เผยแพร่ผลงาน


แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ พฤติกรรมของสิ่งมีชีวิต

แผนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 3

รหัสวิชา ว40242                                                 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5                           ภาคเรียนที่  1

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์                     รายวิชาชีววิทยา                                   ปีการศึกษา  2553

แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 3 เรื่องความหมายและกลไกการเกิดพฤติกรรมในสิ่งมีชีวิต                                                                                                                                                          เวลา  1  ชั่วโมง

 

สาระที่  1  สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต

มาตรฐานการเรียนรู้ ว 1.1  เข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต  ความสัมพันธ์ของโครงสร้างและหน้าที่ของระบบต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตที่ทำงานสัมพันธ์กัน  มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้  สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิตของตนเองและดูแลสิ่งมีชีวิต

 

สาระสำคัญ

                   พฤติกรรม (Behavior) คือ กริยาอาการที่แสดงออกหรือปฏิกิริยาโต้ตอบเมื่อเผชิญกับสิ่งเร้า (Stimulus) หรือสถานการณ์ต่างๆ อาการแสดงออกต่าง ๆ เหล่านั้น อาจเป็นการเคลื่อนไหวที่สังเกตได้หรือวัดได้ เช่น การเดิน การพูด การเขียน การคิด การเต้นของหัวใจ เป็นต้น ส่วนสิ่งเร้าที่มากระทบแล้วก่อให้เกิดพฤติกรรมก็อาจจะเป็นสิ่งเร้าภายใน (Internal Stimulus) และสิ่งเร้าภายนอก (External Stimulus)

                  การตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกร่างกายสิ่งมีชีวิตนั้น อาจเกิดขึ้นทันทีทันใดหรืออาจเกิดขึ้นช้า ๆ ทำให้ชีวิตแสดงพฤติกรรม (behavior) ซึ่งเป็นกลไกอย่างหนึ่งในการรักษาดุลยภาพของร่างกาย

 

สาระการเรียนรู้

                   1. ความหมายของพฤติกรรม

                   2. กลไกการเกิดพฤติกรรม

 

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

                  1.  สืบค้นข้อมูล ทดลอง และอธิบายพฤติกรรมของสัตว์บางชนิดในสิ่งแวดล้อม

 

 

 

จุดประสงค์การเรียนรู้

                     1.  บอกความหมายของพฤติกรรมได้

                     2.  อธิบายกลไกการเกิดพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิตได้

                     3.  ยกตัวอย่างพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิตต่างๆ ได้

                  4.  ระบุเป้าหมายในการแสดงพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิตต่างๆ ได้

 

ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

ขั้นที่ 1 ขั้นนำเสนอ

                         1. นำภาพเกี่ยวกับการแสดงออกของสุนัขให้นักเรียนสังเกตและอภิปรายร่วมกัน ดังนี้

-                   เวลาสุนัขกระดิกหาง หมายความว่าอย่างไร

                                -      ท่าทางการขู่กรรโชกของสุนัข  หมายถึงอะไร

                                -      เราทราบได้อย่างไรว่าสุนัขโกรธ  ดีใจ  หิว  หรือกลัว

                         2.  แจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้

                         3.  ทำแบบทดสอบก่อนเรียน  จำนวน  10 ข้อ

ขั้นที่ 2 ขั้นวางแผน

         4. แบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็น 12 กลุ่ม ๆ ละ 3 คน  โดยให้แต่ละกลุ่มเลือกหัวหน้ากลุ่ม   พร้อมทั้งตั้งชื่อกลุ่ม (ใช้กลุ่มเดิม)

         5. นักเรียนศึกษาความรู้เรื่องความหมายและกลไกการเกิดพฤติกรรมในสิ่งมีชีวิต

จากใบความรู้ที่ 2 เรื่อง ความหมายและกลไกการเกิดพฤติกรรมในสิ่งมีชีวิต

   ขั้นที่ 3 ขั้นปฏิบัติ

         6. นักเรียนแต่ละกลุ่มปฏิบัติกิจกรรมตามแบบบันทึกกิจกรรมที่ 3 เรื่องความหมายและกลไกการเกิดพฤติกรรมในสิ่งมีชีวิต

         7. นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันเขียนแผนที่ความคิดเรื่องความหมายและกลไกการเกิดพฤติกรรมในสิ่งมีชีวิต

         8. นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกมานำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน  พร้อมกับนำผลงานไปช่วยกันจัดแสดงบนบอร์ดหน้าห้องเรียน หรือสถานที่ที่เหมาะสม

   ขั้นที่ 4 ขั้นประเมินผล

         9. ทดสอบความรู้ความเข้าใจ เรื่อง ความหมายและกลไกการเกิดพฤติกรรมในสิ่งมีชีวิต โดยให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน จำนวน 10 ข้อ (ชุดเดิมกับก่อนเรียน)

                         10.  ประเมินผลงานการทำกิจกรรมของกลุ่มโดยตรวจให้คะแนนการทำกิจกรรมในแบบบันทึกการทำกิจกรรมที่ 2 เรื่องความหมายและกลไกการเกิดพฤติกรรมในสิ่งมีชีวิต

         11.  ประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้

สื่อการเรียนรู้/แหล่งการเรียนรู้

                   1. สื่อการเรียนรู้

                         1.  ภาพข่าว

                         2.  ใบความรู้ที่ 2 เรื่องความหมายและกลไกการเกิดพฤติกรรมในสิ่งมีชีวิต

                         3.  แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจ เรื่อง ความหมายและกลไกการเกิดพฤติกรรม

ในสิ่งมีชีวิต จำนวน 10 ข้อ

                   2.  แหล่งเรียนรู้

                         1.  ห้องสมุด

                         2.  อินเตอร์เน็ต

 

การวัดและประเมินผล

                   1.  ประเมินความรู้

                   2.  ประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้/คุณลักษณะอันพึงประสงค์

                   3.  ประเมินผลงาน

                   เกณฑ์การวัดและประเมินผล

                   1.  การให้คะแนนแบบทดสอบก่อนเรียน และหลังเรียน

                         1.1  ให้คะแนน  1  คะแนน  สำหรับข้อที่ตอบถูก

                         1.2  ให้คะแนน  0  คะแนน  สำหรับข้อที่ตอบผิด

   2.  ให้คะแนนพฤติกรรมการเรียนรู้

                         2.1 คะแนน   1          คะแนน                  หมายถึง                                ไม่ผ่าน                  

                         2.2 คะแนน   2          คะแนน                  หมายถึง                                ผ่าน       

                         2.3 คะแนน   3          คะแนน                  หมายถึง                                ดี

                         2.4      คะแนน   4          คะแนน                            หมายถึง                                ดีเยี่ยม

                   3.  การให้คะแนนผลงาน/แบบฝึกหัด

                         3.1  ร้อยละ   0-20                 หมายถึง                     ระดับคุณภาพควรปรับปรุง

                         3.2  ร้อยละ   21-50              หมายถึง                     ระดับคุณภาพพอใช้

                         3.4  ร้อยละ  51-80             หมายถึง                     ระดับคุณภาพดี   

                         3.5  ร้อยละ 81-100             หมายถึง                     ระดับคุณภาพดีเยี่ยม

                   เกณฑ์การประเมิน

  1. ได้คะแนนแบบทดสอบหลังเรียน ร้อยละ 60 ขึ้นไป ถือว่า ผ่าน
  2. ได้คะแนนพฤติกรรมการเรียนรู้ในระดับผ่านขึ้นไป  ถือว่าผ่าน
  3. ได้คะแนนผลงาน/ชิ้นงานในระดับดีขึ้นไป  (ร้อยละ 51-100) ถือว่าผ่าน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ข้อเสนอแนะจากผู้บริหารหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย

.............................................................................................................................................................

.............................................................................................................................................................

.............................................................................................................................................................

.............................................................................................................................................................

       

  ลงชื่อ

                                                                                                                    (นายคำก้อน  วงแสนสุข)

                                                                                            ตำแหน่ง  ผู้อำนวยการโรงเรียนสหัสขันธ์ศึกษา

                                                                                                                    ................/.............../..............

บันทึกผลหลังการทำกิจกรรมการเรียนรู้

                   1.  เวลาที่ใช้ในการทำกิจกรรม

                   (  ) ทันตามกำหนดเวลา  (  ) ใช้เวลาน้อยกว่า ............นาที  (  ) ใช้เวลามากกว่า ............นาทีกิจกรรมที่ควรปรับเวลาคือ....................................................................................................................

                   2.  ผลการทำกิจกรรมการเรียนรู้

                         2.1 ด้านความรู้ความเข้าใจ จากการทำแบบทดสอบหลังเรียน นักเรียนมีคะแนนดังนี้

ได้คะแนน 6 - 10 คะแนน (ร้อยละ 60 ขึ้นไป) จำนวน................คน  คิดเป็นร้อยละ...........................

ได้คะแนน 0 – 5 คะแนน (น้อยกว่าร้อยละ 60) จำนวน...............คน  คิดเป็นร้อยละ...........................

สำหรับนักเรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน (ได้คะแนนน้อยกว่าร้อยละ 60) ได้ดำเนินการดังนี้

.............................................................................................................................................................

.............................................................................................................................................................

                         2.2 ด้านผลงาน จากการสร้างสรรค์ผลงานตามกิจกรรมการเรียนรู้ และแบบฝึกหัด

นักเรียนมีคะแนนผลงานดังนี้

ผลงานในระดับดีมาก (ร้อยละ 81-100) จำนวน......................กลุ่ม คิดเป็นร้อยละ.............................

ผลงานในระดับดี        (ร้อยละ 51-80)   จำนวน......................กลุ่ม คิดเป็นร้อยละ..............................

ผลงานในระดับพอใช้ (ร้อยละ 21-50)    จำนวน......................กลุ่ม คิดเป็นร้อยละ..............................

ผลงานในระดับต้องปรับปรุง (ร้อยละ 0-20) จำนวน....................กลุ่ม คิดเป็นร้อยละ.......................

สำหรับนักเรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน (มีผลงานในระดับต้องปรับปรุง) ได้ดำเนินการดังนี้

.............................................................................................................................................................

.............................................................................................................................................................

.............................................................................................................................................................

                         2.3  คุณลักษณะอันพึงประสงค์/พฤติกรรมการเรียนรู้ นักเรียนได้รับการประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ในระดับต่างๆดังนี้

                   ระดับดีเยี่ยม (4 คะแนน)               จำนวน......................คน คิดเป็นร้อยละ............................

                   ระดับดี            (3 คะแนน)             จำนวน......................คน คิดเป็นร้อยละ............................

                   ระดับผ่าน      (2 คะแนน)             จำนวน......................คน คิดเป็นร้อยละ............................

                   ระดับไม่ผ่าน (1 คะแนน)             จำนวน......................คน คิดเป็นร้อยละ............................

สำหรับนักเรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน (พฤติกรรมการเรียนรู้ในระดับไม่ผ่าน) ได้ดำเนินการดังนี้

.............................................................................................................................................................

.............................................................................................................................................................

                         2.4  ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ

.............................................................................................................................................................

.............................................................................................................................................................

.............................................................................................................................................................

.............................................................................................................................................................

.............................................................................................................................................................

.............................................................................................................................................................

.............................................................................................................................................................

.............................................................................................................................................................

.............................................................................................................................................................

.............................................................................................................................................................

.............................................................................................................................................................

.............................................................................................................................................................

.............................................................................................................................................................

.............................................................................................................................................................

.............................................................................................................................................................

 

 

                                                                                                ลงชื่อ

                                                                                                                     (นางนิกร  ชมภูจักร)

                                                                                                ตำแหน่ง          ครูชำนาญการ

                                                                                 ................../..................../.....................

 

แบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน

เรื่อง: ความหมายและกลไกการเกิดพฤติกรรมในสิ่งมีชีวิต

 

คำชี้แจง ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด แล้วทำเครื่องหมาย X ลงในกระดาษคำตอบ

1.อะไรเป็นตัวสำคัญที่ทำให้เกิดพฤติกรรรม

   ก. ระบบกล้ามเนื้อ          ข. ระบบประสาท

   ค. ก และ ข                       ง. ก , ข และ ฮอร์โมน

 

6. การแสดงพฤติกรรมที่ต่างกันอาจขึ้นอยู่กับอะไร

   ก. อายุและ เพศ

   ข. ขนาดของร่างกายและสิ่งแวดล้อม

   ค. ความเจริญเติบโตของกล้ามเนื้อและระบบ 

        ประสาท

   ง. ถูกทุกข้อ

2. "พฤติกรรมที่เกิดขึ้นเป็นแบบง่ายๆ เช่น การเคลื่อนที่แบบไร้ทิศทาง" ข้อความนี้ตรงกับสัตว์ประเภทใด

   ก. โพรทิสต์                    ข. สัตว์ชั้นสูง   

   ค. ซีเลนเทอเรต               ง. ข้อ 1 และ 3

 

7. การแสดงพฤติกรรมเป็นส่วนหนึ่งของกลไกใด

   ก.  สรีรวิทยา        

   ข.  การแสดงความรู้สึก    

   ค.  การเสริมสร้างร่างกาย                      

   ง.  การรักษาดุลยภาพของร่างกาย

3. ข้อใดไม่จัดเป็นอวัยวะรับความรู้สึก

   ก. ตา  ข. จมูก   ค. ผิวหนัง  ง. ปาก

 

8.  กลไกการเกิดพฤติกรรมของสัตว์ขึ้นอยู่กับอะไร

   ก.  สมอง         ข.  ประสาท

   ข.  การสัมผัส      ง.  การมองเห็น

4. พฤติกรรมใดที่แสดงออกเมื่อมีสิ่งเร้ามากระตุ้น

   ก. ความต้องการทางเพศ   ข. นอน 

   ค. วิ่ง                                  ง. กินอาหาร

9.  พฤติกรรมจะสลับซับซ้อนมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับการเจริญเติบโตของอะไร

  ก.  ระบบหายใจ       ข.  ระบบกล้ามเนื้อ         

  ค.  ระบบประสาท   ง.  ระบบโครงกระดูก

5. แรงดึงดูดของโลก จัดเป็นอะไร

   ก. พฤติกรรม      ข.   สิ่งเร้าภายนอก

   ค. สิ่งเร้าภายใน  ง. อวัยวะรับความรู้สึกภายใน

 

10.  การศึกษาพฤติกรรมสัตว์ทำได้กี่วิธี  อะไรบ้าง

  ก.  ชีววิทยา และ พฤติกรรม

  ข.  สรีรวิทยา พฤติกรรม และ การแสดงออก         

  ค.  สรีรวิทยา และ จิตวิทยา

  ง.  จิตวิทยา การสังเกต สรีรวิทยา และการเฝ้าดู

ใบความรู้ ที่ 2

เรื่อง ความหมายและกลไกการเกิดพฤติกรรมในสิ่งมีชีวิต

 

1.  ความหมายของพฤติกรรม

 

                   พฤติกรรม (Behavior) คือ กริยาอาการที่แสดงออกหรือปฏิกิริยาโต้ตอบเมื่อเผชิญกับสิ่งเร้า (Stimulus) หรือสถานการณ์ต่าง ๆ อาการแสดงออกต่าง ๆ เหล่านั้น อาจเป็นการเคลื่อนไหวที่สังเกต

ได้หรือวัดได้ เช่น การเดิน การพูด การเขียน การคิด  การเต้นของหัวใจ เป็นต้น ส่วนสิ่งเร้าที่มากระทบแล้วก่อให้เกิดพฤติกรรมก็อาจจะเป็นสิ่งเร้าภายใน (Internal Stimulus) และสิ่งเร้าภายนอก (External Stimulus) สิ่งเร้าภายใน ได้แก่ สิ่งเร้าที่เกิดจากความต้องการทางกายภาพ เช่น ความหิว ความกระหาย สิ่งเร้าภายในนี้จะมีอิทธิพลสูงสุดในการกระตุ้นเด็กให้แสดงพฤติกรรม และเมื่อเด็กเหล่านี้โตขึ้นในสังคม สิ่งเร้าใจภายในจะลดความสำคัญลง สิ่งเร้าภายนอกทางสังคมที่เด็กได้รับรู้ในสังคมจะมีอิทธิพลมากกว่าในการกำหนดว่าบุคคลควรจะแสดงพฤติกรรมอย่างใดต่อผู้อื่น
สิ่งเร้าภายนอก ได้แก่ สิ่งกระตุ้นต่าง ๆ สิ่งแวดล้อมทางสังคมที่สามารถสัมผัสได้ด้วยประสาท

ทั้ง 5 คือ หู ตา คอ จมูก การสัมผัส

               การศึกษาพฤติกรรมของสัตว์ ทำได้ 2 วิธีคือ
               1. วิธีการทางสรีรวิทยา (Physiological approach)  มีจุดมุ่งหมายเพื่ออธิบาย พฤติกรรมในรูปของกลไกการทำงาน ของระบบประสาท

               2. วิธีการทางจิตวิทยา (Psychological approach) เป็นการศึกษาถึงผลของปัจจัยต่างๆรอบตัวและปัจจัยภายในร่างกายที่มีผลต่อการพัฒนาและการแสดงออกของพฤติกรรมที่มองเห็นได้ชัดเจน

 

2.  กลไกการเกิดพฤติกรรม

 

                   ขณะที่แมววิ่งไล่จับหนูหรือตะครุบจิ้งจกเป็นอาหาร ถ้าพิจารณาถึงกลไกของระบบประสาทที่ทำให้ร่างกายตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมได้รวดเร็ว ก็น่าจะอธิบายได้ว่า แมวรับรู้สิ่งเร้าโดยการได้ยินและการเก็บเหยื่อซึ่งเป็นสิ่งเร้าภายนอก แล้วส่งกระแสประสาทไปยังสมอง จากนั้นสมองจะสั่งการมายังอวัยวะต่างๆ ให้ทำงานหรือแสดงพฤติกรรมออกมา
                  ในการแสดงพฤติกรรมของสัตว์นั้นนอกจากจะถูกกระตุ้นด้วยสิ่งเร้าแล้ว สัตว์จะแสดงพฤติกรรมได้ก็ต่อเมื่อมีเหตุจูงใจ (motivation) ให้แสดงพฤติกรรมนั้นๆ เหตุจูงใจนี้หมายถึงความพร้อมภายในร่างกายของสัตว์ก่อนที่จะแสดงพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ตัวอย่างของเหตุจูงใจนี้เช่น ความหิวโหย ความกระหาย เหตุจูงใจเกิดจากการทำงานร่วมกันของปัจจัยหลายประการ ได้แก่ สุขภาพทั่วไปของสัตว์ ฮอร์โมน ระบบประสาท หรือประสบการณ์ที่สัตว์ได้รับ การที่สัตว์จะแสดงพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งออกมาได้ สัตว์จะต้องมีเหตุจูงใจอยู่ในระดับที่สูงพอสมควรและได้รับสิ่งเร้าหรือตัวกระตุ้นที่สอดคล้องกับเหตุจูงใจนั้นๆ ตัวอย่างเช่น เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดต่ำจะไปกระตุ้นหน่วยรับความรู้สึกในสมอง สัตว์จะเกิดความหิวโหย และสมองจะสั่งคำสั่งไปยังวงจรของกระแสประสาทที่ทำหน้าที่ควบคุมพฤติกรรมการกินอาหารให้พร้อมที่จะทำงาน เมื่อสัตว์ได้รับตัวกระตุ้นที่เหมาะสมคือ อาหาร วงจรกระแสประสาทจะทำให้เกิดพฤติกรรมการกินอาหารออกมาทันที ตัวกระตุ้นที่เหมาะสมกับความพร้อมในร่างกายของสัตว์ และทำให้สัตว์ปลดปล่อยพฤติกรรมออกมาได้นี้ เรียกว่า ตัวกระตุ้นปลดปล่อย (releasing stimulus) ส่วนวงจรกระแสประสาทที่ไวต่อตัวกระตุ้นปลดปล่อยนี้เรียกว่า กลไกการปลดปล่อยพฤติกรรม (releasing mechanism) โดยทั่วไปความสัมพันธ์ระหว่างเหตุจูงใจ และตัวกระตุ้นปลดปล่อยจะเป็นปฏิภาคกลับกัน ถ้าเหตุจูงใจสูงสัตว์จะสามารถแสดงพฤติกรรมออกมาได้ แม้ตัวกระตุ้นปลดปล่อยจะไม่รุนแรง ในทางตรงข้ามถ้าเหตุจูงใจของสัตว์ต่ำ สัตว์จะแสดงพฤติกรรมได้ เมื่อตัวกระตุ้นปลดปล่อยมีความรุนแรงมาก
                  จากตัวอย่างการแสดงพฤติกรรมที่กล่าวมา คงพอจะทำให้เห็นภาพกลไกโครงสร้างของร่างกายที่ควบคุมการเกิดพฤติกรรมได้ดังแผนภาพ

 

 

 

 

 

 

 

ภาพประกอบ 3.1  กลไกการเกิดพฤติกรรมของสัตว์

ที่มา  :  http://www.nana-bio.com/e-learning/Behavior/Learned.htm

 

 

 

 

 

ภาพประกอบ 3.2  แผนภาพแสดงกลไกการเกิดพฤติกรรมและระบบประสาท

 

               สำหรับสิ่งมีชีวิตชั้นต่ำที่ไม่มีระบบประสาทหรือมีระบบประสาทที่ไม่เจริญ จะมีโครงสร้างบางอย่าง เช่น มีเส้นใยประสานงาน และมีหน่วยรับความรู้สึกอยู่ที่ผิวของร่างกายซึ่งไวต่อสิ่งเร้าหลายชนิด เป็นกลไกควบคุมการเกิดพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิตพวกนี้ด้วย
               พฤติกรรมจะสลับซับซ้อนเพียงใดขึ้นกับระดับความเจริญของปัจจัยสำคัญต่างๆ (ในแผนภาพ) อันก่อให้เกิดพฤติกรรมนั้นๆ ปัจจัยดังกล่าวแยกออกได้เป็น

               1.  หน่วยรับความรู้สึก (receptor) คือส่วนของเซลล์ หรือเนื้อเยื่อที่ไวเป็นพิเศษต่อสิ่งเร้าชนิดใดชนิดหนึ่งโดยเฉพาะ และสามารถเปลี่ยนพลังงานที่ได้รับจากการกระตุ้น เช่น แสง ความร้อน ให้เป็นกระแสประสาท แบ่งเป็น หน่วยรับความรู้สึกภายนอกร่างกาย และหน่วยรับความรู้สึกภายในร่างกาย

               2.  ระบบประสาทส่วนกลาง (central nervous system) คือ ศูนย์รวมข้อมูลและออกคำสั่ง ประกอบด้วยกลุ่มเซลล์ประสาท และเส้นใยประสาทจำนวนมากมารวมกัน ซึ่งจะมีความสลับซับซ้อนมากน้อยเพียงใดขึ้นกับชนิดของสัตว์ ในสัตว์มีกระดูกสันหลังจะมีระบบประสาทส่วนกลางที่พัฒนาการดี เช่น สมอง และไขสันหลัง ในโพรโทซัว และฟองน้ำ จะไม่มีระบบประสาทส่วนกลางนี้เลย สิ่งมีชีวิตเหล่านี้จะมีหน่วยรับความรู้สึกที่ไวต่อสิ่งเร้าอยู่ใกล้กับหน่วยปฏิบัติงานมาก จึงแสดงพฤติกรรมได้โดยไม่ต้องผ่านระบบประสาทส่วนกลาง

               3.  หน่วยปฏิบัติงาน (effector) คือ ส่วนของร่างกายที่ใช้ตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่างๆ ในรูปการเคลื่อนไหว ระดับความเจริญของหน่วยปฏิบัติงานในสัตว์มักจะสัมพันธ์กับระดับความเจริญของหน่วยรับความรู้สึกของระบบประสาทส่วนกลาง เช่น ในสัตว์มักจะมีกล้ามเนื้อเป็นหน่วยปฏิบัติงาน

สัตว์แสดงพฤติกรรมมากมายหลายอย่างเพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่แตกต่างกัน การแสดงพฤติกรรมไม่ได้เป็นไปอย่างง่ายๆ ตรงไปตรงมาเท่านั้น บางพฤติกรรมก็ซับซ้อนโดยเฉพาะพฤติกรรมของคนซึ่งยากแก่การจำแนกได้ว่าการแสดงออกนั้นเป็นพฤติกรรมแบบใดแน่ อย่างไรก็ตามนักพฤติกรรมได้พยายามจำแนกพฤติกรรมออกเป็นแบบต่างๆ เพื่อให้ง่ายต่อการศึกษาและทำความเข้าใจ

 

3.  ประเภทของพฤติกรรม : แบ่งออกเป็น 2 แบบคือ

 

                  1. พฤติกรรมที่มีมาแต่กำเนิด (Inherited behavior)   เป็นพฤติกรรมแบบง่ายๆ เป็นลักษณะเฉพาะที่ใช้ในการตอบสนองต่อสิ่งเร้าชนิดใดชนิดหนึ่ง เช่น แสง เสียง แรงโน้มถ่วงของโลก สารเคมี หรือเหตุการณ์ที่เกิดเป็นช่วงเวลาที่สม่ำสมอ เช่น กลางวัน กลางคืน น้ำขึ้นน้ำลง ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงฤดูกาล ตอบสนองต่อการเคลื่อนไหวเพื่อปรับตำแหน่งที่เหมาะสม ความสามารถในการแสดงพฤติกรรมได้มาจากพันธุกรรมเท่านั้น ไม่จำเป็นต้องเรียนรู้มาก่อน มีแบบแผนที่แน่นอนเฉพาะตัว สิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันจะแสดงลักษณะเหมือนกันหมด  มีลักษณะดังนี้

           1. เป็นพฤติกรรมง่ายๆที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าชนิดใดชนิดหนึ่ง
            2. การแสดงพฤติกรรมได้มาจากพันธุกรรมเท่านั้น ไม่จำเป็นต้องเรียนรู้มาก่อน
            3. มีแบบแผนที่แน่นอนเฉพาะตัว สิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันจะแสดงลักษณะเหมือนกัน

หมด

                   2. พฤติกรรมการเรียนรู้ (Learned behavior)  เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นได้โดยอาศัยประสบการณ์หรือการเรียนรู้ของสัตว์ พฤติกรรมแบบส่วนนี้ส่วนใหญ่พบในสัตว์ชั้นสูงที่มีระบบประสาทที่เจริญดี แต่ในสัตว์ชั้นต่ำบางชนิดก็สามารถแสดงพฤติกรรมประเภทนี้ได้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

กิจกรรมที่ 2 ความหมายของพฤติกรรม

 

1.    ให้นักเรียนจัดทำ Mind Mapping เกี่ยวกับ ความหมาย  กลไกการเกิดและประเภทของพฤติกรรม 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

2.  ให้นักเรียนลงความเห็นจากประโยคสถานการณ์ ที่กำหนดให้แล้วเขียนตอบ ว่าอะไรคือสิ่งเร้าและอะไร คือพฤติกรรมที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้านั้นในตาราง

สถานการณ์

สิ่งเร้า

พฤติกรรมที่ตอบสนอง

1.  สุนัขน้ำลายไหลเมื่อเห็นไก่ย่างบนโต๊ะ

   

2.  กิ้งกือม้วนตัวเป็นวงกลมเมื่อคนเอาไม้

     เขี่ยตัวมัน

   

3.  กบจำศีลอยู่ใต้ดินในหน้าแล้ง

   

4.  ลูกนกส่งเสียงร้องและอ้าปากกว้างเมื่อแม่

     นกบินกลับรังพร้อมอาหาร

หมายเลขบันทึก: 419055เขียนเมื่อ 8 มกราคม 2011 17:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 19:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ละเอียดมากครับ แต่เด็กผมถึงชั้น ม.๓ ครับ

นางเครือวัลย์ บุญกว้าง

ชื่อเรื่อง การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอน วิชาสุขศึกษา เรื่องสร้างเสริมสุขภาพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา โดยใช้บทเรียนมัลติมีเดีย ผู้รายงาน นางเครือวัลย์ บุญกว้าง ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะชำนาญการ โรงเรียนเทศบาลนาเชือก สังกัดกองการศึกษา เทศบาลตำบลนาเชือก อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม กรมส่งเสริมการปกครอง ท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย ปีที่พิมพ์ 2554 บทคัดย่อ การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอน วิชาสุขศึกษา เรื่องสร้างเสริมสุขภาพ ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา โดยใช้บทเรียนมัลติมีเดีย โดยมุ่งให้ผู้เรียนได้ศึกษาเรียนรู้ในการดูแลสุขภาพ ให้เกิดความรู้ความเข้าใจ ห่างไกลจากโรคระบาดในชุมชน สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน ดังนั้น การศึกษาครั้งนี้มีความมุ่งหมายของการศึกษา 1) เพื่อพัฒนาบทเรียนมัลติมีเดีย เรื่อง สร้างเสริมสุขภาพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนมัลติมีเดีย 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนมัลติมีเดีย กลุ่มเป้าหมายได้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 27 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ รายวิชาสุขศึกษา จำนวน 12 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อน - หลังเรียน จำนวน 30 ข้อ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ระหว่างบทเรียน ๆ ละ 8 ข้อ รวม 48 ข้อ แบบประเมินความพึงพอใจ และบทเรียนมัลติมีเดีย จำนวน 6 เรื่อง ได้แก่ เรื่อง สิ่งแวดล้อม สุขบัญญัติแห่งชาติ การป้องกันโรค กินเพื่อสุขภาพ การควบคุมอารมณ์ และกิจกรรมคลายเครียด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการศึกษาค้นคว้าปรากฏผลดังนี้ 1. บทเรียนมัลติมีเดีย เรื่อง สร้างเสริมสุขภาพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา โรงเรียนเทศบาลนาเชือก มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 88.12/83.09 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่คาดหวังไว้ คือ ตามเกณฑ์ 80/80 2. ดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนมัลติมีเดีย เรื่อง สร้างเสริมสุขภาพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา โรงเรียนเทศบาลนาเชือก ปรากฏว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนเฉลี่ย 53.95 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนเฉลี่ย 83.09 มีค่าเท่ากับ 0.6327 แสดงว่าผู้เรียนมีความรู้หรือพัฒนาการ ในการเรียนรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 63.27 3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนมัลติมีเดีย เรื่อง สร้างเสริมสุขภาพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา โรงเรียนเทศบาลนาเชือก พบว่านักเรียนมีระดับความพึงพอใจต่อการเรียน ด้วยบทเรียนมัลติมีเดีย 4.37 S.D. 0.62 อยู่ในระดับเหมาะสมมาก โดยสรุปการพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอน รายวิชาสุขศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง สร้างเสริมสุขภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา โรงเรียนเทศบาลนาเชือก โดยใช้บทเรียนมัลติมีเดีย มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเหมาะสม นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในระดับที่สูงขึ้น มีความสุขในการศึกษาเรียนรู้และมีความพึงพอใจในการเรียนในระดับมาก นักเรียนตั้งใจในการเรียนอย่างจริงจัง บทเรียนมัลติมีเดียดังกล่าว สามารถนำไปใช้พัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี รวมทั้งสอดคล้องและสนองแนวนโยบายปฏิรูปการเรียนรู้ของกระทรวงศึกษาธิการ

เยี่ยมๆๆครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท