกลุ่มผู้ปฏิบัติงานในสายงานนั้น และผู้ที่สนใจจากลุ่มงานอื่นๆ ก็ได้เข้ามาช่วยกันคิดอ่านว่าในยุทธศาสตร์นั้นๆ จะมีโครงการเช่นไรเกิดขึ้นเพื่อเป็นพื้นที่ในการขับเคลื่อนวิสัยทัศน์ และตอบ ๔ โจทย์หลักที่ตั้งเอาไว้ได้จริง

ช่วงของการเข้ากลุ่มยุทธศาสตร์นี้มี ครูต้น – บงกช  เศวตามร์ เป็นผู้ดำเนินกระบวนการ

 

วิถีเพลินพัฒนา 

 

หลังจากที่ทุกกลุ่มมานำเสนอกันแล้ว พี่ติ่ง – สุภาวดี ก็มาชวนกันคุยเรื่องของวัฒนธรรมองค์กรของเพลินพัฒนาที่กล่าวถึงการ

  • เคารพในความแตกต่าง และให้เกียรติในความเป็นมนุษย์
  • กล้าคิด กล้าทำ กล้าหาฐทางจริยธรรม
  • เพลินกับการให้และการอุทิศ
  • พัฒนาตนด้วยการเรียนรู้อยู่เสมอ

 

พี่ติ่งชวนตั้งคำถามว่า “แต่ละคนคิดอย่างไร วัฒนธรรมองค์กรชุดนี้จะนำพาเราไปสู่วิสัยทัศน์ได้หรือไม่” โดยให้ร่วมคิดกันเป็นกลุ่มย่อย ในแต่ละกลุ่มจะมีสมาชิก ๔ คนที่มาจากส่วนงานต่างๆ ในบ่ายวันที่สองทุกคนได้ย้อนมองกลับไปที่คุณค่าหลักทั้ง ๔ ประการขององค์กรอีกครั้ง

 

พี่ติ่งนำให้สมาชิกทุกคนเปิดกว้าง และสามารถเสนอให้มีการเปลี่ยนแปลง เพิ่มเติม หรือตัดทอนออกได้ถ้าเห็นว่ามีข้อไหนที่ไม่จำเป็น

 

หลังจากที่ได้ใคร่ครวญกันอยู่ในกลุ่มจนชัดเจนกันแล้ว ทุกคนในที่ประชุมปรบมือโอบรับวัฒนธรรมองค์กรทั้ง ๔ ข้ออย่างเต็มใจ และมีกลุ่มที่ขอเสนอเพิ่มเติมในเรื่องของ

  • บรรยากาศของความเป็นกัลยาณมิตร
  • การดำรงคุณค่าของความเป็นไทย อ่อนน้อม อ่อนโยน
  • คุณภาพชีวิตที่ดี
  • ความสุขบนพื้นฐานของความพอเพียง
  • รู้เท่าทันเทคโนโลยี แต่ไม่ติดยึด
  • ทำทุกอย่างด้วยความใส่ใจ มีคุณภาพ ประณีต
  • สนุกกับการทำงาน ทำงานได้ด้วยตนเอง ด้วยศักยภาพสูงสุด
  • เคารพกติกา มารยาท มีความอดทน อดกลั้นต่อกัน

 

พี่ติ่งกล่าวสรุปว่าประเด็นที่เสนอมาเหล่านี้เป็นการเติมอารมณ์ที่อบอุ่น อ่อนโยนต่อกันมากขึ้น  “นี่คือเรื่องที่ชาวเพลินพัฒนาจะทำ และส่งต่อไปถึงเด็ก ถึงผู้ปกครอง เป็นเรื่องที่เราทุกคนให้การยอมรับ และปรารถนาว่าอยากจะเห็นจากกันและกัน”

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 424122เขียนเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2011 17:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท