การนำองค์การ และเทคโนยีการบริหารการศึกษา


การนำองค์การ

               การนำองค์การ  และเทคโนยีการบริหารการศึกษา

(Leading  Organization  and  Educational  Management  Technology)

        องค์การแต่ละองค์การ  จะต้องมีหลักยึดในการนำองค์การให้ไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้   ซึ่งคณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ ชี้แนะไว้ดังต่อไปนี้

1.  กระบวนการนำองค์การ

การนำองค์การ  เป็นการมุ่งเน้นเพื่อปรับปรุงองค์การใน  2  กระบวนการหลัก  คือ  กระบวนการนำองค์การ  และกระบวนการรับผิดชอบสังคม

     1.1 การะบวนการนำองค์การ

     กระบวนการนำองค์การ  ควรมุ่งเน้นการปฏิบัติการของผู้บริหารในเรื่องของ  การกำหนดทิศทางของสถานศึกษา  ให้มีความชัดเจน  เพื่อเป็นกรอบแนวทางที่ชัดเจนในการปฏิบัติงานให้กับบุคลากรในองค์การ  ซึ่งการกำหนดทิศทางขององค์การนี้จะต้องครอบคลุมใน  4  ประเด็น  คือ  การกำหนด 

           (1) วิสัยทัศน์

           (2) เป้าประสงค์

           (3) ผลการดำเนินการที่คาดหวัง

           (4) ค่านิยมขององค์การ

        เมื่อผู้บริหารกำหนดทิศทางของสถานศึกษาชัดเจนแล้ว  หน้าที่แรกของผู้บริหารคือ สื่อสารสร้างความเข้าใจ    โดยผู้บริหารต้องมีส่วนร่วมและสนับสนุนผู้ที่เกี่ยวข้องในการถ่ายทอดทิศทางขององค์การให้แก่บุคลากรในองค์การ  อย่างจริงจัง  เพื่อให้เห็นทิศทางขององค์การ  ให้เข้าใจว่าให้องค์การเป็นอย่างไร  มุ่งไปในทิศทางใด    เพื่อใช้เป็นกรอบหรือแนวทางในการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมาย

         การสื่อสารจะเกิดประสิทธิภาพได้ต้องเป็นการสื่อสารแบบ  2  ทิศทาง  (Two-Way  Communication)  ทั้งจากบนลงล่าง  และจากล่างขึ้นบน   โดยเลือกใช้วิธีถ่ายทอดให้เหมาะสมกับบุคลากรแต่ละกลุ่ม

         องค์การจะบรรลุวิสัยทัศน์ได้  ผู้บริหารขององค์การต้องมีหน้าที่ในการ  กระตุ้นส่งเสริมและสร้างบรรยากาศ  ในการาทำงานที่ดี  ดังนี้

             1) กระจายอำนาจในการตัดสินใจ  ให้กับผู้ปฏิบัติ

             2) ส่งเสริมให้บุคลากรมี  การเรียนรู้และพัฒนาตนเอง

             3) ส่งเสริมให้บุคลากรในองค์การเป็นคนดี 

         ผู้บริหารต้องประพฤติตน  เป็นแบบอย่างที่ดี (Role  Model)  ในการปฏิบัติตามค่านิยมและระบบการกำกับดูแลตนเองที่ดี  โดยมีความรับผิดชอบในการบริหารจัดการแลการควบคุมเรื่องต่างๆ  รวมถึงความรับผิดชอบต่างๆ   ของคณะผู้บริหารในการอนุมัติทิศทางกลยุทธ์ และการตรวจติดตามประเมินผล  การดำเนินการของผู้บริหารสูงสุดขององค์การ  โดยผ่านกลไกการกำกับดูแลตนเองที่ดี  โดยครอบคลุมด้านการปฏิบัติงาน  ด้านการเงิน  การป้องกันและปราบปรามทุจริตและประพฤติมิชอบ  และการปกป้องผลประโยชน์ของประเทศและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย  นอกจากนี้จะต้องมีการตรวจสอบทบทวนผลการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอ  และนำผลไป  จัดลำดับความสำคัญและปรับปรุงการปฏิบัติงานทั่วทั้งองค์การ

     1.2  กระบวนการรับผิดชอบต่อสังคม

การเป็นองค์การที่เป็นเลิศ มิใช่เพียงแค่มีระบบการบริหารจัดการและผลการดำเนินงานที่ดีเพียงอย่างเดียว  แต่องค์การจะต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคม  ทั้งผลกระทบเชิงบวกและเชิงลบ

      ผู้บริหารขององค์การจะต้องส่งเสริมให้บุคลากรในองค์การเป็นทั้งคนเก่งและคนดี  การส่งเสริมให้บุคลากรเป็นคนดีมีจริยธรรมนั้น  คือการกำหนดวิธีปฎิบัติเพื่อให้บุคลากรในองค์การมี  การดำเนินงานอย่างมีจริยธรรม  ความซื่อสัตย์สุจริตประพฤติต่อเพื่อนร่วมงานด้วยความเคารพให้เกียรติซึ่งกันและกัน  รวมถึงการใช้ทรัพยากรขององค์การอย่างมีความรับผิดชอบ  บุคลากรในองค์การต้องมีการดำเนินงานอย่างมีจริยธรรมต่อผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ  ด้วย  ผู้บริหารควรมีการกำหนดกรอบในการตรวจสอบการปฏิบัติตนของบุคลากรในองค์การว่าเป็นไปอย่างถูกต้องเหมาะสมหรือไม่

2.  เทคโนโลยีการบริหารการศึกษา

      เทคโนโลยีเป็นส่วนหนึ่งของการทำงานทุกระดับ  ผู้บริหารจึงต้องเผชิญกับสภาวการณ์ของการทำงานในสิ่งแวดล้อมที่ใช้เทคโนโลยีมากขึ้น

      การบูรณาการเทคโนโลยี  (Integrated  technologies)

      เทคโนโลยีทั้ง  4  ด้าน  มีความสำคัญดังนี้

       1)  เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์  (Computing  Technology)   คอมพิวเตอร์เป็นการผลิตหรือการพัฒนาอุปกรณ์ทางด้านอิเล็กทรอนิกส์  (Electronic  Devices)  ที่สามารถนำมาใช้ควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ  ตามความประสงค์ของผู้ใ ช้ด้วยคำสั่งที่เราสร้างขึ้น  เรียกว่า  Program  และยังทำหน้าที่เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สอน

       2)  เทคโนโลยีฐานข้อมูล  (Data-based  Technology) จะเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลเก็บไว้ในรูปของ  Digital  Code  พัฒนาควบคู่กับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์  เพราะเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์จะมีประโยชน์น้อย  ถ้าไม่มีข้อมูลหรือโปรแกรมที่สามารถเก็บและเรียกใช้ได้อย่างรวดเร็วในปริมาณที่มากเพียงพอกับความต้องการของผู้บริหาร

       3)  เทคโนโลยีการสื่อสาร (Telecommunication Technology)  หรือเทคโนโลยีคมนาคม  เป็นการพัฒนาระบบการสื่อสารตามสาย 

       4)  เทคโนโลยีการศึกษา (Education  Technology)  นำมาใช้กับผู้เรียน  หรือจัดการเรียนการสอน 

      การบูรณาการเทคโนโลยีการบริหารการศึกษา  เป็นการใช้เทคโนโลยีเพื่อเป็นประโยชน์ของการบริหารการศึกษา  ทั้งด้าน  ประสิทธิภาพ  (Efficiency)  ประสิทธิภาพ (Effectiveness)  เพื่อให้ส่งผลสู่คุณภาพ  (Quality) 

                                       ................................

 

                                                อ้างอิง

คณะครุศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,  สพฐ. , กพร. 2553.  การนำองค์การและ

        เทคโนโลยีการบริหารการศึกษา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

 

 

หมายเลขบันทึก: 419915เขียนเมื่อ 12 มกราคม 2011 19:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 เมษายน 2012 22:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท