ภาษาอังกฤษและความหมายที่ควรรู้ในงานรังสีวิทยาหลอดเลือด ตอนที่ 2


word in Angiography

ภาษาอังกฤษและความหมายที่ควรรู้ในงานรังสีวิทยาหลอดเลือด ตอนที่ 2

Common meaning of word in Angiography world : part II

                                                                                                           

สมจิตร จอมแก้ว  อนุ.รังสีเทคนิค
เอนก สุวรรณบัณฑิต วท.บ.รังสีเทคนิค
วิชุดา สิริเมธาธโนปกรณ์ วท.บ.รังสีเทคนิค

ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตรศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

 

สมจิตร จอมแก้ว, เอนก สุวรรณบัณฑิต, วิชุดา สิริเมธาธโนปกรณ์.ภาษาอังกฤษและความหมายที่ควรรู้ในงานรังสีวิทยาหลอดเลือด ตอนที่ 2. วารสารชมรมรังสีเทคนิคและพยาบาลเฉพาะทางรังสีวิทยาหลอดเลือดและรังสีร่วมรักษาไทย, 2552; 3(2) : 144-50

 

ภาษาที่ใช้กันบ่อยของงานรังสีวิทยาหลอดเลือดและรังสีร่วมรักษานั้นเป็นการใช้ในเชิงทับศัพท์และมักทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนในเชิงความหมายแท้ของคำนั้น การประมวลศัพท์จึงเป็นสิ่งที่ได้รับการกล่าวถึงว่ามีความสำคัญและจำเป็น ซึ่งควรนำเสนอไว้เพื่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกันในในเชิงไวยากรณ์ รากศัพท์ เบื้องหลังที่มาของคำและการประยุกต์ใช้ต่อไป ทั้งในด้านภาษาศาสตร์และภาษาเทคนิค ผู้ค้นคว้าจึงรวบรวมศัพท์และนำเสนอเป็นตอนย่อย ในครั้นแรกจะแยกเป็น 2 ตอน แต่พบว่ามีศัพท์หลายคำที่ต้องต่อยอดดังนั้นจึงจะขยายความไปเรื่อยๆ สำหรับตอนที่ 2 นี้จะรวบรวมเฉพาะศัพท์พื้นฐานเบื้องต้น 4 คำ ได้แก่

  1. puncture
  2. catheter
  3. balloon catheter
  4. embolization

 

Puncture ไม่สามารถสืบค้นที่มาของรากศัพท์ได้ โดยคำนี้สามารถอ่านออกเสียงว่า   p (k)-ch r  ซึ่งทำหน้าที่เป็นได้ทั้งนามและกริยา โดยเมื่อเป็นนามจะมี 2 ความหมายหลัก คือ

  1. การทำการเจาะรู
  2. รูเจาะ แผล หรือรูทะลุจากการเจาะรู

และเมื่อทำหน้าที่เป็นคำกริยา จะมีความหมายถึงการเจาะรูโดยใช้อุปกรณ์หรือเข็มเจาะผ่านผิวหนัง ซึ่งในทางรังสีร่วมรักษานั้นจะใช้ seldinger technique เป็นพื้นฐาน โดยเป็นเทคนิคที่ได้นำเสนอโดย Dr.Sven-Ivar Seldinger รังสีแพทย์ชาวสวีเดน ในปี 1953 ซึ่งได้นำเสนอเป็น 6 ขั้นตอน ดังภาพ

  

Catheter มาจากรากศัพท์ภาษาซีเรีย คือ katheter ซึ่งแปลงรูปมาจากคำว่า kathiemai แปลว่า เข้าไปนั่งอยู่ (to sit) โดยสามารถอ่านออกเสียงได้ 2 แบบ คือ  

kath- t- r หรือ kath-t r ก็ได้
คำนี้เป็นคำนาม หมายถึง หลอดยาว (tubular medical device) ซึ่งสอดใส่เข้าไปในร่อง หลอดเลือด หรือช่องว่างใดๆ ของร่างกายเพื่อการวินิจฉัยหรือรักษา โดยยอมให้มีการฉีดสารเข้าไปได้ (permit injection)  หรือดูดเอาสารน้ำออกมา(permit withdrawal of fluids) หรือเพื่อเปิดไว้ให้เป็นรู (keep a passage open) โดยในภาษาไทยจะเรียกเป็นสายสวน ซึ่งมีหลากหลายชนิดตามแต่วัตถุประสงค์ อย่างไรก็ตามสายสวนนี้มักจะทำด้วยโพลิเมอร์ซึ่งมีความบาง และนุ่ม ยืดหยุ่นได้ โดยในสมัยซีเรียโบราณ สายสวนทำจากลำของไม้จำพวกต้นอ้อ ต่อมาชาวกรีกได้ทำสายสวนนี้จากโลหะ เพื่อใช้สอดใส่เพื่อสวนปัสสาวะ และเป็นการใช้งานหลักทางการแพทย์ สำหรับสายสวนหลอดเลือดนั้นเป็นการพัฒนาขึ้นหลังเกิด seldinger technique แล้ว โดยพัฒนาอย่างมากในช่วงปี 1970

Balloon catheter หมายถึง สายสวนหลอดเลือดที่มี 2 lumen และมีลูกโป่งที่ปลายซึ่งสามารถขยายออกได้ ซึ่งใช้เพื่อวัดความดันของเลือดในหลอดเลือดนั้น หรือเพื่อขยายเพื่อปิดทางผ่านของเลือดบางส่วน หรือเพื่อขยายทางผ่านของหลอดเลือดให้กว้างขึ้น (angioplasty)  โดย balloon catheter จะเป็นสายสวนหลอดเลือดที่นุ่ม และบอลลูนนั้นสามารถโป่งและหุบได้หลายครั้ง อย่างไรก็ตามคำนี้ก็ยังมีใช้กับสายสวนสำหรับหัตถการ tuboplasty สำหรับ uterine catheterization ด้วยเช่นเดียวกัน

Embolization หรือ Embolisation อ่านออกเสียงว่า em-b -l - z -sh n หมายถึงกระบวนการที่หลอดเลือดหรืออวัยวะเกิดการอุดตันด้วยกลุ่มของมวลวัตถุ (lodgment of a material mass) กระบวนการทางรังสีร่วมรักษานี้เป็นกระบวนการที่ไม่ต้องผ่าตัด มีความรุนแรงเจ็บปวดน้อย โดยทำการสอดใส่สายสวนหลอดเลือดไปยังหลอดเลือดที่ต้องการ (selective) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการอุดหลอดเลือดนั้นด้วยวัตถุอุดหลอดเลือด การอุดหลอดเลือดมีความหลากหลายของชนิดไปตามอาการที่เกิดกับอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดภาวะดังต่อไปนี้

1. ภาวะเลือดออก (hemorrhage) ซึ่งเกิดจากภาวะโรค ต่างๆ เช่น

1.1.    AVMs

1.2.    Cerebral aneurysm

1.3.    Gastrointestinal bleeding

1.4.    Epistaxis

 

2. ภาวะการเติบโต (growth) เพื่อชะลอหรือหยุดเลือดที่ไปเลี้ยงก้อนเนื้องอกเพื่อลดขนาดของก้อนเนื้องอกนั้น

2.1.  Liver lesions, โดยทั่วไปจะเป็นเนื้องอกกลุ่ม hepatocellular carcinoma (HCC) โดยทำผ่านหัตถการ transcatheter arterial chemoembolization (TACE).

2.2.    Kidney lesions

2.3.    Uterine fibroids

 

3. อื่นๆ เช่นการอุด portal vein กระบวนการอุดหลอดเลือดจะทำผ่านการสอดใส่สายสวนหลอดเลือดร่วมกับขดลวดนำไปยังอวัยวะที่ต้องการ ซึ่งขึ้นอยู่กับความยากและเวลาที่ใช้ในการใส่สายสวนหลอดเลือด การเลือกตำแหน่งของหลอดเลือดแดงหรือดำที่ไปเลี้ยงรอยพยาธิโรคนั้นอย่างถูกต้องโดยการนำทางของเครื่องเอกซเรย์หลอดเลือดที่สามารถให้ภาพที่มีคุณภาพดีและมีความคมชัดในการแสดงภาพของสายสวนหลอดเลือดและขดลวดนำ รวมไปถึงรูปร่างของอวัยวะในตำแหน่งข้างเคียงต่างๆ เมื่อต้องให้การรักษา สารอุดหลอดเลือดที่ได้คิดค้นขึ้นจะถูกใช้เพื่อการอุดเลือด สารอุดหลอดเลือดที่ใช้กันประจำได้แก่

  • Coils: GDC Coil or Hydrocoil โดยทั่วไปผลิตจาก platinum oหรือ stainless steel ซึ่งจะช่วยเหนี่ยวนำให้เกิด clot
  • Particles หรือที่รู้จักกันในชื่อ Ivalon โดยทั่วไปเป็นสารกลุ่ม polyvinyl alcohol มีขนาด 50-1200 um โดยอนุภาคเล็กๆ นี้จะเร่งให้เกิดปฏิกิริยาการอักเสบ(inflam
    matory reaction)ซึ่งจะทำให้เม็ดเลือดและเกร็ดเลือดมาออตัวกันและอุดหลอดเลือดไปด้วย
  • Foam หรือ spongospan เป็นสารอุดหลอดเลือดชนิดชั่วคราว โดยมีอายุประมาณ 5 สัปดาห์ เนื่องด้วยมีคุณสมบัติเป็น water insoluble gelatin คือไม่ละลายน้ำดังนั้นจึงไหลไปตามแรงดันสู่หลอดเลือดขนาดเล็กๆ ที่ปลายทางและอุดหลอดเลือดนั้นได้
  • Plug
  • liquid embolic agents ซึ่งใช้ในการอุดหลอดเลือดในโรค AVM เช่น NBCA หรือชื่อเต็ม n-butyle-2-cyanoacrylate ซึ่งทำให้จะทำลายผนังหลอดเลือด
  • ethiodol ซึ่งทำจาก iodine และ poppyseed oil ซึ่งมีความหนืดสูง ใช้ในหัตถการ  chemembo
    lizations โดยเฉพาะใน HCC ซึ่งมีลักษณะในการดูดซึมไอโอดีน แต่ ethiodol มีค่าครึ่งชีวิตเพียง 5 วันเท่านั้น จึงเป็นสารอุดหลอดเลือดชนิดชั่วคราว
  • สารทำลายหลอดเลือดกลุ่ม sclerosing agents ซึ่งจะทำลายผนังของหลอดเลือดที่ผิดปกติ เช่น ethanol และ bleomycin  

บรรณานุกรม

  1. http://en.wikipedia.org
  2. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/mplusdictionary.html
  3. http://www.ehealthmd.com/library/angioplasty/AGO_types.html
  4. http://www.merit.com/PDFs/IMPRESS400741001-B.pdf
  5. www.thaivir.org
  6. www.thefreedictionary.com
  7. http://inventors.about.com 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #angio#word
หมายเลขบันทึก: 418864เขียนเมื่อ 7 มกราคม 2011 17:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 17:59 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท