ลายนิ้วมือกับการสร้างเสริมอีมาน



 

 อัลลอฮฺได้ตรัสในซูเราะฮฺ อัล-กิยามะฮฺอายะห์ที่ 1-4 ว่า

لا أُقْسِمُ بِيَوْمِ الْقِيَامَةِ * وَلا أُقْسِمُ بِالنَّفْسِ اللَّوَّامَةِ * أَيَحْسَبُ الإِنسَانُ أَلَّنْ نَجْمَعَ عِظَامَهُ * بَلَى قَادِرِينَ عَلَى أَنْ نُسَوِّيَ بَنَانَهُ   .

“ข้าสาบานต่อวันกิยามะฮฺ และข้าขอสาบานต่อชีวิตที่ประณามตนเอง มนุษย์คิดหรือว่า เราจะไม่รวบรวมกระดูกของเขากระนั้นหรือ ? แน่นอนทีเดียวเราสามารถที่จะทำให้ปลายนิ้วมือของเขาอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์”

อิบนุ มันซูร ได้กล่าวในหนังสือ ลิซานุลอะหรับ(لسان االعرب)ว่า

"البَنَان"(อัลบะนาน) หมายถึง ส่วนปลายของมือและขาทั้งสองข้าง " البنانة  "(อัลบะนานะฮฺ) คือ นิ้วมือทั้งหมด บางคนว่าเป็นข้อต่อของนิ้ว

อัลกุรอฏุบีได้กล่าวในหนังสืออรรถาธิบายอัลกุรอานของท่าน ว่า

" البَنَان  "(อัลบะนาน) ในความหมายของคนอาหรับคือบรรดานิ้ว และนิ้วมือ(หรือนิ้วเท้า)นิ้วเดียว เรียกกว่า "بنانة" (บะนานะฮฺ)

อัลกุรฏุบีและอัซซุญาจ ได้กล่าวว่า

"พวกเขา(กุฟฟารฺมุชริกีน)กล่าวกันว่า อัลลอฮฺไม่สามารถบังเกิดชีวิตขึ้นมาใหม่และไม่สามารถรวบรมกระดูก(เพื่อให้เป็นรูปร่างขึ้นมาอีก) อัลลอฮฺจึงได้ตรัสแก่พวกเขาว่า พระองค์สามารถที่จะนำกลับสู่สภาพที่ปกติเหมือนเดิม ตั้งแต่หน่วยเล็กๆจนสมบูรณ์ และความสามารถนี้พระองค์ก็ทรงสามารถที่จะรวบรวมสิ่งที่ใหญ่ๆได้เช่นกัน"

 ความรู้ในลักษณะนี้ถูกบันทึกเมื่อครั้งแรกเริ่มของศาสนาอิสลามได้เผยแพร่ความจริงสู่มวลมนุษย์ เป็นเวลานานพันกว่าปีมาแล้ว ก่อนที่วิทยาการสมัยใหม่ ทั้งชีววิทยา สรีระวิทยาและวงการแพทย์ยังไม่ได้จดบันทึกสิ่งใดเลย

ประวัติเกี่ยวกับลายนิ้วมือได้ถูกบันทึกไว้ ในเว็บไซด์ www.p-pac.com ได้เขียนสรุปไว้ดังนี้

 

ปี พ.ศ. 2229
ศาสตราจารย์ด้านกายวิภาคศาสตร์ของมหาวิทยาลัยโบลอคนา เขียนหนังสือเกี่ยวกับลายนิ้วมือระบุชนิดลายนิ้วมือเป็นแบบมัดหวายและแบบก้นหอย 

 

 

ปี พ.ศ. 26266
ศาสตราจารย์เพอคินเจ (Purkinje) แห่งมหาวิทยาลัยเบสสลอ (University of Breslau) ประเทศเยอรมันนี เขียนหนังสืออธิบายแบบแผนลายนิ้วมือพื้นฐาน 9 แบบ ซึ่งยังคงใช้อยู่จนถึงทุกวันนี้

 

 

ปี พ.ศ. 2366
ดร.เฮนรี่ ฟาวลด์ (Henry Fauld) เขียนบทความตีพิมพ์อธิบายว่าลายนิ้วมือสามารถเป็นเครื่องระบุตัวบุคคลได้ ท่านจึงได้รับยกย่องให้เป็นบุคคลแรกในวงการนิติวิทยาศาสตร์ที่บุกเบิกการใช้ รอยลายนิ้วมือที่ทิ้งไว้บนขวดเหล้า (ลายนิ้วมือแฝง) เป็นสิ่งพิสูจน์บุคคลได้

 

ปี พ.ศ. 2401
เซอร์วิลเลียม เฮอร์เซล (Sir William Herschel) ชาวอังกฤษ เป็นคนแรกที่นำลายนิ้วมือมาใช้ประโยชน์ในการพิสูจน์บุคคล ในประเทศอินเดียและเป็นที่ยอมรับทั่วโลก

 

ปี พ.ศ. 2425
กิลเบอร์ต ทอมป์สัน (Gilbert Thompson) แห่งกองสำรวจธรณีวิทยา สหรัฐอเมริกา เสนอให้ใช้ลายนิ้วมือบนเอกสารสำคัญ เพื่อป้องกันการปลอมแปลงลายมือชื่อ

 

ปี พ.ศ. 2435
เซอร์ฟราน ซิสกาลตัน (Sir Francis Galton) นักมานุษยวิทยาชาวอังกฤษ ได้ตีพิมพ์บทความวิชาการเป็นครั้งแรกเกี่ยวกับระบบแบบแผนลายนิ้วมือที่ สามารถระบุบุคคลได้ด้วยลักษณะพิเศษของลายเส้นบนลายนิ้วมือที่เป็นเอกลักษณ์ เฉพาะบุคคลที่เรียกว่า จุดสำคัญ (minutiae point) ซึ่งสามารถอยู่ได้ทนทานถาวรตลอดอายุของบุคคลนั้น หลักการของกาลตันที่ใช้จุดสำคัญ นี้ยังคงใช้อยู่จนทุกวันนี้


ปี พ.ศ. 2444
หน่วยสืบราชการลับ สก๊อตแลนด์ยาร์ดแห่งประเทศอังกฤษ ได้ปรับปรุงระบบจำแนกลายนิ้วมือของกาลตันขึ้นใหม่โดยผู้บังคับการตำรวจ นครบาล ชื่อ เซอร์เอ็ดเวอร์ด เฮนรี่ (Sir Edward Henry) ใช้ชื่อระบบใหม่ว่า ระบบระบุลายนิ้วมือของกาลตัน และเฮนรี่ (Galton-Henry fingerprint identification system)

 

ปี พ.ศ. 2446
ระบบเรือนจำแห่งรัฐนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา ได้เริ่มใช้ลายนิ้วมือเป็นเครื่องมือระบุตัวอาชญากร ในปีถัดมากองทัพสหรัฐอเมริกาใช้ลายนิ้วมือในการระบุบุคคลที่ขึ้นทะเบียนทหาร ขณะเดียวกันตำรวจเมืองบูเอนอส แอเรส ได้ตีพิมพ์วิธีใช้ลายนิ้วมือในการค้นหา และระบุตัวฆาตรกร โดยใช้หลักฐานจากรอยลายนิ้วมือที่ทิ้งไว้บนเสาประตู วิธีการนี้ยังคงใช้จนถึงทุกวันนี้  

 

ในช่วงปี พ.ศ. 2448 - 2473
องค์กรด้านกฎหมายทั่วสหรัฐอเมริกา ได้หันมาใช้ลายนิ้วมือเป็นเครื่องระบุตัวบุคคล


 

 

ปี พ.ศ. 2462
รัฐสภาอเมริกันได้จัดตั้งหน่วยงานเอฟบีไอ ซึ่งเป็นแหล่งรวบรวมจัดทำแผ่นลายนิ้วมือของประชากรอเมริกัน นับจนถึงปี พ.ศ. 2514 มีแผ่นลายนิ้วมือรวบรวมไว้แล้วถึง 200 ล้านฉบับ


ในร่างกายของมนุษย์มีอวัยวะซับซ้อนและปลีกละเอียดอยู่มากมาย หนึ่งในนั้นก็คือลายนิ้วมือที่เราได้เห็นคุณค่าของมันตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น ความละเอียดอ่อนที่มีอยู่บนนิ้วมือนี้เป็นของส่วนบุคคล ไม่มีลายมือมือของผู้ใดไปเสมอเหมือนลายมือของคนอื่น จนเป็นหลักฐานสำคัญที่โลกทุกวันนี้ใช้ยืนยันความเป็นตัวตนของคนๆนั้น

ความละเอียดอ่อน ความยุ่งยาก จะเล็กลงไปขนาดใดก็ตามอัลลอฮฺผู้ทรงเดชานุภาพสามารถที่จะกระทำและให้บังเกิดได้ทั้งสิ้น จำนวนคนนับเป็นล้านๆคน ตั้งแต่สมัยอดีตกาลครั้งบังเกิดท่านนบีอาดำมนุษย์คนแรกจนถึงมนุษย์ทุกคนในวันนี้ ลายนิ้วมือที่ปรากฏบนปลายมือ(อัลบะนาน) ไม่ซ้ำร้อยเลยแม้แต่คนเดียว ดังนั้นการที่อัลลอฮฺจะบังเกิดให้มนุษย์เกิดขึ้นใหม่ในอนาคต เพื่อตอบสนองผลที่เขาได้กระทำมาบนโลกนี้ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่แปลกอะไรเลย

لا أُقْسِمُ بِيَوْمِ الْقِيَامَةِ * وَلا أُقْسِمُ بِالنَّفْسِ اللَّوَّامَةِ * أَيَحْسَبُ الإِنسَانُ أَلَّنْ نَجْمَعَ عِظَامَهُ * بَلَى قَادِرِينَ عَلَى أَنْ نُسَوِّيَ بَنَانَهُ   .

“ข้าสาบานต่อวันกิยามะฮฺ และข้าขอสาบานต่อชีวิตที่ประณามตนเอง มนุษย์คิดหรือว่า เราจะไม่รวบรวมกระดูกของเขากระนั้นหรือ ? แน่นอนทีเดียวเราสามารถที่จะทำให้ปลายนิ้วมือของเขาอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์”


บรรณานุกรม

القرآن الكريم

ابن منظور، جمالالدين ابو الفضل محمد بن مكرم بن على ، لسان العرب ، دار صادر بيروت : دار بيروت, 1955

الزجاج، أبو إسحاق إبراهيم بن السري بن سهيل النحوي ، معاني القرآن وإعرابه ، بيروت : عالم الكتب ،1988

القرطبي، شمس الدين ابوعبدالله محمد بن أحمد ، الجامع لأحكام القرآن والمبين لما تضمنه من السنة وآي الفرقان، بيروت : مؤسسة الرسالة ، 2006

 

http://www.alquran-thai.com

http://www.p-pac.com/ppac/history

http://www.maknoon.com/e3jaz/new_page_24.htm

 

หมายเลขบันทึก: 423452เขียนเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2011 09:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 16:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท