แบบทดสอบ การสร้างคำไทยตามแนวคิดใหม่


ข้อสอบหลักภาษาไทย เรื่อง การสร้างคำไทยตามแนวคิดใหม่

แบบทดสอบวิชา ท ๔๒๐๑๑ (หลักภาษาไทย)

แบบทดสอบหลังเรียน

เรื่อง ชนิดของคำ

นักเรียนจงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด และเลือกคลิกในช่องที่ตรงกับตัว ก ข ค ง ที่นักเรียนเลือกแล้วเพียงข้อละครั้งเดียว

๑. คำนามคืออะไร

ก. คำที่เป็นชื่อของคน สัตว์ สถานที่ สิ่งของ

ข. คำที่ใช้เรียกคน สัตว์ สถานที่สิ่งของ

ค. คำที่สร้างมาจากคำกริยา โดยใช้คำว่า "การ" และ "ความ" นำหน้า

ง. คำที่แสดงลักษณะของคำอื่นว่าเป็นอย่างไรรวมทั้งบอกการกระทำว่า ทำอะไร

๒. คำที่ขีดเส้นใต้ต่อไปนี้คำใดเป็นคำนาม

ก. พี่เป็นคนภาคใต้

ข. เขามาอย่างรวดเร็ว

ค. มยุราเดินบนถนนสายนี้

ง. ภูเขาสูงแค่ไหนก็ยังวัดได้

๓. ข้อความต่อไปนี้ข้อใดไม่มีคำนามปรากฏอยู่เลย

ก. หมาวิ่งไล่แมว

ข. ฉันยังจำเธอได้

ค. นกตัวนี้เกาะบนกิ่งไม้

ง. การกระทำเป็นเครื่องจ่อเจตนา

๔. ประโยคต่อไปนี้ประโยคใดมีคำนามมากที่สุด

ก. คนเดินบนถนน

ข. ฟ้ามืดท่าทางฝนจะตก

ค. เดือนดาวกำลังจะลับจากฟ้า

ง. สายันต์ไม่เคยลืมสัญญาของเขาเลย

๕. ข้อความในข้อใดมีคำนามสามัญประกอบอยู่ด้วย

ก. เธอมาตามหาเขา

ข. ความรักทำให้ลุ่มหลง

ค. ถนนลื่นเพราะฝนตก

ง. ใคร ๆ ก็รักคุณทองแดง

๖. ข้อความในข้อใดมีคำนามสามัญประกอบอยู่ด้วย

ก. ท้องฟ้าวันนี้มีแดดอบอุ่น

ข. พวกเราภูมิใจต่อคุณสมชาย

ค. การเดินทำให้เขาแข็งแรงขึ้น

ง. ผิดหวังทีสองที่ไม่เห็นน่ากลัวเลย

๗. ข้อความในข้อใดมีคำนามวิสามัญประกอบอยู่ด้วย

ก. เรามาโรงเรียนทุกวัน

ข. โรงเรียนของเราชื่อฉวางรัชดาภิเษก

ค. มีพื้นที่กว้างขวางมากว่าโรงเรียนอื่น ๆ

ง. เด็กนักเรียนทุกคนต้องใจเรียนเราจึงรักโรงเรียนของเรา

๘. ข้อความในข้อใดมีคำลักษณนามประกอบอยู่ด้วย

ก. วันนี้อากาศดีมาก

ข. ฝนไม่ตกเหมือนวันก่อนๆ

ค. ท้องฟ้าสว่างไสวด้วยแสงตะวันอ่อน ๆ

ง. นาน ๆ ครั้งที่เราจะพบกับบรรยากาศเช่นนี้

๙. ข้อความในข้อใดมีคำลักษณะนามที่ใช้ตามหลังคำกริยา

ก. เราสองคนเดินไปตามทางสายด่วน

ข. แมวสองตัววิ่งหนีสุนัขอย่างไม่คิดชีวิต

ค. หยุดอยู่ตรงนั้นตรงที่ฉันเคยเห็นเธอทุกวัน

ง. คอยจนหลับไป ๒ ตื่นแล้ว เพื่อนก็ยังไม่มา

๑๐. ข้อความในข้อใดมีคำอาการนามประกอบด้วยอยู่ด้วย

ก. การประปานครหลวงสั่งประกาศว่า

ข. พนักงานทุกคนอย่างประท้วง

ค. เพราะถ้าทำเช่นนั้น

ง. ก็จะเป็นความผิดอย่างใหญ่หลวง

๑๑. คำสรรพนามคืออะไร

ก. คำที่ใช้แทนคำนาม

ข. คำที่ใช้เรียกคน สัตว์ สถานที่สิ่งของ

ค. คำที่เป็นชื่อคน สัตว์ สถานที่สิ่งของ

ง. คำที่แสดงการกระทำของคน สัตว์ ว่า ทำอะไร

๑๒. คำที่ขีดเส้นใต้ข้อใดเป็นคำสรรพนาม

ก. พี่เป็นคนภาคใต้

ข. เขามาอย่างรวดเร็ว

ค. มยุราเดินบนถนนสายนี้

ง. ภูเขาสูงแค่ไหนก็ยังวัดได้

๑๓. "เค้าบอกว่าอาทิตย์หน้าจะมาเยี่ยม"

ประโยคนี้มีคำใดเป็นคำสรรพนาม

ก. เค้า

ข. ว่า

ค. จะ

ง. มา

๑๔. ประโยคใดมีคำบุรุษสรรพนามประกอบอยู่ด้วย

ก. หนูเป็นสัตว์สกปรก

ข. หนูบางชนิดนำเชื้อโรคมาสู่คน

ค. คนบางกลุ่มตั้งบริษัทกำจัดหนู

ง. หนูเองก็ไม่ชอบหนูเหมือนกัน

๑๕. ประโยคใดมีคำสรรพนามถามประกอบอยู่ด้วย

ก. พี่กำลังอ่านอะไร

ข. คนอะไรเก่งอย่างนี้

ค. ไหนคนนั้นมานี่หน่อยซิ

ง. อะไรงานแค่นี้ยังทำไม่ได้

๑๖. คำในข้อใดมีคำสรรพนามชี้เฉพาะ

ก. ไหนคนไหนที่สอบได้ที่หนึ่ง

ข. เด็กนี่ซนจังเลยมีท่าทีว่าจะฉลาด

ค. ใครเรียนโรงเรียนฉวางรัชดาภิเษกบ้าง

ง. นี้โรงเรียนฉวางรัชดาภิเษกที่มีเด็กเก่ง ๆ มาก

๑๗. "เรื่องนี้เขาไม่ได้บอกใครเลย"

คำใดในประโยคนี้เป็นคำสรรพนามไม่ชี้เฉพาะ

ก. นี้

ข. เขา

ค. ไม่ได้

ง. ใคร

๑๘. คำในข้อใดมีคำสรรพนามแยกฝ่าย

ก. กันมาหาแกด้วยความคิดถึง

ข. ตำรวจต้องกันตัวเขาออกเป็นพยาน

ค. นักเรียนทุกคนช่วยกันทำความสะอาด

ง. เราทุกคนต้องป้องกันตัวเองไม่ให้เกิดโรค

๑๙. คำสรรพนามประเภทใดที่ใช้คำเหมือนกับคำสรรพนามคำถาม

ก. บุรุษสรรพนาม

ข. สรรพนามชี้เฉพาะ

ค. สรรพนามแยกฝ่าย

ง. สรรพนามไม่ชี้เฉพาะ

๒๐. ประโยคใดมีคำสรรพนามมากที่สุด

ก. นี่เป็นโรงเรียนที่ดีที่สุดในอำเภอฉวาง

ข. ใครไม่ได้เรียนโรงเรียนนั่นจะต้องเสียใจ

ค. เพราะฉะนั้นเราต้องพยายามเรียนให้มาก ๆ เข้าไว้

ง. พวกเราต่างก็เป็นนักเรียนโรงเรียนฉวางรัชดาภิเษก

๒๑. คำกริยาคืออะไร

ก. คำที่ใช้แทนคำนาม

ข. คำที่ใช้เรียกคน สัตว์ สถานที่สิ่งของ

ค. คำที่เป็นชื่อคน สัตว์ สถานที่สิ่งของ

ง. คำที่แสดงการกระทำและสภาพความมีความเป็น

๒๒. คำที่ขีดเส้นใต้ข้อใดเป็นคำกริยา

ก. พี่เป็นคนภาคใต้

ข. เขามาอย่างรวดเร็ว

ค. มยุราเดินบนถนนสายนี้

ง. ภูเขาสูงแค่ไหนก็ยังวัดได้

๒๓. "เค้าบอกว่าอาทิตย์หน้าจะมาเยี่ยม"

ประโยคนี้มีคำใดเป็นคำกริยาที่มีหน่วยกรรม

ก. เค้า

ข. บอก

ค. ว่า

ง. มา

๒๔. ประโยคใดมีกริยาที่ไม่มีหน่วยกรรมประกอบอยู่ด้วย

ก. หนูเป็นสัตว์สกปรก

ข. หนูบางชนิดนำเชื้อโรคมาสู่คน

ค. คนบางกลุ่มตั้งบริษัทกำจัดหนู

ง. หนูเองก็ไม่ชอบหนูเหมือนกัน

๒๕. ประโยคใดมีคำกริยาคุณสรรพประกอบอยู่ด้วย

ก. พี่กำลังอ่านอะไร

ข. คนอะไรเก่งอย่างนี้

ค. ไหนคนนั้นมานี่หน่อยซิ

ง. อะไรงานแค่นี้ยังทำไม่ได้

๒๖. คำในข้อใดมีคำกริยาทวิกรรมประกอบอยู่ด้วย

ก. ไหนคนไหนที่สอบได้ที่หนึ่ง

ข. เธอส่งการบ้านให้ครูแล้วหรือยัง

ค. ใครเรียนโรงเรียนฉวางรัชดาภิเษกบ้าง

ง. ผู้ปกครองทุกคนชอบให้ลูกมาเรียนโรงเรียนนี้

๒๗. "เรื่องนี้เขาไม่ได้บอกใครเลย"

ประโยคนี้มีคำใดเป็นคำกริยา

ก. นี้

ข. เขา

ค. ไม่ได้

ง. บอก

๒๘. คำในข้อใดมีคำกริยานำประกอบอยู่ด้วย

ก. กันมาหาแกด้วยความคิดถึง

ข. ตำรวจต้องกันตัวเขาออกเป็นพยาน

ค. นักเรียนทุกคนทำความสะอาดห้องเรียน

ง. เราทุกคนป้องกันตัวเองไม่ให้เกิดโรคร้าย

๒๙. "อารีย์เรียนจบไปแล้ว"

คำใดเป็นคำกริยาตาม

ก. เรียน

ข. จบ

ค. ไป

ง. แล้ว

๓๐. ประโยคใดมีคำกริยาต้องเติมเต็ม

ก. นี่เป็นโรงเรียนที่ดีที่สุดในอำเภอฉวาง

ข. ใครไม่ได้เรียนโรงเรียนนั่นจะต้องเสียใจ

ค. เพราะฉะนั้นเราต้องพยายามเรียนให้มาก ๆ เข้าไว้

ง. พวกเราต่างก็เป็นนักเรียนโรงเรียนฉวางรัชดาภิเษก

๓๑. คำช่วยกริยาคืออะไร

ก. คำที่ใช้นำหน้าคำกริยา

ข. คำที่ใช้ตามหลังคำกริยา

ค. คำที่แสดงความเข้มข้นของคำกริยา

ง. คำที่บอกลักษณะทางไวยากรณ์ของคำกริยา

๓๒. คำช่วยกริยามักจะเกิดในตำแหน่งใดของประโยค

ก. หน้าคำกริยา

ข. หลังคำกริยา

ค. หน้าบทกรรม

ง. หลังบทกรรม

๓๓. "เค้าบอกว่าอาทิตย์หน้าจะมาเยี่ยม"

ประโยคนี้มีคำใดเป็นคำช่วยกริยา

ก. เค้า

ข. บอก

ค. จะ

ง. มา

๓๔. ประโยคใดมีคำช่วยกริยาประกอบอยู่ด้วย

ก. หนูเป็นสัตว์สกปรก

ข. หนูบางชนิดนำเชื้อโรคมาสู่คน

ค. คนบางกลุ่มตั้งบริษัทกำจัดหนู

ง. หนูชอบอยู่ในสถานที่ไม่ค่อยสะอาดนัก

๓๕. ประโยคใดมีคำช่วยกริยาประกอบอยู่ด้วย

ก. พี่กำลังอ่านอะไร

ข. คนอะไรเก่งอย่างนี้

ค. อะไรงานแค่นี้ทำไม่ได้

ง. ไหนคนนั้นมานี่หน่อยซิ

๓๖. คำในข้อใดมีคำช่วยกริยาประกอบอยู่ด้วย

ก. ไหนคนไหนที่สอบได้ที่หนึ่ง

ข. เธอเคยทำความดีอะไรมาบ้าง

ค. ใครเรียนโรงเรียนฉวางรัชดาภิเษกบ้าง

ง. ผู้ปกครองทุกคนชอบให้ลูกมาเรียนโรงเรียนนี้

๓๗. "เรื่องนี้ยังไม่บอกให้ใครรู้"

ประโยคนี้มีคำใดเป็นคำช่วยกริยา

ก. ยัง

ข. ไม่

ค. บอก

ง. รู้

๓๘. คำในข้อใดมีคำช่วยกริยาประกอบอยู่ด้วย

ก. กันมาหาแกด้วยความคิดถึง

ข. ตำรวจกันตัวเขาออกเป็นพยาน

ค. เราทุกคนป้องกันตัวเองจากโรคร้าย

ง. นักเรียนกำลังทำความสะอาดห้องเรียน

๓๙. "เจ้าเก่งถูกนักเรียนรังแก"

คำใดเป็นคำช่วยกริยา

ก. เก่ง

ข. ถูก

ค. นักเรียน

ง. รังแก

๔๐. ประโยคใดมีคำช่วยกริยาประกอบอยู่ด้วย

ก. นี่เป็นโรงเรียนที่ดีที่สุดในอำเภอฉวาง

ข. ใครไม่ได้เรียนโรงเรียนนั่นจะต้องเสียใจ

ค. เพราะฉะนั้นเราต้องพยายามเรียนให้มาก ๆ เข้าไว้

ง. พวกเราต่างก็เป็นนักเรียนโรงเรียนฉวางรัชดาภิเษก

๔๑. คำวิเศษณ์คืออะไร

ก. คำที่ใช้ขยายคำกริยา

ข. คำที่เป็นคำหลักของกริยา

ค. คำที่แสดงความเข้มข้นของคำกริยา

ง. คำที่บอกลักษณะทางไวยากรณ์ของคำกริยา

๔๒. คำวิเศษณ์มักจะเกิดในตำแหน่งใดของประโยค

ก. หน้าคำกริยา

ข. หลังคำกริยา

ค. หน้าบทกรรม

ง. หลังบทกรรม

๔๓. "นกตัวนี้บินสูง"

ประโยคนี้มีคำใดเป็นคำวิเศษณ์

ก. ตัว

ข. นี้

ค. บิน

ง. สูง

๔๔. ประโยคใดมีคำวิเศษณ์ประกอบอยู่ด้วย

ก. หนูเป็นสัตว์สกปรก

ข. หนูบางชนิดนำเชื้อโรคมาสู่คน

ค. คนบางกลุ่มตั้งบริษัทกำจัดหนู

ง. หนูชอบอยู่ในสถานที่ไม่ค่อยสะอาดนัก

๔๕. ประโยคใดมีคำวิเศษณ์สามัญประกอบอยู่ด้วย

ก. พี่กำลังอ่านอะไร

ข. คนอะไรเก่งอย่างนี้

ค. อะไรงานแค่นี้ทำไม่ได้

ง. ไหนคนนั้นมานี่หน่อยซิ

๔๖. คำวิเศษณ์ขยายเฉพาะของคำว่า "แดง" คือคำอะไร

ก. ปี๋

ข. อื๋อ

ค. แจ๋

ง. ปรี๋ด

๔๗. คำวิเศษณ์ในประโยคใดที่แสดงการถาม

ก. ใครจริงใจกับฉันบ้าง

ข. ไม่มีใครจริงใจกับฉันเลย

ค. ใคร ๆ มาแล้วก็ผ่านไปทุกคน

ง. ถึงฉันจะช้ำแค่ไหนก็ไม่บอกใคร

๔๘. คำในข้อใดมีคำวิเศษณ์บอกเวลาประกอบอยู่ด้วย

ก. เมื่อวานผมเจอเธอหน้าโรงเรียน

ข. เราช่วยกันทำการบ้านที่ครูสั่งไว้

ค. เมื่อทำการบ้านเสร็จเราก็ไปกินข้าว

ง. เราจึงสามารถส่งการบ้านตามที่คุณครูสั่งไว้

๔๙. "นักเรียนทุกคนรักเจ้าเก่งมาก ๆ "

คำใดเป็นคำวิเศษณ์

ก. ทุกคน

ข. รัก

ค. เก่ง

ง. มาก ๆ

๕๐. "เขาขยันที่สุด"

ประโยคนี้มีคำวิเศษณ์ประเภทใดประกอบอยู่ด้วย

ก. คำวิเศษณ์สามัญ

ข. คำวิเศษณ์ขยายเฉพาะ

ค. คำวิเศษณ์แสดงคำถาม

ง. คำวิเศษณ์บอกเวลา

๕๑. คำบอกกำหนดคืออะไร

ก. คำที่ใช้ขยายคำนาม

ข. คำที่ใช้ขยายคำกริยา

ค. คำที่ใช้ขยายคำอุทาน

ง. คำที่ใช้ขยายคำวิเศษณ์

๕๒. คำบอกกำหนดมักจะเกิดในตำแหน่งใดในนามวลี

ก. หน้าคำนาม

ข. หลังคำนาม

ค. หน้าบทกริยา

ง. หลังบทกริยา

๕๓. "นกตัวนี้บินสูง"

ประโยคนี้มีคำใดเป็นคำบอกกำหนด

ก. ตัว

ข. นี้

ค. บิน

ง. สูง

๕๔. ประโยคใดมีคำบอกกำหนดประกอบอยู่ด้วย

ก. เราทุกคนรักโรงเรียนนี้มาก

ข. เราต้องทำดีที่สุดเท่าที่เราจะทำได้

ค. นี่โรงเรียนที่ดีที่สุดในอำเภอฉวาง

ง. เพื่อชื่อเสียงของโรงเรียนและตัวเรา

๕๕. ประโยคใดมีคำบอกกำหนดประกอบอยู่ด้วย

ก. พี่กำลังอ่านอะไร

ข. คนอะไรเก่งอย่างนี้

ค. อะไรงานแค่นี้ทำไม่ได้

ง. ไหนคนนั้นมานี่หน่อยซิ

๕๖. คำใดแสดงการบอกกำหนดที่ไกลที่สุด

ก. นี้

ข. นั้น

ค. นู้น

ง. โน่น

๕๗. คำใดที่บอกกำหนดที่ใกล้ที่สุด

ก. นี่

ข. นี้

ค. นั่น

ง. นั้น

๕๘. คำในข้อใดมีคำบอกกำหนดบอกเวลาประกอบอยู่ด้วย

ก. เมื่อวานผมเจอเธอหน้าโรงเรียน

ข. เราช่วยกันทำการบ้านที่ครูสั่งไว้

ค. เมื่อทำการบ้านเสร็จเราก็ไปกินข้าว

ง. เราจึงสามารถส่งการบ้านนี้ตามที่คุณครูสั่งไว้

๕๙. "นักเรียนคนไหนส่งงานทุกชิ้นเขาก็จะไม่ติด ร"

คำใดเป็นคำบอกกำหนด

ก. คน

ข. ไหน

ค. ทุก

ง. ไม่

๖๐. "เด็กโรงเรียนนี้มาจากสถานที่ต่าง ๆ หลายพื้นที่"

คำใดเป็นคำบอกกำหนดไม่ชี้เฉพาะ

ก. นี้

ข. จาก

ค. ที่

ง. ต่าง ๆ

๖๑. คำเกี่ยวกับจำนวนคืออะไร

ก. คำที่ใช้บอกเวลา

ข. คำที่ใช้บอกสถานที่

ค. คำที่ใช้บอกลักษณะ

ง. คำที่ใช้บอกปริมาณ

๖๒. คำเกี่ยวกับจำนวนมักจะเกิดในตำแหน่งใดในนามวลี

ก. หน้าคำนาม

ข. หลังคำนาม

ค. หน้าคำกริยา

ง. หลังคำกริยา

๖๓. "โรงเรียนนี้มีนักเรียนพันกว่าคน"

ประโยคนี้มีคำใดเป็นคำเกี่ยวกับจำนวน

ก. ตัว

ข. นี้

ค. พัน

ง. คน

๖๔. ประโยคใดมีคำเกี่ยวจำนวนประกอบอยู่ด้วย

ก. เราทุกคนรักโรงเรียนนี้มาก

ข. เราต้องทำดีที่สุดเท่าที่เราจะทำได้

ค. นี่โรงเรียนที่ดีที่สุดในอำเภอฉวาง

ง. เพื่อชื่อเสียงของโรงเรียนและตัวเรา

๖๕. ประโยคใดมีคำเกี่ยวกับจำนวนประกอบอยู่ด้วย

ก. เด็กคนนี้เก่งที่สุด

ข. ปกติจะขยันเรียน

ค. รวมทั้งชอบช่วยงานโรงเรียน

ง. เวลาสอบก็มักจะได้ที่หนึ่งเสมอ

๖๖. คำใดแสดงการบอกจำนวน

ก. ห้า

ข. ที่ห้า

ค. ราว

ง. กว่า

๖๗. ประโยคใดมีคำบอกลำดับประกอบอยู่ด้วย

ก. ฉันจะรักเธอเป็นคนสุดท้าย

ข. แม้ว่าเธอจะดีหรือร้าย

ค. ฉันก็หมายรักเธอแน่นอน

ง. ถึงคนจะประณามเหยียดหยามเธอ

๖๘. คำในข้อใดมีคำหน้าจำนวนประกอบอยู่ด้วย

ก. ในโรงเรียนเรามีเพื่อนมากมาย

ข. แต่ละวันมีนักเรียนราว ๆ พันคน

ค. เราได้พบปะกับเขาพูดคุยและเล่นหัวด้วยกัน

ง. เราจึงรักที่ได้มาโรงเรียนและเรียนในโรงเรียนนี้

๖๙. "นักเรียนมากกว่าพันคนจะมาโรงเรียนแต่เช้า"

คำใดเป็นคำหลังจำนวน

ก. มาก

ข. กว่า

ค. พัน

ง. คน

๗๐. "เด็กโรงเรียนนี้มาจากสถานที่ต่าง ๆ หลายพื้นที่"

คำใดเป็นคำเกี่ยวกับจำนวน

ก. นี้

ข. ต่าง ๆ

ค. หลาย

ง. พื้นที่

๗๑. คำบุพบทคืออะไร

ก. คำที่ใช้นำหน้านามวลี

ข. คำที่ใช้ตามหลังนามวลี

ค. คำที่ใช้นำหน้ากริยาวลี

ง. คำที่ใช้ตามหลังกริยาวลี

๗๒. "เธอเป็นเพื่อนของฉัน"

ประโยคนี้มีคำใดเป็นคำบุพบท

ก. เธอ

ข. เพื่อน

ค. ของ

ง. ฉัน

๗๓. "ฉันจะคอยเธอตรงป้ายรถเมล์"

ประโยคนี้มีคำใดเป็นคำบุพบท

ก. จะ

ข. คอย

ค. ตรง

ง. ป้าย

๗๔. "เราอยู่ในห้องเรียน"

ประโยคนี้มีคำใดเป็นคำบุพบท

ก. อยู่

ข. ใน

ค. ห้อง

ง. เรียน

๗๕. ประโยคใดมีคำบุพบทประกอบอยู่ด้วย

ก. เด็กคนนี้เก่งที่สุด

ข. ปกติจะขยันเรียน

ค. รวมทั้งชอบช่วยงานโรงเรียน

ง. เขาจึงเป็นที่รักของครูและเพื่อน ๆ

๗๖. ประโยคใดไม่มีคำบุพบทประกอบอยู่ด้วย

ก. ไม่มีเลยเมื่อนั้นข้าพเจ้ายังไม่เกิด

ข. เจ้ากินหญ้าในทำเลของข้า

ค. ดีฉันยังไม่รู้รสหญ้าเลยจนเดี๋ยวนี้

ง. น้ำนมมารดาของดีฉันเท่านั้นเป็นอาหารและน้ำ

๗๗. ประโยคใดมีคำบุพบทประกอบอยู่ด้วย

ก. โฉมเอยโฉมเฉลาย

ข. เสาวภาคย์แน่งน้อยพิสมัย

ค. เจ้ามาแต่สวรรค์ชั้นใด

ง. นามกรชื่อไรนะเทวี

๗๘. คำในข้อใดมีคำบุพบทประกอบอยู่ด้วย

ก. เทพนมปฐมพรมสี่หน้า

ข. สอดสร้อยมาลาเฉิดฉิน

ค. ทั้งกวางเดินดงหงส์บิน

ง. กินรินเลียบถ้ำอำไพ

๗๙. "นักเรียนมากกว่าพันคนจะมาโรงเรียนแต่เช้า"

คำใดเป็นคำบุพบท

ก. มาก

ข. กว่า

ค. แต่

ง. เช้า

๘๐. "เด็กโรงเรียนนี้มาจากสถานที่ต่าง ๆ หลายพื้นที่"

คำใดเป็นบุพบท

ก. นี้

ข. จาก

ค. หลาย

ง. พื้นที่

๘๑. คำเชื่อมเป็นคำที่ใช้เชื่อมหน่วยใดของประโยค

ก. เชื่อมคำ

ข. เชื่อมวลี

ค. เชื่อมประโยค

ง. เชื่อมได้ทั้ง 3 อย่าง

๘๒. "เธอกับฉันเป็นเพื่อนกัน"

ประโยคนี้มีคำใดเป็นคำเชื่อมสมภาค

ก. เธอ

ข. กับ

ค. กัน

ง. เป็น

๘๓. คำเชื่อมในข้อใดเป็นคำเชื่อมสมภาค

ก. ที่

ข. อีก

ค. อัน

ง. และ

๘๔. ประโยคใดมีคำเชื่อมอนุประโยค

ก. เราอยู่ที่โรงเรียน

ข. โรงเรียนของเราคือโรงเรียนฉวางรัชดาภิเษก

ค. โรงเรียนฉวางรัชดาภิเษกเป็นโรงเรียนที่ดีที่สุด

ง. เขารู้ทั่วกันในอำเภอฉวางและอำเภอใกล้เคียง

๘๕. "ครูสั่งให้นักเรียนทำการบ้าน"

คำใดเป็นคำเชื่อมอนุประโยค

ก. สั่ง

ข. ให้

ค. ทำ

ง. การบ้าน

๘๖. คำใดเป็นคำเชื่อมเสริม

ก. ก็

ข. ว่า

ค. หรือ

ง. อีกประการหนึ่ง

๘๗. ประโยคใดมีคำเชื่อมเสริมประกอบอยู่ด้วย

ก. เรากลัวคุณครูต่อว่า

ข. เพราะครูสั่งการบ้านเมื่อวาน

ค. ป่านนี้แล้วเรายังทำไม่เสร็จ

ง. มาเรารีบทำการบ้านให้เสร็จทันเวลา

๘๘. คำในข้อใดเป็นคำเชื่อมสัมพันธสาร

ก. และ

ข. หรือว่า

ค. เหตุว่า

ง. อีกประการหนึ่ง

๘๙. ประโยคใดมีคำเชื่อมประพันธสารประกอบอยู่ด้วย

ก. เราเป็นอนาคตของโลกกล่าวคือวันหนึ่งเราจะเป็นผู้ใหญ่

ข. เราจะอดทนเรียนหนังสือจนกว่าจะสำเร็จ

ค. ถึงวิชานี้จะยากเราก็ต้องพยายามเรียนให้มาก

ง. เราเป็นนักเรียนแต่ต้องช่วยพ่อแม่ทำการงาน

๙๐. ประโยคใดไม่มีคำเชื่อม

ก. ตอนเช้าฉันมาโรงเรียน

ข. ฉันขึ้นรถที่มาจอดรับหน้าบ้าน

ค. เพื่อนบนรถถามว่าฉันทำการบ้านเสร็จหรือไม่

ง. ฉันเลยนึกขึ้นมาได้ว่าฉันยังไม่ได้ทำการบ้านภาษาอังกฤษเลย

๙๑. คำลงท้ายมี 2 ประเภทคืออะไรบ้าง

ก. คำลงท้ายเชื่อมคำและคำลงท้ายเชื่อมประโยค

ข. คำลงท้ายแสดงอารมณ์และคำลงท้ายบอกเวลา

ค. คำลงท้ายแสดงการพูดและคำลงท้ายแสดงการเขียน

ง. คำลงท้ายแสดงทัศนภาวะและคำลงท้ายแสดงมารยาท

๙๒. ความหมายของคำลงท้ายทั่ว ๆ ไปจะมีลักษณะใด

ก. ไม่มีความหมาย

ข. มีความหมายชัดเจน

ค. มีความหมายแตกต่างจากคำทั่ว ๆ ไป

ง. มีความหมายแต่ไม่เด่นชัดเหมือนคำอื่น ๆ

๙๓. การออกเสียงคำลงท้ายจะแตกต่างจากการเขียนอย่างไร

ก. มีการเปลี่ยนเสียงสระ

ข. มีการเปลี่ยนเสียงพยัญชนะ

ค. มีการเปลี่ยนเสียงวรรณยุกต์

ง. มีการเปลี่ยนเสียงสระและวรรณยุกต์

๙๔. คำลงท้ายในข้อใดแสดงการชักชวน

ก. พรุ่งนี้เธอมาโรงเรียนนะ

ข. เราทำการบ้านเสร็จแล้วล่ะ

ค. รีบ ๆ เข้าเถอะเดี๋ยวไม่ทันเข้าแถว

ง. มาดูซิ เราคิดเลขโจทย์ข้อนี้ได้แล้ว

๙๕. คำลงท้ายในข้อใดแสดงการออดอ้อน

ก. เรียน ๆ เข้าเถอะ โตขึ้นจะได้มีความรู้

ข. เรียน ๆ เข้าน่ะ โตขึ้นจะได้มีความรู้

ค. เรียน ๆ เข้าล่ะ โตขึ้นจะได้มีความรู้

ง. เรียน ๆ เข้าซิ โตขึ้นจะได้มีความรู้

๙๖. คำลงท้ายในข้อใดต้องออกเสียงวรรณยุกต์สูงกว่าปกติ

ก. ผมมาโรงเรียนแล้วครับ

ข. เร็ว ๆ เข้าซิ ฉันรอไม่ไหวแล้ว

ค. เรียนเข้าเถอะน่า ไม่ยากหรอก

ง. กลับมาเรียนเถอะนะ เพื่อน ๆ รออยู่

๙๗. ประโยคใดมีคำลงท้ายแสดงมารยาทประกอบอยู่ด้วย

ก. ขยันเข้าซิ เดี๋ยวเรียนไม่ทันเพื่อน

ข. ขยันเข้านะ เดี๋ยวเรียนไม่ทันเพื่อน

ค. ขยันหน่อยเดี๋ยวเรียนไม่ทันเพื่อนนะ

ง. ขยันหน่อยนะครับ เดี๋ยวเรียนไม่ทันเพื่อน

๙๘. คำลงท้ายในข้อใดเป็นคำลงท้ายแสดงเพศชาย

ก. คุณครูขา หนูขอรบกวนหน่อย

ข. คุณครูครับ ผมขอระกวนหน่อย

ค. คุณครูฮะ หนูขอรบกวนหน่อย

ง. คุณครูจ๋า หนูขอรบกวนหน่อย

๙๙. ประโยคใดมีคำลงท้ายที่แสดงการประชดประกอบอยู่ด้วย

ก. เธอเป็นหญิงหรือชายวะ

ข. เราเป็นคนเหมือนกันนะยะ

ค. อย่าว่าเราะเป็นผู้หญิงนะยะ

ง. เธอเป็นชายแน่หรือเปล่าล่ะ

๑๐๐. ประโยคใดไม่มีคำลงท้าย

ก. ตอนเช้าผมจะไปโรงเรียนนะครับ

ข. อย่าโทรฯ มากวนฉันทำการบ้านย่ะ

ค. คุณครูฮะ ผมไม่เข้าใจการบ้านข้อนี้

ง. เร็ว ๆ รถมาแล้วเดี๋ยวไปโรงเรียนไม่ทัน

๑๐๑. คำปฏิเสธมี 2 ประเภทคืออะไรบ้าง

ก. คำปฏิเสธนามและคำปฏิเสธกริยา

ข. คำปฏิเสธคำและคำปฏิเสธข้อความ

ค. คำปฏิเสธกริยาและคำปฏิเสธข้อความ

ง. คำปฏิเสธประธานและคำปฏิเสธกรรม

๑๐๒. "ช้างสารฤๅห่อนเหี้ยนหดคืน"

ประโยคนี้มีคำใดเป็นคำปฏิเสธ

ก. ฤา

ข. ห่อน

ค. เหี้ยน

ง. คืน

๑๐๓. ข้อใดมีคำปฏิเสธที่อยู่ทั้งหน้าและหลังคำกริยา

ก. เด็กไม่ขยันจะไม่ลำบากในภายหลัง

ข. หามิได้ ความสำเร็จที่มาอย่างไม่มีการต่อสู้

ค. เด็กหารู้ไม่ว่าถ้าขี้เกียจจะลำบากในภายหลัง

ง. การต่อสู้ไม่ได้หมายถึงการหมดความสัมพันธ์อันดีต่อกัน

๑๐๔. ประโยคใดมีคำปฏิเสธกริยาประกอบอยู่ด้วย

ก. เจ็ดวันว่างเว้นดีด ซ้อมดนตรี

ข. อักขระห้าวันหนี เนิ่นช้า

ค. สามวันจากนารี เป็นอื่น

ง. หนึ่งวันเว้นล้างหน้า อับเศร้าศรีหมอง

๑๐๕. คำใดที่ใช้ในการปฏิเสธข้อความ

ก. ไม่

ข. หรือไม่

ค. หามิได้

ง. ใช่หรือไม่

๑๐๖. ข้อใดเป็นลักษณะของคำอุทาน

ก. แสดงการถาม

ข. แสดงมารยาท

ค. แสดงความรู้สึก

ง. แสดงการไม่ยอมรับ

๑๐๗. ในการเขียนคำอุทานมักจะใช้เครื่องหมายอะไรประกอบข้างหลัง

ก. คำถาม

ข. ปรัศนี

ค. อัศเจรีย์

ง. วิสรรชนีย์

๑๐๘. คำอุทานในข้อใดเป็นคำอุทานแสดงความตกใจ

ก. โธ่ ! คุณแม่ครับผมทำดีที่สุดแล้ว

ข. ว้าย ! ข้อสอบชุดนี้ทำไมยากอย่างนี้

ค. เชอะ ! คนอย่างเธอทำได้แค่นี้เองหรือ

ง. โอ้โฮ ! คุณครูขา หนูได้คะแนนมากจังเลย

๑๐๙. ประโยคใดมีคำอุทานที่แสดงความสงสารประกอบอยู่ด้วย

ก. โธ่ ! ทำได้แค่นี้หรือ

ข. ว้าย ! ทำได้แค่นี้หรือ

ค. โอ้โห ! ทำได้แค่นี้หรือ

ง. ทุเรศ ! ทำได้แค่นี้หรือ

๑๑๐. ประโยคใดมีอุทานแสดงความเห็นใจ

ก. โธ่ ! เขาไม่น่าสอบตกเลย

ข. ว้าย ! เขาสอบตกจริงหรือ

ค. ทุเรศ ! เขาสอบตกอีกแล้ว

ง. ตายละหวา ! เขาสอบตกอีกแล้ว


หมายเลขบันทึก: 420237เขียนเมื่อ 14 มกราคม 2011 10:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 ธันวาคม 2014 06:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (48)

ท่านที่เป็นครูอาจารย์ ถ้าต้องการเฉลยโปรดส่ง E-mail มาขอได้ (น.ร.) ห้ามนะจ๊ะ

น.ส ชนาพร เราอิสระการ เลขที่36 ม.5/5

ขอบคุณค่ะ อาจารย์

ที่ได้ให้ ดูแบบทดสอบวิชา ท ๔๒๐๑๑ (หลักภาษาไทย)

เรื่อง การสร้างคำในภาษาไทย

: ) จะทำความเข้าใจและลองทำดูค่ะ

นางสาว ชนาพร เราอิสระการ เลขที่36 ม.5/5

สวัสดีครับ เป็นข้อความที่ดีต่อการเรียนการสอนของนักเรียน

น.ส.เสวลักษณ์ สมบัติ ชั้น ม.3/8 เลขที่ 43

เป็นข้อความที่ให้ความรู้เพิ่มเติมแก่ผู้อ่านทุกคน

นายปฎิพัทธิ์ หะริตา ชั้น ม.3/8 เลขที่ 11

ดีครับ น่าอ่านมากครับ

นายคณิศักดิ์ นนทศักดิ์ ชั้น ม.3/8 เลขที่ 2

สวัสดีครับอาจารย์ เป็นความรู้ที่น่าอ่านมากครับ

อยากรู้เฉลยคะอาจารย์

นางสาวพรนิภา ราชธานี

เลขที่13 ม.5/2

อาจารย์เฉลยคำตอบ ด้วยนะค่ะ

นางสาวเจนจิรา ปัญญาใส ม.5/2 เลขที่ 38

น.ส.มลิตตา ไข่แก้ว เลขที่17 ม.5/3

เข้าไปcopy ข้อสอบแล้วคะ

น.ส.วรรณิศา จันทโกมุท ม.5/2 เลขที่ 34

ถ้ามีเฉลยด้วยก้อดีนะค่ะอาจารย์

ข้อสอบน่าสนใจดีค่ะ

น.ส.ยุวภา  เอี่ยมวงศ์   เลขที่ 39  ม5/2

ข้อสอบมีสาระมาก ถ้ามีเฉลยก็ดีนะ

น.ส. อนงค์นาฎ จะรา  ม.5/3  เลขที่ 24

 

ข้อสอบมีความรู้มาก

น.ส. วรัญญา น่นสกุล เลขที่ 23 ม.5/3

ข้อสอบมีเนื้อหาดีมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ55555+

นายพรีภาส หาญใจ ม.5/2 เลขที่ 24

นาย กำธร สุกรี

ม.5/4 เลขที่ 1

ไม่เฉลยให้ ให้นักเรียนไปหาคำตอบด้วยตนเอง อ่านจากเอกสารความรู้ก็ได้นะหนู

ครูประเสริฐ

อยากรู้เฉลยจัง

นางสาว จิตรานุช งิ้วใหญ่

ม.5/2 เลขที่ 12

น.ส.สกุลรัตน์ บาลจ่าย

ได้ความรู้มากขึ้นค่ะ

น.ส.สกุลรัตน์ บาลจ่าย

เลขที่22ม.5/5

น.ส.สกุลรัตน์ บาลจ่าย

ได้ความรู้มากขึ้นค่ะ

น.ส.สกุลรัตน์ บาลจ่าย

เลขที่22ม.5/5

นายเกรียงไกร จันทร์แดง

ดีมากครับอาจารย์

ทำให้นักเรียนมีความรู้มากขึ้น

นายเกรียงไกร  จันทร์แดง

เลขที่ 33 ชั้นม.5/3

อยากได้เฉลยอะ  สอบตกยุนิ

น.ส.เสาวลักษณ์ งามประดิษฐ์ ม. 5/3 เลขที่ 27

เนื้อหาดี   ข้อสอบน่าคิดน่าทำค่ะอ.  

ชาญณัฐ เกลี้ยงเกลา

ยากนะงับอาจารย์ที่เคารพ

รบกวนขอเฉลยด้วยค่ะ [email protected] ขอบคุณค่ะ

อาจารย์เก่งมาก มีความรู้ให้แล้วยังจะมีแนวข้อสอบเพื่อใช้ทดสอบอีกด้วย ลองทำดูแล้ว ต้องอ่านคำถามหลายๆรอบแล้วคิดตามไปด้วยก็มียากบ้าง แต่ก็เป็นการค้นหาคำตอบที่ถูกจริงๆ

ทีโรงเรียนเด็กอ่านไม่ออกเยอะเป็นเด็กประถมทำอย่างไรดีค่ะ

ขอเทคนิคง่ายๆและช่วยแก้ปัญหาเด็กได้

ขอบคุณค่ะ

วานส่งเฉลยมาที่ [email protected]

ขอบคุณสำหรับข้อสอบนะครับ

เดะจะลองทำดูครับ

นายณัฐกรณ์ พิทักษ์วงศ์ ม.5/2 เลขที่3

ข้อสอบนี้มีเนื้อหาที่น่าสนใจ

ข้อสอนนี้ช่วยผมได้เยาะเลยคับ

ธารินทร์ ตรังรัฎฐพิทย์

เนื้อหานี้ผมชอบที่สุดเลยครับ

สุชาดา ราชฤทธิ์ ม.5/2 เลขที่ 11

ขอสอบนี้ดูเหมือนยากแต่พอทำดูก็พอทำได้ค่ะ

ศิรภัสสร อินทร์คง

รบกวนช่วยส่งเแลยข้อสอบมาที่ อีเมลล์ [email protected] ขอบคุIมากค่ะที่มีข้อสอบดีๆให้ทำ ยากมากเลย ทำแล้วตัดสินใจไม่ถูกว่าจะตอบข้อไหนดี

อัจฉราภรณ์ สงวนแก้ว

หนูเป็นนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคามคะ กำลังะไปฝึกสอน อยากได้เฉลยคะอาจารย์

หนูอยากรู้ว่าทำขึ้นมาเพื่ออะไร

ข้อสอบดีมากเลยคับแต่เสียดายไม่มีเฉลย

 

หนูได้ดู และอ่านแร้วคร๊

นางสาวรัชดาวรรณ เลิศไกร ม.5/3 เลขที่ 15

นาย รชต เหลี่ยมคุณ

ผมอยากได้เฉลย ต้องใช้ตอนนี้คับอาจารย์ช่วยส่งมาให้ผมทาง อีเมลนี้ด้วยนะคับ [email protected] ขอบคุณด้วยนะคับ

หนูกำลังค้นหาข้อมูลเกี่ยวกัลการสร้างคำในภาษาไทยเพื่อทำวิจัย มาเปิดเจอแนวข้ออสอบของท่านเมื่อลองทำดูก็ขออนุญาตนำบางส่วนไปใช้เป็นข้อมูลในการวิจัยด้วยนะค่ะ

ชรินรัตน์ จันทบุตร

อาจารย์ค่ะอยากได้เฉลยส่งให้หน่อยนะค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ขอเฉลยได้ไหมค่ะหนูจะเอาไปฝึกสอนค่ะ

นางอัจฉรา ปินตาวงศ์

รบกวนขอเฉลยด้วยค่ะ  [email protected]  ขอบคุณค่ะ

ดิฉันเป็นครูอยู่โรงเรียนไตรภพวิทยา อ.เมือง จ.ลำปาง ค่ะ

ขอเฉลยด้วยค่ะ [email protected] แนวการสอนใหม่ดีมากค่ะ

ขอเฉลยหน่อยนะคะ [email protected] ขอบคุุณมากเลยคะ

ขอเฉลยด้วยค่ะ เป็นครูเอาไว้สอนเด็กค่ะดีมากค่ะ

ขอเฉลยด้วยคะ จะเอาไว้สอนลูกคะ ขอบพระคุณคะ

ขอเฉลยไปสอนนักเรียนค่ะ

ขวัญตา ราชประดิษฐ

ภาไทยพื้นฐานคำนามและกริยา

ขอเฉลยด้วย เนื้อหาครบถ้วนเลยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท