การประยุกต์ใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหาร


การประยุกต์ใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหาร

                    การประยุกต์ใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหาร

        หลักธรรมาภิบาล  เป็นหลักการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี  เราสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับหน่วยงานต่างๆ  ได้เป็นอย่างดี  ซึ่งสามารถทำการประยุกต์ใช้ในด้านต่างๆ  ได้ดังต่อไปนี้

     1.  ความรับผิดชอบตรวจสอบได้

     ความรับผิดชอบ  คือ  บุคคล  องค์การ  และผู้ทำหน้าที่ในการตัดสินใจ  ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารงานต้องมีภาระความรับผิดชอบต่อสาธารณะเกี่ยวกับการกระทำ  กิจกรรม  หรือการตัดสินใจใดๆ  ซึ่งส่งผลกระทบต่อสาธารณะ  ซึ่งได้แก่  การเปิดเผยข้อมูล  การมีความยุติธรรม  ปฏิบัติต่อทุกคนด้วยความเสมอภาค  และตรวจสอบได้  โปร่งใส  และดำเนินการภายใต้กรอบของกฎหมาย
     2.   ความโปร่งใส

     ความโปร่งใส  เป็นการตัดสินใจและการดำเนินการต่างๆ  อยู่บนกฎระเบียบชัดเจน  การดำเนินงานของรัฐบาลในด้านนโยบายต่างๆ  นั้น  สาธารณะชนสามารถรับทราบ  และมีความมั่นใจได้ว่าการดำเนินงานของรัฐนั้นมาจากความตั้งใจในการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุผลตามเป้าหมายของนโยบาย

     3.  การปราบปรามทุจริตและการประพฤติมิชอบ

      การปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำงานและการทำให้เกิดความโปร่งใส  รวมไปถึงการปฏิรูประบบราชการจะเป็นเครื่องมือในการปราบปรามการฉ้อฉลและเสริมสร้างธรรมาภิบาล

     4. การสร้างความร่วมมือ

      เปิดโอกาสให้ประชาชนหรือผู้ที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจดำเนินนโยบายมีส่วนร่วมในการควบคุมการปฏิบัติงานของสถาบัน  การมีส่วนร่วมในกระบวนการตรวจสอบ เป็นต้น

     5. การมีกฎหมายที่เข้มแข็ง

      ธรรมาภิบาลมีพื้นฐานการาดำเนินการอยู่บนกรอบของกฎหมายโดยไม่เลือกปฏิบัติ  มีการให้ความเสมอภาคเท่าเทียมกัน  และเป็นธรรมกับทุกฝ่าย  มีกฎหมายที่เข้มแข็ง  มีการระบุการลงโทษที่ชัดเจนและมีผลบังคับใช้ได้จะเป็นสิ่งที่ช่วยพัฒนาระบบการปกครองเพื่อป้องกันการลงโทษที่ชัดเจนและมีผลบังคับใช้ได้  จะเป็นสิ่งที่ช่วยพัฒนาระบบการปกครองเพื่อป้องกันการ้ละเมิด  หรือฝืน  การมีระบบกฎหมายที่ดีจะส่งเสริมการปกครองตามหลักนิติธรรม

      6.  การตอบสนองที่ทันการ

      ธรรมาภิบาล  เป็นการให้การตอบสนองที่ทันต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายในเวลาที่ทันการ

      7.  ความเห็นชอบร่วมกัน

      สังคมที่ประกอบด้วยบุคคลที่มีความคิดเห็นแตกต่างกันไป  ธรรมาภิบาลจะทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการประสานความต้องการที่แตกต่างให้บนพื้นฐานของประโยชน์ส่วนรวมและขององค์การเป็นหลัก

      8.  ประสิทธิภาพและประสิทธิผล

       ประสิทธิภาพและประสิทธิผลในหลักธรรมาภิบาล  ต้องมีการใช้ทรัพยากรต่างๆ  ให้เกิดประโยชน์สูงสุด  และเกิดความคุ้มค่ามากที่สุด

      9.  ความเสมอภาคและความเกี่ยวข้อง

      หลักธรรมาภิบาลจะเน้นให้บุคลากรทุกคนในองค์การรู้สึกมีส่วนร่วมหรือรู้สึกเป็นส่วน

หนึ่งกับองค์การ  บุคคลสามารถมีส่วนเกี่ยวข้องในกิจกรรมหลักที่จะช่วยสร้างความเติบโตให้กับหน่วยงาน

              ตัวอย่างขั้นตอนการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาล

                คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้นำเสนอขั้นตอนในการนำหลัก  ธรรมาธิบาลไปประยุกต์ใช้กับการบริหารจัดการกับสถานศึกษาไว้ดังนี้

                ขั้นที่  1  การจัดตั้งกรรมการเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิภาพ เกิดประสิทธิผลและให้เป็นไปตามนโยบายที่กำหนด 

                ขั้นที่  2  กำหนดนโยบายเกี่ยวกับธรรมาภิบาล  การวางกรอบนโยบายของสถานศึกษาต้องกำหนดไว้อย่างเด่นชัด  และมีมาตรการผลักดันให้มีการปฏิบัติตาม

                ขั้นที่  3  กำหนดทิศทาง   นโยบาย  เป้าหมายและยุทธศาสตร์  เพื่อควบคุมและประเมินผลการดำเนินงานให้เป็นไปตามแนวทางที่วางไว้เป็นระยะ

                ขั้นที่  4  การกำกับติดตาม  ประเมินผลการดำเนินงาน  สถานศึกษาต้องสร้างระบบติดตามและประเมินผลขึ้นมาเพื่อกำกับการดำเนินงานตามแผนการทำงาน 

                ขั้นที่  5  การเผยแพร่ผลการดำเนินงาน

                                  ..........................................

                                              อ้างอิง

       คณะครุศาสคร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สพฐ., กพร . (2553). การบริหารจัดการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล.  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

 

หมายเลขบันทึก: 417638เขียนเมื่อ 1 มกราคม 2011 20:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 06:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท