ศรีตรังเบิกบาน
สำนักงาน กศน.จังหวัดตรัง ศรีตรัง

สรุปการพัฒนาคุณภาพครูยุคใหม่กับความก้าวหน้าในวิชาชีพ


การทำผลงานต้องนึกถึงประโยชน์/คุณภาพของผู้เรียนก่อน ความก้าวหน้าก็จะตามมาทีหลัง

 

Large_dsc01267

   จากการเข้า ร่วมประชุมทางวิชาการ การพัฒนาคุณภาพครูยุคใหม่กับความก้าวหน้าในวิชาชีพ  วันเสาร์ที่ 22  มกราคม  2554  ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น  กรุงเทพมหานคร มีผู้เข้าประชุม ประมาณ 600 คน สรุปผลการอบรมได้ดังต่อไปนี้

1. ประธานพิธีเปิด/บรรยายพิเศษ : นางศิริพร  กิจเกื้อกูล  เลขาธิการ  ก.ค.ศ.

 หลักประเมินคือ คุณธรรม /เสมอภาค/ความรู้ความสามารถ/ผลงานที่ส่งผลต่อผู้เรียน: สถานศึกษา : ชุมชน/การพัฒนาตนเอง โดยเน้น

          ด้านที่  1 คือ ด้านวินัย คุณธรรมจริยธรรม และจรรยาบรณวิชาชีพ

          ด้านที่ 2 คือด้านความรู้ความสามารถ

          ด้านที่ 3 คือด้านผลการปฏิบัติงาน

                   3.1 ผลงานพัฒนาคุณภาพผู้เรียน

                   3.2 ผลงานทางวิชาการ

  ผลงานทางวิชาการ พิจารณาจาก
                 1. คุณภาพของผลงานทางวิชาการ
                           - ความถูกต้องตามหลักวิชาการ
                           - ความสมบูรณ์ของเนื้อหาสาระ
                           - ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
                            - การจัดทำ  การพิมพ์  และการจัดรูปเล่ม
                  2. ประโยชน์ของผลงานทางวิชาการ
                          -  ประโยชน์ต่อผู้เรียน  ครู  บุคลากร-
                              ทางการศึกษา  การจัดการศึกษา
                              หน่วยงานการศึกษา  และชุมชน

                          -  ประโยชน์ต่อความก้าวหน้าทาง  
                              วิชาการและการเผยแพร่ในวงวิชาการ

กลุ่มเป้าหมายที่เข้ารับการประเมิน

                   1.1 ครู

                   2.2 ผู้บริหารสถานศึกษา

                   2.3 ผู้บริหารการศึกษา

                   2.4 ศึกษานิเทศก์

Large_dsc01270

คุณครูรัตนา  สถิตานนท์ ครูเชี่ยวชาญพิเศษคนแรกของประเทศไทย

.การอภิปรายเรื่อง แนวทางการพัฒนาการเรียนการสอนและการจัดทำผลงานทางวิชาการเพื่อเลื่อนวิทยฐานะโดยดร. บุญลือ ทองอยู่ อดีตรองปลัดกระทรวงศึกษา ศาสตราอัจฉรา ชีวพันธ์ อดีตอาจารย์โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม

โดยดร.อัจฉรา  ชีวพันธ์ ได้ฝากข้อคิดในการทำผลงาน 10  ข้อ คือ

                   1. ทำด้วยใจ ใช่เป็นเพียงหน้าที่

                   2. มีตัวอย่างอย่างหลากหลาน

                   3. ขยายผลสู่ผู้อ่าน

                   4. แสดงความชี่ยวชาญให้ประจักษ์

                   5. พิทักษ์จรรยาบรรณ

                   6. รังสรรค์สิ่งใหม่

                   7. ไม่ต้องบนบาน

                   9. อย่าทิ้งงานประจำ

                   10 ทำแล้วลองใช้

                   11. สุขใจเมื่อผ่านการประเมิน

ดร. บุญลือ  ได้สรุป โดยรวบรวมจากผู้ ผ่านการทำผลงานเชี่ยวชาญ 30 คน คือ

องค์ประกอบที่ 1

                   1.เป็นคนที่มีความภาคภูมิใจในอาชีพของตัวเอง

                   2.เป็นคนใฝ่รู้ หาความรู้ ความเข้าใจ อยู่ตลอดเวลา

                   3. ลงมือทำ

                   4. ใช้เวลาอย่างน้อย 2  ปี (ไม่ใช่ 3เดือน 6 เดือน )

                   5. ส่งผลงาน

องค์ประกอบที่ 2

          1. ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเข้าเสริม (รู้เหตุ รู้ผล อดทน พากเพียร เขียนทุกวัน เป็นประจำ )

          2. มีแผน 3  แผน   คือแผนการทำงาน /แผนการทำผลงานวิชาการ (หาหนังสือใหม่ ๆมาอ่าน ) และต้องมีแผนชีวิต (ตั้งเป้าและเดินให้ถึงเป้า ) เช่น ชาตินี้ต้องได้สายสะพาย ต้องมีการเปลี่ยนวิธีคิด

          3. ผลงาน 2  เรื่อง ส่วนใหญ่ที่ผ่านคือ  คือ วิจัย 1  เรื่อง  ประเมินผลโครงการ 1  เรื่อง งานเชี่ยวชาญสามารถตองคำถาม WHAT /WHY  ถ้าขอเชี่ยวชาญพิเศษ ต้องตอบคำถาม WHAT /WHY/ HOW  ที่สำคัญต้องไม่ดูถูกตัวเอง

          4. เรื่องที่ทำเนื้อหาไม่ซ้ำกัน เช่น ทำวิจัยเรื่องประกันคุณภาพ   ประเมินผลเรื่องการบริหารแบบมีส่วนร่วม

          5. จากข้อ 4  วิธีการต้องไม่หมือนกัน METHODOLOGY คนละแบบ เช่น ประกันคุณภาพใช้ DELPHI TECHNIC  ประกันคุณภาพใช้วิจัยเชิงคุณภาพ

          6.วิธีการตรวจของกรรมการ

                   - ถูกต้อง

                   - สมบูรณ์

                   - ทันสมัย

                   - มีความคิดสร้างสรรค์

          7. จุดอ่อนเนื้อหาไม่ครบองค์ประกอบวิจัย/ขาดความน่าเชื่อถือ

          8. วิธีตรวจ

                   1. ดูความถูกต้องตามหลักวิชาการ

                   2. ดูความสมบูรณ์

                   3. ต้องพอเพียง

                   4. ต้องทันสมัย (อ้างวิจัยไม่เกิน 5  ปี /ตำราไม่เกิน 10 ปี )

                   5. ต้องติดตามข่าวคราวความเคลื่อนไหวในวิชาชีพตลอดวลา

                   6. มีความคิดสร้างสรรค์

                   7. ถูกหลักภาษาไทย

                   8.สอดคล้องกับวัฒนธรรมท้องถิ่น

                   9.ต้องมีจรรยาบรรณ (อ้างอิง )

                   10. อ้างแหล่งปฐมภูมิ

                   11. อ้างจาก อินเทอเน็ต ต้องบอกวันเวลาและถ่ายเอกสารแนบ ในภาคผนวก (แต่ไม่สนับบสนุนให้ใช้ อ้างอิงมากนัก )

                   12.ควรระวังเอกสารจากการประชุมสัมมนา  บางครังข้อมูลไม่สมบูรณ์

                   13. ไม่อ้างอิงจากบทคัดย่อ ควรอ่านฉบับเต็ม

ภาคบ่ายมีการอภิปรายประสบการณ์จากผู้ที่ผ่านการประเมิน เชี่ยวชาญพิเศษ ซึ่งมี3  ท่าน คือ ผอ.นคร ตังคะพิภพ ดร.สมเดช สีแสง และคุณครูรัตนา  สถิตานนท์   ซึ่งทั้งสามท่านพูดตรงกันว่าคิดนวตกรรมใหม่ๆ เพื่อให้ผู้เรียนมีคุณภาพ ก่อน..วิทยฐานะคือผลพลอยได้  เยี่ยมจริงๆ นี่คือคนเก่งที่พวกเราชาวกระทรวงศึกษาธิการมีความภาคภูมิใจ   และขอให้กำลังใจคุณครูทุกคนว่าถ้าลงมือทำ..ทุกท่านทำได้แน่นอน 

                    

 

                                           

หมายเลขบันทึก: 422485เขียนเมื่อ 25 มกราคม 2011 18:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 20:47 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • ขอบพระคุณข้อมูลดี ๆ ที่มีประโยชน์ค่ะ

ขอคุณมากๆ ที่แบ่งปันความรู้ที่มีประโยชน์อย่างมากแก่ผู้ที่ไม่ได้เข้าร่วมประชุมทางวิชาการในครั้งนี้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท