ทฤษฎีการมีส่วนร่วม (Participation Theory) : ตั้งคำถามเพื่อการ "มีส่วนร่วม..."


หลังจากที่พยายามใช้เทคนิคการมีส่วนร่วมกับการสร้าง "เมรุฯ" แห่งที่สามนี้กับช่างทั้ง 3 คนแล้ว พบว่า จุดสำคัญที่จะทำให้คนเรามีใจมา "ร่วม" ทำงานนั้นก็คือ "การยอมรับในความคิด..."

การที่จะยอมรับในความคิดกันได้นั้น" จุดสำคัญอยู่ที่ "การตั้งคำถาม"

 

บางครั้งเรามีคำตอบอยู่ในใจ หรือธงอยู่ในใจแล้ว การที่จะ "สั่ง" ตามใจเรานั้น ไม่มีค่าเท่ากับ "การตั้งคำถามถามเขา เพื่อที่จะให้ได้เป้าหมายอย่างเดียวกัน..." (ชีวิตที่เมืองลาว : 29 มกราคม 2554 “เต็มใจต่อการตัดสินใจ...”)

 

การได้งาน ไม่เท่าสู้การได้คน...

การทำงานอย่างเดียวกัน ถ้าให้ดีจะต้องได้ใจคนด้วย

คนที่จะให้ใจเรานั้น เราจะต้องให้ "ความสำคัญ" กับเขาก่อน

และการให้ความสำคัญกับคนอื่นที่ดีที่สุดคือ "การยอมรับในความคิด"

ข้าพเจ้าทดลองยอมรับในความคิดช่างทั้ง 3 คน มีผลปรากฏชัดเจนออกมาว่า ช่างเนา ช่างแพง โดยเฉพาะช่างสุภามาทำงานเช้าขึ้นและกลับเย็นลง นอกจากนั้นยังมีการ "ทำการบ้าน" สม่ำเสมอ (ชีวิตที่เมืองลาว : 25 มกราคม 2554 "มาเช้าขึ้น กลับเย็นลง...")

ดังนั้นช่วงเช้าวันนี้ (๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔) ช่างสุภาเตรียมงานไว้ให้คนที่มาช่วยในการที่จะให้เทพื้นบันได

ช่วงก่อน ๆ ก็เตรียมเรื่องเทคาน เทเสาตลอด ครั้งนึงถึงกับพูดออกมาว่า "ข้าน้อยนอนไม่หลับ คิดอยู่ทั้งคืน..."

รวมถึงช่างเนาก็ช่วยออกแบบงานว่าให้พี่น้องที่มาช่วยงาน "ขนอิฐบล็อค" ข้าพเจ้าตอบสนองความคิดนั้นทันที เพื่อที่จะให้เขามีกำลังใจในการคิด...

หรืออย่างอาจารย์ร่อน มาทำงานให้ฟรี ไม่คิดสตางค์ มาเช้า กลับเย็น วิ่งไปซื้อของทั้งวัน ค่าน้ำมันก็ไม่คิด

การยอมรับความสำคัญต่อบทบาทของใครแต่ละคน จึงเป็นเหตุ เป็นปัจจัยของการมีส่วนร่วมที่จะตามมา ซึ่งสุดท้ายจะส่งผลถึง "เป้าหมาย (Goals)" ที่เรียกว่า "มวลรวมของความสุข (Gross Domestic Happiness : GDH)"

คนเราจะมีความสุข ถ้าหากคนในสังคมยอมรับ

การที่เพื่อนร่วมงาน หัวหน้างาน หรือว่าลูกน้องยอมรับเรา ไม่เฉพาะยอมรับด้วยหน้าตา หรือฐานะ แต่เป็นการยอมรับทางด้านความคิด จะทำให้เกิดความสุขซึ่งจะเป็นแรงผลักดันที่ส่งผลต่อการทำงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

คนจะมีความสุขได้ต้องมีแรงผลักดันให้สุข แรงผลักดันที่สำคัญอย่างยิ่งยวดคือได้รับการยอมรับจากหมู่คณะ

 

และถ้าหากงานที่ทำอยู่นั้นเป็น "สัมมาอาชีพ" ความสุขที่ได้จากแรงผลักดันดังกล่าวก็จะยิ่งมากเท่า ทวีคูณ

เหมือนกับที่พี่น้องบ้านสานะคาม มาช่วยกัน "สร้างเมรุฯ" ครั้งนี้ มาทำฟรี ไม่ได้ตังค์ แต่ได้ "บุญ"

บุญนั้นหน้าตาอย่างไร...?

บุญก็คือความสุขใจที่ได้ทำความดี...

ก่อนมาก็ตั้งใจ เวลาทำงานก็ยิ้ม แดดร้อนก็หัวเราะ กลับไปบ้านอิ่มเอม แสดงให้เห็นความสุขตั้งแต่เบื้องต้น ท่ามกลาง และเบื้องปลาย

 

คิดก็สุข ทำก็สุข ทำเสร็จแล้วก็ "เก็บสุข" คิดย้อนมาก็ "ระลึกสุข" สุขทั้งหลายจะรวมกันเข้าเป็น "มวลรวมความสุข (GDH)"

 

คำว่ามวลรวม มีเหตุมาจากการมีส่วนร่วม ซึ่งมีรากฐานมาจากการ "ร่วมคิด"

จะให้ใครร่วมคิดได้ต้องฝึก "ตั้งคำถาม" และ "ดีไซน์คำตอบ"

ต้องตั้งคำถามเพื่อที่จะให้คำตอบที่ต้องการอย่าง "มีส่วนร่วม..."

Large_2001201103

 

หมายเลขบันทึก: 423812เขียนเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2011 23:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • สวัสดีครับ อ.ปภังกร วงศ์ชิดวรรณ
  • แวะมาเยี่ยมเยียนและเรียนรู้ครับ
  • ประเด็นที่อาจารย์บันทึกนี้เป็นจุดสำคัญทีเดียว
  • ปัญหาการทำงาน/พัฒนาส่วนใหญ่ล้วนสอบตกตรงจุดนี้
  • เพราะไม่ได้ใจ...
  • ขอบคุณมากครับ

หน่วยงานราชการ "เน้นคน" จึงเน้น "เอาอก เอาใจคน"

หน่วยงานเอกชน "เน้นงาน" จึงไม่สน "หัวใจคน"

คนในหน่วยงานราชการต้องรู้จักเอาอก เอาใจคน เพราะอนาคตนั้นอยู่ตาม "อำเภอใจ..."

คนในหน่วยงานเอกชนต้องรู้จักสู้และอดทน เพราะอนาคตอยู่ที่ "ผลของงาน..."

จุดสมดุลระหว่างงานกับคนนั้นคือ "ใจ"

คนที่มีใจทำงาน จะได้ทั้งงาน ได้ทั้งคน

หน้าที่ของผู้บริหาร คือ ต้องทำให้คนทุ่มเท "ใจ" ให้กับงาน...

การที่จะให้คนทุ่มเทใจให้กับงานได้ เกิดจากการมีส่วนร่วม และสิ่งแรกอันเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในหลักของการมีส่วนร่วมคือ "ร่วมคิด"

การให้คน "ร่วมคิด" ยังไม่พอ ต้องยอมรับในความคิดของเขาด้วย ถึงจะเกิดประโยชน์

บางครั้งให้เขาคิดแล้วก็ไม่เอาความคิดเขา อันนี้เปล่าประโยชน์

ความคิดเรา เบา ๆ ลงบ้างก็ได้...

ถ้าหากมั่นใจว่าความคิดเรากับความคิดเขาตรงกัน ก็ต้องพยายามเสียสละตั้งคำถามเพื่อที่จะให้ "เครดิตทางความคิด"

เครดิตทางความคิดนี้เอง จะเป็นผลทำให้คน "ทุ่มเทใจ" ในการทำงาน...

คนมีเครดิตดี อยู่ในที่ทำงานก็มีความคิด

เครดิตทางด้านการเงิน ยังไม่สู้เครดิตทางด้านความคิด

เครดิตทางด้านความคิด ผู้บริหารพึงสร้างให้กับ "ลูกน้อง"

องค์กรจะประสบความสำเร็จเกินเป้าหมายถ้าหากผู้บริหารสร้างเครดิตทางความคิดให้กับลูกน้องทุก ๆ คนได้

เพราะทุกคนต่างมีความสุขในการทำงาน

เมื่อทุกคนมีความสุข "มวลรวมความสุข (Gross Domestic Happiness : GDH)" ในหน่วยงานก็จะเพิ่มขึ้น

GDH เป็นปัจจัยที่ส่งผลให้ GDP (Gross Domestic Product) เพิ่มขึ้นอย่างมั่นคง

ธุรกิจที่เน้นบีบคนเพื่อสร้างผลกำไร ก็เหมือนกับฟองสบู่ที่โตแต่ข้างในกลวง

กลวงเพราะขาด "เครดิตทางความคิด"

เครดิตทางความคิดของพนักงาน จะสร้างพลังงานให้กับการเติบโตขององค์กรได้อย่างมั่นคงถาวร...

ร่วมกิน ร่วมอยู่ ร่วมคิด ร่วมทำ นำไปสู่การมีใจ การได้ใจ ไว้วางใจ เ็ป็นพลังสร้างสรรค์ได้ในทุกมิติก่อให้เกิดความสุขได้ในทุกสังคม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท