คุณภาพบัณฑิตยุคใหม่


“นักศึกษาในปัจจุบันอ่อนแอทางด้านบูรณาการวิชาการ อ่อนแอทางด้านภาษา อ่อนแอปัญญา ....“คุณภาพบัณฑิตยุคใหม่” ต้องสอดคล้องกับ “คุณภาพครูยุคใหม่” ...สำคัญเหนือไปกว่านั้นคือ ครู ต้องถ่ายทอด พร่ำสอน อบรมบ่มวิชาให้ “ศิษย์เก่งกว่าครู จึงจะถือว่า ถ่ายทอดวิทยายุทธ์ ให้หมดพุงแล้ว ส่วนบัณฑิต จะรับได้ ประยุคได้ บูรณาการได้ มากน้อยเพียงใด ...คงต้องพิจารณาจากปัจจัยรอบด้าน บริบท รอบสังคม... ให้พอเหมาะ พอดี กับทุกที่ ทุกเวลา ต่อไป......

ในช่วงฤดูกาล ระหว่างเดือน ธันวาคม ถึง เดือนมีนาคม   จากปีหนึ่ง ไปสู่อีกปีหนึ่งนี้  จะเป็นช่วง แห่งความกังวลใจ วุ่นวายใจ ของเหล่าบรรดา พ่อ แม่ ผู้ปกครอง นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6 ทั่วประเทศ ที่สับสน อลหม่าน ในการจัดหา จัดเตรียม เฝ้าดู และติดตาม สถาบันอุดมศึกษา ให้กับบุตรหลาน ในการเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา    นับเป็นการเปลี่ยนช่วงชีวิตของนักเรียนมัธยมปลายเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัย .... ที่ต้องเผชิญโลกกว้างขึ้น ... อีกวาระหนึ่ง

พ่อแม่ ผู้ปกครอง บางคน ก็วุ่นวายใจและกาย  กับการหาสถาบันอุดมศึกษา  ที่เหมาะสมกับบุตรหลาน ตลอดรวมทั้งการให้คำปรึกษา ในการเลือกสอบเข้าเรียนในสาขาวิชาต่างๆ ที่ บุตรหลานพอจะเข็นไปไหว ด้วยใจรัก และมีความสุขกับชีวิตการเรียนตลอดจน เรียนให้จบตลอดรอดฝั่ง เพื่อมาประกอบอาชีพในอีก 4 – 6 ปี ข้างหน้า เป็นพลเมืองที่มีคุณภาพของประเทศในทุก ศาสตร์ สาขาวิชา  ...

  วันนี้ จึงมีแนวคิด เกี่ยวกับ “คุณภาพบัณฑิตยุคใหม่” ซึ่งพอจะสอดคล้องกันได้บ้าง จากที่โปรยหัวไว้ในข้างต้น เป็นส่วนหนึ่ง ที่ได้เข้าร่วมฟังบรรยายในการประชุมวิชาการระดับชาติ ประจำปี ๒๕๕๓ อุดมศึกษาร่วมสร้างประเทศไทยน่าอยู่” ปฎิรูปอุดมศึกษา ปฏิรูปประเทศไทย จัดโดย สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)  เมื่อวันที่ 13 – 15 ธันวาคม 2553 อีกเรื่องหนึ่ง มาเล่าสู่กันฟัง โดยวิทยากรท่านหนึ่ง คือ รศ.ดร.สุนทร โสติพันธุ์   ซึ่งใน Section นี้ ได้รับเกียรติจาก รศ.นพ.กำจร ตติยกวี รองเลขาธิการคณะกรรมการอุดมศึกษา เป็นผู้ดำเนินรายการ

รศ.ดร.สุนทร โสติพันธุ์   ท่านได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับคุณภาพบัณฑิตยุคใหม่ ที่ควรจะต้องมีคือ

1.มีอิสระทางความคิด    นั่นหมายถึงว่า  ผู้เป็นบัณฑิต จากสถาบัน สังกัดไหน ๆ ก็ตาม จะต้องมีอิสระทางความคิด  คือมีความคิดเป็นของตนเอง ไม่ได้ถูกครอบงำ จากอิทธิพลของใครๆ ทั้งคนใกล้ชิด ผู้มีพระคุณ หรือ ผู้อื่นใด เพราะการมีอิสระทางความคิด จะเป็นการสร้างให้บัณฑิต  ได้เรียนรู้จักที่จะคิดให้ได้ ไปให้เป็น ด้วยตนเอง ... เมื่อ เกิดการพลาดพลั้ง ... บัณฑิต ก็จะได้รับบทเรียน เพื่อเป็นประสบการณ์ ในการดำเนินชีวิต ในการพบเจอกับสถานการณ์ อื่นๆ ต่อไปได้   ในขณะที่ถ้าประสบความสำเร็จ ก็จะทำให้เกิดความภาคภูมิใจ เป็นแรงบันดาลใจที่สำคัญที่จะทำการณ์ ใดใด ต่อไปได้ด้วยตนเอง อย่างดี

2.อย่าเชื่ออะไรง่าย    หมายถึงว่า  ให้บัณฑิต รู้จักตั้งข้อสงสัยให้มากมาก ว่า ทำไม  ทำไม   ทำไม  ทำไม ?? มันจึงเป็นเช่นนั้น  ... มันมีที่มา ที่ไปอย่างไร ....มันมีเหตุ มีผล สอดคล้องกันหรือไม่อย่างไร.....

3.รู้จักตั้งคำถาม   หมายถึง  ให้รู้จักที่จะถาม  อย่าอายที่บอกว่าตนเองไม่รู้ ... มิฉะนั้น  ...ก็จะไม่มีวันที่จะรู้ได้เลย   เข้าตำราที่เคยได้ยิน นักพูดหลายคน มักกล่าวว่า   งองู  มาก่อน ฉอฉิ่ง เสมอ   นั่นคือ  “โง่”  มาก่อน “ฉลาด” เสมอ

4.ค้นพบบางอย่างด้วยตนเอง   หมายถึงว่า   บัณฑิต จะต้องเรียนรู้ทุกสิ่งอย่างที่เข้ามาในชีวิตและสามารถ คิดวิเคราะห์ สรุปหาเหตุผลที่มา ที่ไป ได้ด้วยตนเอง  ค้นพบ สาเหตุ ปัจจัยแห่งปัญหาต่างๆ ได้ด้วยตนเอง .... อันจะนำมาสู่การหาวิธีการแก้ปัญหา อุปสรรค ได้ด้วยตนเอง   นั่นคือ  ลดการพึ่งพา ผู้อื่นนั่นเอง

            ประเด็นสำคัญ ในคำคมที่ได้รับจากท่าน      รศ.ดร.สุนทร โสติพันธุ์    อีกส่วนคือ  “นักศึกษาในปัจจุบันอ่อนแอทางด้านบูรณาการวิชาการ อ่อนแอทางด้านภาษา   อ่อนแอปัญญา ....”  จากคำคมแนวคิดที่ได้ฟัง  หันกลับมาดู “คุณภาพบัณฑิตยุคใหม่”  ไม่แปลกใจเลย ที่ ต้องสอดคล้องกับ  “คุณภาพครูยุคใหม่”  เช่นเดียวกัน

...สำคัญเหนือไปกว่านั้นคือ ครู ต้องถ่ายทอด พร่ำสอน อบรมบ่มวิชาให้ “ศิษย์เก่งกว่าครู  จึงจะถือว่า ถ่ายทอดวิทยายุทธ์ ให้หมดพุงแล้ว ส่วนบัณฑิต  จะรับได้  ประยุคได้  บูรณาการได้  มากน้อยเพียงใด ...คงต้องพิจารณาจากปัจจัยรอบด้าน  บริบท รอบสังคม... ให้พอเหมาะ พอดี กับทุกที่ ทุกเวลา  ต่อไป...... 

หมายเลขบันทึก: 415350เขียนเมื่อ 21 ธันวาคม 2010 14:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 สิงหาคม 2013 07:35 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท