งานศิลปหัตถกรรมระดับชาติครั้งที่ ๖๐ “ สุดยอดเด็กไทย ก้าวใหม่ที่ไกลกว่า ” ตอนที่ ๑ มหกรรมทางการศึกษา


งานนี้ถือว่าเป็นสุดยอดของการรวมพลคนมีความสามารถระดับประเทศจริงๆ การได้เป็นตัวแทนของแต่ละภาคก้าวมาถึงระดับชาติได้นับว่าไม่ธรรมดา แสดงถึงการเป็นผู้ใฝ่รู้-ใฝ่ศึกษาและมีความเพียรพยายาม เป็นอย่างยิ่ง

ปีการศึกษา ๒๕๕๓ มีมหกรรมการแข่งขันทางการศึกษาสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา-มัธยมศึกษา ซึ่งดำเนินงานโดยกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับหน่วยงานผู้รับผิดชอบทางการศึกษา จัดขึ้นอยู่ ๒ งานคือ งานศิลปหัตถกรรมระดับชาติและการแข่งขันโรงเรียนมาตรฐานสากล 

 

                                             

สำหรับงานศิลปหัตถกรรมระดับชาติ  โรงเรียนต่างๆทั่วประเทศล้วนมีส่วนเกี่ยวข้องในการเข้าร่วมกิจกรรม จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒๖-๒๘ มกราคม  ๒๕๕๔ ณ ศูนย์การแสดงสินค้าอิมแพค  เมืองทองธานี 

ส่วนงานโรงเรียนมาตรฐานสากล มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการอยู่ประมาณ ๕๐๐ โรงเรียน  จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๑๙-๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๓ ณ ศูนย์การแสดงสินค้าอิมแพค  เมืองทองธานี 

    
                                         
                                                                     
                                               คณะครูผู้ควบคุม-ฝึกฝนและนักเรียนผู้เข้าแข่งขัน

ทั้งสองงานล้วนมีเจ้าภาพในการรับผิดชอบจัดกิจรรม  ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งรูปแบบการดำเนินงานคล้ายคลึงกัน  อาทิเช่นการจัดกิจกรรมหลายอย่างไว้ใน HALL เดียวกัน  ข้อดีคือครึกครื้น-ไม่เงียบเหงา  ข้อเสียคือเสียงดังอึกครึก-รบกวนซึ่งกันและกัน จากรอบทิศ  หลายเวทีต้องใช้เครื่องเสียงเปิดดังสนั่นเพื่อกลบเสียงแทรกจากเวทีใกล้เคียงเช่น  เวทีประกวดเพลงลูกทุ่ง  เวทีประกวดเพลงไทยสากล-เพลงสากล  เวทีประกวดเพลงพระราชนิพนธ์ เป็นต้น  ผู้ที่น่าเห็นใจที่สุดน่าจะเป็นคณะกรรมการที่ต้องพิจารณาตัดสินอย่างยุติธรรม  ท่ามกลางบรรยากาศตึงเครียดรอบด้านที่หลายคนชื่นชมว่า สนุกสนานและน่าสนใจ
     


     
   

                                                 คณะกรรมการตัดสินการประกวดร้องเพลงลูกทุ่ง

                   
     
                                                            
                                                              นักเรียนผู้เข้าประกวดร้องเพลงลูกทุ่ง


     

                                           คณะกรรมการและนักเรียนผู้เข้าร่วมประกวดเพลงไทยสากล  -เพลงสากลหญิง

             
    
                                                  
                                                      คณะกรรมการให้เกียรติถ่ายภาพเป็นที่ระลึก


งานศิลปหัตถกรรมระดับชาติครั้งนี้  นักเรียนโรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม ได้เป็นตัวแทนเขตภาคเหนือมาแข่งอยู่หลายรายการ เช่น การแข่งขันร้องเพลงไทยสากล-เพลงสากล   การแข่งขัน Spelling Bee  การแข่งขัน Story Telling การแข่งขันพูดสุนทรพจน์ภาษาญี่ปุ่น  การแข่งขันดนตรีไทย  การแข่งขันวาดภาพระบายสี  การแข่งขันเล่านิทานคุณธรรม
         


   
                                
                                                  คณะกรรมการรับรายงานตัว  การแข่งขัน Story Telling


งานนี้ถือว่าเป็นสุดยอดของการรวมพลคนมีความสามารถระดับประเทศจริงๆ การได้เป็นตัวแทนของแต่ละภาคก้าวมาถึงระดับชาติได้นับว่าไม่ธรรมดา  แสดงถึงการเป็นผู้ใฝ่รู้-ใฝ่ศึกษาและมีความเพียรพยายาม เป็นอย่างยิ่ง น่ายินดีที่มีกิจกรรมการแข่งขันทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ฯ  รวมการแข่งขันทักษะ ๑๕๖กิจกรรมหลัก ๖๐๒ กิจกรรมย่อย สุดยอดการแสดงของนักเรียนแต่ละภูมิภาค แลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่ ๒

 


            
                                                                          
                                                                              งดงามตามแบบไทย 


  


ที่น่าชื่นชมคือการจัดนิทรรศการผลงานคุณภาพทางการศึกษาของครูและนักเรียนอัจฉริยภาพนักเรียนการศึกษาพิเศษ  การศึกษาสงเคราะห์ 


  

                                                       ส่วนหนึ่งของบู้ธการศึกษาพิเศษ  การศึกษาสงเคราะห์ 

  


แต่เป็นที่น่าเสียดายที่กิจกรรมเหล่านี้จัดขึ้นในเวลาเดียวกัน-ใกล้เคียงกัน ในระยะเวลาเพียงแค่ ๓ วัน ซึ่งครูจะต้องคอยดูแลนักเรียนในการเข้าร่วมกิจกรรมภารแข่งขันในส่วนของตน รวมทั้งไปให้กำลังใจนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมการแข่งขันอื่นๆ จึงไม่สามารถไปศึกษาเรียนรู้สาระอันเป็นประโยชน์ในส่วนของนิทรรศการได้อย่างทั่วถึง  และเชื่อว่าคุณครูท่านอื่นๆ จากทั้งส่วนของโรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคมเองและโรงเรียนอื่นๆทั่วประเทศ ก็คงพลาดโอกาสในการเข้าชมเช่นกัน  เนื่องจากภาระหน้าที่ในการรับผิดชอบการสอนที่โรงเรียน  และอาจมีเหตุผลด้านอื่นๆ เช่นด้านงบประมาณ เป็นต้น 
เป็นไปได้หรือไม่ที่จะเลื่อนกำหนดการจัดงานไปเป็นช่วงปิดภาคเรียนที่ไม่มีกิจกรรมการเรียน-การสอน อย่างเช่นกลางเดือนเมษายน  สัก ๗-๑๐ วัน  จัดนิทรรศการรณรงค์ให้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่มาศึกษาหาความรู้เพื่อพัฒนาการศึกษาของไทยกันอย่างจริงจัง

                                                                                                                     

                                Heart 3 ขอขอบคุณผู้เข้ามาเยี่ยมชมทุกท่านค่ะ Heart 3

หมายเลขบันทึก: 423813เขียนเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2011 23:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2014 17:23 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท