ศิลปะการประพันธ์ในเรื่องไชยเชษฐ์


การใช้ภาษาอย่างดี มีศิลปะการแต่งที่ยอดเยี่ยมทั้งด้านศิลปะการใช้คำ ศิลปะการใช้โวหารและถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ และภาษานั้นให้ความหมายชัดเจน ทำให้เกิดการโน้มน้าวอารมณ์ผู้อ่านให้คล้องตามไปด้วย กล่าวง่ายๆ คือ เมื่อผู้อ่าน ๆ แล้วทำให้เกิดความรู้สึกซาบซึ้ง ตื่นเต้นดื่มด่ำ

. ศิลปะการประพันธ์

๖.๑ ความงามของคำ 

        ความงามของคำนั้นกวีเลือกใช้คำที่มีความวิจิตรงดงาม มาประกอบกันเพื่อแสดงให้เห็นความงดงามอ่อนโยนของตัวละคร และใช้ภาษาที่มีความเหมาะสม ทำให้กระบวนกลอนไพเราะสละสลวย

                ตัวอย่างเช่น

                          เมื่อนั้น                           พระนารายณ์ธิเบศร์โอรสา 

         อยู่ในสิงหลพารา                              จนชันษาอายุได้เจ็ดปี 

                      รูปร่างละม่อมพร้อมพริ้ง         งามยิ่งเทวาในราศี

       เสวยรมย์สมบัติสวัสดี                         กับพระชนนีโฉยตรู                           

(ไชยเชษฐ์, หน้า ๒๕๒)

       จากคำประพันธ์ข้างต้นจะเห็นได้ว่ามีการคำมาประกอบกันเพื่อพรรณนารูปร่างลักษณะของตัวละคร “พระนารายณ์ธิเบศร์” พระโอรสของนางสุวิญชา ในที่นี้ใช้คำว่า “ละม่อมพร้องพริ้ง” ทำให้เห็นว่าตัวละครมีความงามมาก และยังทำให้เห็นว่าตัวละครยังเป็นเด็กอยู่จึงใช่คำว่า “ละม่อม”

       นอกจากนี้ยังมีการใช้คำที่มีความงามในการพรรณนาตัวละครที่เป็นสตรี ดังตัวอย่าง

                ...วันนี้แลดูแม่สุวิญชา                       พัตราผ่องเหมือนกับเดือนหงาย….

 (ไชยเชษฐ์, หน้า ๒๘๓)

       จากคำประพันธ์ข้างต้นจะเห็นได้ว่ามีการใช้คำที่มีความงามมาประกอบในการพรรณนาความงามของนางสุวิญชา คือคำว่า“พักตรผ่อง” เปรียบกับคำว่า “เดือนหงาย” แสดงให้เห็นว่านางสุวิญชามีใบหน้างามเหมือนกับดวงจันทร์วันเพ็ญ

.๒ เสียงเสนาะ/สัมผัส

        คำสัมผัส สัมผัส คือเสียงคล้องจอง ทำให้เกิดความไพเราะในด้านเสียงในบทละครเรื่องอิเหนามีอยู่หลายด้าน เช่น สัมผัสบังคับ (สัมผัสนอก) สัมผัสไม่บังคับ (สัมผัสใน) ซึ่งอาจจะสัมผัสอักษรหรือสัมผัสสระก็ได้

๖.๒.๑ สัมผัสสระ ในที่นี้ยกตัวอย่างเฉพาะสัมผัสสระในแต่ละวรรค ไม่รวมสัมผัสบังคับของคำประพันธ์ ตัวอย่างเช่น

                          เมื่อนั้น                                  พระไชยเชษฐ์รัศมีศรีใส

                   ครวญคร่ำกำสรดระทดใจ                  อยู่ในแท่นที่ศรีไสยา

(ไชยเชษฐ์, หน้า ๒๔๖)

       จากคำประพันธ์ข้างต้นจะเห็นได้ว่ามีเสียงสัมผัสสระในแต่ละวรรค เช่น “มี-ศรี” “คร่ำ-กำ” “สรด-ทด” “ที่-ศรี) ซึ่งทำให้มีเสียงของคำประพันธ์ที่ไพเราะในเวลาอ่าน

 

๖.๒.๒ สัมผัสอักษร การสัมผัสอักษรภายในวรรคและระหว่างวรรคที่อยู่ใกล้กัน จะช่วยเพื่อความไพเราะด้านเสียงมากยิ่งขึ้น ตัวอย่าง

                  เมื่อนั้น                                  พระไชยเชษฐ์เคืองแค้นแสนศัลย์

        งุ่นง่านดาลเดือดดุดัน                         ขบฟันเกรี้ยวกราดตวาดไป

       เหม่อีขี้ข้าหน้าเป็น                              มาเยาะเย้ยกูเล่นหรือไฉน

       กูขับเมียกูเสียก็เพราะใคร                     พวกมึงหรือมิใช่มายุยง

(ไชยเชษฐ์, หน้า ๒๔๘)

        จากคำประพันธ์ข้างต้นจะเห็นได้ว่ามีสัมผัสอักษรภายในวรรค เช่น “เคือง-แค้น” “งุ่น-ง่าน” “ดาล-เดือด-ดุ-ดัน” “เกรี้ยว-กราด” “ขี้-ข้า” “เยาะ-เย้ย” “ยุ-ยง” ซึ่งช่วยทำให้คำประพันธ์มีเสียงที่ไพเราะในการอ่านมากขึ้น

.๓ ลีลาจังหวะ คือช่วงซ้ำที่มีผลทำให้เสียงอ่อนเนิบ หรือคึกคัก กระชั้นกระชาก กระแทกกระทั้น อ่อนโยนละมุนละไม เช่น

ลีลาจังหวะกระชั้นกระชาก กระแทกกระทั้น

           ว่าเอยว่าแล้ว                                         ฉวยพระขรรค์แก้วเลี้ยวไล่

       ทุดอีจัญไร                                               วิ่งไปไยนา

       ปากกล้าสาหัส                                           กูจะตัดเกศา

       อีเจ้ามายา                                                 ขี้ข้าอาธรรม์

       พระยิ่งโกรธเกรี้ยว                                        ไล่เลี้ยวห้ำหั่น

       กระชิดติดพัน                                              ฟาดฟันวุ่นไป

(ไชยเชษฐ์, หน้า ๒๔๙)

                ลีลาจังหวะอ่อนเนิบ

                     ทอดองค์ลงนอนเหนืออาสน์            กรก่ายพระนลาฏละห้อยหา

  คิดคะนึงถึงโฉมสุวิญชา                                    ให้มีความเมตตาอาลัยนัก

 แต่เจ้าพลัดพรากจากบุรี                                     พี่นี้วิตกเพียงอกหัก

 จากเมียเสียทั้งพระลูกรัก                                    พระทรงศักดิ์รัญจวนครวญคราง

(ไชยเชษฐ์, หน้า ๒๔๖)

 

.๔ เล่นคำ/เล่นเสียง

        การหลากคำ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า คำไวพจน์ ทำให้เกิดความหมายอันไพเราะกินใจ เป็นสิ่งที่สร้างสรรค์อารมณ์ซึ่งอาจเกิดได้ด้วยกลวิธีต่างๆในการแต่งของกวี

ป่า           ดง ดงดอน พงพี พนาดร พนาลี พนาสณฑ์ พนาสัณฑ์ ไพร ไพรพฤกษ์ ไพรวัน ไพรศรี

ไพรสาณฑ์

ผู้หญิง    กัลยา เจ้ายอดเสน่หา โฉมตรู โฉมยง โฉมศรี ทรามวัย นงคราญ นงลักษณ์ นงเยาว์

นฤมล นวลนาง น้องรัก นางโฉมฉาย นางสาวสวรรค์ นางหน้านวล นารี บังอร ลาวัณย์

มิ่งมารศรี เยาวมาลย์ อรไท

เมือง      กรุงไกร กรุงศรี เขตขัณฑ์ ทวารา ธานี บุรี พารา เวียงชัย

ม้า           พาชี อัสดร อาชา อาชาไนย

 

       การเล่นคำ เป็นกลวิธีที่ให้ความไพเราะด้านเสียงอีกวิธีหนึ่ง ช่วยทั้งด้านเสียงและเรื่องความหมายให้ไพเราะจับยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น

                                นางไกลชนนีบิตุรงค์                เจ้าจงเอาใจดูหูใส่

       จะคลอดลูกคลอดเต้าไม่เข้าใจ                           ให้นอนฟืนนอนไฟอย่าใจเบา

(ไชยเชษฐ์, หน้า ๒๔๒)

        จากคำประพันธ์ข้างต้นจะเห็นได้ว่ามีการเล่นคำ คือ “คลอดลูกคลอดเต้า” นอนฟืนนอนไฟ” ซึ่งเป้นการเล่นคำที่ช่วยในการเน้นย้ำความหมาย นอกจากนี้ยังได้เสียงที่เน้นย้ำ มีจังหวะในการอ่าน

 

เล่นคำซ้ำ การใช้คำซ้ำกันในตำแหน่งต่างๆของคำประพันธ์ ช่วยสร้างอารมณ์ความรู้สึกและเน้นย้ำความหมาย ตัวอย่างบทประพันธ์เช่น

          เมื่อนั้น                                                  พระไชยเชษฐ์เมิดเมินเดินเฉย

ไม่ตอบวาจาวิฬาร์เลย                                         มันเยาะเย้ยอดสูก็สู้ทน

ทำสงบเสงี่ยมเจียมตัว                                         ด้วยกลัวอาญาท้าวสิงหล

หยุดหยุดยั้งยั้งระวังตน                                        ปากบ่นภาวนาทุกหายใจ

(ไชยเชษฐ์, หน้า ๒๗๓)

       จากคำประพันธ์ข้างต้นจะเห็นได้ว่ามีการเล่นคำซ้ำในลักษณะคำเดิมซ้ำกันสองคำ นั้นคือคำว่า “หยุดหยุด” “ยั้งยั้ง” ซึ่งทำให้มีความหมายที่เน้นย้ำมากยิ่งขึ้น

 

เล่นคำซ้อน เป็นการนำคำเดี่ยว ๒ คำที่มีความหมายหรือเสียงคล้ายกัน ใกล้เคียงกันมาเข้าคู่กัน โดยตำแหน่งของคำซ้อนอาจอยู่ชิดกันหรือแยกจากกัน เพื่อเล่นคำล้อและย้ำความ เช่น

…อัยกากริ้วโกรธโกรธา                                     ว่าจะฆ่าให้ม้วยเป็นผุยผง

ชมสี่พี่เลี้ยงว่าซื่อตรง                                       ขอองค์ชนนีรอดชีวา

 (ไชยเชษฐ์, หน้า ๒๗๑)

       จากคำประพันธ์ข้างต้นจะเห็นได้ว่ามีการเล่นคำซ้อน คือ “กริ้วโกรธโกรธา” ซึ่งหมายถึงอาการโกรธเหมือนกัน แต่เมื่อนำมารวมกันอยู่ทำให้มีอารมณ์เน้นหนักมากขึ้น แสดงให้เห็นว่าตัวละครมีความโกรธที่มากกว่าปกติ นอกจากนี้ยังมีคำว่า “ซื่อตรง” ซึ่งมีความหมายเหมือนกันช่วยในการเน้นย้ำความหมายมากขึ้น

 

.๕ โวหารภาพพจน์

       การใช้โวหารภาพพจน์ เป็นกลวิธีการนำเสนอเรื่องโดยการพลิกแพลงภาษาที่ใช้พูด หรือเขียนให้แปลกออกไปจากภาษาตามตัวอักษรทำให้ผู้อ่านเกิดภาพในใจ เกิดความประทับใจ เกิดความรู้สึกสะเทือนใจ เป็นการเปรียบเทียบให้เห็นภาพอย่างชัดเจน

๖.๕.๑ อุปมา คือ การเปรียบเทียบว่าสิ่งหนึ่งเหมือนกับสิ่งหนึ่งโดยใช้คำเชื่อมที่มี ความหมายเช่นเดียวกับ คำว่า “เหมือน” เช่น ดุจ ดั่ง ราว ราวกับ เปรียบ ประดุจ เฉก เล่ห์ ปาน ประหนึ่ง เพียง เพี้ยง พ่าง ปูน ฯลฯ ตัวอย่าง เช่น

           เมื่อนั้น                                                  พระไชยเชษฐ์เคืองแค้นแสนสา

ดูดู๋ลิ้นลมเจรจา                                                  ต่อล้อเล่นหน้าคารมดี

อุตส่าห์เร่งขึ้นเสียงเถียงให้อึง                                หัวมึงจะขาดอยู่ที่นี่

พระกริ้วโกรธนักดังอัคคี                                       เหม่อีกาลีมึงเย้ยใคร

(ไชยเชษฐ์, หน้า ๒๔๙)

       จากคำประพันธ์ข้างต้นจะเห็นได้ว่ามีการใช้โวหารภาพพจน์แบบอุปมาในการเปรียบเทียบอารมณ์โกรธของพระไชยเชษฐ์ที่แสดงต่อนางวิฬาร์ ซึ่งเปรียบอารมณ์โกรธมาเหมือนกับไฟทำให้เห็นถึงความโกรธของพระไชยเชษฐ์ได้เป็นอย่างดี

และ

                พระแน่นอนถอนทอดใจใหญ่          คิดใคร่ครวญไปฤทัยหาย

กูขับเมียเสียรู้อีแสนร้าย                                มันอุบายพูดพ้อล่อลวง

พอฉุกจิตคิดกลับสิขับแล้ว                           ดังดวงแก้วตกลงชเลหลวง

น้อยใจเจ็บช้ำระกำทรวง                              มันแกล้งเด็ดเอาดวงชีวิตไป

(ไชยเชษฐ์, หน้า ๒๕๒)

         จากคำประพันธ์ข้างต้นเป็นตอนที่พระไชยเชษฐ์ฉุดคิดขึ้นมาได้หลังจากไล่นางสุวิญชาออกนอนเมืองแล้ว ซึ่งกวีใช้การเปรียบเทียบแบบอุปมาให้เห็นว่าการที่พระไชยเชษฐ์ขับไล่นางสุวิญชาออกนอกเมืองเหมือนกับดวงแก้วต้องตกลงมหาสมุทรยากที่จะได้คืน ทำให้เห็นว่าการตัดสินใจของพระไชยเชษฐ์ในครั้งนั้นเป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาด

และ

…เหตุนี้ดีร้ายพระบิดา                                        ตามมาแล้วลูกจึงนึกได้

แสนสงสารลูกน้อยกลอยใจ                               ชลนัยน์ไหลหลั่งดังธารา

(ไชยเชษฐ์, หน้า ๒๕๓)

          จากคำประพันธ์ข้างต้นเป็นตอนที่นางสุวิญชาได้ฟังพระนารายณ์ธิเบศร์เล่าให้ฟัง นางก็โศกเศร้าเสียใจ นางจึงร้องไห้อาลัย กวีได้ใช้โวหารภาพพจน์แบบอุปมาในการพรรณนาเปรียบเทียบว่านางสุวิญชาร้องไห้น้ำตาไหลเหมือนกับสายน้ำ ซึ่งเป็นการเปรียบที่ทำให้เห็นว่านางมีความเสียใจเป็นอันมาก

และ

…วันนี้แลดูแม่สุวิญชา                                       พักตราผ่องเหมือนกับเดือนหงาย

คราวจะได้สุขสนุกสบาย                                    กระไรไม่ทักทายอีวิฬาร์

(ไชยเชษฐ์, หน้า ๒๘๓)

        จากคำประพันธ์ข้างต้นจะเห็นได้ว่ามีการเปรียบเทียบใบหน้าของนางสุวิญชาว่าเหมือนกับเดือนหงาย ซึ่งแสดงให้เห็นว่านางมีความสุขสบาย เปรียบได้กับว่าเดือนหงายมีแสงสว่างไสวไม่หม่นเศร้าเหมือนเดือนดับ

๖.๕.๒ อุปลักษณ์ เป็นการเปรียบเทียบ สิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่ง อุปลักษณ์จะไม่กล่าวโดยตรงเหมือนอุปมา แต่ใช้วิธีกล่าวเป็นนัย ให้เข้าใจเอาเอง ที่สำคัญ อุปลักษณ์จะไม่มีคำเชื่อมเหมือนอุปมา ตัวอย่าง เช่น

ศรทรงองค์พระกุมาร                                     กลายเป็นมาลาแลไส

ไม่สังหารผลาญชีพชีวาลัย                               พระกุมารโกรธใจเป็นโกลี…           

(ไชยเชษฐ์, หน้า ๒๖๐)

และ

…แม้นลูกน้อยเป็นนางโฉมฉาย                      ให้ศรกลายเป็นทิพย์อาหาร

เสี่ยงแล้วขึ้นศรรอนราญ                              แผลงไปให้ผลาญกุมารา

(ไชยเชษฐ์, หน้า ๒๖๐)

       จากคำประพันธ์ข้างต้นเป็นตอนที่พระนารายณ์ธิเบศร์กับพระไชยเชษฐ์แผลงศรเข้าหากัน ซึ่งกวีได้ใช้โวหารภาพพจน์แบบอุปลักษณ์ในการเปรียบเทียบให้ศรของพระนารายณ์ธิเบศณ์กลายเป็นมาลาเหมือนเป็นการแสดงความเคารพ ส่วนของพระไชยเชษฐ์ก็กลายเป็นอาหารแสดงให้เห็นถึงความรักความเอ็นดูที่ผู้ใหญ่มีต่อเด็ก

 

…ครั้นเห็นพระไชยเชษฐ์เสด็จมา                   กัลยานบนอบแล้วมอบอยู่

สะกิดเพื่อนเตือนพิศพระโฉมตรู                     ต่างดูเห็นจริตผิดทำนอง

บ้างว่าแต่ก่อนร่อนชะไร                               ทรวดทรงดูไหนไม่บกพร่อง

ผิวเนื้อเรื่อเรืองเหลืองเป็นทอง                       เดี๋ยวนี้หมองมัวคล้ำดำไป

(ไชยเชษฐ์, หน้า ๒๗๒)

…พระบิดาจะให้แต่งขันหมากใหม่                          มึงรู้มั่งหรือไม่อีชาติข้า

ดื้อดึงขืนขัดพระอัชฌา                                       จะโกรธขึ้นมาเป็นฟืนไฟ

(ไชยเชษฐ์, หน้า ๒๘๔)

๖.๕.๓ อติพจน์ หรือ อธิพจน์ คือโวหารที่กล่าวเกินความจริง เพื่อเน้นความรู้สึก ทำให้ผู้ฟังเกิดความรู้สึกที่ลึกซึ้ง ภาพพจน์ชนิดนี้นิยมใช้กันมากแม้ในภาษาพูด เพราะเป็นการกล่าวที่ทำให้เห็นภาพได้ง่ายและแสดงความรู้สึกของกวีได้อย่างชัดเจน ตัวอย่าง เช่น

                เมื่อนั้น                                             นางสุวิญชาได้ฟังนั่งร้องไห้

โศกศัลย์รันทดสลดใจ                                         ทรามวัยไม่เป็นสมประดี

ดังหนึ่งจะพินาศขาดจิต                                        สุดสิ้นชีวิตลงกับที่

นางเข้ากอดบาทาพระสามี                                    โศกีครวญคร่ำร่ำไร

(ไชยเชษฐ์, หน้า ๒๒๗)

       จากคำประพันธ์ข้างต้นจะเห็นได้ว่ามีการใช้อติพจน์ เพื่อเน้นอารมณ์ความรู้สึกของผู้อ่าน คือให้เห็นว่านางสุวิญชานั้นร้องไห้เสียใจจนสิ้นสติเหมือนกับขาดจิตและตายเลยทีเดียว ซึ่งเป็นการกล่าวเกินจริง เพื่อให้เห็นถึงความโศกเศร้าเสียใจอย่างที่สุดของตัวละคร

                เขี้ยวงอกออกข้างละสามวา               นัยนาดังแสงสุริย์ศรี

สำแดงแผลงฤทธิ์อสุรี                                      เพียงพื้นปัถพีจะโทรมทรุด

(ไชยเชษฐ์, หน้า ๒๓๘)

และ

        จากคำประพันข้างต้นใช้อติพจน์เพื่อแสดงให้เห็นถึงอิทธิฤทธิ์ของตัวละครที่มาก ถึงขั้นสำแดงฤทธิ์แล้วเหมือนแผ่นดินจะทลาย

และ

                ครั้นเสร็จขึ้นสายธนูศิลป์                   ฟ้าดินกัมปนาทหวาดไหว

ยิงตันรังพลันทันใด                                         เสียงสนั่นลั่นไปในอารัญ

(ไชยเชษฐ์, หน้า ๒๕๕)

        จากคำประพันธ์ข้างต้นจะเห็นว่ามีการใช้อติพจน์เพื่อแสดงความเก่งกล้าสามารถของตัวละครว่าเพีงแค่ขึ้นสายธนูก็สามารถทำให้ท้องฟ้าและแผ่นดินหวั่นไหวไปทั่วได้

และ

…ประหลาดใจเป็นไรหนอหม่อมแม่              เยี่ยมแกลแปรผันแล้วกันแสง

น่าใจหายจนสายพระเนตรแดง                   หรือผงแกล้งแสร้งปลิวมาเข้าตา

(ไชยเชษฐ์, หน้า ๒๗๓)

        จากคำประพันธ์ข้างต้นจะเห็นได้ว่ามีการใช้อติพจน์ในแสดงอารมณ์ของตัวละครนั่น  คือ นางสุวิญชาที่ร้องไห้เสียใจ ซึ่งนางวิฬาร์ได้กล่าวเกินจริงว่าร้องไห้จนสายพระเนตรแดง ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่านางสุวิญชามีความโศกเศร้าเสียใจอย่างมาก       

๖.๕.๔ สัจพจน์ หมายถึงภาพพจน์ที่เลียนเสียงธรรมชาติ เช่น เสียงดนตรี เสียงสัตว์ เสียงคลื่น เสียงลม เสียงฝนตก เสียงน้ำไหล ฯลฯ การใช้ภาพพจน์ประเภทนี้จะทำให้เหมือนได้ยินเสียงนั้นจริง ๆ ตัวอย่างเช่น

                         เมื่อนั้น                                  พระนารายณ์ธิเบศร์ก็หมองศรี

                ทูลอัยกาพลางทางโศกี                       จงปรานีพ่อข้าอย่าขู่นัก

                พรั่นตัวกลัวตาจะถ่องเล่น                     หัวอกเต้นทึกทึกตึกตัก

                จะพิดทูลถ้อยคำละล่ำละลัก                 แต่ก้มพักตร์โศกาจนตาแดง

(ไชยเชษฐ์, หน้า ๒๗๖)

         จากคำประพันธ์ข้างต้นเป็นตอนที่พระนารายณ์ธิเบศร์เล่าเรื่องต่างๆ ให้ท้าวสิงหลฟังด้วยความกลัว ตื่นเต้น ซึ่งกวีได้ใช้โวหารภาพพจน์แบบสัทพจน์ในการเลียนเสียงการเต้นของหัวใจ “ทึกทึกตึกตัก” ทำให้เห็นภาพลักษณะอาการของตัวละครได้ดีมากขึ้น

 

๖.๕.๕ นามนัย คือการใช้คำหรือวลีซึ่งบ่งลักษณะหรือคุณสมบัติของสิ่งใด สิ่งหนึ่งแทนอีกสิ่งหนึ่ง คล้ายๆสัญลักษณ์ แต่ต่างกันตรงที่ นามนัยนั้นจะดึงเอาลักษณะบางส่วนของสิ่งหนึ่งมากล่าว ให้หมายถึงส่วนทั้งหมด ตัวอย่างเช่น

                      เมื่อนั้น                                  พระไชยเชษฐ์คิดถึงโอรสา

                ลืมพ่อเสียแล้วหรือยังแก้วตา             จนสิ้นแสงสนธยาไม่เยี่ยมดู

(ไชยเชษฐ์, หน้า ๒๗๐)

         จากคำประพันธ์ข้างต้นจะเห็นได้ว่ามีการใช้ภาพพจน์แบบนามนัย ในการสื่อถึงความรักที่พระไชยเชษฐ์มีต่อพระนารายณ์ธิเบศร์ โดยให้ตัวละครที่เป็นพ่อเรียกลูกว่า “แก้วตา”

๖.๕.๖ สัญลักษณ์ เป็นการเรียกชื่อสิ่งๆ หนึ่งโดยใช้คำอื่นมาแทน ไม่เรียกตรงๆ ส่วนใหญ่คำที่นำมาแทนจะเป็นคำที่เกิดจากการเปรียบเทียบและตีความซึ่งใช้กันมานานจนเป็นที่เข้าใจและรู้จักกันโดยทั่วไป

           …แล้วถามว่าโศกาด้วยคิดแค้น                         หรือร้องไห้ด้วยแสนพิสมัย

           เมื่อกระนี้จะคิดประการใด                                ดวงใจแม่มาถึงธานี

                (ไชยเชษฐ์, หน้า ๒๗๓)

        จากคำประพันธ์ข้างต้นมีการใช้โวหารภาพพจน์แบบสัญลักษณ์ โดยให้นางสุวิญชาเรียกลูกว่า “ดวงใจแม่” แทนพระนารายณ์ธิเบศร์ ซึ่งแสดงถึงความรักที่แม่มีต่อลูกนั้นมีมาก ลูกเป็นเหมือนกับดวงใจของแม่

๖.๕.๗ ปฏิปุจฉา คือ การใช้โวหารที่เป็นศิลปะของการใช้คำถาม ซึ่งเป็นคำถามที่มิได้หวังคำตอบแต่อย่างใด ตัวอย่างเช่น

                  บัดนั้น                                                    วิฬาร์ฟังว่าน่าหมั่นไส้

           จะออมอดลดละมันทำไม                                  ตายไหนตายไปคงให้ลือ

 (ไชยเชษฐ์, หน้า ๒๓๑)

        จากคำประพันธ์ข้างต้นจะเห็นได้ว่าเป็นการใช้คำถามที่ไม่ต้องการคำตอบนั่นคือ “ตายไหนตายไปให้เขาลือ” ซึ่งแสดงให้เห็นว่าตัวละครพูดขึ้นในทำนองเปรียบเปรย

 

                .๖ สำนวนไทย

                                ในเรื่องไชยเชษฐ์ปรากฏการใช้สำนวนไทยอยู่มาก ในการเปรียบเทียบ เปรียบเปรย และแสดงอารมณ์ของตัวละคร ในการใช้วาจาด่าวาอีกฝ่ายหนึ่งแบบอ้อมๆ ซึ่งทำให้เห็นถึงเอกลักษณ์ของความเป็นไทยได้อีกประการหนึ่ง นอกจากนี้ยังทำให้เกิดความงาม ความไพเราะในการประพันธ์ ตัวอย่างเช่น

                อย่าเอาทองไปถูกระเบื้อง  หมายถึงทองคำเป็นของมีค่าราคาสูง  ไม่สมควรนำทองคำไปเปรียบเทียบกับกระเบื้อง ซึ่งหาค่าไม่ได้เลย ดังนั้นในสังคมชั้นสูงมักเปรียบเทียมสตรีผู้สูงศักดิ์มีค่าเหมือนทองคำอันล้ำค่า ดังนั้นหนุ่มชาวบ้านธรรมดา อยากหมายปองเลยว่าจะเอาตัวไปทัดเทียมกับสาวน้อยผู้สูงศักดิ์  ไม่มีทางที่จะเป็นไปได้ ดังบทที่ว่า

            เมื่อนั้น                                                  สุริยาเคืองเคียดมันเสียดสี

 จึงชี้หน้าว่าอีวิฬารี                                               มึงพาทีเถียงแทนช่วยแค้นเคือง

 กูจะตอบสำนวนไม่ควรคู่                                       เหมือนเอาทองไปถูรู่กระเบื้อง

 ไสหัวมึงไปเสียจากเมือง                                       จะยักเยื้องอย่างไรเขาไม่ฟัง

(ไชยเชษฐ์, หน้า ๒๓๐)

                กิ้งก่าได้ทอง  หมายถึง คนเย่อหยิ่งจองหอง หรือลำพองตน เป็นการพูดติเตียนบุคคลผู้หลงผิดคิดว่าตนดีกว่าคนอื่น หรือคนที่มีฐานะด้อย เมื่อได้ดีแล้วลืมตัว ทำเย่อหยิ่งไม่นึกถึงคนที่เคยทำคุณแก่ตน ดังบทที่ว่า

…มึงทั้งเจ็ดคนอีชาติข้า                                      เห็นกูไปมาก็จองหอง

ทำก่เนื้อแก่ตัวหนังหัวพอง                                เหมือนกิ้งก่าได้ทองผูกคอไว้

(ไชยเชษฐ์, หน้า ๒๔๘)

                ผู้หญิงยิงเรือ ดังบทที่ว่า

…เอออะไรไม่พอที่พอทาง                                มึงช่างชั่วชาติประหลาดเหลือ

ไม่รู้เท่าผู้หญิงยิงเรือ                                           ซานซมงมเชื่อนางเมียงาม

(ไชยเชษฐ์, หน้า ๒๗๔)

                ดับไฟแต่ต้นลม ดังบทที่ว่า

…คำบุราณหลานยังหารู้ไม่                               จะดับไฟหัวลมนั้นยากอยู่


                           

 

หมายเลขบันทึก: 416400เขียนเมื่อ 25 ธันวาคม 2010 14:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 22:42 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณมากคร้าที่ทามหัยเราด้ายส่งรายงานพรุ่งนี้

เย้ !ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆไม่ต้องโคนหักคะแนน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท