วิจัยอนุบาล


วิจัย

การวิจัยในชั้นเรียน

 ชื่อรายงาน  ผลการใช้ชุดฝึกเพื่อแก้ปัญหาการเขียนหนังสือหัวกลับของนักเรียนชั้นอนุบาล2/1                                                                                                                          

 สภาพปัญหา

การจัดการศึกษาในระดับปฐมวัย เป็นการจัดการศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับผู้เรียน

ในการพัฒนาการด้านร่างกาย   อารมณ์  สังคม และสติปัญญา   เพื่อที่จะไห้สมบูรณ์และเหมาะสมกับวัย การจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน ครูจำเป็นต้องเน้นความพร้อมด้านกล้ามเนื้อมือ  เด็กบางคนอาจมีปัญหาที่แตกต่าง กันออกไป  เช่น ความไม่พร้อมทางกล้ามเนื้อมือ  ด้านของวัย, อายุ  ด้านประสาทสัมผัสตากับมือ  ด้านร่างกาย  อารมณ์  สังคม  และสติปัญญาของเด็กแต่ละคน  ซึ่งปัญหานี้ทำให้ข้าพเจ้าได้พบปัญหาของนักเรียน คือ การที่นักเรียนเขียนหนังสือกลับหัว ซึ่งนับเป็นปัญหาในการจัดการสอนเป็นอย่างมาก

ทักษะการเขียนเป็นทักษะขั้นสุดท้าย ที่เด็กจะรวบรวมความสามารถ หรือมีความพร้อมในทุกๆ ด้าน การเขียนในปฐมวัยนี้หมายถึง  การที่เด็กมีความพร้อมทางด้านประสาทสัมพันธ์ระหว่างตากับมือ มือจับดินสอได้มั่น ลากหรือเขียนได้ตามความคิดของเด็ก นอกจากนั้นการควบคุมกล้ามเนื้อให้ลากหรือเขียน หรือแม้แต่การระบายสียังควรเป็นไปอย่างถูกทิศทางและถูกวิที การสร้างความพร้อมในการเขียนระดับปฐมวัย  สามารถทำได้โดยวิธีการต่างๆ  เช่น  การใช้กิจกรรมด้านศิลปะการฝึกลีลามือ  การเล่นเกมต่างๆ ทั้งเป็นแบบแผนก็สามารถสร้างเสริมประสาทสัมพันธ์แล้ว การเขียนในรูปแบบต่างๆ ก็สามารถทำได้ในขั้นตอนต่อไป  โดยสรุปแล้วเราสามารถกล่าวได้ว่า  ในช่วงอายุของเด็กระหว่างวัยทารกจนถึงอายุ  6  ปี เป็นระยะที่สำคัญ พัฒนาการทางภาษา ซึ่งฟังการพูดเป็นภาษาที่เด็กได้เรียนรู้ก่อนการอ่านและการเขียน ซึ่งปกติเด็กจะเรียนรู้โดยธรรมชาติ  และเป็นขั้นตอนแต่เด็กบางอาจจะเรียนรู้ด้วยขั้นตอนที่ต่างกันออกไปอิทธิพลของปัจจัยทางชีวภาพ  ความไม่สมบูรณ์แข็งแรงของเด็กอ่อนในครรภ์  อันเนื่องมาจากสาเหตุหลายประการ หรือโรคภัยไข้เจ็บ  ตลอดจน  การที่เด็กถูกเลี้ยงดูในลักษณะต่างๆ  ตามสถานภาพของครอบครัวเป็นสาเหตุของการพัฒนาของเด็กทั้งนั้น ดังนั้นครูผู้อบรมเลี้ยงดูเด็ก จึงควรตระหนักว่า การที่เด็กจะมีทักษะ  ทางด้านการฟัง  พูด  การอ่าน และการเขียนนั้น เด็กได้เรียนรู้ แนวคิดต่างๆ  จากการที่ ได้ฟังและการที่ ได้พูด ฉะนั้นการอ่าน และการ เขียนจะเป็นปัญหายุ่งยากสำหรับเด็ก ถ้าเด็กไม่ได้รับการเตรียมตัว  หรือเตรียมความพร้อม  อย่างเหมาะสมเพียงพอ  ซึ่งหมายถึง การที่ประสาทสัมผัสทางตากระทบสิ่งเร้า  แล้วพฤติกรรมที่แสดงออก  เกี่ยวกับ ทิศทาง  ซ้าย  ขวา  หรือบน  ล่าง  จะเป็นไปในลักษณะตรงข้ามกับที่ควรจะเป็นและพบว่าในกลุ่มของเด็กอายุ  4 – 8  ปี  นั้นเด็กอายุ  4  ขวบก็มีการรับรู้กลับมากที่สุดซึ่งแสดงว่าเด็กเล็กๆ วัยเริ่มเรียนยังไม่มีความพร้อมทางด้านวุฒิภาวะในการเขียน  แต่การเขียนนอกจากเด็กจะมีความพร้อมในการอ่านเป็นขั้นพื้นฐานแล้วยังต้องใช้สมอง  สายตา  และการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อมือ นิ้วมือ  และแขนให้สัมพันธ์กันด้วย  นอกจากนี้การเขียนยังต้องใช้สมาธิอย่างมากโดยเฉพาะการเขียนให้เหมือนแบบเด็กจะต้องนั่งนิ่งๆ ไม่เหลียวซ้ายแลขวา ต้องมีความตั้งใจ  ใจสงบ  อารมณ์มั่งคง  มีช่วงความสนใจ นานพอสมควรรู้จักใช้สายตาสังเกตอย่างละเอียดถี่ถ้วน  รอบคอบ  เพราะพยัญชนะไทยบางตัว  มีรูปร่างคล้ายกันมาก เด็กต้องแยกให้ได้ว่าพยัญชนะตัวใดหัวเข้า หรือ หัวออก

 

ปัญหาการวิจัย

                เด็กชั้นอนุบาล 2/1  จำนวน  3  คน  มีปัญหาการเขียนหนังสือกลับหัว

เป้าหมายการวิจัย

  1.  เพื่อศึกษาผลการใช้ชุดการฝึกการเขียนหนังสือกลับหัวของนักเรียน
  2.  เพื่อเปรียบเทียบการเขียน ก่อนและหลัง การใช้ชุดฝึกของนักเรียน

 วิธีการวิจัย

กลุ่มตัวอย่าง   กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้  คือ  นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่  2 / 1 จำนวน 3 คน

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

                เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

  1. ศึกษาจากเอกสาร
  2. สร้างและพัฒนาเครื่องมือ เพื่อแก้ปัญหาการเขียนหนังสือกลับหัวประกอบด้วยชุดฝึก 3 ชุด (ภาคผนวก)

วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล

เก็บรวบรวมข้อมูล โดยวางแผนดำเนินงานดังนี้

ครูนำชุดการฝึกการพัฒนากล้ามเนื้อมือ จำนวน 3 ชุด ใช้กับเด็กอนุบาล 2/1  จำนวน 3 คน ซึ่งครูได้ใช้วิธีการสังเกตและพบพฤติกรรมการเขียนกลับหัวของนักเรียนจำนวน 3 คน จึงทำการแก้ไขโดยการใช้ชุดการฝึกพัฒนากล้ามเนื้อมือ และบันทึกพฤติกรรมของเด็กนักเรียนลงในแบบบันทึกผลการใช้ชุดฝึกพัฒนากล้ามเนื้อมือในแต่ละชุดรวมทั้งสิ้น 3 ชุด

 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

การเก็บรวบรวมข้อมูล ดำเนินการวิเคราะห์เปรียบเทียบผลการใช้ชุดฝึก การแก้ปัญหานักเรียนเขียนหนังสือหัวกลับก่อนและหลังการใช้  โดยใช้ค่าร้อยละ

 ช่วงเวลาในการทดลอง

ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 ( มิถุนายน 2553 ถึง สิงหาคม 2553 )

 ผลการวิจัย

                                     

จากการใช้ชุดการฝึกทั้ง  3  ชุด    เด็กอนุบาล 2/1  จำนวน 3 คน มีพัฒนาการ การเขียนหนังสือได้ถูกต้องขึ้น  หลังจากที่ใช้ชุดฝึกเพื่อแก้ปัญหาในการเขียนหนังสือหัวกลับ

   

สรุปผลและสะท้อนผล

                จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลสรุปได้ว่าสาเหตุและปัจจัยที่ทำให้ นักเรียนเขียนหนังสือหัวกลับมีสาเหตุมาจาก

  1. นักเรียนขาดการฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง
  2. นักเรียนบางคนขาดการเตรียมความพร้อม  ทำให้กล้ามเนื้อมือไม่แข็งแรง  การประสานงานของมือและตาไม่ดี  จับดินสอไม่ถูกต้อง  เป็นต้น
  3. นักเรียนขาดสมาธิในการทำงาน  เนื่องจากเด็กในวัยนี้ยังชอบเล่น  ชอบคุยกับเพื่อนๆ บางครั้งถูกเพื่อนแหย่  เป็นต้น

 

เอกสารอ้างอิง

เกษร    แก้วประดิษฐ์ (2546) , ผลการใช้ชุดฝึกเพื่อแก้ปัญหาการเขียนหนังสือหัวกลับของนักเรียนชั้น                                                                                                                                       

          อนุบาล 2 / 4

สำนักคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ.  คู่มือการพัฒนาการสอนเขียนลายมือ เขียน

             อักษรไทยอย่างไรได้มาตรฐาน.  กรุงเทพฯ.  บริษัท  พี เอ ลิฟวิ่งจำกัด. 2540.

 เอกสารภาคผนวก

 

  1. ชุดฝึกพัฒนากล้ามเนื้อมือ 
  2. บันทึกผลการใช้ชุดฝึกพัฒนากล้ามเนื้อมือ 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #วิจัย
หมายเลขบันทึก: 415348เขียนเมื่อ 21 ธันวาคม 2010 14:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 03:23 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

เป็นวิจัยที่น่าสนใจอยากนำไปต่อยอดจะได้มั้ยคะ

งานวิจัยดีมากนำไปเป็นตัวอย่างได้

ขอบคุณค่ะจะนำไปเป็นตัวอย่าง

เป็นการแก้ปัญหาที่ดี

ดีมากค่ะ สามารถนำแนวการทำวิจัยไปใช้เป็นแบบอย่างได้ดี ขอบคุณค่ะ


น่าสนใจมากค่ะเป็นประโยชน์มาก

เป็นงานวิจัยท่ีดีมาก ขอลองนำไปใช้ดูบ้างนะคะ

โหลดแบบฝึกไม่ได้ค่ะ ส่งทสงนี้ให้บ้างได้ไหมคะ [email protected]

น่าสนบ้างค่ะ ขอเอาเป็นแนวทางบ้างนะคะ โหลดแบบฝึกไม่ได้ค่ะ ส่งทางเมลล์ให้บ้างได้ไหมคะ [email protected]

สนใจมากๆเลยค่ะ อยากได้ชุดแบบฝึก ขอเป็นตัวอย่างหน่อยได้มั้ยค่ะ [email protected]

สุรพันธุ์ สุวรรณศักดิ์

ขออนุญาตนำไปใช้เพื่อปรับปรุงแก้ไขปัญหาของเด็กด้วยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท