เรื่องน่ารู้ Long Term Care


 

ในการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรือง การจัดบริการและสนับสนุนการจัดบริการ โครงการฟันเทียมพระราชทานและการส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อ 20-21 ธค.53 ที่ รามการ์เด้นส์ กรุงเทพฯ ... อ.หมอมนู หรือ นพ.มนู วาทิสุนทร เจ้าพ่อ Long Term Care แห่งกรมอนามัย ค่ะ ... อาจารย์ให้เกียรติมาเล่าสู่กันฟัง ในเรื่องของ Long Term Care สำหรับผู้สูงอายุ น่าสนใจค่ะ ... เรื่องของเรื่องก็คือ

ตอนนี้ จำนวนผู้สูงอายุนับวันจะทวีจำนวนมากขึ้น ของประเทศไทย อัตราการเพิ่มของผู้สูงอายุเป็นสองเท่าเร็วมาก เมื่อก่อน สองเท่าภายใน 30 ปี แต่ตอนนี้ร่นเวลาเหลือ 22 ปี และโลกทางตะวันตก เขามีเวลาเตรียมพร้อมสำหรับผู้สูงอายุ แต่ประเทศแถบเอเชีย ไม่มีเวลา เทียบได้ว่า ประเทศเรายังไม่ทันจะรวยเลย แก่เสียก่อนแล้ว จึงเป็นปัญหามาก

คำว่า "Ageing" หรือ "สูงอายุ" มี 2 ลักษณะ

ประชากรสูงอายุ (Population ageing) หมายถึง มีการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างประชากร เนื่องมาจากภาวะการตายและการเกิดที่ลดลง ตอนนี้การเกิด หญิงไทยมีลูกเฉลี่ย 1.5 คน คนสูงอายุปัจจุบัน 60 ปี มีลูกเฉลี่ยประมาณ 2 คนกว่าๆ คนอายุ 80 ปี ปัจจุบันมีลูกเฉลี่ย 4-5 คน และอนาคต จะลดลงไปเรื่อยๆ

สัดส่วนของประชากรสูงอายุเพิ่มขึ้น 10% ขึ้นไป มีการเพิ่มขึ้นของสัดส่วนผู้สูงอายุกับประชากรวัยทำงาน และอนาคตวัยแรงงานจะลดลง

Individual ageing หมายถึง มีคนสูงอายุ คนอายุยืนจำนวนมาก และมีช่วงเวลาการสูงอายุยาวนาน

สภาวะการเป็นโรคในปัจจุบัน มีการเปลี่ยนแปลงจากโรคติดต่อ กลายเป็นโรคไม่ติดต่อ ซึ่งมีความสัมพันธ์กับสภาวะทุพพลภาพ ปรากฎการณ์ความไม่เป็นธรรมในสังคม ยิ่งมีปัญหา คนจน ด้อยการศึกษา โอกาสที่จะทุพพลภาพ มีมากกว่า ที่สำคัญคือ ปัญหาความดันสูง เบาหวาน และบางคนไม่ได้เป็นโรคเดียว

คำว่า Long Term Care

ตอนนี้อายุ 60-80 ปี ยังช่วยตัวเองได้ แต่พอ 80 ปีขึ้นไป ปัญหาสุขภาพจะมีมากขึ้น ขณะนี้ประชากรไทยกลุ่มที่โตเร็ว คือ กลุ่มอายุ 80 ปีขึ้นไป และถ้าเพิ่มขึ้นมาก ปัญหาที่จะเกิดคือ ช่วยตัวเองไม่ได้ และสมองเสื่อม เท่ากับมีความต้องการดูแลระยะยาว และคนดูแลก็ไม่ค่อยมี ลูกหลานมีน้อยลง ต้องไปทำมาหากิน ผู้หญิงก็จะมีการศึกษามากขึ้น ก็ไม่ค่อยได้อยู่บ้าน ที่จะดูแลพ่อแม่

ปัญหาก็จะเกิดขึ้น คนดูแล Informal care ก็คือ คนดูแลที่เป็นญาติ เพื่อนบ้าน อาสาสมัคร พี่น้อง มีน้อยลง ก็จะเป็น formal care ที่เป็นอาชีพ วิชาชีพ ก็คือ พยาบาล ผู้ช่วยพยาบาล พนักงานบริบาล ผู้รับจ้างก็จะมีมากขึ้น ค่าใช้จ่ายจะสูงขึ้น

เราต้องป้องกันไว้ก่อน

ปัญหาโรคไม่ติดต่อ มีความสำคัญมากขึ้น เกิดจาก อันแรก Life Style Risk Factor ถ้าป้องกันได้ คือ การไม่สูบบุหรี่ การออกกำลังกาย เรื่องอาหาร งดเหล้า กำจัดสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษ ป้องกันภาวะเครียด … เราสามารถป้องกันได้ ในวัยเด็ก หนุ่มสาว เรียกว่า Primary Prevention

เมื่อเกิดขึ้นแล้ว ต้องป้องกันระยะที่สอง (Secondary Prevention) ป้องกันไม่ให้เกิดเบาหวาน ความดัน ไขมันในเลือดสูง อ้วน อุบัติเหตุ หกล้ม

แต่ส่วนใหญ่ โรคแบบนี้เกิดขึ้นแล้ว เราต้องป้องกันระยะที่สาม คือ ป้องกันไม่ให้เกิดภาวะพิการ ทุพพลภาพ หรือสมองเสื่อม stroke มะเร็ง ซึมเศร้า ฆ่าตัวตาย ช่วงนี้ คือ การดูแลระยะยาว

และอีกปัญหาหนึ่ง คือ Social risk factor - ปัจจัยทางสังคม ที่ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพด้วย

เป้าหมายของการดูแลก็คือ เราต้องยืดการดูแลมาถึง 60 ปี ตั้งแต่ไม่มีโรค ถ้าเขามีภาวะพิการ ทุพพลภาพ ก็คือทำอย่างไร จะให้กลับคืนสู่สังคมอย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดี อย่างเหมาะสม

การดูแลมี 3 รูปแบบ

Insurance Model - รัฐบาลให้หลักประกัน เอกชนมีการโฆษณา และรับประกันคุณภาพการดำเนินการ มีค่าใช้จ่าย

Care Delivery Model - รถรับ-ส่งในภาคเอกชน ภาครัฐเยี่ยมบ้าน ดูแลสุขภาพที่บ้าน เยี่ยมโรงเรียน ทำงานอนามัยโรงเรียน

การดูแลต่อเนื่อง (Continuum Care Model) - การดูแลที่ประสานกับชุมชน ที่สำคัญคือ ต้องดูแลตั้งแต่ยังไม่เป็นโรค ยังไม่เจ็บไม่ป่วย ก็คือ การส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ชมรมต่างๆ จึงได้เกิดขึ้น

การดำเนินของโรคเรื้อรัง ช่วงที่สำคัญ คือ Lead-Time ... เป็นโรคแล้ว แต่ไม่มีอาการ หรือมีอาการแต่ยังวินิจฉัยไม่ได้ ถ้าเราสามารถ detect ได้ตั้งแต่แรก ก็สามารถควบคุมไม่ให้เป็นโรค หรืออาการแทรกซ้อนได้มาก

ผู้สูงอายุมีปัญหา 6D ก็คือ

  • Destroyed Vessel Disease - หลอดเลือดถูกทำลาย
  • Depresion - ซึมเศร้า
  • Demensia - สมองเสื่อม
  • Danger Environment - สิ่งแวดล้อม อุบัติเหตุ การหกล้ม
  • Deprivation ถูกแยกตัว หรือลดฐานะลง
  • Disability and Dependence - ทุพพลภาพ และต้องการพึ่งพา

ปัจจุบัน การเจ็บป่วยขยายตัวขึ้น มีการศึกษาว่า เราสามารถหลีกเลี่ยงการเกิดโรคได้ และมีชีวิตอย่างมีสุขภาพที่ดี หรือมีโรคสามารถควบคุมได้ สามารถให้ร่างกายใช้งานได้ มีความเป็นไปได้ เพราะฉะนั้น เมื่อมองมุมกลับว่า ผู้สูงอายุไม่ใช่คนที่ร่างกายเสื่อม ผู้สูงอายุต้องแข็งแรง มีภูมิปัญญา และพยายามที่จะให้แข็งแรงตลอดไป หลีกเลี่ยงโรคได้ ถ้ามีโรคก็สามารถควบคุมได้ ไม่เป็นอัมพาต อัมพฤกษ์ จึงมีความพยายามทำ Morbidity Compression คือ ความสามารถในการบีบอัด ทำให้ความรุนแรงของเจ็บปวด หรือขนาดของโรคให้เล็กลง ... ระยะเวลาที่จะเป็นโรคสั้นลง หรือยืดเวลาของการมีสุขภาพดีให้ยาวนานขึ้น เป็นการหลีกเลี่ยง หรือลดระยะเวลาการเป็นโรคลงอย่างไร และลดเวลาที่จะเกิดทุพพลภาพเกิดขึ้น

Chronic Care Model เป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นได้ในอนาคต

แต่ถ้าเปลี่ยนจากการให้บริการในสถานบริการ เป็นการให้บริการต่อเนื่อง การให้บริการในชุมชน ที่เรียกว่า การจัดการปัญหาสุขภาพ (Health Problem Management) ท่านเป็นเบาหวาน ถ้าอยู่ในสถานบริการ ได้รับเบาหวานเป็นรายบุคคล แต่ถ้ารักษาเบาหวานในชุมชน ท่านต้องทำอะไร ... นึกถึง 3 อ อาหาร ออกกำลัง อารมณ์ ก็นำไปใช้ตรงนี้

เรื่องฟันก็เช่นเดียวกัน ทำในคลินิกแบบหนึ่ง ทำในชุมชนจะเป็นอีกแบบหนึ่ง ปัญหาเดียวกัน แต่วิธีการต่างกัน ... ทำกับบุคคล เป็น case management ทำในชุมชนเป็น Health Problem Management ไม่ได้มีปัญหาที่ตัวเขาเอง จะมีปัญหาที่สิ่งแวดล้อม เพื่อนบ้าน ปัญหาสังคมจะเกิดขึ้น

ผู้สูงอายุไม่ใช่ผู้ใหญ่ที่มีอายุมาก มีภาวะที่เรียกว่า กระบวนการชราภาพ (Ageing process) คือ มีหลายโรค รับประทานยาเยอะ อาการไม่เหมือนกับคนหนุ่มสาว เช่น ติดเชื้อแต่ไม่มีไข้ ไอเล็กน้อยแต่ปอดบวม เพราะฉะนั้น อาการต่างๆ detect ได้ยาก และพอ detect ได้ก็อาจสายเกินไป มีภาวะพิการ ทุพพลภาพ ฟื้นตัวช้า และภาวะถดถอยทางสังคม คือ บทบาททางสังคมน้อยลง

มุมมองใหม่ จึงต้องให้ผู้สูงอายุมีบทบาททางสังคมเท่าเดิม หรือมากกว่าเดิม โดยอาศัยภูมิปัญญา ประสบการณ์ของท่าน เราจึงมีการแบ่งผู้สูงอายุเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่

  • กลุ่มแรก - มีสุขภาพดี อยู่ได้ตามลำพัง สามารถไปช่วยเหลือคนอื่นในสังคมได้
  • กลุ่มที่สอง - สุขภาพอาจไม่ค่อยดี แต่พอช่วยเหลือตัวเองได้
  • กลุ่มที่สาม - สุขภาพไม่ดี ให้การดูแลระยะยาว เป็นอัมพาต อัมพฤกษ์ ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ อนาคตก็สมองเสื่อมมากขึ้น

กลุ่มที่หนึ่ง มีประมาณ 80% กลุ่มที่สองประมาณ 20% กลุ่มที่สามารถ ประมาณ 1-2% อนาคตถ้าเราไม่ทำอะไรเลย กลุ่มที่สามจะมีมากขึ้น กลุ่มที่สองจะน้อยลง เพราะฉะนั้น เราต้องมีมาตรการ ทำให้กลุ่มที่หนึ่งมีมากขึ้น และอยู่เป็นกลุ่มหนึ่งนาน จะเกิดกลุ่มที่สองได้ช้า และกลุ่มที่สาม เมื่อเกิดขึ้นแล้ว ก็ให้ตายไว และตายอย่างมีคุณภาพ

วิธีการวัดว่า ช่วยเหลือตัวเองได้หรือไม่ เขาใช้กิจวัตรประจำวัน เช่น "ปู่เย็น" ท่านอยู่ด้วยตัวเอง เป็นเฒ่าทรนง มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี ช่วยตัวเองได้ เคลื่อนไหวร่างกายได้ ใช้ห้องน้ำได้ แต่งตัวได้ ขับถ่ายได้ ทำกิจวัตรประจำวันได้ กินอาหารเองได้ และก้าวขึ้นลงบันไดได้ ... เขาเรียกว่า Barthel Index เรามีการแปลผล มีการให้คะแนน ถ้าได้น้อย แสดงว่า ต้องพึ่งพา ปานกลาง ติดบ้าน ออกจากบ้านไม่ค่อยได้ ต้องมีคนคอยช่วยคอยดูแล แต่ถ้าคะแนน 12 ขึ้นไป ติดสังคม ช่วยเหลือตัวเองได้

หลักการคือ ตอนนี้ เราสร้างหลักประกันสุขภาพในวัยสูงอายุแล้ว แต่ความสำคัญคือ การเข้าถึงบริการ และคุณภาพการให้บริการ ที่ต้องให้ความสำคัญ เราจะมีกิจกรรมใน setting ต่างๆ ก็คือ

  1. ชมรมผู้สูงอายุ - ชมรมฯ เป็นบ้านที่สองของผู้สูงอายุ ที่เราต้องส่งเสริม
  2. วัด - ส่งเสริมให้วัดเป็นวัดสร้างสุขภาพ ซึ่งก็เป็นบ้านที่สองของผู้สูงอายุเช่นกัน
  3. บ้าน - เป็นบ้านแรกของผู้สูงอายุ ที่ต้องมีการส่งเสริม คือไปดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน

กิจกรรมต่างๆ ที่ต้องส่งเสริมผู้สูงอายุ เช่น

  • ทำให้ผู้สูงอายุแข็งแรง โดย กิจกรรมต่างๆ แข่งกีฬา ให้สังคมเหมือนวัยรุ่น
  • ส่งเสริมภูมิปัญญา เอาประสบการณ์ ภูมิปัญญาผู้สูงอายุมาใช้ประโยชน์
  • การพบปะสังสรรค์
  • การส่งเสริมวัฒนธรรม ประเพณี
  • การทำงาน ขายของ
  • การออกจากบ้าน ได้พูดคุย คุ้มค่าทางด้านจิตใจ และร่างกาย
  • ผู้สูงอายุที่กินไม่ได้ ต้องมีการป้อน ฟื้นฟูที่บ้าน กลุ่มนี้ต้องอยู่ที่บ้าน มีคนดูแล มีเจ้าหน้าที่ไปเยี่ยมเป็นครั้งคราว

สถานที่ต่างๆ สำหรับผู้สูงอายุ

  • สถานดูผู้สูงอายุ (Nursing home) มีในภาคเอกชน ซึ่งต้องทำให้ถูกสุขลักษณะ ได้แก่ หน้าต่างมองเห็นต่ำ เพื่อให้เห็นภาพทิวทัศน์กว้างไกล
  • สถานสงเคราะห์คนชรา ฝึกให้ช่วยเหลือกันเอง
  • โรงพยาบาล 20,000 เตียง ของเทศบาลนครนครศรีธรรมราช มีเตียงอยู่ที่บ้าน อาสาสมัครดูแลที่บ้าน
  • ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการในชุมชน มีองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นผู้ดูแล
  • วัด ปรับปรุงสิ่งแวดล้อม เช่น ห้องน้ำ เพื่อผู้สูงอายุ
  • วัดฟื้นฟูสมรรถภาพ มีการให้บริการ นวดแผนไทย โดยอาสาสมัคร และการจ้าง ให้ญาติมาช่วยเหลือ

การจัดบริการ มี 2 ลักษณะ

  • Care setting - สถานที่เป็นอย่างไร ใช้ที่บ้าน หรือที่ชุมชน
  • Care giver - เป็นใคร แพทย์ พยาบาล volunteer การไปเยี่ยม อาสาสมัคร หรือ ญาติ

Long Term Demand - อุปสงค์การบริการต่อเนื่องของพื้นที่ขึ้นกับ อัตราส่วนของผู้สูงอายุ การกระจายตามภูมิศาสตร์ (เมืองคนสูงวัย) และสถานะทางเศรษฐกิจของผู้สูงอายุ

การบริหารราชการ มีตั้งแต่ระดับชาติ ระดับจังหวัด ระดับท้องถิ่น (อบจ.) ผู้ว่า สงเคราะห์ ระดับตำบล (เทศบาล อบต.) ตอนนี้เรามีประมาณ 8,000 กว่าตำบล เขาจะรู้ปัญหาของเขาว่า เขาทำอะไรได้ ท้องถิ่นต้องการอะไร เรียกร้องอะไรก็ได้ เพราะว่าเขาเป็นฐานเสียง เกิดชุดสิทธิประโยชน์ของท้องถิ่นเพิ่มขึ้นจากรัฐบาล ทั้งด้านสุขภาพ และสวัสดิการ และต้องไม่ใช่เป็นการปกครอง แต่เป็นสิทธิที่ทุกคนมีสิทธิ

เกณฑ์การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว (LTC) แบ่งเป็น

  1. มีข้อมูลผู้สูงอายุตามกลุ่มศักยภาพ ตามความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน(Activities of Daily Living:ADL)
  2. มีชมรมผู้สูงอายุผ่านเกณฑ์ชมรมผู้สูงอายุคุณภาพ
  3. มีอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุในชุมชน
  4. มีบริการการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้านที่มีคุณภาพ (Home Health Care)โดยบุคลากรสาธารณสุข
  5. มีบริการส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพในระดับตำบล
  6. มีระบบการดูแลผู้สูงอายุ กลุ่มที่ 2 (ติดบ้าน) และผู้สูงอายุ กลุ่มที่ 3 (ติดเตียง)

 

 

หมายเลขบันทึก: 416033เขียนเมื่อ 23 ธันวาคม 2010 15:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:54 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดีค่ะคุณหมอ

  • สาระเยอะดีค่ะ 
  • ในวาระดิถีขึ้นปีใหม่ 2554  ขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัย  ดลบันดาลให้คุณหมอสุขภาพแข็งแรงในทุกมิติ  มีความสุขต่อเนื่อง....ชราอย่างมีคุณภาพ (อีกนานไหม ?)  ....ยิ้มแล้วนะคะ 

  • สวัสดี ปีกระต่ายนะคะ Ico48 + Ico48
  • สัญญลักษณ์ แห่งความว่องไว อิอิ
  • ขอให้มีความสุข สุขภาพแข็งแรง และมีพละกำลังในการทำภารกิจต่างๆ อย่างเต็มเปี่ยมค่ะ
  • ดีใจจริง คิดถึง..รู้ปล่าว (ตั้งแต่ปีใหม่แล้วละ)
  • มาได้ความรู้ "เชิงทฤษฎี" จากหมอมนู แต่ความรู้ "เชิงปฏิบัติ" เห็นอยู่เป็นประจำวันในห้องตรวจ
  • พอมาอยู่ รพ. เราสามารถเชื่อมต่อความรู้จากตำรากับภาคปฏิบัติได้ชัดขึ้นเยอะนะ  แต่จากตำราสู่การปฏิบัตินี่ถ้าได้สัก ๒๐% เราก็โอแล้วนะ
  • อยากมากรมฯใจจะขาด นัดกับน้องทัศณีย์ว่าจะมางานเลี้ยงวัยเรียนเมื่อพุธที่แล้ว (สามีเธอโอแล้วด้วย) พอถึงเวลามาไม่ได้ คนไข้แน่นโอพีดี หมอลาเยอะ บ่ายสามีประชุมอีก..อดสิเรา...
  • สวัสดีปีใหม่หมอนนและสมาชิกในครอบครัวทกคนนะคะ...

  • Ico48
  • อ.หมอนู เกษียณปีหน้าแล้วจ้ะ คนเกิดปีกระต่าย
  • อ. มีความรู้เยอะแยะมากมาย สมวัย
  • มากรมอนามัยเมื่อไร บอกเลยนะ จะไปหาจ้า

เนื้อหาอาจารย์ น่าสนในมากค่ะ  หนูอยากได้ข้อมูล เนื้อหาอาจารย์ มาใช้ในหน่วยงานโรงพยาบาลคิลนีกผู้สูงอายุ  และในการศึกษาการดูแลผู้สูงอายุ ในสาขา ป.โท พยาบาลที่หนูกำลังศึกษาอยู่ค่ะ  ไม่ทราบว่าหนู จะสามารถ สอบถามขอ ข้อมูลอาจารย์ได้จากไหนค่ะ


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท