เลี้ยงด้วง เสริมรายได้


ใต้ฟ้าเมืองไทย

 

 

 สมัยเด็ก ๆ เคยจับแมงกว่าง หรือด้วงมะพร้าวที่มีเขาอันสง่างาม แล้ว

เอาด้ายผูกติดกับเขาโง้ง ๆ ของมัน  ให้มันบินเหมือนเครื่องบิน  พอ

เบื่อก็เอามาขวิดกัน เป็นการเล่นที่สนุกสนานและโปรดปรานของเด็ก

ชนบท

 

    

 

ด้วง จัดได้ว่าเป็นศัตรูตัวร้ายของชาวสวนปาล์ม สวนมะพร้าว  เพราะ

จะกัดกินยอดอ่อนของมะพร้าว แต่เหนือฟ้า ยังมีฟ้า  เพราะคนเราก็

จับเอาตัวอ่อนของด้วงมาทำอาหาร  และเนื่องจากรสชาติที่โอชะ

ประกอบกับคุณค่าทางอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายของตัวอ่อน

ด้วง  ตัวอ่อนของด้วงจึงเป็นที่นิยมของนักชิมทั่วไป

  

 

 เนื่องจากตัวด้วงอ่อนในธรรมชาติหาได้ยาก  ในขณะที่ความต้องการ

ของผู้บริโภคมีมากขึ้น  ทำให้ราคาของตัวด้วงอ่อนสูงถึงหลักร้อย

เกษตรกรหลายรายจึงหันมาเพาะเลี้ยงตัวด้วงอ่อนเป็นการค้า

 

 

  การเพาะเลี้ยงตัวด้วงอ่อนไม่ยุ่งยาก  เนื่องจากวัสดุที่ใช้ เป็นวัสดุที่

หาได้ในท้องถิ่น (อันนี้ขึ้นอยู่กับ จะเลี้ยงกะวัสดุชนิดใด เช่น ปาล์ม 

ขุยมะพร้าว ต้นสาคู เป็นต้น ก็จัดเตรียมวัสดุชนิดนั้น ๆ )

เช่น  ถ้าใช้ทางปาล์ม  ก็ใช้ทางปาล์มน้ำมันสด ที่ปอกเปลือกแล้ว นอก

จากนั้น ก็มี   กะละมัง ขนาด เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 40 ซม. สูง

20 ซม. ไม้ไผ่ยาว 70 ซม. 2 ชิ้น/1 กะละมัง   อาหารหมูรุ่น   ฝาปิด

พลาสติกแบบมีช่องระบายอากาศได้   เครื่องบดทางปาล์ม (ถ้าไม่มี

ใช้มีดสับ)

 

 

 วิธีการ คือ ปอกเปลือกทางปาล์ม แล้วบดละเอียด  (หรือสับ ) แล้วเอา

ไปแช่น้ำธรรมดาประมาณ 3 วัน จากนั้นเอาขึ้นผึ่งไว้ให้สะเด็ดน้ำ นำ

ใส่ในกะละมังให้เต็ม ผสมอาหารสุกร 1 ก.ก.  เคล้าให้เข้ากัน   ปล่อย

แม่พันธุ์และพ่อพันธุ์ของด้วงที่หาได้ตามธรรมชาติ ลงใน กะละมังใน

อัตรา 10 ตัว/หนึ่งกะละมัง  ปิดฝาพลาสติกแบบมีช่องระบายอากาศ 

วางซ้อนกะละมังกันเป็นชั้นๆประมาณ 3 ชั้น โดยใช้ไม้ไผ่วางรองรับ

น้ำหนักที่ขอบกะละมัง

 

 


 ปล่อยไว้ ประมาณ 10 วัน ด้วงจะวางไข่และฟักเป็นตัวและประมาณ

1 เดือน ก็สามารถคัดเลือกเอาตัวด้วงที่ได้ขนาดไปจำหน่ายได้ใน

ราคา กก.ละ250 บาท

 

 

    ตัวด้วงอ่อนคั่วเกลือ เป็นอาหารยอดนิยมของคนทั่วไป โดยเฉพาะ

ภาคใต้ หารับประทานได้ตามร้านอาหาร  ร้านข้าวต้ม  แต่ราคาค่อน

ข้างแพง  นอกจากนี้อาจนำตัวด้วงอ่อนไปทำเป็นผัดเผ็ด  ผัดขี้เมา

หรือ ผัดกะเพรา  แบบตัวต่ออ่อนก็ได้รสชาติที่อร่อยไม่แพ้กัน

 

    

                                                          

ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิง

จาก

http://www.rakbankerd.com/agriculture/page.php?id=1124&s=tblanimal 

 ขอขอบคุณภาพประกอบจากgoogle

 

คำสำคัญ (Tags): #ใต้ฟ้าเมืองไทย
หมายเลขบันทึก: 417412เขียนเมื่อ 30 ธันวาคม 2010 17:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 กันยายน 2013 21:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ไหนละ แต่งเพลง เกือบดีแล้ว.....จะได้รางวัลอบู่แล้ว ..ปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ดีกว่า... เออท่าจะจริง..ครับ "มะเดื่อ" อ่านแล้วใช้ภาษาบรรยายดี ลื่นไหลดี แต่แต่งเพลง ขัด ๆ แสดงว่า ความสามารถต่างกัน..

"ดอกรัก" เอาดีแต่งเพลง.....

 

 สวัสดีคุณ Ico48  ขอบคุณที่มาทักทาย

คนเราถนัดกันคนละแบบนะ  ก็ถูกต้องแล้ว  ถ้าถนัดแบบเดียวกันคงลำบาก

เพราะคงมีแต่คนที่อาชีพเดียวกันหมด  ขอบคุณอีกครั้ง

 

ส.ค.ส. 2554

สวัสดีนาย"มะเดื่อ" เพื่อเกษตร

มันเป็นเหตุเป็นผล คนฝักใฝ่

เศรษบกิจพอเพียง ก็ว่าไป

ดูสดใสพอกิน ไม่อับจน

ส.ค.ส. 2554

สวัสดีนาย"มะเดื่อ" เพื่อเกษตร

มันเป็นเหตุเป็นผล คนฝักใฝ่

เศรษบกิจพอเพียง ก็ว่าไป

ดูสดใสพอกิน ไม่อับจน

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท